คำถามคาใจ "ทำไม" เราไม่ปั๊มเงินเพื่อแก้ปัญหาความยากจน?

        สวัสดีชาวเด็กดีทุกคนค่ะ วันนี้ "พี่น้อง" มีคำถามที่เชื่อว่าคงคาใจเด็กดีหลายคนอยู่เลยทีเดียว น้องๆ หลายคนคงทราบดีว่าตอนนี้เศรษฐกิจประเทศไทยไม่สู้ดีนัก รวมทั้งเศรษฐกิจโลกด้วย และนอกจากประเทศไทยแล้ว ก็ยังมีประเทศด้อยพัฒนาอีกมากแถบแอฟริกาที่ประสบปัญหาทั้งขาดแคลนทรัพยากรและเงินทอง
        ใช่แล้วค่ะ เงินคือปัจจัยสำคัญที่ใช้ซื้อสิ่งของจำเป็นและฟุ่มเฟือย และเราก็รู้กันว่าเจ้ากระดาษสีต่างๆ ที่เราถืออยู่ในมือเพื่อใช้ซื้อของน่ะ เราเป็นคนผลิตกันเองนี่นา ถ้าเราอยากจะแก้ปัญหาความยากจนและเศรษฐกิจ ทำไมเราไม่ปั๊มเงินเพิ่ม แล้วแจกชาวบ้านสักคนละสิบล้านล่ะ? ทุกคนจะได้ไม่ยากจนไง
 

geralt via pixabay.com
 
        อ๊ะๆ อย่าเพิ่งรีบคิดว่าถ้าได้สิบล้านแล้วจะเอาไปซื้ออะไรดี เพราะพี่น้องจะอธิบายให้ฟังเดี๋ยวนี้ว่าทำไมเราถึงสุ่มสี่สุ่มห้า "ปั๊มเงิน" กันอย่างที่พูดเล่นไม่ได้
 

ที่มาของการใช้เงิน

        เจ้ากระดาษสีๆ ที่มีค่าเหล่านี้มันมีที่มาจากไหน? ขอย้อนกลับไปตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ที่เรายังไม่มีเครื่องจักรผลิตเงิน ไม่มีแม้แต่กระดาษ แต่เรายังต้องการอาหารและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม คนสมัยนั้นแรกๆ ก็ตีหัวกันเอาของคนอื่น ไปมาก็เริ่มมีคนหัวหมอ คิดว่าเราหาอะไรไปแลกของที่เราอยากได้ดีกว่า
        ก็เลยเกิดสิ่งที่เรียกว่า Barter System (บาร์เทอร์ ซิสเต็ม) ระบบการแลกเปลี่ยนที่ทั้งสองฝ่ายพอใจ ฝ่ายหนึ่งมีปลาห้าตัว อีกฝ่ายมีกระต่ายสองตัว "ขอแลกกระต่ายหนึ่งตัวกับปลาสักสองตัวได้มั้ยพ่อหนุ่ม?"
 

FitMum via pixabay.com
 
        แต่การแลกเปลี่ยนแบบนี้ไม่สะดวกอย่างแรง ประการแรก สมมติเรามีมะม่วงสองลูก อยากได้พริกเกลือเหลือเกิน แต่คนที่มีพริกเกลือกลับอยากได้มะยมมากกว่า พอไปเจอคนที่อยากได้มะม่วงของเรา เขาก็ดันไม่มีพริกเกลือที่เราต้องการ โห กว่าจะหาคนมาแลกของได้พอใจทั้งสองฝ่ายก็ยากอยู่นะ
        ประการที่สอง เวลาจะแลกของที่มีค่ามากๆ สมมติอีกฝ่ายบอก "ขอกระต่ายเป็นๆ 10 ตัวแล้วข้าจะยกถ้ำนี้ให้" เราจะไปล่ากระต่ายจากไหนมาตั้ง 10 ตัว แถมต้องคอยดูไม่ให้มันหนีหรือป่วยตายไปเสียอีก แล้วจะหอบหิ้วพามันไปหาเจ้าของถ้ำยังไง
        แค่คิดก็ลำบากแล้วค่ะ ไปหาถ้ำใหม่แล้วกัน
        เพราะงั้นก็เลยเกิดสิ่งที่เรียกว่า Money System (มันนี่ ซิสเต็ม) หรือระบบเงินตรา มนุษย์สร้างกระดาษที่มีมูลค่าในตัวมันเอง แล้วเอาไปแลกกับสิ่งของที่อยากได้ โดยตกลงกันว่าต่อไปนี้เราจะแลกเปลี่ยนกันด้วยกระดาษนะ
 

มูลค่าของเงินมาจากไหน?

        ที่เห็นกันยี่สิบบาท ห้าสิบบาท ร้อยบาทนั่นคือมูลค่าที่เรากำหนดให้กับกระดาษแต่ละใบ แต่มูลค่าของเงินตราจริงๆ อยู่ที่ว่า 1 บาท ซื้อของได้เท่าไร 100 บาท สั่งข้าวได้กี่จาน นี่ต่างหากคือมูลค่าที่แท้จริงของเงินในมือ
        มูลค่าของเงินไม่คงที่ ถ้าน้องๆ ชาวเด็กดีกลายเป็นมนุษย์เงินเดือนแล้วจะรู้ซึ้งถึงคำว่า "เงินเฟ้อ" เลยค่ะ มันคือการที่มูลค่าสินค้าและบริการในตลาดสูงขึ้น อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ ปัจจัยหนึ่งก็คือ เพราะคนมีเงินจ่าย
        สมมติพี่เปิดร้านก๋วยเตี๋ยว ปกติขายชามละ 20 บาท ผ่านไปหนึ่งปี น้ำมันก็ขึ้นราคา มะนาวก็ขึ้นราคา พี่เหมารวมๆ เอาว่าวัตถุดิบในการทำอาหารและเปิดกิจการของพี่มันขึ้นราคา เดี๋ยวพี่ขาดทุน ขอเพิ่มราคาค่าก๋วยเตี๋ยวเป็น 30 บาทนะจ๊ะ
 

free-pix-bkk via pixabay.com
 

        เพราะอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิต น้องๆ ก็ต้องยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อข้าวที่แพงขึ้น แม้ว่าตัวเองจะได้เงินค่าขนมจากพ่อแม่เท่าเดิม
        หรือบางที พี่เปิดร้านกาแฟแบบสโลวไลฟ์ คิดค่ากาแฟแก้วละ 100 บาท เพราะพี่คิดมั่นใจว่ากาแฟข้าอร่อยที่สุดในสามจักรวาล ทุกคนต้องยอมซื้อแม้จะราคาสูงมาก คนที่มีเงินจ่ายก็ยอมควักเงินจ่าย ร้านอื่นๆ เห็นคนยอมเสียเงินจ่ายค่ากาแฟตั้ง 100 บาท งั้นขอปรับราคาเป็นแก้วละ 50 บาทบ้างแล้วกัน
        สินค้าในตลาดก็ทวีราคาสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
        สังเกตว่าพ่อแม่ หรือรุ่นพี่ของเราที่โตมาอีกยุคจะบ่นเรื่องค่าครองชีพว่าเมื่อก่อนน่ะ ก๋วยเตี๋ยวชามละ 10 บาท เส้นเต็มจาน เดี๋ยวนี้ชามละ 50 กินสองจานยังไม่อิ่ม นั่นแหละค่ะ เขาเรียก "เงินเฟ้อ" มูลค่าสินค้าและบริการเพิ่มเอาๆ ในขณะที่เราถือเงินอยู่ในมือเท่าเดิม (โอ้ย น้ำตาจะไหล)
 

งั้นก็ปั๊มเงินกันเถอะ!?

        เดี๋ยวๆ ใจเย็น พี่น้องจะไม่พูดถึงขั้นตอนการทำเรื่องปั๊มเงินของรัฐบาลแต่ละประเทศนะ เรามาสมมติสถานการณ์กันดีกว่าว่าถ้าอยู่ดีๆ รัฐบาลบอก "เราจะแจกเงินประชาชนทุกคนคนละ 5 ล้าน ทุกคนจะได้รวยๆๆๆๆ"
        เอาล่ะ ทุกคนมีเงินในมือคนละ 5 ล้านแล้วเราทำไงต่อคะ?
        ซื้อสิคะ จะรออะไร!
 

PublicDomainPictures via pixabay.com
 
        ใครมีหนี้ใช้หนี้ ใครมีของที่เล็งไว้ ซื้อเข้าไป!
        พอคนมีเงินซื้อของ ถ้าเราเป็นแม่ค้าเราทำไงคะ...?
        แหม...มีตั้ง 5 ล้าน ก๋วยเตี๋ยวชามละ 500 ก็จ่ายได้น่า
        ทุกคนแห่ไปซื้อไอโฟนจนขาดตลาด แอปเปิ้ลทำไงคะ?
        อุ้ย ต้องเพิ่มฐานการผลิต ต้องจ้างคนเพิ่ม เฮ้อ มีแต่รายจ่าย "คุกๆ เพิ่มราคาไอโฟนเจ็ดดีมั้ย?"
        เท่านั้นล่ะค่ะ เราก็จะอยู่ในประเทศที่ทุกคนมีเงิน แต่ของก็แพงตามปริมาณเงินในมือเราไปด้วย มันเรียกว่าอะไรนะคะ?
        "เงินเฟ้อ" นั่นเอง แม้มีเงินเยอะ ราคาของก็แพงเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุดสักที
        เมื่อเราต้องจ่ายเป็นพันในการกินอาหารถูกๆ มื้อเดียว แบงค์ 20 ก็จะมีค่าเท่ากับห้าสิบสตางค์ ที่ทุกคนจะทำหล่นไว้กลางทางยังไงก็ได้ และรัฐบาลก็ต้องผลิตแบงค์ 10,000 บาทไทยเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้จ่ายมากขึ้น
        ก็จะเหมือนกับกรณีที่ประเทศซิมบับเวย์ ซึ่งเงินเฟ้อสูงมากภายในปีสองปี จนทำให้เขาต้องผลิตแบงค์ 100,000,000,000,000 (ร้อยล้านล้าน) ซิมบับเวียน ออกมา (ถือแล้วรู้สึกรวย)
 

Reserve Bank of Simbabway via wikipedia.org

        ทีนี้เข้าใจแล้วใช่มั้ยคะว่าทำไมเราถึงสุ่มสี่สุ่มห้าปั๊มเงินมาใช้กันเองไม่ได้ เพราะภาวะเงินเฟ้อมันน่ากลัวแบบนี้นี่เอง
 

ถึงจะมีเงินในกระเป๋าแค่ร้อยเดียว
แต่ก็ต้องทนอยู่กับมันไปให้ได้นะจ๊ะทุกคน

(น้ำตาจะไหล ใครให้เอาเรื่องจริงมาพูด)
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

แวะมา 30 ม.ค. 59 22:40 น. 5
เพิ่มเติมจากเจ้าของบทความให้นิดนึงครับ "เงินคือตัวแทนของทองคำ" คนที่ศึกษาเรื่องนี้อยุ่แล้วได้ยินคำนี้จะเข้าใจทันทีครับ สำหรับคนที่ไม่เข้าใจลองไปค้นหาคำตอบดู รายระเอียดจริงๆมันค่อนยาวแต่ไม่ซับซ้อน ถ้าศึกษาดุแล้วจะ อ๋อ ทันที เยี่ยม
0
กำลังโหลด
[เก้าหาง] Member 30 ม.ค. 59 23:31 น. 7
ชอบประโยคสุดท้ายมากเลย "ถึงจะมีเงินอยู่ในกระเป๋าแค่ร้อยเดียว แต่ก็ต้องทนอยู่กับมันไปให้ได้"
0
กำลังโหลด
Nont 30 ม.ค. 59 22:11 น. 3
วิธีที่จำทำให้คนในชาติมีรายได้สูงขึ้นก็ต้องเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิต การขนส่ง และพัฒนาฝีมือแรงงาน
0
กำลังโหลด
ก็เรา หนูหญิง Member 30 ม.ค. 59 23:04 น. 6

ที่ประเทศไทยเป็นอยู่ไม่สามารผลิตเงินใช้เองได้อย่างอำเภอใจค่ะ แต่เป็นการวางหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินต่างๆที่สามารถเปลี่ยนแปลงมาเป็นมูลค่าของเงินได้ เช่น ที่ประเทศไทยมักใช้ในการวางหลักทรัพย์ ก็จะเป็น ทองคำหรือเงินสกุลต่างชาติ   ต้องวางหลักทรัพย์ส่วนนี้ก่อนจึงจะสามารถผลิตเงินเพื่อนำมาใช้จ่าย หมุนเวียนภายในประเทศได้

แต่ประเทศสหรัฐสามารถผลิตเงินไม่ต้องมีหลักทรัพย์ได้ ประมาณว่า เป็นเงินส่วนกลางที่ต้องพร้อมให้แต่ละประเทศสามารถกู้ยืมเงินได้ หรือใช้เงินสุกลของสหรัฐฯได้ เช่น ประเทศที่กำลังพัฒนาแห่งหนึ่งต้องการเงินเพื่อนำมาพัฒนา ประเทศที่กำลังพัฒนานี้ต้องการกู้ยืมเป็นเงินจำนวน (เยอะ)   จึงไปขอกู้ยืมเงินกับสหรัฐ โดยมีข้อตกลงและเงื่อนไขต่างๆ(ข้าม) ถ้าทั้งสองประเทศตกลงได้ จำนวนเงินที่ประเทศที่กำลังพัฒนาต้องการ สหรัฐฯก็จะผลิตให้ตามที่ตกลง ซึ่งสหรัฐฯไม่ต้องวิ่งหาหลักทรัพย์มาวางก่อนที่จะได้เงินเพื่อนำไปให้ประเทศที่กำลังพัฒนากู้ยืมอีกที...... (ไม่งงเนอะ)

อีกอย่าง มีกรณีให้ศึกษาว่าจะเป็นอย่างไร ถ้าประเทศเราสามารถผลิตเงินขึ้นใช้เองได้ ก็จะเหมือนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลประเทศเยอรมนีจ่ายค่าชดเชยให้แก่ประชาชนโดยเป็นกระดาษที่สามารถเขียนมูลค่าของจำนวนเงินได้ เข้าใจง่ายๆ ก็เช็คดีๆนี้เอง แต่ที่ไม่ดีก็คือกระดาษที่รัฐแจกจ่ายให้ประชาชนมานั้น มันแทบไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะช่วงสงครามสิ่งที่ทุกคนต้องการมากที่สุดคืออาหารที่ประทังชีวิตได้ ซึ่งช่วงสงครามนั้นอาหารกลับเป็นอะไรที่หายากมากๆ ขนาดขนมปังขึ้นเชื้อราในช่วงนั้นยังมีค่ามากเลย  อาหารมีมูลค่ามากแตกต่างจากเงิน ที่มีจำนวนมากเท่าไรก็ไม่พอจ่าย (ข้อนี้เป็นข้อศึกษาในทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยเรื่อง เงินเฟ้อ ) ท้ายสุดกระดาษที่รัฐบาลแจกจ่ายค่าชดเชยให้แก่ประชาชนนั้น ประชาชนได้นำมาติดเป็นวอลเปเปอร์ เพดาน เพราะอย่างน้อยกระดาษชิ้นนี้ที่รัฐให้มาก็สามารถปิดรอยรั่วหรือแสงที่ลอดเข้ามาในตัวห้องได้ (ถ้าผิดอย่างไรก็ขออภัยด้วยนะค่ะ ยิ้ม...เขิลจุง)

0
กำลังโหลด
ผ่านมาจ้ะ 30 ม.ค. 59 23:45 น. 8
มีเงินไม่เท่ามีทอง เพราะเงินจะแปรผันกับค่าของทองตลอดเวลา ถ้าใครมีเงินเก็บเยอะๆไม่รู้จะเอาไปทำอะไรผมแนะนำให้ซื้อทองเอาไว้ (ทองแท่งนะเพราะทองรูปพรรณมีการกัดสึกหรอเยอะ) จากนั้นก็เอาไปฝากในเซฟของธนาคารที่มั่นคง ปลอดภัย แล้วก็ลืมว่าเคยมีมัน ถ้าทำได้ตามกระบวนการนี้ ค่าเงินในประเทศจะลดลงหรือเพิ่มขึ้นก็ไม่มีผล เพราะค่าของทองเป็นสากล ทั่วทั้งโลกจะใช้เงินแปรผันเข้ากับค่าของทองแท่ง ซึ่งมีระบบการควบคุมที่เข้มงวดมาก ข้อเสียของ ทองคือ หาที่เก็บยาก ไม่เพิ่มมูลค่าของตน สึกกร่อนได้ แต่ข้อดีที่แซงโค้งทุกข้อเสียคือ มันเป็นที่ยอมรับของโลก ยกตัวอย่างประเทศจีน ที่อยู่ดีๆก็ยกเลิกการใช้เงิน ทำให้เงินกลายเป็นกระดาษไม่มีราคา แต่คนที่มีทองก็ยังมีโอกาส คนจีนรุ่นอาก๋ง จึงนิยมเก็บสะสมทองพอสมควร เพราะหลายๆคนมีประวัติเงินสูญค่ามาแล้วนั่นเอง
0
กำลังโหลด

14 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
Nont 30 ม.ค. 59 22:11 น. 3
วิธีที่จำทำให้คนในชาติมีรายได้สูงขึ้นก็ต้องเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิต การขนส่ง และพัฒนาฝีมือแรงงาน
0
กำลังโหลด
JGC. Member 30 ม.ค. 59 22:14 น. 4

งงตรงที่บอกว่า "ร้านอื่นๆ เห็นคนยอมจ่ายเงินแก้วละ 100 ก็ขอปรับเป็น 50 บาทบ้างละกัน" คือจะบอกว่าขอปรับเป็น 100 เหมือนกันบ้าง หรือจะบอกว่าขอปรับราคาเพิ่มอีก 50 บ้าง รึปล่าวครับ 

1
กำลังโหลด
แวะมา 30 ม.ค. 59 22:40 น. 5
เพิ่มเติมจากเจ้าของบทความให้นิดนึงครับ "เงินคือตัวแทนของทองคำ" คนที่ศึกษาเรื่องนี้อยุ่แล้วได้ยินคำนี้จะเข้าใจทันทีครับ สำหรับคนที่ไม่เข้าใจลองไปค้นหาคำตอบดู รายระเอียดจริงๆมันค่อนยาวแต่ไม่ซับซ้อน ถ้าศึกษาดุแล้วจะ อ๋อ ทันที เยี่ยม
0
กำลังโหลด
ก็เรา หนูหญิง Member 30 ม.ค. 59 23:04 น. 6

ที่ประเทศไทยเป็นอยู่ไม่สามารผลิตเงินใช้เองได้อย่างอำเภอใจค่ะ แต่เป็นการวางหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินต่างๆที่สามารถเปลี่ยนแปลงมาเป็นมูลค่าของเงินได้ เช่น ที่ประเทศไทยมักใช้ในการวางหลักทรัพย์ ก็จะเป็น ทองคำหรือเงินสกุลต่างชาติ   ต้องวางหลักทรัพย์ส่วนนี้ก่อนจึงจะสามารถผลิตเงินเพื่อนำมาใช้จ่าย หมุนเวียนภายในประเทศได้

แต่ประเทศสหรัฐสามารถผลิตเงินไม่ต้องมีหลักทรัพย์ได้ ประมาณว่า เป็นเงินส่วนกลางที่ต้องพร้อมให้แต่ละประเทศสามารถกู้ยืมเงินได้ หรือใช้เงินสุกลของสหรัฐฯได้ เช่น ประเทศที่กำลังพัฒนาแห่งหนึ่งต้องการเงินเพื่อนำมาพัฒนา ประเทศที่กำลังพัฒนานี้ต้องการกู้ยืมเป็นเงินจำนวน (เยอะ)   จึงไปขอกู้ยืมเงินกับสหรัฐ โดยมีข้อตกลงและเงื่อนไขต่างๆ(ข้าม) ถ้าทั้งสองประเทศตกลงได้ จำนวนเงินที่ประเทศที่กำลังพัฒนาต้องการ สหรัฐฯก็จะผลิตให้ตามที่ตกลง ซึ่งสหรัฐฯไม่ต้องวิ่งหาหลักทรัพย์มาวางก่อนที่จะได้เงินเพื่อนำไปให้ประเทศที่กำลังพัฒนากู้ยืมอีกที...... (ไม่งงเนอะ)

อีกอย่าง มีกรณีให้ศึกษาว่าจะเป็นอย่างไร ถ้าประเทศเราสามารถผลิตเงินขึ้นใช้เองได้ ก็จะเหมือนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลประเทศเยอรมนีจ่ายค่าชดเชยให้แก่ประชาชนโดยเป็นกระดาษที่สามารถเขียนมูลค่าของจำนวนเงินได้ เข้าใจง่ายๆ ก็เช็คดีๆนี้เอง แต่ที่ไม่ดีก็คือกระดาษที่รัฐแจกจ่ายให้ประชาชนมานั้น มันแทบไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะช่วงสงครามสิ่งที่ทุกคนต้องการมากที่สุดคืออาหารที่ประทังชีวิตได้ ซึ่งช่วงสงครามนั้นอาหารกลับเป็นอะไรที่หายากมากๆ ขนาดขนมปังขึ้นเชื้อราในช่วงนั้นยังมีค่ามากเลย  อาหารมีมูลค่ามากแตกต่างจากเงิน ที่มีจำนวนมากเท่าไรก็ไม่พอจ่าย (ข้อนี้เป็นข้อศึกษาในทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยเรื่อง เงินเฟ้อ ) ท้ายสุดกระดาษที่รัฐบาลแจกจ่ายค่าชดเชยให้แก่ประชาชนนั้น ประชาชนได้นำมาติดเป็นวอลเปเปอร์ เพดาน เพราะอย่างน้อยกระดาษชิ้นนี้ที่รัฐให้มาก็สามารถปิดรอยรั่วหรือแสงที่ลอดเข้ามาในตัวห้องได้ (ถ้าผิดอย่างไรก็ขออภัยด้วยนะค่ะ ยิ้ม...เขิลจุง)

0
กำลังโหลด
[เก้าหาง] Member 30 ม.ค. 59 23:31 น. 7
ชอบประโยคสุดท้ายมากเลย "ถึงจะมีเงินอยู่ในกระเป๋าแค่ร้อยเดียว แต่ก็ต้องทนอยู่กับมันไปให้ได้"
0
กำลังโหลด
ผ่านมาจ้ะ 30 ม.ค. 59 23:45 น. 8
มีเงินไม่เท่ามีทอง เพราะเงินจะแปรผันกับค่าของทองตลอดเวลา ถ้าใครมีเงินเก็บเยอะๆไม่รู้จะเอาไปทำอะไรผมแนะนำให้ซื้อทองเอาไว้ (ทองแท่งนะเพราะทองรูปพรรณมีการกัดสึกหรอเยอะ) จากนั้นก็เอาไปฝากในเซฟของธนาคารที่มั่นคง ปลอดภัย แล้วก็ลืมว่าเคยมีมัน ถ้าทำได้ตามกระบวนการนี้ ค่าเงินในประเทศจะลดลงหรือเพิ่มขึ้นก็ไม่มีผล เพราะค่าของทองเป็นสากล ทั่วทั้งโลกจะใช้เงินแปรผันเข้ากับค่าของทองแท่ง ซึ่งมีระบบการควบคุมที่เข้มงวดมาก ข้อเสียของ ทองคือ หาที่เก็บยาก ไม่เพิ่มมูลค่าของตน สึกกร่อนได้ แต่ข้อดีที่แซงโค้งทุกข้อเสียคือ มันเป็นที่ยอมรับของโลก ยกตัวอย่างประเทศจีน ที่อยู่ดีๆก็ยกเลิกการใช้เงิน ทำให้เงินกลายเป็นกระดาษไม่มีราคา แต่คนที่มีทองก็ยังมีโอกาส คนจีนรุ่นอาก๋ง จึงนิยมเก็บสะสมทองพอสมควร เพราะหลายๆคนมีประวัติเงินสูญค่ามาแล้วนั่นเอง
0
กำลังโหลด
คิดดเล่นๆ 31 ม.ค. 59 10:05 น. 9
ไม่ใช่แค่เงินเฟ้ออย่างเดียวค่ะ ลองคิดเล่นๆถ้า ทุกคนมีเงินกันหมด จะมาทำงาน จะมาขายของให้เหนื่อยทำไม ก็จะกลายเป็นว่าไม่มีพนักงาน ไม่มีลูกจ้าง
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
น้องมิวววว 10 ก.พ. 59 09:18 น. 11
แล้วทำไมราคาต้องเพิ่มด้วยละ นี้ถ้าเราเป็นประธานาธิบดีโลกไรงี้เราจะสั่งให้ทุกประเทศทุกหน่วยรัฐลดภาวะเงินเฟ้อและแจกจ่ายเงินเดือนสำหรับประชาชนแต่ค่าธรรมเนียมก็ยังอยู่ แล้วรัฐบาลก็เอาเงินส่วนนั้นไปลงทุนก็ได้ แต่นี้มันก็ยืดยานจนแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว คนจนก็จนต่อไปคนรวยก็รวยเรื่อยๆ โลกนี้ไม่มีความยุติธรรมซะจริงๆ (ความคิดเด็กๆนะเออ)
0
กำลังโหลด
อิอิอิอิ 14 ก.พ. 59 07:56 น. 12
สัตว์พืชผัก ผลไม้ สิ่งประดิษฐ์แปรรูป ส่งออกนอกและนำเข้าไง จริงๆ แล้วมันหาง่ายไม่ต้องขึ้นราคาของด้วยซ้ำ แต่เราต้องการวัตถุดิบหายากที่เราผลิตในประเทศไม่ได้ ราคาสิ่งของนำเข้าจำเป็นต้องขึ้นราคาเพราะ มันผ่านกระบวนการหลายอย่างกว่าจะถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย ไม่งั้นคงได้ใช้ของปลอมแบบประเทศจีนล่ะ
0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด