เมื่อหนุ่มอเมริกันเก็บอาหารจาก "กองขยะ" นี่คือสิ่งที่เขาค้นพบ...

     สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com วันนี้ พี่พิซซ่า จะพาไปรู้จักผู้ชายคนนึงค่ะ เขาไม่ใช่คนรวยติดอันดับโลก ไม่ได้มีชื่อเสียงแบบดาราฮอลลีวู้ด แต่เขามีใจที่หล่อมากจริงๆ เรื่องราวของร็อบกำลังเป็นแรงบันดาลใจให้หลายคนในต่างประเทศตอนนี้อยู่ค่ะ


 

     Rob Greenfield (ร็อบ กรีนฟีลด์) เป็นนักลงทุน นักเคลื่อนไหวเพื่อธรรมชาติ และผู้รักการผจญภัยชาวอเมริกันวัย 28 ปีที่ตั้งเป้าหมายชีวิตไว้ว่าจะคืนสิ่งดีๆ ให้กับโลก โดยตัวเขาเองจะเป็นทั้งผู้ให้ความรู้ความบันเทิง และเป็นแรงบันดาลใจให้ใครอีกหลายคนได้ลองปฏิบัติตามเพื่อช่วยเหลือโลกของเราไม่ว่าจะเรื่องอาหาร, พลังงาน, ของเสีย, การคมนาคม, สุขภาพ และการมีความสุขกับสิ่งที่มี

     เขาเริ่มตั้งองค์กรเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในชุมชนของเขาก่อน ทั้งทำกิจกรรมรณรงค์ให้คนในชุมชนปั่นจักรยาน รณรงค์เป็นอาสาสมัครดูแลสิ่งแวดล้อม จัดโครงการนำหลอดไฟเก่ามาเปลี่ยนเป็นหลอดประหยัดไฟฟรี และอีกหลายโครงการเพื่อส่วนรวม งานของเขาคือการสร้างผลกระทบอย่างยั่งยืนและปลูกฝังให้คนมีจิตสาธารณะมากที่สุด

 

     น้องๆ อาจสงสัยว่าร็อบมัวแต่ไปทำโน่นทำนี่มากมายเขาไม่มีงานจริงๆ ทำเหรอ หรือว่าเขารวยอยู่แล้วจนไม่ต้องทำงานก็ได้ จริงๆ ร็อบมีฐานะปานกลางค่ะ ร็อบเรียนจบปริญญาตรีมาแบบปกติทั่วไป แต่ร็อบเริ่มทำงานหาเงินตั้งแต่สมัยเรียนในโรงเรียนแล้ว ทำให้เขามีเงินเก็บพอจะทำกิจกรรมต่างๆ ได้ค่ะ (นอกจากการไปช่วยคนอื่นแล้ว ร็อบมีวิถีชีวิตที่พอเพียงมาก)


     หลังประสบความสำเร็จระดับชุมชนแล้วร็อบก็ออกผจญภัยระดับชาติ ทั้งกิจกรรม Share My Way Home Adventure ที่เขาซื้อตั๋วเครื่องบินเที่ยวเดียวไปปานามาพร้อมเสื้อผ้าชุดเดียว โดยหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่น หรือกิจกรรมปั่นจักรยานเท้าเปล่าทั่วอเมริกาเพื่อหาคำตอบเรื่องอาหารเหลือทิ้งในอเมริกาบ้านเกิดของเขานั่นเอง

     ร็อบศึกษาข้อมูลจนพบว่ากว่า 40% ของอาหารที่ปลูก ผลิต และขายในอเมริกาถูกทิ้งขว้างโดยไม่ได้ถูกกินเลยแม้แต่น้อย เรียกว่าเหลือตั้งแต่ยังไม่เอาใส่จานเลย ร็อบจึงตัดสินใจปั่นจักรยานทั่วอเมริกาเพื่อหาคำตอบ มาดูกันดีกว่าว่าคำตอบที่เขาค้นพบคืออะไร



 

     ร็อบพบว่าร้านค้าและร้านอาหารคือที่ที่ทิ้งอาหารที่ยังกินได้อยู่มากที่สุดในประเทศ อย่างกล้วยทั้งลังนี้ที่เขาเจอก็สามารถถือไปบอกคนอื่นว่าเพิ่งซื้อมาไม่นานยังได้เลย เพราะถึงจะดูไม่เหลืองสวยแต่ก็ยังกินได้ทุกผล

 
ร็อบปีนลงไปในถังขยะเพื่อหาคำตอบด้วยตัวเองจริงๆ

     ในแต่ละวันร้านค้าต่างๆ นี้จะทิ้งผักผลไม้ที่ไม่ได้ดูสวยเป๊ะเป็นจำนวนมาก หรือต้องทิ้งอาหารบางอย่างเพื่อทำให้ชั้นวางของว่างรองรับของใหม่ๆ ทำให้ของที่เขาเจอในถังขยะล้วนเป็นของดีทั้งนั้น

     ร็อบบอกว่าชาวอเมริกัน 1 ใน 7 คนไม่มีอะไรกิน แต่พวกเราที่เหลือก็ยังกินทิ้งกินขว้างอาหารที่เราทิ้งกันมีมากพอจะเลี้ยงคนที่หิวโหยได้ถึง 5 เท่าเลย ฉะนั้นร็อบจึงมีวิธีแก้ปัญหามาเสนอซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายมากๆ นั่นคือเขาอยากให้ร้านค้าต่างๆ หยุดทิ้งของพวกนี้ แต่เปลี่ยนเป็นเอามาบริจาคแทน

 

     ร็อบยังบอกอีกว่าข้ออ้างที่ร้านค้าชอบใช้เพื่อที่จะไม่ต้องบริจาคคือกลัวว่าจะต้องรับผิดชอบ แต่เขาก็ตรวจสอบข้อมูลที่ University of Arkansas รวบรวมมาให้แล้วว่าไม่เคยมีการเรียกร้องให้ดำเนินคดีเกี่ยวกับร้านค้าที่บริจาคอาหารให้คนที่ต้องการเลยซักครั้ง (เอาจริงๆ ทำเรื่องๆ ดีแบบนี้จะต้องฟ้องร้องทำไม -__-)

     อันที่จริงภาระความรับผิดชอบที่ร้านค้าอ้างนั้นเป็นเรื่องที่คิดกันไปเอง เพราะร้านค้าที่บริจาคของนั้นจะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย Good Samaritan Food Act ซึ่งมูลค่าสิ่งที่บริจาคสามารถนำไปลดภาษีได้ แถมเมื่อไม่ทิ้งก็จะทำให้เสียค่าเก็บขยะน้อยลง (แต่ต้องเป็นสิ่งที่ยังกินได้สะอาดปลอดภัยนะ ไม่ใช่เศษอาหารเหลือๆ)


อาหารที่ช่วยจากชิคาโก้ รัฐอิลลินอยส์


อาหารที่ช่วยจากคลิฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ

     "ตอนผมไปชิคาโก้ ผมไปอยู่ที่เองเกิ้ลวู้ดซึ่งเป็นย่านที่จนที่สุดในเมือง ผมได้รู้ว่าคนส่วนมากในย่านนั้นต้องเข้านอนพร้อมกับความหิวทุกคืน เมื่อผมเล่าให้พวกเขาฟังว่าผมเจออะไรในถังขยะบ้างพวกเขาก็ไม่ยอมเชื่อ ผมเลยพาพวกเขาไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง แล้วพวกเราก็กลับมาพร้อมอาหารมูลค่ากว่า $2,500 เต็มทุกคันรถภายใน 2 ชั่วโมง"


อาหารที่ช่วยจากวอชิงตัน ดี.ซี.

     ร็อบจึงริเริ่มโครงการ Food rescued from dumpsters ตอนแรกเขาเอาอาหารจากถังขยะจริงๆ มาจัดแสดงให้ทุกคนดูเพื่อให้ผู้คนได้เห็นว่าในแต่ละวันเรากินทิ้งกินขว้างกันขนาดไหนและรณรงค์ให้ทิ้งน้อยลง เขาไม่ได้ต้องการแจกจ่ายให้กินกันจริงๆ เพราะเป็นอาหารที่มาจากถังขยะโดยตรง แต่ไม่นานก็มีคนที่ต้องการอาหารหลายคนมาขอ เขาจึงเริ่มเจรจากับร้านค้าโดยอาหารที่นำมาแจกจ่ายนั้นไม่ได้เอามาจากถังขยะจริงๆ แต่เป็นการช่วยชีวิตเอาไว้ก่อนที่มันจะลงถัง ซึ่งมีผู้ให้ความร่วมมือเป็นจำนวนมาก หลายคนก็มาช่วยเป็นอาสาสมัครให้บางคนนำอาหารจากบ้านมาก็มี


เดวิดเป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้กินอาหารครบทุกมื้อในแต่ละวัน เขาดีใจมากที่ร็อบมาช่วย

     "ตอนนี้ผมกำลังปั่นจักรยานไปทั่วอเมริกาโดยทานอาหารที่โดนทิ้ง และจัดแสดงอาหารที่ช่วยได้ตามเมืองใหญ่ๆ เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงการลดความสิ้นเปลืองอาหารในอเมริกา" ร็อบเขียนในบล็อกของเขา


อาหารที่ช่วยจากนิวยอร์กซิตี้


อาหารที่ช่วยจากเมดิสัน รัฐวิสคอนซิน


     ตอนนี้ร็อบดูแลโครงการนี้แค่ในพื้นที่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น ร็อบขอให้ทุกคนที่พบเห็นอาหารดีๆ ถูกทิ้งในถังขยะแถวบ้านตัวเองช่วยถ่ายภาพแจ้งมาที่ #DonateNotDump เพื่อให้ร็อบไปช่วยเหลือได้ทันที หรือใครอยากติดตามการเดินทางของร็อบก็เข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของเขาค่ะ

     ส่วนสำหรับบ้านเรานั้น แม้ไม่มีคุณร็อบ กรีนฟีลด์ มาช่วยเหลือ แต่เราก็สามารถเริ่มต้นกันได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่ซื้ออาหารมาเพียงพอสำหรับที่จะรับประทาน ไม่ต้องตุนมากจนกินไม่ทันแล้วต้องโยนทิ้ง แค่นี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากแล้วค่ะ


ข้อมูลและภาพประกอบจาก
robgreenfield.tv
news.distractify.com/beth-buczynski/food-waste-fiascos/


 
พี่พิซซ่า
พี่พิซซ่า - Columnist คอลัมนิสต์ฝ่ายเรียนต่อนอก

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

มีร้องกันล่ะ 20 ต.ค. 57 12:17 น. 5-1
คละเคล้าปะปนกันหมด เละ ไม่เหลือสภาพอย่างในข่าวแน่ เพราะนิสัยมักง่ายของคนบางกลุ่ม
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Doi 20 ต.ค. 57 12:26 น. 12
ผมได้มีโอกาสได้ทำงานที่ supermarket ใหญ่แห่งหนึ่งในอเมริกาครับ ผมอยู่แผนกผักและผลไม้ สิ่งที่ผมพบคือ 1.ผลไม้ช้ำนิดเดียว หรือกล้วยมีรอยช้ำนิดเดียวก็ให้ทิ้งแล้วครับ 2.ผักถ้าออกเหลืองหน่อย จะให้เอาไปทิ้งหรือส่งไปให้ฝ่าย salad ครับ สรุป ผลไม้ต่อวันทิ้งเยอะมากๆๆๆๆ ผมเลยขอsupervisorเก็บบางส่วนมาทางเองครับ
2
Nizz 21 ต.ค. 57 07:46 น. 12-1
ผมก็อยู่อเมริกาครับ ของพวกนี้ จำเป็นต้องทิ้ง ไม่งั้นถ้า Health Department มาตรวจเจอ ก็ได้ Warning ครับ โดนมากๆ ก็ต้องถูกปิดไปเลย
0
กำลังโหลด
เห็นแล้วยังเสียดายแทน 20 ต.ค. 57 12:14 น. 7
ดีใจที่เป็นคนไม่ค่อยกินทิ้งกินขว้าง (ส่วนตัวมีนิสัยเสียดายของอยู่แล้ว อีกทั้งเห็นความลำบาก ความอดทนและความมุ่งมั่นพยายามของผู้ปลูกและผู้ผลิตด้วย) ยกเว้นว่ามีเศษสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคปะปนอยู่ หรือมีปริมาณอาหารเยอะเกินกินลงหมดก็เท่านั้น
0
กำลังโหลด
Pamie 20 ต.ค. 57 13:52 น. 19
เคยไปชอบตอนใกล้ร้านปิดเห็นพนักงานเลือกขนมปังหมดอายุแต่ยังดีอยู่ไม่ขึ้นราไม่เหม็นห่อยังใหม่ถามเขาว่าเอาไปไหนเพราะเขาใส่รถกะบะแบบไปเทิ้ง คำตอบก็แน่ๆไปทิ้งเราก็เลยบอกว่าทำไมไม่บริจาคพวกเร่ร่อน. เขาก็บอกว่าร้านไม่มีนโยบายและไม่อยากเกิดฟ้องกินแล้วมันชักหงิกชักงอไม่คุ้ม. ก็เลยได้แต่เสียดายแทนคนอดก็อดคนทิ้งก็ฟุ่มเฟือย ดีแล้วที่มีคนรนณรงค์ทั้งยุโรปเมกา เพราะที่ทำได้ตอนนี้คือซื้อกล้วยไปหนึ่งหวีเวลาขับรถเข้าเมืองไปแจกพวกเรร่อนเขียนป้ายขอทานตามสี่แยกก็ได้ทำทานเล็กๆน้อยๆไปก่อน
0
กำลังโหลด

49 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
Marry (Christmas) Member 20 ต.ค. 57 10:58 น. 2

อ่านแล้วทึ่งมาก พระเจ้า...สภาพอาหารพวกนั้นยังดีๆกินได้อยู่เลย (แต่อาจจะขมุกขมอมนิดหน่อยเพราะถูกทิ้งแล้ว) ไมม่น่าเชื่อว่าพวกเรากินทิ้งกินขว้างแบบนี้...

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
มีร้องกันล่ะ 20 ต.ค. 57 12:17 น. 5-1
คละเคล้าปะปนกันหมด เละ ไม่เหลือสภาพอย่างในข่าวแน่ เพราะนิสัยมักง่ายของคนบางกลุ่ม
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เห็นแล้วยังเสียดายแทน 20 ต.ค. 57 12:14 น. 7
ดีใจที่เป็นคนไม่ค่อยกินทิ้งกินขว้าง (ส่วนตัวมีนิสัยเสียดายของอยู่แล้ว อีกทั้งเห็นความลำบาก ความอดทนและความมุ่งมั่นพยายามของผู้ปลูกและผู้ผลิตด้วย) ยกเว้นว่ามีเศษสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคปะปนอยู่ หรือมีปริมาณอาหารเยอะเกินกินลงหมดก็เท่านั้น
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Doi 20 ต.ค. 57 12:26 น. 12
ผมได้มีโอกาสได้ทำงานที่ supermarket ใหญ่แห่งหนึ่งในอเมริกาครับ ผมอยู่แผนกผักและผลไม้ สิ่งที่ผมพบคือ 1.ผลไม้ช้ำนิดเดียว หรือกล้วยมีรอยช้ำนิดเดียวก็ให้ทิ้งแล้วครับ 2.ผักถ้าออกเหลืองหน่อย จะให้เอาไปทิ้งหรือส่งไปให้ฝ่าย salad ครับ สรุป ผลไม้ต่อวันทิ้งเยอะมากๆๆๆๆ ผมเลยขอsupervisorเก็บบางส่วนมาทางเองครับ
2
Nizz 21 ต.ค. 57 07:46 น. 12-1
ผมก็อยู่อเมริกาครับ ของพวกนี้ จำเป็นต้องทิ้ง ไม่งั้นถ้า Health Department มาตรวจเจอ ก็ได้ Warning ครับ โดนมากๆ ก็ต้องถูกปิดไปเลย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
koko15047 Member 20 ต.ค. 57 12:54 น. 15

มาไทยอาจจะไม่ได้กลับไปเพราะมันรวมกันไปหมดเพลอๆอาจจะสภาพไม่สมบูรณ์เพราะคนทิ้งคิดว่าถ้าตรูไม่ได้กินคนอื่นก็อย่าหวังโกรธเลยปู้ยี้ปู้ยำอาหารจนกินไม่ได้แล้วค่อยลงถึง-  -

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Led_miffy Member 20 ต.ค. 57 13:35 น. 17

ถ้าเป็นของเราก็ต้อง วัดน่ะครับ อาหารเยอะมาก ถ้าจะแก้แบบเขาก็น่าจะเริ่มจากวัดล่ะครับ 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Pamie 20 ต.ค. 57 13:52 น. 19
เคยไปชอบตอนใกล้ร้านปิดเห็นพนักงานเลือกขนมปังหมดอายุแต่ยังดีอยู่ไม่ขึ้นราไม่เหม็นห่อยังใหม่ถามเขาว่าเอาไปไหนเพราะเขาใส่รถกะบะแบบไปเทิ้ง คำตอบก็แน่ๆไปทิ้งเราก็เลยบอกว่าทำไมไม่บริจาคพวกเร่ร่อน. เขาก็บอกว่าร้านไม่มีนโยบายและไม่อยากเกิดฟ้องกินแล้วมันชักหงิกชักงอไม่คุ้ม. ก็เลยได้แต่เสียดายแทนคนอดก็อดคนทิ้งก็ฟุ่มเฟือย ดีแล้วที่มีคนรนณรงค์ทั้งยุโรปเมกา เพราะที่ทำได้ตอนนี้คือซื้อกล้วยไปหนึ่งหวีเวลาขับรถเข้าเมืองไปแจกพวกเรร่อนเขียนป้ายขอทานตามสี่แยกก็ได้ทำทานเล็กๆน้อยๆไปก่อน
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด