Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การเรียนต่อ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

คือผมได้จบมัยธมการศึกษาปีที่ี 6  แล้วครับ และผมต้องเลือกระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา คอมพิวเตอร์ หรือ คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร ครับ  คือผมต้องเข้าไปคณะที่เกี่ยวข้องกับคอม แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกอะไรดี ผมเลยอยากรู้ว่า ข้อดี-ข้อเสียในแต่ละคณะ และจบไปจะทำงานเกี่ยวกับอะไรครับ 

แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

Gamemodes 8 เม.ย. 67 เวลา 20:39 น. 1-1

ของผม ผมชอบการเขียนโค้ด หรือ ซอฟต์แวร์นะครับ

0
โดเร 8 เม.ย. 67 เวลา 23:38 น. 3

วิศวะคอมจุฬา


อนาคตหลังสำเร็จการศึกษา

ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ จะมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ วิเคราะห์ และสร้างโปรแกรมประยุกต์ของระบบซอฟต์แวร์ ระบบเชิงเลข และ การประมวลผลสารสนเทศ และสามารถประยุกต์หลักการทางวิศวกรรมเพื่อการแก้ปัญหาในสาขาอาชีพอื่นด้วยคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพเป็นวิศวกรระบบ นักวิเคราะห์ระบบ นักเขียนโปรแกรมระบบ และอาชีพในสายงานคอมพิวเตอร์อื่นๆ

0
Comsci 9 เม.ย. 67 เวลา 00:01 น. 4

ที่บริษัทเราทำ รับหมดละ ถ้าเขียนโปรแกรมเป็น นอกสาขายังรับเลยครับถ้าเขียนเป็นนะ อย่างคนจบ นิเทศ ยังมาเขียนโปรแกรมเลยครับ บางคนจบวิทยาศาตร์คอมมาแต่เขียนไม่เก่ง ให้โจทย์ตอนสัมภาษณ์งาน ให้ทำจริงต้องของเปิดอินเตอร์เน็ตก๊อปโค๊ดบางคำสั่งมา เพราะจำไม่ได้ แบบนี้ไม่รับนะ

0
msvarich14 9 เม.ย. 67 เวลา 11:23 น. 5

แต่ละ คณะ สาขา ภาควิชา เน้น คนละด้าน

ถ้า ถนัด เขียนโปรแกรม สาขา ภาควิชา คอมพิวเตอร์

ไม่ว่า เขียนโปรแกรม ต้องมี ออกแบบ Design User Interface UI

คอมพิวเตอร์ แต่ละ มหาวิทยาลัย จะอยู่ใน คณะ ที่แตกต่างกันไป

คอมพิวเตอร์ แต่ละ มหาวิทยาลัย จะใช้ชื่อ สาขา ภาควิชา ที่แตกต่างกันไป

คอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิทยาศาสตร เน้น ซอฟต์แวร์ เขียนโปรแกรม

คอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร เน้น ซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์ เขียนโปรแกรม


สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เน้นที่ความเข้าใจถึงศาสตร์และศิลป์ของการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมีพื้นฐานอย่างดีในด้าน Algorithm, Data Structure และ Discrete

Mathematics นักศึกษาจะต้องมีความเชี่ยวชาญอย่างสูงในวิทยาการแบบ Object โดยใช้ภาษา จาวา ภาษาPHP ภาษาไพธอน ภาษาอาและเทคโนโลยี .Netสามารถพัฒนาระบบ Database ได้ สามารถเขียน

โปรแกรม Web based ได้ สามารถออกแบบโดยใช้ภาษา UML ได้ มีความเข้าใจในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้านSecurity, Web Service และ Computer Architecture ทักษะที่นักศึกษาต้องมี คือ

. ออกแบบ Object-Oriented Software โดยใช้ภาษา UML

. สามารถใช้ CASE Tool ได้

. สามารถเขียนภาษา Java ในระดับ J2EE ได้

. สามารถใช้เทคโนโลยี.Net ในการสร้าง Web Service ได้

. สามารถออกแบบ Database Application ที่เป็น Web based ได้ โดยใช้ Oracle database หรือ Microsoft SQL Server ได้

อาชีพที่เปิดกว้างสำหรับผู้ที่มีความสนใจที่จะทำงานที่น่าท้าทายยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่สำเร็จสาขานี้จะ สามารถทำงานเป็น

. Software Developer

. Programmer

. Software Test Engineer

. Network Engineer

. Programmer

. System Administrator

โปรแกรมเมอร์(Programmer)นักพัฒนาแอปพลิเคชันทั้งเว็บและโทรศัพท์มือถือ (Web and Smart Phone Application Developer)นักพัฒนาเว็บทั้ง Frontend, Backend และ Functional Application (Full Stack Developer)นักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer)นักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist)ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล(Database Administrator)นักวิเคราะห์ระบบ(System Analyst)วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)


สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ (CSI) ได้รับการออกแบบมาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack ซึ่งปัจจุบัน การขับเคลื่อนธุรกิจในยุคดิจิทัล มีความต้องการใช้งานซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันและดิจิทัลแพลตฟอร์มที่สามารถทำงานแบบฉลาด (Smart) เช่น ระบบการซื้อ-ขายอัจฉริยะ ที่สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมความต้องการของลูกค้า (Customer Insight) สามารถคาดการณ์ ทำนาย ความต้องการใหม่ๆ และยอดขายในอนาคตได้

นอกจากนี้ ธุรกิจใหม่ที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ปัญญาประดิษฐ์ บล็อกเชน ในรูปแบบสกุลเงินดิจิทัล (คริปโตเคอเรนซี) การลงทุนแบบใหม่ เช่น DeFi, NFT, Metaverse ล้วนต้องการความสามารถของนักพัฒนาซอฟต์แวร์สมัยใหม่ที่มีความสามารถทั้งด้านการวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ การออกแบบการใช้งานซอฟต์แวร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (Front-end) และการพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนติดต่อการทำงานกับระบบสนับสนุนต่างๆ เช่น ระบบฐานข้อมูล ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ระบบคลาวด์ อาจเรียกได้ว่า นักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack ในแบบ “เขียน ครบ จบในคนเดียว”

ปัจจุบัน ทั้งภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล มีความต้องการบุคลากรในตำแหน่งงาน นักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack เป็นจำนวนมาก สาขาวิชา “วิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์” จึงเป็นหลักสูตรที่ตอบโจทย์ความต้องการผลิตบุคลากร สายการพัฒนาซอฟต์แวร์ของประเทศ โดยผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาทั้งองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม ทั้งวิทยากร และสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกับตัวจริงประสบการณ์จริง

อาชีพ

นักพัฒนาซอฟต์แวร์

นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานซอฟต์แวร์

นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล

นักวิเคราะห์ข้อมูล

โปรแกรมเมอร์


สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นวิทยาการข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

ยุคที่เทคโนโลยีมีฐานข้อมูลจำนวนมากโลดแล่นอยู่บนโลกดิจิทัล และทุกองค์กรล้วนต้องการบุคคลที่เชี่ยวชาญในสายงานทางด้านซอฟต์แวร์ที่สามารถทำงานด้านเทคนิคเฉพาะทาง และมีทักษะการบริหารจัดการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตอันมหาศาล ตลอดจนดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและระบบการทำงานทั้งหมด เล็งเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนการทำงานที่ตอบโจทย์วงการดิจิทัล พร้อมรองรับความต้องการของตลาดงานที่เติบโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยการบ่มเพาะคุณภาพของนักศึกษา ยกระดับการเรียนที่มุ่งเน้นการสร้างความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง กับสาขาใหม่ “สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นวิทยาการข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” โดยสาขามีความมุ่งเน้นเฉพาะทาง สำหรับนักศึกษาที่มีความสนใจทางด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science) และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) ที่เป็นอาชีพใหม่ที่เป็นที่ต้องการของตลาดงานด้านไอที เรียนรู้แบบวิเคราะห์เจาะลึกทั้งด้านการบริหาร

จัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) การสร้างแบบจำลอง การใช้โมเดลเพื่อนำผลลัพธ์ไปใช้ประกอบการตัดสินใจและทำนายแนวโน้มตามความต้องการขององค์กร ตลอดจนการต่อยอดพัฒนาข้อมูลเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุด

นอกจากนี้ นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลระบบความปลอดภัยและความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีความจำเป็นกับทุกองค์กร เรียนรู้การป้องกันข้อมูลและการเจาะระบบ ในลักษณะต่างๆ ผ่านซอฟต์แวร์หรือเครือข่าย อาทิ ข้อมูลความลับองค์กร เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลการเงิน เป็นต้น ตอบโจทย์นักศึกษาที่ชื่นชอบความท้าทายในการทำงาน

ทั้งนี้ สาขาได้เพิ่มความเข้มข้นในการเรียนด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรมกับบริษัท T-Net และบริษัท G-Able ซึ่งที่เป็นมืออาชีพในวงการ และได้ลงมือปฏิบัติจริงกับโซลูชันและ Data ของธุรกิจ ในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถ เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสายงาน และเพิ่มโอกาสการเข้าทำงานทันที ที่สำเร็จการศึกษา

เรียนเกี่ยวกับ เขียนโปรแกรม Software ความปลอดภัยของไซเบอร์ การป้องกันการ Hack ใช้ชีวิตบนโลกไซเบอร์ให้ปลอดภัย ข้อมูล ต้องรักษายังไง วิเคราะห์ข้อมูล เป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลที่ดี นำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ของ บริษัท ในสิ่งที่ทำ เหมาะกับคนที่ชอบ Hack เรียนรู้ Data Science ข้อมูลรั่วไหล ได้ตลอด ถ้าข้อมูลรั่วไหลจะเป็นผลเสีย รู้ป้องกันการ Hack นำข้อมูล ไปใช้ยังไง

เรียนจบแล้วทำอาชีพ Front-End คือ คนทำระบบหน้าบ้าน Back-End คือ คนทำระบบหลังบ้าน Support ซัพพอร์ต UX/UI Design ทำกน้าที่ออกแบบเว็บไซต์เพื่อการใช้งานที่ง่ายที่สุด Network Infrastructure วางระบบ นักวิเคราะห์ข้อมูล

นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล

Full Stack Developer

นักพัฒนาซอฟต์แวร์

โปรแกรมเมอร์

ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์

วิศวกรซอฟต์แวร์

วิศวกรข้อมูล

นักวิเคราะห์ธุรกิจ


สาขา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ คำนวณ วิทยาศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า ภาษา ต้องได้ เน้น ซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์ เขียนโปรแกรม Internet of Thing IOT หุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ AI

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นสาขาที่เหมาะกับคนที่สนใจทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ผู้ที่มีพื้นฐานด้านไฟฟ้า อิเลคทรอนิกส์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จะสามารถเรียนใน

สาขานี้ได้ดี การเรียนจะมุ่งเน้นทักษะการออกแบบระบบดิจิทัล ระบบควบคุมที่ใช้ซอฟต์แวร์ระดับแก่นโดยใช้ภาษา C และ Visual C++ Python R ตลอดจนภาษา Java บางครั้งก็ต้อง

ใช้ภาษา Assembly นักศึกษาจะสามารถออกแบบระบบ Digital ได้ ซึ่งประกอบด้วย อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟตแวร์ที่สร้างพิเศษสำหรับงานนั้น

ทักษะหลักที่จะได้รับการศึกษา

. ออกแบบระบบควบคุมด้วยดิจิตอล และซอฟตแวร์ควบคุม

. ออกแบบซอฟต์แวร์ควบคุมโดยภาษา C

. ออกแบบระบบเว็บบอร์ด โดยใช้ภาษา HTML

. ออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ระดับ VLSI

อาชีพหลักที่นักศึกษาทำได้มีดังนี้

. การบริการระบบ Internet

. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

. วิศวกรควบคุม

. Software Developer

. System Engineer

. Multimedia System Engineer

ศึกษาพื้นฐานทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ การออกแบบ สร้าง ทดสอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบสมองกลฝังตัว (Embeded System) การออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้งานด้าน VLSI(Very Large Scale Integrated Circuit) การออกแบบ ติดตั้งและควบคุมระบบเครือข่าย รวมทั้งการเขียนโปรแกรมที่ใช้ประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการข้อมูลของระบบสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ กัน

ศึกษาพื้นฐานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ของระบบคอมพิวเตอร์ โดยเน้นการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ทั้งส่วนอุปกรณ์ (Hardware) และส่วนชุดคำสั่ง (Software) ที่ใช้ในกิจการประมวลข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ผู้สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชานี้สามารถทำงานเป็นนักออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ เป็นวิศวกรส่วนชุดคำสั่งที่สามารถพัฒนาชุดคำสั่งระบบและชุดคำสั่งประยุกต์ใช้งานและเป็นฝ่ายสนับสนุนเทคนิคแก่องค์กรที่นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการปฏิบัติงาน

อาชีพ

– วิศวกรคอมพิวเตอร์

– วิศวกรระบบเครือข่าย

– วิศวกรระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์

– วิศวกรระบบฝังตัว

– วิศวกรวางระบบคอมพิวเตอร์

– วิศวกรดูแลเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์

– ผู้ผลิตและพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

– นักพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

– นักจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรต่างๆ


โอกาสในการทำงาน

ขึ้นกับสาขาที่ได้เลือกศึกษา ผู้เรียนสามารถเลือกทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างกว้างขวาง หรือเลือกทำงานในส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเช่น นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ผู้ดูแลเว็บไซต์ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ โปรแกรมเมอร์ นักออกแบบและพัฒนาระบบเครือข่าย ผู้ดูแลระบบเครือข่ายระบบฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรผู้ออกแบบฮาร์ดแวร์สมองกลฝังตัว ผู้ออกแบบระบบ VLSI ผู้ออกแบบระบบสมองกลฝังตัว ฯลฯ นอกจากนี้ผู้เรียนสามารถสร้างกิจการ SME ที่เป็นของตนเอง รวมทั้งศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ

จบ สาขา ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นวิทยาการข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ควรมี วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร ใบCertificate

จบ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ควรมี ใบกว ประกอบวิชาชีพ (บาง สาขา ภาควิชา)

3
msvarich14 10 เม.ย. 67 เวลา 08:22 น. 5-2

ลองดู ขอแนะนำเพิ่ม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

0
Sayanya 9 เม.ย. 67 เวลา 21:05 น. 6

พี่เรียนคณะเกษตร สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร จบเอกนี้เลยแบบไม่มีเลือกเอกอื่นแล้วนะ สำหรับพี่เป็นสาขาที่เรียนหลากหลายมากเลยค่ะ เราเรียนแทบจะครบทุกอย่างเลย เรียนบางตัวของสาขาอื่นด้วยแต่อาจจะไม่ลงลึกมากแต่พื้นฐานครบ ถ้าชอบชีวะเกี่ยวกับพืชก็โอเคนะคะเพราะเจอแน่ แต่ก็เจอฟิสิกส์ เคมีด้วยเหมือนกันแล้วที่หนีไม่พ้นคือลงแปลงค่ะ ทำเองตั้งแต่แปลงปลูกจนเก็บเลยเหนื่อยหน่อยแต่ถ้าชอบก็ทนได้ สำหรับพี่ถ้าน้องมั่นใจว่าชอบว่าอยากทำก็ลุยเลยค่ะ ลองศึกษาสาขาหรือคณะที่ใกล้เคียงไว้เป็นตัวเลือกด้วย พี่จบมาแล้วตั้งใจว่าจะเป็นนักวิชาการเกษตรค่ะ แต่สาขานี้จริงๆแล้วทำงานได้หลากหลายมากนะ มีหน่วยงานที่รับเยอะด้วย กรมวิชาการเกษตรนี่เปิดรับบ่อยอยู่ค่ะ ส่วนเอกชนก็มีเยอะมาก ลองหาข้อมูลดูนะคะว่าเราชอบทำงานแนวไหนแบบไหน

1
Foodsci 10 เม.ย. 67 เวลา 07:51 น. 7

เรียนเทคโนโลยีอาหาร ทำเกี่ยวกับการผลิตอาหารในโรงงาน จบมาก็ได้งานทำ ถ้าไปถึงตำแหน่งผู้จัดการเงินเดือนสูง

1