ตามติด 1 วันชีวิตการทำงาน "สถาปนิก" อาชีพสุดเท่ของคนมีไอเดีย

สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com ... เจอกับ พี่เป้ และสกู๊ปพิเศษ A day in life ที่จะพาน้องๆ ไปตามติดชีวิตหนึ่งวันเต็มๆ ของอาชีพในฝัน ว่าตั้งแต่เช้าจรดเย็นเค้าต้องทำอะไรกันบ้าง ^^ สำหรับตอนนี้ก็เป็นตอนที่ 5 แล้วค่ะ อาชีพที่เราจะไปตามติดวันนี้ เป็นอาชีพที่เด็กนักเรียนหลายคนมองว่า “เท่” มาก ดูเป็นคนรุ่นใหม่ ทันสมัย ไฟแรง และปัจจุบันถ้าใครอยากเรียนคณะนี้หรือทำอาชีพนี้ ก็จะต้องฟิตกันแบบพุ่งเป้าสุดๆ เพราะคณะนี้เค้าเน้นสอบตรง เอ๊ะ อาชีพอะไรกันนะ?


      วันนี้เราบุกไปกันที่บริษัทออกแบบตกแต่งสถาปัตย์ย่านใจกลางเมือง เพื่อพบกับ “สถาปนิก” คนเก่ง(หล่อด้วย) ที่อนุญาตให้พวกเราไปตามติดชีวิต 1 วันเต็มๆ กับอาชีพในฝันสำหรับคนที่รักการออกแบบ จะเป็นยังไง ก็ตามมาดูกันเลย!

วริศ กมลาศน์ ณ อยุธยา (วาว)


มัธยมศึกษา : โรงเรียนหอวัง สายวิทย์-คณิต
ปริญญาตรี : สาขาสถาปัตยกรรม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโท :
สาขาบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปัจจุบัน : Co-founder & Design Director
บริษัท บี เวิร์คช็อป จํากัด
( be workshop co.,ltd. )

ย้อนกลับไปตอนเด็กๆ พี่วาวเล่าว่า แรงบันดาลใจของการอยากเป็นสถาปนิกได้มา จากการดูละคร พระเอกละครในสมัยก่อนส่วนมากก็เป็นสถาปนิกกันแทบทั้งนั้น (นึกถึงเรื่องเคหาสน์ดาวเลย) เลยติดตาจากละครและมีความรู้สึกว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจ และส่วนตัวพี่วาวเองก็เป็นคนชอบวาดรูปอยู่แล้ว เลยคิดว่าคณะนี้แหละน่าจะตอบโจทย์ความต้องการได้ดีที่สุด

สำหรับสาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 5 ปี โดยจะเน้นที่การออกแบบสถาปัตยกรรมภายนอกของตึกอาคาร (ถ้าออกแบบภายในตึกก็ต้องเลือกเรียนสาขาสถาปัตยกรรมออกแบบภายใน)

     พี่วาวเล่าว่า ช่วงที่หนักที่สุดคือช่วงปีที่ 3 เรียนหนักมาก แทบทุกวิชามีการบ้าน ทำให้ใน สมองนั้นคิดแต่เรื่องงานและการบ้านตลอดเวลา บางวิชาแค่ 2 หน่วยกิต แต่ทำงานส่งชิ้นหนึ่งใช้เวลามากกว่า 20 ชั่วโมงทีเดียว แถมต้องเจอวิชาที่เข้มข้นมากๆ อย่างวิชา Building Technology(การออกแบบเทคโนโลยีและงานระบบอาคาร) เพราะมีศัพท์เทคนิคที่เฉพาะทางและยากมากเลยล่ะ

และสำหรับการฝึกงาน ทางคณะจะให้ฝึกในช่วงปิดเทอมก่อนขึ้นปี 5 เป็นเวลา 200 ชั่วโมง พี่วาวได้เข้าไปฝึกงานที่บริษัท คาซ่า ดีไซน์ จำกัด ซึ่งหน้าที่หลักคือ การตามรุ่นพี่ไปดูไซต์งานแล้วกลับมาสเก็ตช์ภาพส่ง พี่วาวบอกว่า การสเก็ตช์ภาพนั้น จำเป็นต้องใช้ทักษะการวาดภาพในระดับหนึ่ง ใครวาดภาพเก่งก็จะได้เปรียบ เพราะเท่ากับว่าสามารถแสดงความคิดของเราออกมาได้เห็นภาพและชัดเจนมากกว่าคนอื่น ถ้าเราสเก็ตช์สวย คนอื่นก็จะเข้าใจงานของเรามากขึ้น งานดีๆ อยู่ที่ไอเดีย แต่ถ้าวาดรูปสวยมีชัยไปกว่าครึ่งนะ

วิชาฟิสิกส์ถือเป็นศาสตร์ที่จำเป็นต่องานสถาปัตย์ เช่น จะออกแบบหรือติดตั้ง ประตูยังไงให้เปิดแล้วไม่แกว่งจนบานตกเสียหาย ก็ต้องใช้ความรู้เรื่องโมเมนต์ของ แรง ไม่ต้องถึงกับเรียนฟิสิกส์เก่งมาก แต่ควรเข้าใจหลักการ

หลังจากเรียนจบ พี่วาวเข้าทำงานในบริษัทของอาจารย์ที่สนิทกันเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง (แอบกระซิบนิดนึงว่า สถาปนิกจบใหม่ตอนนี้ เงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 18,000 บาท) ก่อนจะลาออกมาเรียนปริญญาโทและเปิดบริษัทของตนเองร่วมกับเพื่อนสนิท นั่นก็คือ บริษัท บี เวิร์คช็อป จํากัด ( be workshop co.,ltd.) นั่นเองค่ะ

สำหรับหน้าที่ในวันนี้ของพี่วาว เริ่มตั้งแต่การเข้าออฟฟิศตอน 9 โมง ซึ่งวันที่เราไปตามติดชีวิตนั้นเป็นวันจันทร์ ก็จะมีการประชุมประจำสัปดาห์ร่วมกันทุกคน ได้แก่ พี่วาวและเพื่อนผู้ร่วมก่อตั้ง(พี่อ๋อง) และสถาปนิกอีก 4 คน เพื่อติดตามงานว่า งานของแต่ละคนถึงไหนแล้ว สัปดาห์นี้มีอะไรที่ต้องดำเนินการหรือส่งบ้าง

เมื่อประชุมเสร็จ ก็ถึงเวลาเริ่มงานของตัวเอง ซึ่งบริษัทนี้รับงานออกแบบทั้งภายนอกและภายใน หากเป็นงานออกแบบภายนอกก็ถือว่าตรงกับสาขาสถาปัตยกรรมที่พี่วาวจบมาโดยตรง แต่หากเป็นงานออกแบบภายใน ในส่วนนี้ก็จะใช้ทักษะในวิชาออกแบบภายในพื้นฐานที่เคยเรียน + การฝึกฝน + ประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ทำให้พี่วาวเองก็สามารถดูแลรับผิดชอบงานออกแบบภายในได้เช่นเดียวกัน

หากเป็นงานที่ไม่ใหญ่มาก พี่วาวจะรับงานนั้นมาดูแลด้วยตัวเองตั้งแต่ต้นจนจบ หรือไม่ก็ดูว่าสถาปนิกคนอื่นๆ ในบริษัทถนัดกันด้านไหน ก็จะแบ่งงานให้ทำตามความเหมาะสม โดยจะเน้นงานออกแบบที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมและเน้นความเรียบง่าย เพราะพี่วาวเชื่อว่า ความเรียบง่ายเป็นอะไรที่อยู่ได้นาน ถ้าออกแบบตามเทรนด์ มันอาจจะน่าสนใจในช่วงเวลานั้น แต่พอเวลาผ่านไปก็ตกเทรนด์แล้ว ยกเว้นของประดับตกแต่งซึ่งนิยมตามเทรนด์ เพราะเป็นอะไรที่คนเราซื้อใหม่เรื่อยๆ แทบทุกปีนั่นเอง

สถาปนิกต้องข้องเกี่ยวกับตัวเลขทั้งวัน บวกลบคูณหารหาพื้นที่ใช้กันอยู่ ตลอดเวลา และความรู้เรื่องเรขาคณิตก็จำเป็นมากๆ

สำหรับขั้นตอนการติดต่อกับลูกค้า สิ่งที่ลูกค้าต้องการจากเราคือ "แบบก่อสร้าง" เมื่อมีลูกค้าติดต่อมา สิ่งแรกที่ต้องทำเลยคือ นัดพบเพื่อพูดคุยถึงความต้องการของลูกค้า ว่าอยากได้อะไรแบบไหน ซึ่งจุดนี้เราต้องคุยให้เข้าใจลึกถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้าเลย เพราะงานออกแบบสถาปัตย์นั้นเหมือนเป็นงานที่สร้างความสุขให้มนุษย์ ถ้าเราทำออกมาถูกใจ ผู้อยู่อาศัยก็จะพอใจและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

หากไม่คุยให้เคลียร์ เราอาจจะออกแบบผิดๆ หรือไม่ตรงใจก็ได้ เช่น ลูกค้าอยากให้ออกแบบภายในของบ้านที่อยู่กัน 4 คน ขนาด 200 ตารางเมตร โดยมีผู้สูงอายุ 2 คน เราก็ต้องไปดูว่า ผู้สูงอายุนั้นมีการใช้ชีวิตยังไง เพราะหากคิดว่าเป็นผู้สูงอายุอย่างเดียว เราอาจออกแบบแค่สีเรียบๆ แต่จริงๆ ผู้สูงอายุที่ว่าอาจจะยังเปรี้ยวจี๊ด แต่งตัวกระชากวัย ชอบสีแป๊ดๆ หัวใจยังวัยรุ่นก็เป็นได้

**ตัวอย่างงานสเก็ตช์**
credit : http://www.lifeofanarchitect.com/architectural-sketching/ , http://123babyshop.co/architecture-house-sketch/

หรือลูกค้าบางคนอาจมาแบบไม่มีไอเดียอะไรเลย อยากให้เราช่วยออกแบบ เราก็ต้องคุยจนเข้าใจตัวตนของเขาว่าเป็นคนยังไง ลองนำผลงานเก่าๆ ของบริษัทมาให้ดู เผื่อจะมีแบบที่ลูกค้าถูกใจ ต้องลงลึกถึงสี บรรยากาศ สไตล์ การใช้งาน การใช้ชีวิต เพื่อที่จะได้ออกแบบได้ตรงใจและเหมาะสม จากนั้นก็ต้องไปดูพื้นที่จริง วัดขนาดจริง ซึ่งส่วนมากก็อาจจะเป็นบ้านเปล่าหรือห้องเปล่าที่ยังไม่มีอะไรเลย (ลองคิดภาพว่าเรามีห้องเปล่าๆ ไม่รู้จะเริ่มทำอะไรกับมัน คนแรกที่เราควรไปหาคือสถาปนิกนี่แหละเนาะ)

     จากนั้นก็จะกลับมาสเก็ตช์งานและตัดโมเดลให้ลูกค้าดู ถ้าลูกค้าโอเค ก็จะเริ่มดำเนินการต่อโดยใช้โปรแกรมออกแบบภาพเสมือนจริงเพื่อพรีเซนต์ลูกค้าให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น เช่น โปรแกรม SketchUp, 3DMax, Autocad แล้วก็เริ่มลงมือออกแบบแบบก่อสร้าง เสร็จแล้วก็ส่งแบบให้ผู้รับเหมาตีราคาและลงมือสร้างจริง โดยมีวิศวกรเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง

ในการทำงานนั้น แน่นอนว่าจะต้องมีการติดต่อกับ "วิศวกร" อยู่แทบตลอดเวลา เช่น พี่วาวออกแบบ หาวัสดุทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็ต้องมีวิศวกรและผู้รับเหมาเป็นผู้ดูแลและติดตั้งก่อสร้าง เปรียบเหมือนเราเป็นคนคิดโครงของร่างกาย ส่วนวิศวกรเป็นคนสร้างกระดูกเนื้อเยื่อเพื่อให้ร่างกายทำงานได้จริง พี่วาวจำเป็นต้องคอยไปดูการก่อสร้างเรื่อยๆ ว่าติดตั้งออกมาแล้วเป็นยังไง ยกตัวอย่างเช่น การปูพื้นกระเบื้องที่พี่วาวจัดหากระเบื้องมาแล้ว ก็ต้องไปเช็คความเรียบร้อยว่าเมื่อปูออกมาจริงๆ แล้วเป๊ะแบบที่คิดไว้มั้ย หรือ ลูกค้าอยากได้นั่นนี่เพิ่มเติม เช่น พื้นตรงนี้น่าจะลื่นไป อยากปูกระเบื้องใหม่ พี่วาวก็จะหาให้ว่ากระเบื้องแบบไหนเหมาะสม หาแหล่งซื้อมาให้

มัณฑนากร จะไม่เหมือนสถาปนิกซะทีเดียว เพราะมัณฑนากรจะเน้นไปที่การประดับตกแต่ง เช่น การเลือกเครื่องเรือน การเลือกผ้าม่าน การเลือก โคมไฟ ซึ่งใช้ความละเอียดลออในอีกด้านหนึ่ง

หลังจากเคลียร์งานบางส่วนในช่วงเช้าเสร็จ ตอนบ่ายพี่วาวมีนัดกับลูกค้าเพื่อดูความคืบหน้าของคอนโดที่พี่วาวออกแบบภายในให้ค่ะ สำหรับครั้งนี้ก็มาเป็นครั้งที่ 4 แล้ว (ครั้งที่ 1 มาดูสภาพห้องเปล่า , ครั้งที่ 2 พาผู้รับเหมามาดูสภาพห้องเปล่า , ครั้งที่ 3 หลังจากวาดแบบก่อสร้างแล้ว ก็พาผู้รับเหมามาดูอีกรอบก่อนลงมือสร้างและตกแต่ง) คราวนี้ก็มาดูว่าช่างก่อสร้างเป็นยังไงบ้าง มีอะไรต้องแก้ไขหรือเพิ่มเติมมั้ย เช่น กำแพงตรงนี้โล่งไป น่าจะหานาฬิกามาติดข้างฝา ก็ต้องวัดพื้นที่กำแพงตรงนั้นว่ากว้างเท่าไร จะได้เลือกขนาดของนาฬิกามาติดได้พอดี หรือเสาบางต้นตั้งอยู่เด่นเกินไป ดูขวางทางและไม่มีประโยชน์ ลองหาอะไรมาปิดจะดีมั้ย แล้วจะปิดยังไงให้ดูเนียน เรียกว่าเป็นงานที่ละเอียดมากๆ ทีเดียวเลยค่ะ

พี่วาวใช้เวลาดูความเรียบร้อยที่คอนโดประมาณ 2 ชั่วโมง ยังไม่หมดแค่นั้น พอตอนประมาณ 4 โมงเย็น พี่วาวต้องไปต่ออีกที่คือไป โชว์รูมของสุขภัณฑ์แห่งหนึ่ง อยู่แถวงามวงศ์วาน เพื่อเลือกกระเบื้องสำหรับโครงการบ้านจัดสรรของลูกค้าค่ะ

วันที่ลูกค้าย้ายเข้าอยู่ แล้วนอนหลับสบาย ถือว่าเป็นวันปิดโปรเจคท์ของเรา

เมื่อมาถึงที่โชว์รูมซึ่งลูกค้าส่วนมากก็จะเป็นสถาปนิกเหมือนพี่วาว ก็จะมี เซลส์(พนักงานขาย) ซึ่งมีความรู้ในเรื่องสินค้าสุขภัณฑ์มาคอยดูแลและให้คำแนะนำ อย่างกระเบื้องที่พี่วาวอยากได้ จะเป็นแนวย้อนยุค สไตล์อังกฤษ ดังนั้นก็จะเน้นไปที่กระเบื้องสีออกน้ำตาลหรือเทา โดยพี่วาวจะเลือกแบบที่เหมาะสมเตรียมไว้ให้ลูกค้าดู หรืออาจจะพาลูกค้ามาดูด้วยตัวเองอีกครั้งในวันหลัง เพราะหากลูกค้ามีโอกาสได้เห็นของจริงหรือได้สัมผัสวัสดุก่อนสั่งซื้อ จะทำให้เขารู้สึกเหมือนได้มีส่วนร่วมในการสร้างบ้านหรืออาคารของตัวเขาเองด้วยล่ะค่ะ (ลึกซึ้งมากๆ)

จนประมาณ 5 โมงเศษ ก็ถือว่าเสร็จสิ้นภารกิจในวันนี้ นี่แหละค่ะ หน้าที่ใน 1 วันของ สถาปนิก^^

ในระหว่างเรียน มีนิสิตจำนวนไม่น้อยที่รับงานออกแบบระหว่างเรียนด้วย ถือเป็นการเก็บประสบการณ์ชั้นเยี่ยมเลยทีเดียว

มีความคิดสร้างสรรค์และนำมันมาใช้ได้จริง เพื่อออกแบบที่อยู่อาศัยให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข

เข้าใจผู้อื่น เพราะเราต้องเข้าใจการใช้ชีวิตและความต้องการของเขา เพื่อจะนำสิ่งเหล่านั้นมาออกแบบเป็นบ้านให้เขา

มีตรรกะ มีระบบความคิด มีเหตุผล ออกแบบให้ "สวย" ก็ต้องอธิบายให้ได้ว่า ความสวยนั้นคืออะไร?

มีทักษะในการพูดสื่อสาร เพราะเราต้องอธิบายงานของเราให้ผู้อื่นเข้าใจ ทั้งลูกค้า วิศวกร หรือผู้รับเหมา ใครใช้ภาษาได้ดีก็ถือว่าได้เปรียบ

เป็นยังไงบ้างคะ A day in life of Architect น่าจะเป็นอีกอาชีพในฝันของน้องๆ หลายคน วันนี้คงจะได้เห็นภาพการทำงานชัดขึ้นและตอบคำถามที่หลายๆ คนถามมาเยอะมาก เช่น ต้องวาดรูปสวยมั้ย? ต้องเก่งฟิสิกส์หรือเปล่า? ส่วนตัวพี่เองรู้สึกว่า งานนี้ดูเป็นอาชีพที่ต้องมีของ(ไอเดีย)สูงมากกกกเลยจริงๆ ถ้าใครอ่านจบแล้วรู้สึกว่า นี่แหละ ใช่เลย ทางของเรา ก็เตรียมพุ่งเป้ากันให้เต็มที่เลยนะ ^^ สุดท้ายนี้ ทางทีมงานเว็บไซต์ Dek-D.com ต้องขอขอบคุณคุณวริศหรือพี่วาวที่ให้พวกเราได้ไปตามติดชีวิตหนึ่งวันเต็มๆ ... ส่วนตอนหน้าจะเป็นอาชีพอะไร ก็ต้องรอติดตาม หรืออยากให้พาไปดูอาชีพอะไร ก็ลองขอกันมาได้เลยจ้า

ของรางวัลคือสมุดโน้ตลาย Dek-D และเข็มกลัด "จงติดสถาปัตย์ฯ" หมดเขตโพสท์คำตอบ 5 ก.ค. **สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสั่งซื้อสมุดและเข็มกลัดได้ที่ www.dek-d.com/store

พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

หมีหิวต้องกินปลา Member 2 ก.ค. 58 13:35 น. 18

ล็อกอินเพื่อมาเมนต์เลยนะเนี่ย ไอดีเก่ามากกกกก ตั้งแต่ยังไม่เข้าถาปัตย์ จนทำงานแล้ว อยากบอกความจริงกับน้องๆอีกอย่างนึง ในกรณีพี่วาว เค้าค่อนข้างมีทุน เป็นเจ้าของบ. มันอาจจะดูดีมากกว่าความเป็นจริงนะคะ ซึ่งความจริงแล้ว สถาปนิก ในกรณีลูกจ้างนั้น เหนื่อย++++มาก  ทำงานล่วงเวลาแทบจะตลอด(โดยส่วนมากไม่มีค่าล่วงเวลาด้วยนะ) ยิ่งถาปัตย์หลักงานมันต่อเนื่องกินเวลา 1-3ปีกว่าอาคารที่เราออกแบบไว้จะสำเร็จออกมาเป็นรูปเป็นร่าง ค่าตอบแทนจริงๆ ถ้าจบใหม่ โดยส่วนมาก แค่ค่าแรงขั้นต่ำค่ะ(15000บาท)โดยส่วนมากนะคะขอย้ำ ยิ่งเป็นลูกจ้างด้วยแล้ว ทำงานข้ามวันข้ามคืนเลยก็มี ต้องใจรักจริงๆค่ะ น้องๆหลายคนที่มาถามมาคุยอยากเอนท์อยากเข้า พี่จะถามทุกครั้ง อยากรวยไหม อยากสบายไหม อยากนอนให้เต็มที่รึเปล่า ทนรับกับความเครียดและความกดดันได้ไหม เพราะสิ่งเหล่านี้ มันจะไม่มีถ้าน้องเป็นสถาปนิก ไม่รวยหรอกนะคะ ขยันอย่างไร ก็แค่พอมีค่ะ พี่รับฟรีแลนซ์ +งานประจำ ยังไม่เท่าอาชีพอื่นแค่ทำงานเดียวเลยค่ะ มีอย่างเดียวที่เราจะได้และไม่แพ้ใคร คือความภูมิใจค่ะภูมิใจมากด้วยนะ เพราะผลงานเรามันคือรูปธรรม จับต้องได้ และเป็นของเราไปได้ตลอดชีวิต ซึ่งต่างกับภาพลักษณ์ในทีวีหรือละครมากๆเลยนะคะ ไม่มีเวลาว่างไปจีบนางเอก ไม่มีเงินที่จะมีนางร้ายมาเกาะแกะแบบนั้นแน่ๆค่ะ แวะมาแชร์ประสบการณ์จริงๆให้น้องๆฟังค่ะ

3
แมวหิวต้องกินปลา 3 ก.ค. 58 15:46 น. 18-1
ถูกครับ ไม่มีหรอกครับที่จะเดินทางสายนี้แบบสบายๆ ชิลๆ ผมทำงานมาร่วมเกือบ 7 ปี ได้รู้ได้เห็นสิ่งต่างๆ มากก็ไม่มากมายเท่าไหร่ แต่ก็เห็น ก็อยากจะบอกว่าถ้าเรามองภาพร่วมของสถาปนิกว่าสวยงาม มันก็สวยงาม มองว่ามันไม่เริศหรู มันก็ไม่เลิศหรู ซะทีเดียว การแข่งขั้นในอาชีพนี้มันก็มีมากเช่นเดียวกัน...อย่างเช่น คุณหมีหิวต้องกินปลา ได้เล่าประสบการณ์ นั่นก็จริงแบบไม่ได้เฟค มันทั้งเหนื่อย เยอะ และเป็นหมีแพนด้าได้ทุกวันคืน และอีกอย่างหนึ่งก็คือค่าตอบแทนที่ได้รับ ถ้าเป็นเจ้านายในบริษัทก็อาจจะมากและคุ้มค่าและจะต้องแบบรับความเสี่ยง แต่ถ้าเป็นลูกจ้าง เราก็จะได้รับตามประสบการณ์ของเรา....เมื่อไหร่ที่ได้เริ่มงานวันแรก นั่นคือจุดเริ่มต้นของงานจริงๆเยี่ยม
0
กำลังโหลด
ลูกหมู 2 ส.ค. 58 02:06 น. 37
เป็นบทความที่ดีมาก ทำให้คนที่อยากจะเป็นสถาปนิก ได้เข้าใจถึงสภาพการทำงานจริง รู้จักอาชีพนี้มากขึ้น...ส่วนตัวทำงานอยู่บริษัทออกแบบตกแต่งภายใน...แม้ไม่ใช่ interior designer แต่ก็ได้คลุกคลีกับสายอาชีพนี้มาพอสมควร ที่จริงแล้วงาน interior ไม่ได้แค่เลือก loose furniture, built-in, ผ้าม่าน และอื่นๆเฉพาะประดับตกแต่งเท่านั้น งานที่ interior designer หรือ มัณฑนากรทำ คือ การออกแบบผังห้องภายในต่างๆ (layout) การออกแบบfunctionของ furniture ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตู้ เตียง โต๊ะ เก้าอี้ และอื่นๆสารพัดที่อยากจะใส่เข้าไปในงานดีไซน์ การเลือกmaterials, finishing เพื่อให้สอดคล้องกัน ไหนจะต้องคุมราคาไม่ให้เกินงบตามเจ้าของต้องการ...และอื่นๆอีกมากมาย เป็นงานที่ละเอียด และต้องใส่ใจ โดยเฉพาะงานเขียนแบบเพื่อก่อสร้าง ถ้าสะเพร่า ผู้รับเหมางานตกแต่งภายใน ก็พลาดตามแบบที่เราเขียน ก็ตามเก็บงานต่อเลย เพราะมันจะฟ้องทุกอย่างก็ตอนสร้างจริงนีแหละ! เละไม่เละก็ตรงนี้!หวาา อยากฝากน้องๆที่คิดจะเรียนสายนี้ และกำลังเรียนอยู่ว่า - เวลาฝึกงาน ขอให้กอบโกยความรู้ ประสบการณ์ ให้มากที่สุด เพราะมันคือสิ่งที่น้องจะได้ทำจริงเมื่อเรียนจบ ถ้าอยากมุ่งมาสายอาชีพนี้นะ แต่....น้องต้องอึดกว่านั้นหลายเท่า เพราะงานมันหนักมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าเช่นกัน ***น้องหลายคน พลาดสิ่งดีๆที่จะหาไม่ได้ในตำรา เอ่ยปากของานไปเลย อย่าปากหนัก เพราะมันไม่ช่วยอะไร*** -งาน thesis รายงาน ต่างๆ ขอให้คำนึงเสมอว่า งานออกแบบของคุณ แน่ใจนะว่า 'มันสร้างได้จริง' อย่าหลงไปกับภาพperspectivesที่สวยแต่รูป แต่จูบไม่หอมมมมม -ขอให้เติมความรู้ให้กับตัวเราเอง ทั้งในสายวิชาของเรา และสายอื่นๆ เมื่อไรที่เราทำงานจริง น้องต้องเจอสารพัดสาขามารวมหัวกันในห้องประชุม แล้วไล่บี้ตอบคำถามกัน ถ้ารู้แต่ของตัวเองที่ร่ำเรียนมา...ไปไม่รอดแทบทุกราย... -เตรียมตัวอดหลับ อดนอน อดข้าว ไม่ได้กลับบ้าน อยู่โอทีเป็นเดือนๆ ป่วยระหว่างทำงานแต่หยุดไม่ได้...ห้ามป่วย ห้ามตาย ห้ามสาย ห้ามลาขาด ลาก่อน หึๆ -ช่วยฝึกโปรแกรม computer พื้นฐานหน่อยเถอะ โดยเฉพาะ MS Office เนียะ! -ขอให้ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ถ้าไม่แน่ใจ ใช้ภาษาอังกฤษไปเลย ไม่ว่ากัน มันยังดูดีกว่า ดีกับการทำงานด้วยนะ แอบบอกอีกอย่าง คนเขียนแบบเก่งๆ ก็หายาก เพราะมันต้องมีความรู้หลายอย่าง และประสบการณ์ เช่น โครงสร้าง วัสดุ การผลิตเพื่อลดต้นทุน ต่างๆ รายละเอียดมีอีกเยอะ เอาเท่านี้(แต่ก็ยาวแฮะ)มาเล่าสู่กันฟัง ขอให้โชคดีทุกคนค่ะ เย้เย้
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
I am sorry. Member 1 ก.ค. 58 17:04 น. 5

ต้องตั้งใจเรียนแล้วค่ะ! เพราะโตขึ้นเราจะทำอาชีพนี้ =w= คณิตพอไปรอด แต่ฟิสิกข์ตรูจะรอดมั้ยนะ = =;;; 

0
กำลังโหลด
Nutiinutto 1 ก.ค. 58 19:36 น. 6
หลังจากได้อ่านบทความจนจบ ทำให้เราเข้าใจได้ว่า เลขกับฟิสิกส์มันครองโลกใบนี้ไปแล้วววว!!! TT การเป็นสถาปนิกมันไม่ง่ายเลย ไม่ใช่เเค่การวาดรูป ออกแบบเกร๋ๆ ลงบนกระดาษอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ มันต้องฉลาดฟิสิกส์ เลิศเลขด้วย 555 ที่สำคัญที่สุด คนที่เป็นสถาปนิกคือคนที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่สวยงาม ใช้ได้จริงและมีคุณค่าทางจิตใจกับลูกค้าด้วย ลูกค้าหลายคน ต่างก็อยากได้บ้านในฝันในแบบที่ตัวเองคิด และร่างภาพไว้ สถาปนิกต้องเข้าใจเเละตีโจทย์ตรงนี้ให้ออก และสร้างบ้านในฝันให้เกิดขึ้นมากได้จริง เป็นอาชีพที่เราคิดว่ามันดีมากๆเลย มันเป็นความงามที่เกิดขึ้นได้จริง 555 ท้ายที่สุด ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ พยายามต่อไป ให้สุดๆๆๆๆๆ(ๆร้อยล้านตัว) ก็พอแล่วว #Fighttt!!!!#59 มาแว้วว TT 555
0
กำลังโหลด

40 ความคิดเห็น

NO ANOTHER Member 1 ก.ค. 58 11:15 น. 1

งานของสถาปนิกไม่ใช่เเค่การออกแบบ แต่ต้องคำนึงถึงการที่คนๆนึง หรือครอบครัว ครอบครัวหนึ่ง เข้าไปอยู่อาศัยได้จริงๆ ไม่ใช่แค่สวยงามแต่ต้องใช้งานได้ดีเเละสะดวกสบาย ต้องใส่ใจรายละเอียดอะไรหลายๆอย่าง รู้สึกอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ต้องมีประสบการณ์เยอะ เห็นอะไรๆมาเยอะ ใช้ไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ทำผลงานออกมาให้มาอยู่ในชีวิตจริง มันใช่!!!

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

E-mail : plyfa_7840@hotmail.com

0
กำลังโหลด
fonchoi Member 1 ก.ค. 58 14:04 น. 2

หลังจากอ่านบทความจบ ทำให้รู้สึกชอบอาชีพนี้มากกว่าเดิม มันเเสดงถึงความลงตัวของศาสตร์เเละศิลป์ ต้องค้นหาอะไรใหม่ๆตลอดเวลา รวมถึงต้องสังเกตเเละใช้จิตวิทยาในการทำงานด้วย อย่างตอนที่พี่เขาพูดเรื่องผู้สูงอายุ งานหลายๆอย่างถึงเป็นเรื่องเล็กๆเเต่อาชีพนี้ใส่ใจรายละเอียดนั้น ซึ่งน่าสนใจเเละน่าสนุกมากค่ะ หลังจากรู้การทำงานจากบทความนี้ก็ทำให้หนูมีเเรงบันดาลใจและเเรงผลักดันมากกว่าเดิมเลยค่ะ #เด็ก59 email: namfonchoi10137@hotmail.com

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
กำลังโหลด
I am sorry. Member 1 ก.ค. 58 17:04 น. 5

ต้องตั้งใจเรียนแล้วค่ะ! เพราะโตขึ้นเราจะทำอาชีพนี้ =w= คณิตพอไปรอด แต่ฟิสิกข์ตรูจะรอดมั้ยนะ = =;;; 

0
กำลังโหลด
Nutiinutto 1 ก.ค. 58 19:36 น. 6
หลังจากได้อ่านบทความจนจบ ทำให้เราเข้าใจได้ว่า เลขกับฟิสิกส์มันครองโลกใบนี้ไปแล้วววว!!! TT การเป็นสถาปนิกมันไม่ง่ายเลย ไม่ใช่เเค่การวาดรูป ออกแบบเกร๋ๆ ลงบนกระดาษอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ มันต้องฉลาดฟิสิกส์ เลิศเลขด้วย 555 ที่สำคัญที่สุด คนที่เป็นสถาปนิกคือคนที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่สวยงาม ใช้ได้จริงและมีคุณค่าทางจิตใจกับลูกค้าด้วย ลูกค้าหลายคน ต่างก็อยากได้บ้านในฝันในแบบที่ตัวเองคิด และร่างภาพไว้ สถาปนิกต้องเข้าใจเเละตีโจทย์ตรงนี้ให้ออก และสร้างบ้านในฝันให้เกิดขึ้นมากได้จริง เป็นอาชีพที่เราคิดว่ามันดีมากๆเลย มันเป็นความงามที่เกิดขึ้นได้จริง 555 ท้ายที่สุด ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ พยายามต่อไป ให้สุดๆๆๆๆๆ(ๆร้อยล้านตัว) ก็พอแล่วว #Fighttt!!!!#59 มาแว้วว TT 555
0
กำลังโหลด
nicknight4n Member 1 ก.ค. 58 19:45 น. 7

อาชีพนี้ฝันที่จะเป็นต้องเเต่เด็กๆเลยค่ะ ชอบมาตลอดเเต่ไม่เคยมั้นใจในตัวเองเท่าไหร่เรื่องวาดรูปหรือความคิดสร้างสรรค์เข้าใจคนอื่นๆ ส่วนตัวคิดว่าตัวเองมีค่ะ พออ่านเเล้วเข้าใจหลักในการเป็นเเละมั้นใจมากๆๆๆขึ้นเเละยิ่งอยากที่จะเป็นเข้าไปอีกมากกว่าเดิม heartlaugh

0
กำลังโหลด
Sippa Sonthi Member 1 ก.ค. 58 20:17 น. 8

  หลังจากที่อ่านแล้วรู้สึกว่าอาชีพสถาปนิกมันสำคัญ เป็นอาชีพที่ออกแบบชีวิตคนเลยก็ว่าได้ ต้องทำให้ที่อยู่อาศัยของลูกค้าเป็นไปตามไลฟ์สไตล์ลูกค้า หากทำออกมาได้ไม่ตรงตามไอเดียความคิดและสไตล์ของลูกค้า ลูกค้าก็อยู่อาศัยแบบไม่มีความสุข เพราะที่อยู่อาศัยของตัวลูกค้าเองไม่ตรงกับไลฟ์สไตล์
     และได้รับแรงบันดาลใจพร้อมกับทริคเล็กๆน้อยๆของอาชีพสถาปนิกอีกด้วย
E - mail : sstoey_2546@outlook.com

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
toon5835 1 ก.ค. 58 20:30 น. 10
อ่านจบแล้วทำให้เรารู้เลยค่ะ ว่าถ้าเราจะเรียนสถาปัตย์จบไปแล้วเราจะต้องทำอะไรบ้าง ทำให้เรารักอาชีพนี้มากขึ้นนะ รู้สึกอยากทำอาชีพนี้เลยค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะที่ให้ความรู้ รู้เลยว่าอีก 5 ปีต่อจากนี้เราจะต้องทำอะไร จะพยายามและตั้งใจเรียนค่ะ ป.ล.ตอนนี้กำลังจะขึ้นปีหนึ่งคณะสถาปัตย์ยกรรมศาสตร์ค่ะ
0
กำลังโหลด
Ray=PenBer Member 1 ก.ค. 58 20:47 น. 11

พออ่านจบแล้วรู้สึกว่ามีแรงบันดาลใจมากขึ้นเลยค่ะ เพราะส่วนตัวเป็นคนที่เรียนไม่ค่อยเก่ง สอบทีไรก็ฟันแข็งแรงตลอดเลย แต่ผลการเรียนก็อยู่กลางๆของห้องนะคะ เคยท้ออยู่หลายๆครั้งกับการที่จะฝึกวาดแบบวาดทัศนียภาพ วาดนั่นนี่โน่น เดี๋ยสทั้งการบ้าน งานโรงเรียน เรียนพิเศษต่างๆนาๆ พอมาอ่านเรื่องของพี่วาวก็เหมือนมีไม้ขีดจุดไฟเผาตัวขี้เกียจให้ขนเกรียมๆแล้ว(555) ตอนนี้ก็พยายามจะฟิตเตรียมตัวสอบค่ะ!! #เด็กแอด60 เยี่ยม //มีคุณอมตะ หลูไพบูรย์ เป็นไอดอลค่ะ E-mail : ray.aiji@gamil.com

0
กำลังโหลด
Arc 1 ก.ค. 58 20:59 น. 12
วงการออกแบบสถาปัด เราต้องค้นหาสิ่งใหม่ๆเสมอครับ ทั้งไอเดียว และเทคโนโลยีในการก่อสร้าง ต้องตามวงการวิทยาศาสตร์ให้ทัน ต้องรู้ข่าวสารวัสดุ อุปกรณ์ใหม่ๆว่าไปถึงไหนแล้ว ต้องดูงานคนอื่นด้วย แล้วลองเอามาปรับใช้กับตัวเอง ถ้าใครเรียนสถาปัตย์แล้วไม่หมุนไปตามโลกหยุดอยู่นิ่งๆ คงเรียนไม่ได้แล้วนะครับ ซิ่วอย่างเดียวเลย ส่วนเรื่องฟิสิกส์ คณิต มันได้ใช้แน่นอนกับวงการนี้ เพราะมันเกี่ยวกับหลายๆอย่าง ทรงบ้าน รูปแบบบ้าน พื้นที่บริเวณนั้น ชั้นดิน อาการ ต้องใช้ฟิสิกส์หมดครับแต่ไม่ถึงขนาดต้องแบบ โค ตะ ระ เทพเลยไม่ต้องขนาดนั้นให้เรารู้ว่า สิ่งพวกนี้มันต้อองทำยังไง แก้ยังไง บริเวณนี้ ภูมิประเทศอย่างงี้ อากาศแบบนี้ บริเวณที่จะสร้างบ้านแบบนี้ ต้องออกแบบอย่างไรให้เข้ากับพื้นที่ ยอมรับเลยครับคนที่จะมาเรียนสายนี้นอกจากจะชอบวาดภาพแล้วถึงวาดไม่สวยตอนสอบไม่เป็นไร ฝีมือพัฒนากันได้ แต่ต้องชอบวิทยาศาสตร์ด้วยต้องคามให้ทัน และพี่เขาบอกด้วยว่าต้องเข้าใจจิตวิทยาคน สำหรับพี่(แอด58)นะ พี่ศึกษาธรรมะพี่ ปฎิบัติธรรมมาไม่มาก ไม่น้อยก็พอเข้าใจคนมันเป็นอย่างงี้ๆ คนนี้ชอบอย่างงี้ เราต้องทำแบบนี้ พี่เลยถือว่าตัวเองก้าวไปกว่าเพื่อน 1 ก้าวเพราะได้ประโยชน์มาจากการศึกษาธรรม ยังไงก็สู้ๆครับ ไม่ยากและไม่ง่าย วันไหนที่เราเห็นผลงานเราถูกสร้างขึ้นมาเราจะภูมิใจครับ 50 ปี 100 ปีก็ยังอยู่ถ้าเขาไม่ทุบเป็นแลนมาร์กของเราเลยแหละ....ปบ.พี่ลงเรียน ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ครับเยี่ยมเยี่ยมอ่านหนังสือ
0
กำลังโหลด
Sansang 1 ก.ค. 58 22:08 น. 13
ผมเป็น DEK59 ครับ อยากสอบเข้าคณะสถาปัตย์ของจุฬา สาขาสถาปัตย์หลักครับ (เหมือนพี่วาวเลย)ชูสองนิ้ว หลังอ่านจบแล้ว ผมก็คิดว่ามันก็ตรงกับที่เราคิดไว้นะ แต่ก็มีบางจุดที่ลึกซึ้งกว่า ทำให้เราได้เข้าใจอาชีพนี้มากขึ้น อยากเข้าไปเรียนเร็วๆเลยล่ะครับ(เวอร์มั้ย 5555 สอบให้ติดก่อนๆ)ว้าย ได้แรงบันดาลใจเพิ่มแล้ว ก็ไปอ่านหนังสือดีกว่าเนอะ 5555สู้สู้ Email:sansang001@hotmail.com
0
กำลังโหลด
CHAMPANGE Member 1 ก.ค. 58 23:08 น. 14

หลังจากอ่านบทความนี้ก็ทำให้เเบบเข้าใจและชอบอาชีพนี้มากขึ้น การที่จะออกแบบอะไรต่างๆได้มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับสวยงามซะทีเดียว เกี่ยวที่ว่าคนที่จะเข้ามาอาศัยอยู่พึงพอใจกับบ้านแค่ไหน แล้วใช้งานได้จริงไหม สะดวกสบาย อยู่แล้วมีความสุขกับบ้านไหม มันเป็นปัจจัยหลักๆเลยและงานออกแบบเป็นงานที่ต้องละเอียดมากที่เดียวที่จะให้แบบมันออกมาเป็นตามที่ต้องการ  

0
กำลังโหลด
HGFilM 1 ก.ค. 58 23:48 น. 15
"สถาปณิกเป็นอาชีพที่ต้องอดทนและขยันทำงานอย่างมาก" ช็อค หลังจากได้อ่านบทความนี้แล้ว ก็ได้เกิดคำถามขึ้นหลายอย่างในหัว เอ่อ.. อย่าง ทำงานออกมาเงินเดือนเท่าไหร่ กว่าเราจะไต่เต้าต้องใช้เวลาเท่าไหร่ คำถามเหล่านี้มันวกวนเต็มหัวไปหมดจริงๆเสียใจ แต่โดยส่วนตัวแล้วเป็นอาชีพที่อยากเป็นมากๆๆๆๆไม่ว่าจะถูกคนรอบข้างมองว่าเป็นอาชีพที่ไส้แห้ง กัดก้อนเกลือกิน ไม่อยากให้เราเป็นแต่ก็นะ เขิลจุง ใครจะห้ามได้อ่ะ ในเมื่อเราชอบมันจริงๆ ไม่ว่าเส้นทางจะยากลำบากแค่ไหนเราก็จะไปให้สุดและถึงจุดๆที่เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จให้ได้ สุดท้ายตรงนี้ถ้าคนที่อยากเป็นสถาปัตยได้อ่านคอมเมนต์นี้ ก็ขอให้อย่าละทิ้งความฝัน อย่าสนใจคนรอบข้างให้มันมากนัก=w= จงทำสิ่งที่อยากทำ (จงทำดี จงทำดี จงทำดี//ไม่ใช่ละ) เผื่อได้อิอิ E-mail: film352533554@gmail.com
0
กำลังโหลด
Yanisa 2 ก.ค. 58 00:01 น. 16
หลังอ่านบทความรู้สึกว่าตัวเองได้เข้าใจการทำงานของสถาปนิกเพิ่มและลึกขึ้นมากคะ การใส่ใจในทุกๆรายละเอียด การเป็นผู้สื่อสารที่ดีในหลายด้าน แนะนำสิ่งต่างๆ เป็นเพื่อนคู่คิด ออกแบบให้เหมาะกับตัวตนลูกค้า ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการคิดและการสร้างเสมอ และบทความนี้มีประโยชน์ที่จะใช้ในการตัดสินใจ เป็นแรงบันดาลใจและเป็นแรงผลักดันที่ดี มากกกคะ
0
กำลังโหลด
Yanisa 2 ก.ค. 58 00:08 น. 17
หลังอ่านบทความรู้สึกว่าตัวเองได้เข้าใจการทำงานของสถาปนิกเพิ่มและลึกขึ้นมากคะ การใส่ใจในทุกๆรายละเอียด การเป็นผู้สื่อสารที่ดีในหลายด้าน แนะนำสิ่งต่างๆ เป็นเพื่อนคู่คิด ออกแบบให้เหมาะกับตัวตนลูกค้า ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการคิดและการสร้างเสมอ และบทความนี้มีประโยชน์ที่จะใช้ในการตัดสินใจ เป็นแรงบันดาลใจและเป็นแรงผลักดันที่ดี มากกกคะ
0
กำลังโหลด
หมีหิวต้องกินปลา Member 2 ก.ค. 58 13:35 น. 18

ล็อกอินเพื่อมาเมนต์เลยนะเนี่ย ไอดีเก่ามากกกกก ตั้งแต่ยังไม่เข้าถาปัตย์ จนทำงานแล้ว อยากบอกความจริงกับน้องๆอีกอย่างนึง ในกรณีพี่วาว เค้าค่อนข้างมีทุน เป็นเจ้าของบ. มันอาจจะดูดีมากกว่าความเป็นจริงนะคะ ซึ่งความจริงแล้ว สถาปนิก ในกรณีลูกจ้างนั้น เหนื่อย++++มาก  ทำงานล่วงเวลาแทบจะตลอด(โดยส่วนมากไม่มีค่าล่วงเวลาด้วยนะ) ยิ่งถาปัตย์หลักงานมันต่อเนื่องกินเวลา 1-3ปีกว่าอาคารที่เราออกแบบไว้จะสำเร็จออกมาเป็นรูปเป็นร่าง ค่าตอบแทนจริงๆ ถ้าจบใหม่ โดยส่วนมาก แค่ค่าแรงขั้นต่ำค่ะ(15000บาท)โดยส่วนมากนะคะขอย้ำ ยิ่งเป็นลูกจ้างด้วยแล้ว ทำงานข้ามวันข้ามคืนเลยก็มี ต้องใจรักจริงๆค่ะ น้องๆหลายคนที่มาถามมาคุยอยากเอนท์อยากเข้า พี่จะถามทุกครั้ง อยากรวยไหม อยากสบายไหม อยากนอนให้เต็มที่รึเปล่า ทนรับกับความเครียดและความกดดันได้ไหม เพราะสิ่งเหล่านี้ มันจะไม่มีถ้าน้องเป็นสถาปนิก ไม่รวยหรอกนะคะ ขยันอย่างไร ก็แค่พอมีค่ะ พี่รับฟรีแลนซ์ +งานประจำ ยังไม่เท่าอาชีพอื่นแค่ทำงานเดียวเลยค่ะ มีอย่างเดียวที่เราจะได้และไม่แพ้ใคร คือความภูมิใจค่ะภูมิใจมากด้วยนะ เพราะผลงานเรามันคือรูปธรรม จับต้องได้ และเป็นของเราไปได้ตลอดชีวิต ซึ่งต่างกับภาพลักษณ์ในทีวีหรือละครมากๆเลยนะคะ ไม่มีเวลาว่างไปจีบนางเอก ไม่มีเงินที่จะมีนางร้ายมาเกาะแกะแบบนั้นแน่ๆค่ะ แวะมาแชร์ประสบการณ์จริงๆให้น้องๆฟังค่ะ

3
แมวหิวต้องกินปลา 3 ก.ค. 58 15:46 น. 18-1
ถูกครับ ไม่มีหรอกครับที่จะเดินทางสายนี้แบบสบายๆ ชิลๆ ผมทำงานมาร่วมเกือบ 7 ปี ได้รู้ได้เห็นสิ่งต่างๆ มากก็ไม่มากมายเท่าไหร่ แต่ก็เห็น ก็อยากจะบอกว่าถ้าเรามองภาพร่วมของสถาปนิกว่าสวยงาม มันก็สวยงาม มองว่ามันไม่เริศหรู มันก็ไม่เลิศหรู ซะทีเดียว การแข่งขั้นในอาชีพนี้มันก็มีมากเช่นเดียวกัน...อย่างเช่น คุณหมีหิวต้องกินปลา ได้เล่าประสบการณ์ นั่นก็จริงแบบไม่ได้เฟค มันทั้งเหนื่อย เยอะ และเป็นหมีแพนด้าได้ทุกวันคืน และอีกอย่างหนึ่งก็คือค่าตอบแทนที่ได้รับ ถ้าเป็นเจ้านายในบริษัทก็อาจจะมากและคุ้มค่าและจะต้องแบบรับความเสี่ยง แต่ถ้าเป็นลูกจ้าง เราก็จะได้รับตามประสบการณ์ของเรา....เมื่อไหร่ที่ได้เริ่มงานวันแรก นั่นคือจุดเริ่มต้นของงานจริงๆเยี่ยม
0
กำลังโหลด
English... Member 2 ก.ค. 58 18:37 น. 19

พออ่านจบทำให้เราเข้าใจชีวิตสถาปนิกมากขึ้นทำให้เรามานั่งคิดว่าเอ๊ะ!!มันใช่ทางเราจริงๆหรอจิงๆเวลาว่างเราก็ชอบออกเเบบบ้านห้องต่างๆเเต่ติดที่วาดรูปไม่ค่อยสวยก็เลยทำให้คิดหนักเเต่มาคิดดูว่าเราวาดรูปไม่สวยเราไปเรียนศิลปะได้มั้ย ฝึกวาดบ่อยๆได้หรือเปล่าสรุปคือได้ถ้าเราจะทำ # ตัดสินใจเเล้วด้วยว่าเลือกคณะอย่าเลือกตามไคเเต่ให้เลือกตามที่ใจชอบ e-mail: niramai_22@hotmail.com

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
กำลังโหลด