ดีจนต้องกราบ! 6 อันดับ 'เมียในอุดมคติ' จากวรรณคดีไทย



ชวนวิเคราะห์ลักษณะ ‘เมียในอุดมคติ’
ของหนุ่มๆ ในวรรณคดี

 


สวัสดีค่ะน้องๆ เด็กดีไรเตอร์ทุกคน พี่หวานคนเดิมเพิ่มเติมคือกลับมาพร้อมคอลัมน์ “สาระวรรณกรรม” อีกแล้ววว วันนี้พี่หวานจะมีเรื่องราว ผู้หญิงๆ  ในวรรณคดีประเด็นไหนมาเล่าให้ฟัง ถ้าอยากรู้ก็เลื่อนลงมาดูได้เลยค่ะ

ตั้งแต่ที่เริ่มทำบทความมาน้องๆ ก็จะพบว่าวรรณคดีไทยนี่มีประเด็นให้เราเลือกพูดถึงได้มากมายเลยนะคะ และเราจะยังคงอยู่กับหัวข้อ ‘ผู้หญิง’ ในวรรณคดี พี่หวานอยากนำเสนอถึงเรื่องของบทบาทหน้าที่ของนางในวรรณคดี ในฐานะ ภรรยา จะเป็นยังไง และวันนี้พี่หวานก็ได้วิเคราะห์ลักษณะของ ‘ภรรยาในอุดมคติ’ ของบรรดาหนุ่มๆ ในวรรณคดีมาฝากค่ะ

 

ลักษณะของภรรยาในอุดมคติที่พบมากในวรรณคดีสมัยก่อนก็คือจะต้องคอยปรนนิบัติสามี ดูแลบ้านช่อง คอยหาอาหารเตรียมจัดสำรับไว้ให้ อาจจะด้วยค่านิยมสมัยก่อนที่ผู้หญิงมักจะเป็นคนที่ต้องอยู่บ้าน ส่วนเรื่องการเรียนหรือออกไปหางานทำนั้นจะเป็นหน้าที่ของผู้ชาย พี่หวานได้มีโอกาสเรียนวิชาหนึ่งที่อาจารย์ตั้งข้อสันนิษฐานในการแบ่งหน้าที่ของคนสมัยก่อนเอาไว้ว่า อาจจะเป็นเพราะดูจากลักษณะรูปร่าง เห็นว่าผู้หญิงมีร่างกายที่บอบบางอ้อนแอ้นจึงเหมาะที่จะทำงานอยู่บ้านมากกว่า ส่วนงานภายนอกที่ต้องใช้แรงงานจึงเป็นหน้าที่ของผู้ชายที่มีความกำยำ แต่นั่นก็อาจจะไม่ใช่เหตุผลทั้งหมดก็ได้ค่ะ (กลับมาเข้าเรื่องของเรากันดีกว่า555)  ถ้าพูดถึงความเป็น 'ภรรยาในอุดมคติ' น้องๆ จะนึกถึงใครกันบ้างน้าาา?

 


คนที่ 1 นางมัทรี จากเรื่องพระเวสสันดรชาดก

 
(รูปภาพจาก : https://sites.google.com/site/longdooze/home/neux-reuxng-yx)


ถ้าคุณสมบัติของภรรยาในอุดมคติข้อแรกคือต้องรู้จักปรนนิบัติสามีไม่มีบกพร่อง คนที่จะได้รับการเสนอชื่อคงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก พระนางมัทรี จากเรื่องพระเวสสันดรชาดก 

น้องๆ คงจะเคยได้ยินเรื่องราวของนางมัทรีกันมาเยอะแล้วใช่มั้ยคะ ชีวิตของนางน่าสงสารมากๆ เลย ทีแรกก็เป็นหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์อยู่ดีๆ ต้องติดตามพระเวสสันดรเข้าป่าเพื่อบำเพ็ญทานบารมี จากคนเคยอยู่สุขสบายก็ต้องไปนอนในป่า ถึงจะเจอความยากลำบากมากมายแต่ด้วยหน้าที่ของภรรยาที่ดีนางมัทรีก็ไม่เคยละเลยหน้าที่ในการดูแลพระเวสสันดรและลูกๆ อีกสองคน คือ กัณหาและชาลี แม้จะดำรงเพศเป็นดาบสสินีแต่นางมัทรีก็ยังดูแลทุกๆ คนอย่างดี แม้อาหารการกินในป่าจะหาได้ลำบากแต่ก็ยังสู้อุตส่าห์เข้าป่าไปหาเผือก หามัน หาผลหมากรากไม้มาเป็นอาหาร จนกระทั่งตอนที่พระเวสสันดรได้ทำทานอันสูงสุดคือยกลูกให้แก่ชูชกไปแล้ว ถึงพระนางมัทรีจะเสียใจจนหมดสติไปแต่เมื่อฟื้นกลับคืนมาอีกครั้งก็ยอมรับในการตัดสินใจของพระเวสสันดร และยังคงทำหน้าที่เป็นภรรยาที่ดีคอยปรนนิบัติพระเวสสันดรโดยไม่มีข้อโต้แย้งอะไรอีกเลย เรียกว่าเป็นหญิงแกร่งที่สตรองมากจริงๆ ค่ะ

 

คนที่ 2 นางอมิตตดา จากเรื่องพระเวสสันดรชาดก


(รูปภาพจาก : http://i617.photobucket.com/albums/tt258/auddy228/wess01.jpg)
 

ถ้าจะให้ยกตัวอย่างนางในวรรณคดีที่เข้าข่ายภรรยาในอุดมคติอีกคนก็คงจะต้องขอพูดถึง นางอมิตตดา ซึ่งปรากฏอยู่ในเรื่องพระเวสสันดรเช่นกัน

โดยนางอมิตตดาเป็นภรรยาของชูชก และนางยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ชูชกต้องไปขอกัณหากับชาลีมาจากพระเวสสันดรอีกด้วยค่ะ นางอมิตตดาจัดว่าเป็นหญิงสาวที่มีเพียบพร้อมทั้งหน้าตาผิวพรรณชาติตระกูล จึงไม่แปลกที่จะมีกิริยางดงามสมเป็นกุลสตรี ถึงแม้ว่าจะต้องแต่งงานกับชูชกที่ดูไม่มีอะไรเหมาะสมกันเลย แต่นางอมิตตดาก็ยังรับใช้และปรนนิบัติชูชกอย่างดีไม่ต้องให้ชูชกมาบอก นางอมิตตดาพร้อมจัดเตรียมข้าวปลาอาหาร ตักน้ำ ทำความสะอาดบ้าน เรียกว่าไม่มีขาดตกบกพร่องเลยทีเดียว จนบรรดาพราหมณ์คนอื่นเริ่มอิจฉาชูชก จึงกลับไปต่อว่าภรรยาของตน และในที่สุดบรรดาภรรยาของพราหมณ์บ้านใกล้เคียงเกิดไม่พอใจนางอมิตตดาเข้ามารุมตบตี นางร้องไห้กลับไปบ้านชูชกเห็นก็เลยบอกว่าต่อไปหน้าที่ทุกอย่างตนจะปรนนิบัตินางเอง นางอมิตตดาก็บอกให้ชูชกไปหาคนรับใช้มาให้นางดีกว่า เพราะถ้าจะให้ชูชกมาปรนนิบัตินางนั่นไม่ใช่วิสัยของภรรยาที่ดีเหมือนกัน

 
น้องๆ น่าจะเห็นแล้วใช่มั้ยคะ  สมัยก่อนนี่ผู้หญิงที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นภรรยาในอุดมคติ ต้องเป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในบ้านและรู้จักปรนนิบัติดูแลสามีอย่างดีไม่มีขาดตกไปนี่เอง

แต่นั่นยังไม่ใช่ทั้งหมดนะคะ สิ่งที่ภรรยาในอุดมคติควรจะมีข้อต่อไปก็คือการวางตัวเป็นค่ะ กรณีนี้คงจะต้องยึดถือนางเทราปตีจากเรื่องมหาภารตะ และนางกฤษณาจากเรื่องกฤษณาสอนน้องมาเป็นแบบอย่างซะแล้ว

 

คนที่ 3 นางเทราปตี   จากเรื่องมหาภารตะ


(รูปภาพจาก : http://isomorphism.es/image/43341770993)
 


คนที่ 4 นางกฤษณา   จากเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์


(รูปภาพจาก : http://www.poetthai.com/กลอนวรรณคดีไทย/กฤษณาสอนน้องคำฉันท์/)
 

ในส่วนของคนที่3 กับ 4 พี่หวานจะเล่าไปพร้อมๆ กันเลยนะคะ จากหลายตำราที่พี่หวานเคยศึกษามา บ้างก็บอกว่าเรื่องกฤษณาสอนน้องเป็นตอนหนึ่งจากเรื่อง มหาภารตะ ซึ่งตอนนั้นนางเทราปตีได้พูดคุยกับนางสัตยภามา ชายาของพระกฤษณะ ในเรื่องของการดูแลสามี เพราะนางสัตยภามาสงสัยว่านางเทราปตีนั้นมีสามีถึงห้าคน(นั่นก็คือพี่น้องปาณฑพค่ะ) แต่ทำไมทุกพระองค์ถึงรักและอยู่ร่วมกันได้โดยไม่เกิดปัญหา ก็เลยมาขอคำปรึกษาค่ะ

แต่เมื่อสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสได้นำมาแต่งเป็น กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับที่นางจิรประภามาขอคำเเนะนำในการดูแลสามีจากนางกฤษณา(คล้ายกันกับเรื่องราวในมหาภารตะเลยค่ะ *O*)  แต่พี่หวานก็รู้สึกว่าเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์กับการสอนผู้หญิงให้มีความเป็นสตรีนั้นมีขนบธรรมเนียมแบบไทยซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็ทำให้เราอาจสันนิษฐานได้ว่าการเเต่ง นางกฤษณา จากเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ อาจจะได้แรงบันดาลใจมาจากตอนหนึ่งของนางเทราปตีในเรื่องมหาภารตะก็เป็นได้

แล้วการวางตัวเป็นในที่นี้เป็นยังไงนะ? พี่หวานจะขอเล่าถึงชีวิตของนางเทราปตีก็แล้วกันค่ะ สาเหตุที่ทำให้นางต้องมีพระสวามีพร้อมกันห้าคนนั่นก็เพราะว่าเมื่อชาติก่อนนางเคยขอพรต่อพระศิวะให้มีสามี แต่ด้วยความตื่นเต้นจึงพูดแบบเดียวกันออกมาถึงห้าครั้ง เป็นเหตุให้นางต้องมีสามีถึงห้าคนด้วยกัน โดยเฉพาะเมื่อในชาตินี้บรรดาสามีของนางคือพี่น้องปาณฑพผู้ยึดถือคำพูดของมารดาอย่างนางกุนตีเป็นเด็ดขาด ตอนที่อรชุนเข้าร่วมประลองยิงธนูสำเร็จพานางเทราปตีกลับมาบ้าน ตะโกนบอกนางกุนตีว่าตนได้ของดีกลับมาฝาก ฝ่ายนางกุนตียังไม่ทันเห็นว่าของดีนั้นคืออะไรก็ตอบกลับพระอรชุนไปว่า 'ให้แบ่งพี่น้องทุกคนเท่าๆ กัน' จนกระทั่งเมื่อรู้ว่าของดีที่ว่าคือนางเทราปตี พี่น้องปาณฑพทั้งห้าก็เลยต้องแต่งงานพร้อมกันนั่นเองค่ะ

ในส่วนของการที่นางเทราปตีได้รับการยอมรับให้เป็นภรรยาในอุดมคตินั้นก็มาจากการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะภรรยาอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง โดยจะใช้เวลาอยู่กับพระสวามีคนละสองวันเท่ากัน ในระหว่างที่นางอยู่กับสามีคนใด คนอื่นก็ห้ามเข้าไปใกล้ ซึ่งทุกคนก็ยอมรับในข้อตกลงนี้ได้ นางเทราปตีเองก็ไม่ได้มีความลำเอียงหรือลำบากใจ ปรนนิบัติและวางตัวเป็นภรรยากับสามีทุกพระองค์อย่างเท่าเทียมกัน เรื่องงานบ้านและอาหารก็ดูแลไม่เคยขาดเช่นเดียวกับที่พระนางมัทรีและนางอมิตตดาปฏิบัติ อีกทั้งนางยังดูแลนางกุนตีอย่างดีอีกด้วย เรียกว่าเป็นหญิงที่สมควรแก่การยกย่องให้เป็นภรรยาในอุดมคติจริงๆ ค่ะ 

 
พี่หวานเชื่อจริงๆ นะคะว่าบ้านที่จะน่าอยู่ก็ย่อมต้องเกิดจากความรักและเข้าใจกันของคนในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ได้ชื่อว่าเป็นสามีภรรยากัน ก็ต้องมีความเข้าใจกัน ปรับตัวเข้าหากันและร่วมฝ่าฟันอุปสรรคทุกอย่างไปด้วยกันให้ได้ ถ้าจะพูดถึงคุณสมบัติของภรรยาในอุดมคติอย่างอื่นนอกเหนือที่กล่าวขึ้นไป พี่หวานยังพบคุณสมบัติอีกข้อที่น่าสนใจค่ะ นั่นก็คือภรรยาในวรรณคดีจะผ่านช่วงเวลาทั้งดีเเละร้าย ร่วมทุกข์ร่วมสุข และสนับสนุนผู้เป็นสามีอย่างเต็มกำลัง ตัวอย่างแรกที่พี่หวานอยากจะยกมาพูดในที่นี้ก็คือ นางคานธารี 

 

คนที่ 5 นางคานธารี จากเรื่องมหาภารตะ 


(รูปภาพจาก : https://jagannathpurihkm.files.wordpress.com/2013/12/dhritarasthra_gandhari.jpg)
 

นางคานธารีเป็นมารดาของพวกเการพ ซึ่งจริงๆ แล้วยังถือเป็นญาติพี่น้องกับพวกปานฑพสามีของนางเทราปตีด้วยค่ะ พี่หวานจะขอพูดถึงบทบาทของพระนางที่ปรากฏจนต้องยกย่องให้เป็นหนึ่งในภรรยาในอุดมคติเลยนะคะ นางคานธารีได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับท้าวธฤตราษฎร์ ผู้มีนัยน์ตาบอดสนิททั้งสองข้างมาตั้งแต่เกิด นางคานธารีมีจิตใจเด็ดเดี่ยวและตั้งมั่นในความดีอยู่เสมอ เมื่อนางต้องแต่งงานกับพระสวามีที่ตาบอดก็ยินดีพร้อมจะเท่าเทียมกับสามีของนาง เเสดงความภักดีโดยการใช้ผ้ามาผูกมัดปิดตาของนางตั้งแต่ตอนแต่งงานจนตลอดชีวิต

ตอนที่พี่หวานอ่านเรื่องราวของนางคานธารีก็อดจะชื่นชมในความเด็ดเดี่ยวและเข้มแข็งไม่ได้T^T น้องๆ ลองคิดตามดูนะคะว่าถ้าเราเป็นนางคานธารีในตอนนั้นจะยินดีผูกผ้าปิดตาตลอดชีวิตให้เหมือนคนตาบอดเพื่อที่จะได้เผชิญโลกแบบเดียวกันกับที่ผู้เป็นสามีต้องเจอได้รึเปล่า แต่นั่นแหละค่ะ…จะเอาเรื่องราวในวรรณคดีมาเปรียบเทียบกับยุคปัจจุบันก็คงเป็นไปได้ยาก ที่พี่หวานเล่ามาไม่ได้อยากให้มองว่าเป็นเรื่องงี่เง่านะคะ แต่อยากให้มองเห็นไปถึงจิตใจบริสุทธิ์ของนางคานธารีที่ตั้งใจจะร่วมทุกข์ร่วมสุขทุกอย่างไปพร้อมกับพระสวามีที่ตาบอดโดยไม่เลือกมองเห็นและมีความสุขแต่เพียงผู้เดียวนั่นเองค่ะ

 


คนที่ 6 นางรจนา จากเรื่องสังข์ทอง

 
(รูปภาพจาก : http://thummada.com/php_upload/rojana.jpg)
 

นอกจากนางคานธารีก็ยังมีอีกคนหนึ่งค่ะที่ผ่านช่วงเวลายากลำบากไปพร้อมกับสามีของตน น้องๆ คงจะพอรู้จักเรื่องสังข์ทองใช่มั้ยคะ ภรรยาในอุดมคติอีกคนที่สมมติพี่หวานเป็นหนุ่มๆ ในวรรณคดีคงเลือกให้ติดอันดับต้นๆ ก็คือนางรจนาค่ะ

ชีวิตของนางรจนานั้นเป็นธิดาองค์สุดท้องในบรรดาพี่น้องเจ็ดคนของท้าวสามนต์ค่ะ วันหนึ่งท้าวสามนต์นึกอยากให้ลูกๆ แต่งงานพร้อมกัน แต่นางรจนายังเลือกคู่ครองไม่ได้สักที ท้าวสามนต์ก็โมโหบอกให้คนธรรมดา จะเป็นใครก็ตามมาให้นางเลือก แต่ก็ยังเลือกไม่ได้ จนทหารไปนำตัวเงาะป่าคนหนึ่งที่เล่นกับเด็กๆ อยู่กลางทุ่งนามาให้นางรจนาดู ตั้งแต่ที่ได้เห็นหน้าพระสังข์ก็ตกหลุมรักนางรจนาจึงตั้งจิตคิดว่าถ้าเป็นคู่กันจริง ก็ให้นางสามารถเห็นรูปจริงได้ ฝ่ายนางรจนาก็มองเข้าไปเห็นร่างกายที่แท้จริงของพระสังข์ที่ซ่อนอยู่ใต้รูปเงาะป่า นางรจนาจึงอธิษฐานว่าถ้าทั้งสองคนมีบุญต้องกันจริงก็ขอให้พวงมาลัยไปตกอยู่ที่เจ้าเงาะ และก็เป็นจริงดังนั้น แต่ท้าวสามนต์กลับยิ่งโกรธและรับไม่ได้ก็เลยขับไล่ทั้งสองคนไปอยู่ที่กระท่อมปลายนา ทั้งสองคนใช้ชีวิตด้วยกันตามสภาพที่ชาวบ้านชาวเมืองทำกันคือทำสวน ปลูกข้าว หาปลามาเลี้ยงชีพโดยไม่ถือว่าตนเคยเป็นพระธิดามาก่อน

แม้ต้องมีสามีเป็นเจ้าเงาะนางก็โนสนโนแคร์ค่ะงานนี้ เพราะเวลาที่อยู่ด้วยกันตามลำพังพระสังข์ก็จะถอดรูปออกมาอยู่กับนาง แต่ถึงอย่างนั้นพระสังข์ก็ไม่ยอมถอดรูปตลอดไปนะคะ จนนางรจนาคิดจะทำลายรูปเงาะแต่พระสังข์จับได้ พระสังข์บอกว่าจะไม่ถอดรูปอีกเด็กขาดนางก็รับปากว่าจะไม่ทำแบบนี้อีกเช่นกัน ตั้งแต่นั้นทั้งสองก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข นางรจนาเองก็รักสามีรูปเงาะของนางมากขึ้นๆ ทุกวันเเม้พระสังข์จะไม่ถอดรูปเลยก็ตาม(ความจริงแล้วนางรจนาก็ไม่ได้รักแต่รูปทองของพระสังข์หรอกนะคะน้องๆ)  และถึงจะต้องมาตกตระกำลำบาก หรือมีสามีเป็นเงาะป่าบ้าใบ้อย่างที่คนเขาพูดกัน แต่นางรจนาก็ไม่เคยนึกเสียใจที่ตัดสินใจแต่งงานกับเจ้าเงาะ ถือว่าเป็นภรรยาที่มีความอดทนดีเป็นเลิศไม่แพ้ใครเลยล่ะค่ะ

 

น้องๆ อ่านมาถึงตรงนี้ก็อย่าเพิ่งขมวดคิ้วนึกตะขิดตะขวงใจนะคะ พี่หวานเข้าใจค่ะว่าเราจะเอาลักษณะของหญิงสาวในวรรณคดีมาใช้กับยุคปัจจุบันไม่ได้ เพราะนี่มันคือโลกความจริง อีกทั้งเวลาผ่านไปสังคมก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ สมัยนี้ผู้หญิงผู้ชายมีความเท่าเทียมกันแล้ว ไม่จำเป็นต้องอยู่เป็นแม่บ้านเพียงอย่างเดียวเท่านั้นก็ได้ค่ะ แต่ถ้าเรามองอย่างเป็นกลาง ภรรยาก็มีส่วนทำให้บ้านน่าอยู่ขึ้นมากเหมือนกันนะคะ^_^  เราอาจจะไม่ต้องถึงกับรับงานบ้านมาทำอยู่คนเดียวเหมือนแต่ก่อน(สมัยนี้คุณผู้ชายที่ทำงานบ้านเก่งก็มีเยอะค่ะ อิอิ) แต่ก็ต้องช่วยกันดูแลบ้านให้เป็นบ้านที่น่าอยู่อยู่เสมอ การได้ใช้เวลาร่วมกัน(เช่น การได้ทำงานบ้านด้วยกัน เป็นต้น)ก็อาจจะเป็นอีกวิธีที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักได้นะคะ ฮ่าาา... 

และอีกสิ่งสำคัญที่ได้จากวรรณคดีและพี่หวานคิดว่าในสมัยนี้ก็คงปฏิเสธไม่ได้เลยนะคะว่าลึกๆ สิ่งที่ภรรยาในวรรณคดีหรือภรรยาในปัจจุบันควรมีให้เป็นพื้นฐานก็คือการให้ความรักและความเข้าใจแก่สามีค่ะ ผู้ชายร้อยทั้งร้อยถึงจะชอบเป็นช้างเท้าหน้า(หรือบางครอบครัวมีพ่อบ้านใจกล้า) ก็ยังคงต้องการแรงสนับสนุนจากภรรยานะคะ อาจจะไม่ใช่ทุกเรื่องที่เราจะต้องเห็นด้วยไปกับเขา แต่ถ้ามีคนคอยอยู่ข้างๆ สนับสนุนในสิ่งที่เขาตัดสินใจ เเค่ให้รู้ว่าเราเป็นกำลังใจให้และพร้อมจะก้าวผ่านทุกเรื่องราวไปกับเขา เท่านี้ก็คงพอแล้ว


แม้ว่าหลายอย่างที่พบได้ในวรรณคดีจะพบได้ยากในชีวิตจริง แต่พี่หวานรู้สึกว่าข้อคิดคำสอนบางอย่างซึ่งแฝงมากับวรรณคดีเเละยังใช้ได้จริง ลองอ่านดูให้ดีจะพบว่ามีอยู่เยอะเลยทีเดียว ถ้าน้องๆ มีอะไรอยากเสนอเพิ่มเติมในประเด็นนี้ ก็คอมเมนต์พูดคุยกันได้เต็มที่เลยนะคะ แล้วเจอกันใหม่บทความหน้าค่ะ ^___^


 
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
หนังสือนามานุกรมนางในวรรณคดี : ธาดาพร,(2551)

 


พี่หวาน
 

 
พี่หวาน

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

ที่พึ่ง(ไม่ได้) Member 9 ก.ย. 59 14:28 น. 1

ณ สมัยปัจจุบันนี้ ทุกคุณสมบัติข้างต้น ควรมีในตัวผู้ชายค่ะ "ผัวในอุดมคติ" อิอิ

เยี่ยม

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
inatchabra Member 11 ก.ย. 59 21:16 น. 7
เพราะคำว่ารักคำเดียว ผู้หญิงถึงทำได้ขนาดนี้ เพราะฉะนั้นคุณผู้ชายควรรักและดูแลเหมือนที่เขารักคุณนะคะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

11 ความคิดเห็น

ที่พึ่ง(ไม่ได้) Member 9 ก.ย. 59 14:28 น. 1

ณ สมัยปัจจุบันนี้ ทุกคุณสมบัติข้างต้น ควรมีในตัวผู้ชายค่ะ "ผัวในอุดมคติ" อิอิ

เยี่ยม

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
PASS21 Member 10 ก.ย. 59 15:22 น. 3-1
อ๋า... ขอบคุณที่ช่วยชี้จุดบกพร่องนะคะ พอดีพี่หวานเขียนไม่ชัดเอง จะเพิ่มเติมว่าเก็บผลไม้ด้วยนะคะ เเต่จริงๆ อยากสื่อความประมาณว่าเวลาเข้าป่าไปก็หาได้เเต่เผือกกับมันมาเลี้ยงชีพ ไม่ได้กินดีเหมือนอยู่ในวังนะ ประมาณนี้ค่ะ ^_^
0
กำลังโหลด
ชารอช 11 ก.ย. 59 00:02 น. 4
จริงๆแล้ว นางเทราปตีอยู่กะพระสวามีคนละ1ปี ไม่ใช้หรอค่ะ เคยอ่านในภารตะ แต่ชื่นชมนางและพระสวามีคนอื่นที่ต้องคิดว่าเป็นพระมเหสีของน้องและพี่
2
PASS21 Member 11 ก.ย. 59 00:44 น. 4-1
ตามหนังสือมีข้อมูลบอกไว้ว่าผลัดกันอยู่กับพระสวามีคนละสองวันน้าาา ถ้าต้องรอผลัดกันคนละปีเลยอาจจะ...นานไปรึเปล่าหว่า แหะๆ เเต่ก็ขอบคุณที่มาบอกนะคะ เดี๋ยวเราจะไปหาข้อมูลมาเพิ่ม เย้
0
กำลังโหลด
Megan Ignacia Member 11 ก.ย. 59 20:20 น. 5

เราเคยสงสัยนะ ว่าหลังจากเลือกคู่แล้ว ทำไมพระสังข์ไม่ถอดรูปเงาะซะเลยหล่ะ ตัวเองกับเมียจะได้ไม่ต้องลำบากและถูกดูถูก

แต่จะหาใครที่ดีเลิศขนาดทั้งหมดที่กล่าวมานี่ก็ยากมากอยู่เหมือนกันนะ

1
South watch Member 18 ธ.ค. 59 03:05 น. 5-1
เดาว่าพระสังข์อยากจะ โลว์โปรไฟล์น่ะครับ โดนเมียน้อยพ่อไล่ล่าอยู่ แล้วแกคงเป็นเด็กมีปัญหาด้วย ประมาณว่า พ่อทิ้งตั้งแต่เกิด ออกจากหอยก็โดนแม่ตัวเองทุบหอย โดนเมียน้อยพ่อส่งคนมาฆ่า มีแม่เลี้ยงเป็นยักษ์ (คงระแวงว่าแม่เลี้ยง อาจจะจับแกกินเข้าซักวันก็ได้) แกเลยชิงลงมือก่อน ขโมยของแม่เลี้ยง หนีออกมา จนแม่เลี้ยงตรอมใจตาย อยากโลว์โปรไฟล์ก็ไม่ผิด แต่มันโรคจิต ตอนที่อยู่กับเมียก็ไม่ถอดรูปเงาะนี่แหละ (ไม่สงสารเมียมั่งเลย ใครมันจะไปพิสวาสลง 555) ถึงได้บอกว่า พระเอกวรรณคดีไทย มันหาดีไม่ได้ -ที่เหมือนจะดี มันก็ขาดๆ เกินๆ เป็นเด็กมีปัญหา เอาแต่ใจ แบบนี้
0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
inatchabra Member 11 ก.ย. 59 21:16 น. 7
เพราะคำว่ารักคำเดียว ผู้หญิงถึงทำได้ขนาดนี้ เพราะฉะนั้นคุณผู้ชายควรรักและดูแลเหมือนที่เขารักคุณนะคะ
0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด
คนไม่จริงจัง Member 17 ธ.ค. 59 13:37 น. 11

เรื่องของ เทราปตีนี่เป็นเพราะว่าพ่อของนางต้องการให้นางเป็นต้นเหตุของการแตกแยกกันระหว่างพี่น้อง โดยตั้งใจให้อรชุนเป็นคนจุดชนวนนี้ แต่นางกุณฑีดันสั่งออกมาให้แบ่งกัน จึงกลายเป็นว่าไม่ต้องสู้กันเพื่อแย่งเมีย แต่จริงๆมันก็มีเรื่องลักลั่นย้อนแยงกันอยู่ว่า พี่น้องปานฑพนั้นบอกว่าคำพูดของแม่ถือเป็นประกาศิต พูดแล้วต้องทำตาม แต่ตอนหลัง นางกุณฑีพอรู้ว่าได้เมียมาก็ห้ามปราม แต่พี่น้อง 5 คนนี้กลับไม่ฟังเสียนี่...

ส่วนนางคานธารี ถือว่าเป็นภรรยาในอุดมคติของฝั่งฮินดู และก็เป็นแม่ที่ใจแกร่งมาก เพราะว่ามีลูกมากมายสุดท้ายต้องมารับรู้ว่าลูกของตัวเองตายทั้งหมดไม่เหลือแม้แต่คนเดียว แต่ที่แน่นอนที่สุด คือ นางนี่แหละที่เป็นผู้ที่สาปแช่งใส่ พระกฤษณะ อวตารขององค์นารายณ์ ให้ตายอย่างอนาถา แถมยังต้องมองดูญาติพี่น้องเข่นฆ่ากันเองจนไม่เหลือใคร (เพราะว่าความจงรักภักดีต่อสามีทำให้นางได้รับพรจากเทพให้มีวาจาสิทธิ์)

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด