ไม่ใช่แค่เรียนภาษาไปวันๆ! รวม 9 เรื่อง ‘เด็กอักษรฯ-มนุษยฯ-ศิลปศาสตร์’ อยากให้ทุกคนเข้าใจ

     ถ้าพูดถึงคณะสายศิลป์-ภาษา ที่หลายคนนึกถึงเป็นอย่างแรกก็คงจะไม่พ้น “คณะอักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปศาสตร์” ซึ่ง 3 คณะนี้ถึงแม้จะมีชื่อเรียกต่างกัน แต่หลักๆ เลยก็คือสอนภาษาเหมือนกัน … สำหรับ พี่วุฒิ ก็เรียนคณะนี้อยู่เหมือนกันครับ วันนี้เลยรวบรวม 9 เรื่องที่หลายคนอาจจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับคณะเรา และอยากให้ทุกคนรู้จักเรามากขึ้น มาฝากน้องๆ ชาว Dek-D.com กันครับ ถือว่ามาเล่าในฐานะรุ่นพี่ละกัน ฮ่าๆ    


 


 
1. เราไม่รู้ เราเลยมาเรียน
 
     พอเราเข้ามาเรียนคณะนี้ปุ๊บ คนรอบข้างก็จะคาดหวังว่าเราต้องเก่งภาษานี้มากแน่ๆ ถามอะไร เราก็ต้องตอบได้ (นี่มาเรียนภาษา ไม่ใช่อับดุล) และในหลายๆ ครั้ง เราก็ไม่อาจจะไม่รู้เกี่ยวกับภาษานั้นๆ ไปซะทั้งหมด อย่าลืมว่า “เรามาเรียนภาษา เพราะว่าเราอยากรู้ภาษา ถ้าเก่งแล้ว จะมาเรียนทำไมล่ะ” และหลายๆ คนก็อาจจะไม่ได้มีพื้นฐานภาษานั้นมาซะทีเดียว พอเข้ามาเรียนตอนปี 1 ทุกอย่างคือเริ่มใหม่หมด ทุกคนต้องเรียนพื้นฐานเหมือนกันหมด ตั้งแต่ไวยากรณ์ การพูดการอ่าน การเขียน และยิ่งถ้าเป็นพวกภาษาตะวันออก เช่น ภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี หลายคนยังเขียนไม่เป็นเลยด้วยซ้ำ ต้องมาเรียนคัดใหม่กันหมด  

 
2. เราเรียนภาษา เราไม่ใช่พจนานุกรม
 
     อย่างที่บอกไว้ในข้อที่แล้วว่า “เราไม่ได้รู้ไปซะทุกเรื่อง” โดยเฉพาะคำศัพท์ พอเรามาเรียนภาษา ทุกคนก็จะมองว่า เรารู้คำศัพท์หมดทุกคำแน่ๆ เลย (ทานโทษนะครับ คำศัพท์มีกี่หมื่น กี่แสนคำ ใครจะไปจำหมด) และยิ่งถ้าเป็นคำศัพท์ที่ไม่ค่อยได้ใช้ และเป็นคำศัพท์เฉพาะทาง เราก็อาจจะไม่ได้รู้ บางครั้งเวลาหลายๆ คนมาถาม เราก็ทำได้แค่บ่นในใจ แล้วก็ต้องเปิดพจนานุกรม หรือเปิด Google มาเพื่อตอบพวกเขานั่นแหละ  
 


 
3. เราไม่ได้เรียนแค่ภาษาไปวันๆ
 
     เรื่องนี้พี่เองเจอกับตัวเลยครับ หลายครั้งมักจะมีคนบอกว่า “เรียนภาษาเหรอ ดีจัง แค่ฟัง พูด อ่าน เขียน น่าสนุกจังเล้ยยย!” คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจว่าพวกเราแค่เรียนภาษาไปวันๆ ไม่น่าจะมีอะไรมาก … อยากบอกว่า “ตั้งแต่เข้ามาเรียนคณะนี้ ก็ไม่ได้มีอะไรง่ายเลยครับ” (น้ำตาพราก) ลองนึกดูว่าตอนน้องๆ เรียนภาษาไทยสมัยประถม หรือมัธยม น้องๆ จะต้องเรียนหลักไวยากรณ์ การอ่าน การเขียนเรียงความ เรียนวรรณคดีไทย ร้อยกรอง ร้อยแก้ว วรรณกรรมงานเขียนต่างๆ แม้แต่นิทานพื้นบ้าน น้องๆ ก็ต้องเรียน ถูกมั้ยครับ? นั่นแหละครับ คนที่เรียนภาษาอื่นๆ ก็ต้องเรียนเหมือนกัน หรือแม้แต่คนเรียนเอกภาษาไทย ก็ต้องเรียนเจาะลึกไปมากกว่าหลายๆ เท่าเลย พี่จะยกตัวอย่างวิชาที่พี่เรียนในสาขาภาษาอังกฤษ นอกจากวิชาพื้นฐานทั่วไปนะครับ มีดังต่อไปนี้ 
 
เทวตำนานและศาสนตะวันตก (Mythology and Western Religions)
 
     ศึกษาในเรื่องของเทวตำนานกรีก พวกปกรณัมปรัมปราต่างๆ เทพเจ้ามีกี่คนก็ต้องจำได้หมด และรวมไปถึงศาสนาตะวันตก จะเน้นเรียนพวกคัมภีร์ไบเบิล อารมณ์จะคล้ายๆ ตอนเรียนศาสนาพุทธ แล้วจำว่าพระพุทธเจ้าทำอะไรบ้าง ประวัติพระพุทธเจ้า เป็นต้น (เจอแบบนี้บอกเลยครับว่าขอยอมแพ้) ถามว่าวิชานี้สำคัญอย่างไร มันสำคัญเพราะว่าพวกตำนานและศาสนาพวกนี้ อาจจะไปปรากฏซ้ำในภาษาและวรรณกรรม รวมไปถึงสื่อสมัยใหม่อีกด้วย เราก็ต้องเข้าใจเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียน และในทุกๆ ภาษาก็จะมีวิชานี้เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันตรงที่ความเชื่อของแต่ละภาษา
 
สัทศาสตร์และสรวิทยาภาษาอังกฤษ  (English Phonetics and Phonology)
 
     จะเรียนเกี่ยวกับเสียงและระบบเสียงในภาษาอังกฤษ โดยรวมเรื่องเสียงสระ เสียงพยัญชนะ อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง คำเทียบคู่ หน่วยเสียง หน่วยเสียงย่อย กฎการเปลี่ยนแปลงเสียง โครงสร้างพยางค์ การลงเสียงหนักเบา และทำนองเสียง เป็นต้น ในทุกๆ ภาษาก็จะมีการเรียนเรื่องนี้เกี่ยวกับภาษาของตัวเองเช่นกัน 
 
วรรณคดีอังกฤษ / อเมริกัน
 
     อย่างเอกภาษาอังกฤษจะต้องเรียนทั้งวรรณคดีทั้ง 2 ฝั่ง คือ ของประเทศอังกฤษ และของอเมริกัน เพราะถือว่ามีอิทธิพลต่อภาษาอังกฤษมากๆ ทั้ง 2 ประเทศ ในวิชานี้จะเน้นศึกษาพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ ปรัชญา สังคม และวัฒนธรรมของวรรณคดี ตั้งแต่สมัยล่าอาณานิคม จนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะเน้นไปที่ผลงานของนักเขียนคนสำคัญและผลงานที่โดดเด่น ที่คนเรียนภาษานี้ควรรู้จัก  
 
วรรณกรรมร้อยกรอง (Poetry)
 
    สำหรับวิชานี้ก็จะเหมือนๆ กับการเรียนกลอนเลยครับ ร้อยกรองมีกี่แบบ ก็ต้องเรียนรู้หมด รวมถึงศึกษาองค์ประกอบพื้นฐานของกวีนิพนธ์ภาษาอังกฤษ รวมถึงสัมผัส จังหวะ รูปแบบของบทรูปแบบการลงเสียงหนักเบา จำนวนจังหวะ และการใช้ภาษาภาพพจน์ ศึกษารูปแบบการแต่งกวีนิพนธ์ที่สำคัญ 
 
วรรณกรรมร้อยแก้ว (Prose)
 
     มีเรียนร้อยกรอง ก็ต้องมีเรียนร้อยแก้วครับ ซึ่งจะเน้นศึกษาองค์ประกอบพื้นฐานและลักษณะสำคัญของงานประพันธ์ร้อยแก้วภาษาอังกฤษ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย และบทละครต่างๆ ขอบอกว่าวิชานี้สนุกมากครับ แถมตอนเรียนพี่ได้เล่นละครเวทีถึง 2 เรื่องแหนะ ซึ่งเป็นการทำให้เราเข้าใจบทประพันธ์มากขึ้น รู้จักการตีความ และการนำเสนอ พร้อมกับได้ลองทำอะไรแปลกใหม่มากมาย เช่นการเล่นละครเวทีนี่แหละ 
 
วจีวิพากษ์และวากยสัมพันธ์ภาษาอังกฤษ (English Morphology and Syntax)
 
     วิชานี้ถือว่าเป็นวิชาปราบเซียนเลยก็ว่าได้ครับ ถึงแม้จะยาก แต่เวลาเรียนก็สนุกมากๆ ครับ ในการเรียนวิชานี้จะเน้นไปที่การศึกษาโครงสร้างของคำ วลีและประโยคในภาษาอังกฤษ โดยรวมเรื่องแก่นคำ ส่วนเติม หน้าคำ ส่วนเติมท้ายคำ หน่วยคำ หน่วยคำย่อย โครงสร้างวลี โครงสร้างประโยคและทฤษฎีต่างๆ 
 
     เป็นไงบ้างครับน้องๆ เห็นแค่ชื่อแต่ละวิชาแล้วน่าเรียนใช่มั้ยล่ะ หุหุ! อย่างรู้ว่าแต่ละวิชาเป็นอย่างไรก็ต้องลองมาเรียนกันนะครับ สำหรับคนที่อยากเรียนภาษา บอกเลยว่าเจอแน่นอน และไม่มีอะไรยากครับ ถ้าเราตั้งใจจริงๆ :)

 
4. เรียนภาษาแล้วเข้าใจความเป็นมนุษย์มากขึ้น
 
     อย่างที่บอกว่า พวกเรียนภาษา เราจะได้เรียนรู้ถึงเรื่องวรรณกรรม วรรณคดี ซึ่งการได้เรียนและอ่านวรรณกรรมเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ แรกเริ่มเลย มุมมองต่อเรื่องนี้เราอาจจะมองอีกแบบ พอเราได้อ่านแล้ว บางครั้งก็อาจฉุกคิดให้เรามองอีกด้านหนึ่ง และนั่นอาจทำให้เรามีทัศนคติต่อเรื่องนี้เปลี่ยนไป ‘การเรียนวรรณกรรมก็เหมือนเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ให้กับตัวเอง’ วรรณกรรมทุกเรื่องล้วนแฝงไปด้วยคุณค่าระหว่างบรรทัดต่อบรรทัด เพราะว่างานเขียนทุกอย่างไม่ว่าจะมาในรูปแบบของ วรรณคดี บทกลอน บทความ หรือเรื่องสั้น นั้นล้วนถ่ายทอดผ่านความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต ปัญหาครอบครัว สภาพสังคม หรือแม้แต่เรื่องเพื่อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นธรรมชาติของมนุษย์ การเรียนวรรณกรรมก็จะทำให้เราได้เข้าถึงความเป็นมนุษยศาสตร์มากขึ้น ทำให้เราเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างยืดหยุ่น และจะทำให้เราเป็นคนที่จะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข หรืออาจกล่าวได้ว่า ‘วรรณกรรมก็คือกระจกสะท้อนเรื่องราวชีวิตของมนุษย์’ นั่นเองครับ 
 


 
5. เด็กสายวิทย์เบนสายมาเรียนคณะเราเยอะมาก
 
     หลายคนมักจะเข้าใจว่า คณะนี้ต้องมีแต่เด็กเรียนจบสายศิลป์แน่ๆ แต่ในความจริงแล้ว เด็กที่เรียนจบสายวิทย์ก็เปลี่ยนสายมาเรียนภาษาเยอะมากๆ ครับ ยกตัวอย่าง พี่เองที่เรียนจบสายวิทย์-คณิตมาก่อน เหตุผลที่เปลี่ยนสายอาจไม่ใช่ว่าเราเรียนวิทย์ไม่ได้ ความจริงเรียนได้ครับ โดยส่วนตัวพี่เป็นคนชอบอ่านพวกนิยาย วรรณกรรม และชอบพูดภาษาอยู่แล้ว ก็เลยเลือกมาเรียนภาษา และถามว่าเรียนวิทย์มาแล้ว สามารถนำมาประยุกต์กับการเรียนภาษาได้หรือไม่ ความจริงมันก็มีส่วนช่วยเหลือเจือจุนกันนะครับ โดยเฉพาะเรื่องการวิเคราะห์ หรือการอธิบายตรรกะเหตุผลต่างๆ ในความเป็นจริงแล้ว มันก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนควรมีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามแต่    

 
6. เรียนภาษานั้นก็ไม่ได้แปลว่าคลั่งดารา / นักร้องที่เป็นเจ้าของภาษานั้น 
 
     หลายคนมักเข้าใจว่า เรียนภาษานี้เพราะคลั่งดาราแน่ๆ เลย ความจริงมันก็ไม่ใช่ไปซะทุกคนหรอกครับ แต่หลายๆ คนก็เลือกเพราะว่าชอบดารา ชอบวัฒนธรรมประเทศนั้นๆ ก็มีเหมือนกัน (รวมไปถึงความปรารถนาในตัวคนของประเทศนั้นด้วย ฮ่าๆ) แต่ก็มีคนไม่น้อยที่เรียนเพราะว่าอยากเรียน ไม่ได้มองเรื่องนี้เป็นปัจจัยที่เลือกเรียน บ้างอาจจะเรียนเอกอังกฤษ แต่ไม่ชอบดูหนัง ซีรีส์ ฟังเพลงอังกฤษก็มี คนที่เรียนเอกอังกฤษแต่กลับคลั่งไคล้ศิลปินเกาหลีก็เยอะเหมือนกัน เรื่องแบบนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนนั่นแหละครับ 

 
7. เราไม่ได้เรียนแค่ภาษาเดียว
 
     สำหรับคณะนี้ในมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่ง นอกจากจะเรียนวิชาเอกแล้ว ก็จะมีให้เลือกเรียนวิชาโทภาษาอื่นๆ ครับ ซึ่งก็ถือว่าเรียนไม่ได้น้อยเลย อย่างพี่เองก็เรียนเอกอังกฤษ แต่เลือกโทภาษาฝรั่งเศส ซึ่งจะได้เรียนวิชาพื้นฐานทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน ครบเลยครับ และก็ใช้การได้จริง ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการหางานเลยก็ว่าได้ เพราะปัจจุบัน รู้แค่ภาษาเดียวมันก็คงไม่พอ ยิ่งพูดได้หลายภาษา ก็ยิ่งเป็นเหมือนใบเบิกทางสำหรับโอกาสดีๆ อีกมากมาย และในหลายๆ ที่ก็จะมีวิชาแกน คือสามารถเลือกเรียนภาษาเพิ่มไปอีกภาษา นอกจากวิชาโทด้วยครับ
 


 
8. วอนผองเพื่อน ญาติสนิท มิตรสหายโปรดเข้าใจ เราไม่ใช่นักแปลการกุศล
 
     เชื่อว่าคนที่เรียนภาษาหลายคนน่าจะเจอสถานการณ์กลืนไม่เข้า คายไม่ออกแบบนี้กัน โดยเฉพาะเวลาที่คนที่เราสนิทด้วย ไม่ว่าจะเป็นญาติ หรือเพื่อนๆ ที่มักจะมาให้เราช่วยแปลเอกสารให้หน่อย ซึ่งบางทีเอกสารที่แปลก็เป็นเรื่องเฉพาะทาง และก็ยากมากๆ ในครั้งแรกๆ เราก็อาจจะเต็มใจช่วย โดยไม่ได้คิดอะไร แต่ถ้าหลายครั้งเข้า ก็อยากบอกให้เข้าใจว่า เราไม่ได้เรียนฟรีๆ เราจ่ายค่าเทอมเพื่อมาเรียนภาษา และเราเรียนมาเพื่อนำมาประกอบอาชีพ ทุกคนต้องการเงินเพื่อเลี้ยงชีพกันทั้งนั้น ถูกมั้ย? ได้โปรดรู้ไว้ว่าเราไม่ใช่นักแปลการกุศล ไม่ได้แปลฟรีจ้า เงินมา ของไป ตามนั้น!  

 
9. บางครั้งก็ตอบไม่ได้ว่าเรียนจบไปทำอะไรดี? 
 
     ถือว่าเป็นคำถามที่ยากที่จะตอบสำหรับคนที่เรียนภาษา เพราะว่า เราไม่ได้มีวิชาชีพเหมือนพวกครู หมอ วิศวกร หรือพยาบาล ที่จะบอกได้ว่าเรียนแล้วจบไปทำอะไร เพราะสายงานเรากว้างมากๆ (ไม้ยมกสิบตัว) หลายคนบอกว่าข้อดีของเราคือ หางานได้ง่าย แต่หลายคนก็มองว่ามันเป็นข้อเสียมากกว่า เพราะว่าไอ้ความที่มีให้ทำเยอะมาก เราเลยไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี แต่อาชีพหลักๆ ที่หลายคนเลือกทำกัน ยกตัวอย่างจะมี ครู อาจารย์ ล่าม มัคคุเทศก์ นักแปล นักการทูต พนักงานบริษัท พนักงานสายการบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เป็นต้น อย่างพี่เองก็มาฝึกงานที่ Dek-D.com เป็นนักเขียนบทความ และเพื่อนๆ ของพี่ที่เรียนเอกอังกฤษก็ทำงานที่โรงแรม สนามบิน กระทรวงต่างประเทศ กระจายกันไป ซึ่งมันก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนที่จะเลือกทำ จึงจะเห็นได้ว่า คนที่เรียนภาษานั้นเลือกทำงานอิสระ (Freelance) กันเยอะมากๆ เพราะว่าทำได้หลายอย่าง เอนกประสงค์เลยก็ว่าได้ แต่การจะเป็น Freelance นั้นก็ต้องเก่งมากๆ ถึงจะอยู่ได้ ถ้าไม่เก่งจริง คนก็ไม่จ้างอีก อีกทั้งเดี๋ยวนี้คนที่ไม่ได้เรียนภาษาโดยตรง ก็สามารถพูดภาษาได้ดีกว่าพวกเราก็มี คนที่เรียนภาษาก็ต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และไม่ควรหยุดที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  
 



 
     เป็นอย่างไรบ้างครับน้องๆ  รู้หรือยังครับว่า 'เราไม่ได้แค่เรียนภาษาไปวันๆ' จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายเรื่องเลยครับที่เราต้องศึกษา ถ้าน้องๆ อยากที่เรียนคณะนี้จริงๆ พี่ก็ขอให้สอบติดสมปรารถนานะครับ 
 
     แต่ถ้าใครยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ถึงจะสอบคณะนี้ติด น้องๆ ต้องห้ามพลาดงานนี้เลยครับกับงาน Dek-D’s On Stage Special ตอน ปลุกไฟ ใกล้คณะในฝัน ทอล์คโชว์แนะแนวการศึกษา เจาะลึกเอนทรานซ์ 4.0 แบ่งเป็น 3 ตอน ใครอยากเรียนอักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปศาสตร์ ต้องไปดูตอน “ครบรสสุดฟิน 3 คณะสายศิลป์ยอดนิยม” น้องๆ จะได้รู้ลึก รู้จริง ในเรื่องของแนวทางของการสอบคณะนี้ให้ติด! พร้อมพบกับวิทยากรที่มากความสามารถ และรุ่นพี่ที่มากประสบการณ์มาเล่าให้ฟังถึงแนวทางต่างๆ  และสำหรับคณะสายภาษาแบบเรา จะมี “พี่มะเฟือง” จากคณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล ที่พร้อมมาเล่าให้น้องๆ ฟังว่าควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง พบกันเสาร์ที่ 6 พ.ค. ที่ไบเทค บางนา กิจกรรมดีขนาดนี้ แถมบัตรก็ราคาไม่แพงเลย เริ่มต้นที่ 250 บาทเท่านั้น หาซื้อได้ที่ 7-11 ทุกสาขา หรือใครสะดวกซื้อออนไลน์ ก็ คลิกที่นี่ ได้เลยครับ
 
พี่วุฒิ
พี่วุฒิ - Columnist มนุษย์ 4 มิติผู้หลงใหลในเพลงเกาหลี ชาเนสที และหมูกระทะ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

white rabbit Member 17 มี.ค. 60 23:00 น. 5

มุขจากเพจหนึ่งที่เราเจอ(ตรงกับความเป็นจริงเด๊ะ)

A:แกเรียนญี่ปุ่นแกต้องแปลทุกอย่างได้

B:เราเรียนได้แต่เราเป็นคนญี่ปุ่นไม่ได้

555555(ในเลข5มีน้ำตาซ่อนอยู่)

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
มัณทนา Member 15 มี.ค. 60 16:24 น. 2

ของเรา คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ม.รามคำแหง

เรียนภาษาไทย 2 เล่ม (6 หน่วยกิต) กับภาษาอังกฤษ 4 เล่ม (12 หน่วยกิต) เป็นวิชาศึกษาทั่วไป

วิชาโทภาษาไทย 8 เล่ม (24 หน่วยกิต) แบ่งเป็น

-หมวดภาษาไทย 6 เล่ม (18 หน่วยกิต) 4 เล่มแรกเป็นวิชาโทบังคับ อีก 2 เล่มเป็นวิชาโทเลือก

-หมวดคติชนวิทยา 2 เล่ม (6 หน่วยกิต) เป็นวิชาโทเลือก

วิชา ENG2901 เทพนิยายอันเป็นพื้นฐานของวรรณคดี 1 เล่ม (3 หน่วยกิต) เป็นวิชาเลือกเสรี

วิชานี้จะเรียนเกี่ยวกับ Mythology ของกรีก โรมัน นอร์ส คริสเตียน


ใครที่เรียนอยู่สาขาวิชาภาษาไทยจะมีพวกวิชาที่เกี่ยวกับคติชนวิทยาด้วยจะเรียนเกี่ยวกับ

คติชาวบ้าน คติชนทั่วไป นิทานปรัมปรา นิทานพื้นบ้าน วรรณกรรมท้องถิ่น ภาษาถิ่น


ใครที่ไม่ได้เรียนอยู่เอกภาษา แต่อยากลงเรียนพวกภาษาต่างประเทศบ้าง

ก็สามารถลงเรียนภาษาต่างประเทศที่ตัวเองสนใจเป็นวิชาโทหรือวิชาเลือกเสรีก็ได้

อันนี้ต้องดูเงื่อนไขของหลักสูตรด้วยว่ามีให้ลงวิชาโทเหรอเปล่า

คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหงให้เลือกเรียนภาษาใดภาษาหนึ่งเพียงภาษาเดียวในวิชาศึกษาทั่วไป

ต้องเรียนต่อเนื่อง 4 เล่ม ถ้าอยากจะเรียนอีกภาษาหนึ่งก็เอาไปลงเป็นวิชาเลือกเสรี

มีน้องคนหนึ่งผิดพลาดตอนแจ้งยื่นเรื่องขอจบที่คณะ

เพราะน้องคนนี้ไม่ได้ลงวิชา ENG ต่อเนื่อง 4 ตัว

แต่ดันไปลงวิชา CHI1001 กับ CHI1002 แทนที่จะเป็นวิชา ENG2001 กับ ENG2002

0
กำลังโหลด
Makimei Nami Member 19 มี.ค. 60 23:06 น. 6

ตั้งใจจะเข้าคณะนี้เพราะจะศึกษาประเทศที่ชอบจริง ๆ ให้สุดตัว ทั้งภาษา ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (หวังจะได้คนในประเทศนั้นไม่ก็ไม่เชิงนะ เพราะแรงบันดาลใจในการจะเข้าก็เป็นตัวการ์ตูนที่เป็นประเทศนั้นด้วยสิ 5555555)

0
กำลังโหลด
TRAFALGAR D LUNA Member 20 มี.ค. 60 23:05 น. 7

เราก็เด็กวิทย์-คณิตเหมือนกันแต่ด้วยความที่ชอบอะนิเมะและชอบวิธีการสร้างว่ากว่าจะมาเป็นอะนิเมะให้เราดูเนี๊ยต้องทำไงและอยากจะเป็นบรรณาธิการการ์ตูนที่ญี่ปุ่นจึงเป็นเหตุให้เลือกเรียนมนุษยศาสตร์ภาษาญี่ปุ่น

0
กำลังโหลด

8 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
มัณทนา Member 15 มี.ค. 60 16:24 น. 2

ของเรา คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ม.รามคำแหง

เรียนภาษาไทย 2 เล่ม (6 หน่วยกิต) กับภาษาอังกฤษ 4 เล่ม (12 หน่วยกิต) เป็นวิชาศึกษาทั่วไป

วิชาโทภาษาไทย 8 เล่ม (24 หน่วยกิต) แบ่งเป็น

-หมวดภาษาไทย 6 เล่ม (18 หน่วยกิต) 4 เล่มแรกเป็นวิชาโทบังคับ อีก 2 เล่มเป็นวิชาโทเลือก

-หมวดคติชนวิทยา 2 เล่ม (6 หน่วยกิต) เป็นวิชาโทเลือก

วิชา ENG2901 เทพนิยายอันเป็นพื้นฐานของวรรณคดี 1 เล่ม (3 หน่วยกิต) เป็นวิชาเลือกเสรี

วิชานี้จะเรียนเกี่ยวกับ Mythology ของกรีก โรมัน นอร์ส คริสเตียน


ใครที่เรียนอยู่สาขาวิชาภาษาไทยจะมีพวกวิชาที่เกี่ยวกับคติชนวิทยาด้วยจะเรียนเกี่ยวกับ

คติชาวบ้าน คติชนทั่วไป นิทานปรัมปรา นิทานพื้นบ้าน วรรณกรรมท้องถิ่น ภาษาถิ่น


ใครที่ไม่ได้เรียนอยู่เอกภาษา แต่อยากลงเรียนพวกภาษาต่างประเทศบ้าง

ก็สามารถลงเรียนภาษาต่างประเทศที่ตัวเองสนใจเป็นวิชาโทหรือวิชาเลือกเสรีก็ได้

อันนี้ต้องดูเงื่อนไขของหลักสูตรด้วยว่ามีให้ลงวิชาโทเหรอเปล่า

คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหงให้เลือกเรียนภาษาใดภาษาหนึ่งเพียงภาษาเดียวในวิชาศึกษาทั่วไป

ต้องเรียนต่อเนื่อง 4 เล่ม ถ้าอยากจะเรียนอีกภาษาหนึ่งก็เอาไปลงเป็นวิชาเลือกเสรี

มีน้องคนหนึ่งผิดพลาดตอนแจ้งยื่นเรื่องขอจบที่คณะ

เพราะน้องคนนี้ไม่ได้ลงวิชา ENG ต่อเนื่อง 4 ตัว

แต่ดันไปลงวิชา CHI1001 กับ CHI1002 แทนที่จะเป็นวิชา ENG2001 กับ ENG2002

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
Hatsune Maluko Member 17 มี.ค. 60 16:32 น. 4

อยากรู้ว่าคณะอักษร ของจุฬาปัจจุบันเนี่ย ถ้าอยากเข้าในสาขาที่เป็นภาษา เช่น สาขาภาษาจีนเนี่ย จะต้องใช้คะแนนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์อะไรพวกนี้ยื่นไหมคะ

1
กำลังโหลด
white rabbit Member 17 มี.ค. 60 23:00 น. 5

มุขจากเพจหนึ่งที่เราเจอ(ตรงกับความเป็นจริงเด๊ะ)

A:แกเรียนญี่ปุ่นแกต้องแปลทุกอย่างได้

B:เราเรียนได้แต่เราเป็นคนญี่ปุ่นไม่ได้

555555(ในเลข5มีน้ำตาซ่อนอยู่)

0
กำลังโหลด
Makimei Nami Member 19 มี.ค. 60 23:06 น. 6

ตั้งใจจะเข้าคณะนี้เพราะจะศึกษาประเทศที่ชอบจริง ๆ ให้สุดตัว ทั้งภาษา ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (หวังจะได้คนในประเทศนั้นไม่ก็ไม่เชิงนะ เพราะแรงบันดาลใจในการจะเข้าก็เป็นตัวการ์ตูนที่เป็นประเทศนั้นด้วยสิ 5555555)

0
กำลังโหลด
TRAFALGAR D LUNA Member 20 มี.ค. 60 23:05 น. 7

เราก็เด็กวิทย์-คณิตเหมือนกันแต่ด้วยความที่ชอบอะนิเมะและชอบวิธีการสร้างว่ากว่าจะมาเป็นอะนิเมะให้เราดูเนี๊ยต้องทำไงและอยากจะเป็นบรรณาธิการการ์ตูนที่ญี่ปุ่นจึงเป็นเหตุให้เลือกเรียนมนุษยศาสตร์ภาษาญี่ปุ่น

0
กำลังโหลด
Tsunayoshi Member 29 มิ.ย. 60 11:39 น. 8

อยากทราบว่ามีมหาวิทยาลัยที่ไหนบ้างคะ ที่มีวิชาแกนที่เลือกเรียนหลายๆภาษาได้อ่ะค่ะ

ใครรู้ช่วยบอกเราทีเด้อออ ขอบคุณมากค่าาาา


0
กำลังโหลด
กำลังโหลด