Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มารู้จัก ราชสกุล "เทพหัสดิน ณ อยุธยา" (เป็นความรู้)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

            ราชตระกูล หมายถึงตระกูลอันสืบสายลงมาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งโดยตรงและจากสมเด็จพระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐา ผู้เป็นพระโอรสธิดาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกด้วยกัน สำหรับสายพระพี่พระน้องดังกล่าว บางทีก็เรียกว่า ราชตระกูลสายพระปฐมวงศ์ คือมิได้สืบสายโดยตรงลงมาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ

           ส่วนราชสกุลนั้นดูเหมือนจะใช้กันตั้งแต่เมื่อมีพระราชบัญญัตินามสกุลในสมัยรัชกาลที่ ๖ หมายถึงนามสกุลอันสืบสายลงมาจากเจ้าฟ้าและหรือพระองค์เจ้าในพระบรมราชวงศ์จักรี

           แต่คำว่าราชสกุลนี้ หากพูดถึงเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า เคยได้ยินผู้ใหญ่พูดว่า ‘ท่านเป็นราชสกุล’ ทว่าหากพูดถึง หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง ก็มักว่า ‘เธอเป็นราชนิกุล’ ( ‘เธอ’ คือสรรพนามบุรุษที่ ๓ มิใช่บุรุษที่ ๒)

           ส่วนสมาชิกในราชตระกูลที่ต่ำลงมาจากหม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง ไม่เรียกว่าราชนิกุล เป็นแต่สมาชิกในราชตระกูล ใช้นามสกุลอันเป็นราชสกุลโดยมีคำว่า ‘ณ อยุธยา’ ต่อท้าย

           เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นชั้นอา พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นชั้นหลาน ทว่าอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน เจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ เกิด พ.ศ.๒๔๑๙ พระยาเทพหัสดิน เกิด พ.ศ.๒๔๒๑

           ราชสกุล เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นสายพระปฐมวงศ์ สืบลงมาจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์น้อยแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ

           สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ มีพระโอรสธิดาเป็นหม่อมเจ้า ตามพระเกียรติยศ โอรสธิดาของเจ้าฟ้า ที่ประสูติแต่มารดาสามัญชน

           สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ มีหม่อมห้ามผู้นับว่าเป็นหม่อมเอก ชื่อว่า หม่อมผ่อง หม่อมผ่องผู้นี้เป็นธิดาของท่านเจ้าขรัวทอง (หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯรับสั่งเรียกว่า ‘เจ้าข้าวทอง’) ท่านเจ้าขรัวทอง เป็นพี่ยาของท่านเจ้าขรัวเงิน พระชนกของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ หม่อมผ่อง จึงเป็นลูกผู้พี่ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ

           หม่อมผ่องมีพระธิดา พระนาม ‘หม่อมเจ้าฉิม’ แสดงว่าเป็นธิดาคนใหญ่ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ

           หม่อมเจ้าฉิมเสกสมรสแล้ว ตามที่ทราบกันโดยเปิดเผยนั้นว่า หม่อมเจ้าฉิมทรงมีโอรสท่านหนึ่ง เรียกกันว่า ‘คุณช้าง’ ในทางราชการเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ จดว่า ‘หม่อมราชวงศ์ช้าง’ และจดชื่อบุตรธิดาของหม่อมราชวงศ์ช้างเป็น ‘หม่อมหลวง’ ทุกคน

           ทว่าในครั้งกระโน้นมีผู้สันนิษฐานว่าหม่อมราชวงศ์ช้างนี้ คงจะเป็นพระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ นั่นเอง เกิดแต่หม่อมชาวนครราชสีมา ชื่อแปลก หากแต่อาจมีความจำเป็นบางประการ หรืออาจจะทรงพระชราแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ จึงประทานคุณช้างให้เป็นพระโอรสบุญธรรมในหม่อมเจ้าฉิม

           ที่พากันสันนิษฐานดังนี้ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ผู้ทรงเป็นหลานลุงของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ ทรงยกย่องคุณช้างมากยิ่งกว่า ผู้เป็นเพียงหม่อมราชวงศ์ท่านอื่นๆ เมื่อเริ่มเข้ารับราชการ ก็มิต้องขึ้นจากชั้นเล็ก โปรดฯให้เป็นพระยาราชภักดีเลยทีเดียว และเมื่อพระราชโอรสธิดาโสกันต์ ก็โปรดฯให้เสด็จไปลาพระยาราชภักดีทุกพระองค์

           เมื่อหม่อมราชวงศ์ช้างรับราชการ จึงมีบุตรหลานรับราชการมีบรรดาศักดิ์กันต่อๆ มา ผิดจากพระโอรสองค์อื่นในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ ซึ่งแม้เป็นหม่อมเจ้าเมื่อมิได้เข้ารับราชการตลอดถึงลูกหลาน จึงไม่ปรากฏชื่อเสียงเด่นแต่ประการใด มาเด่นในทางราชการก็แต่ลูกหลานของพระยาราชภักดี (ม.ร.ว.ช้าง)

           ถึงรัชกาลที่ ๖ มีพระราชบัญญัตินามสกุลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึงโปรดฯ พระราชทานนามสกุลที่สืบสายลงมาจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ว่า ‘เทพหัสดิน’ โดยเอาพระนามกรมข้างหน้าของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ กับ ‘หัสดิน’ ที่แปลว่า ‘ช้าง’ รวมเข้าด้วยกัน เป็นการแปลกกว่าราชสกุลอื่น ซึ่งมักจะมาจากพระนามจริงหรือพระนามกรมแต่อย่างเดียว

           พระยาราชภักดี (ม.ร.ว.ช้าง) มีบุตรธิดามากตามความนิยมของสมัยนั้น บุตรชายคนใหญ่ เกิดแต่เอกภรรยาชื่อ หม่อมหลวงเจียม ธิดาอีกคนชื่อ หม่อมหลวงถนอม เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕

           หม่อมหลวงเจียม เป็นเจ้ากรมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แต่ยังทรงกรมเป็นกรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว โปรดฯให้เป็นพระยาไชยสุรินทร์ (ม.ล.เจียม) เจ้ากรมพระคลังข้างที่

           พระยาไชยสุรินทร์ (ม.ล.เจียม) มีบุตรธิดามาก รวมถึง ๓๒ คน

           ที่เกิดแต่เอกภรรยา ชื่อ นายพุด และ ธิดาถวายตัวเป็นเจ้าจอมพระสนมในรัชกาลที่ ๕ สามท่านคือ เจ้าจอมกลีบ เจ้าจอมลิ้นจี่ และ เจ้าจอมฟักเหลือง

           ส่วนนายพุดนั้น รับราชการเป็นที่โปรดปรานในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมาก ได้เป็นที่หลวงฤทธิ์นายเวร

           หลวงฤทธิ์นายเวร (พุด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ผู้นี้ เป็นบิดาของ พลเอก พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

           ส่วนเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นน้องชายต่างมารดาของหลวงฤทธิ์นายเวร (พุด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นคนที่ ๑๘ ในจำนวนพี่น้อง ๓๒ คน


พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ (พ.ศ. 2302 - พ.ศ. 2348) พระนามเดิม ตัน เป็นพระโอรสลำดับที่ 1 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ กับ เจ้าขรัวเงิน ทรงประสูติในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2302 ทรงเป็นพระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2348 พระชันษา 47 ปี ทรงเป็นต้น ราชสกุลเทพหัสดิน


เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

มหาเสวกเอก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (1 มกราคม พ.ศ. 2419 - 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486) นามเดิม สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา เสนาบดีกระทรวงธรรมการ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) ผู้วางรากฐานการศึกษาภาคบังคับพื้นฐานและการอาชีวศึกษา ผู้ร่วมดำริให้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก ผู้นำกีฬาฟุตบอลมาเผยแพร่ในประเทศไทย นักประพันธ์ (ใช้นามปากกา "ครูเทพ") ผู้ประพันธ์เพลงกราวกีฬา รวมทั้งเพลงชาติฉบับก่อนปัจจุบัน




พลเอกพระยาเทพหัสดินฯ (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2420 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2494)พลเอก หัวหน้าคณะทูตทหารไทยที่เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 นักโทษประหาร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม

พลเอกพระยาเทพหัสดินฯ ได้รับพระราชทานยศ บรรดาศักดิ์ และราชทินนามเต็มว่า พลเอก พระยาเทพหัสดิน สยามพิชิตินทร์ สวามิภักดิ์อุดมศักดิ์เสนีย์ พิริยะพาหะ เป็นบุตรชายคนที่ ๑ ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๘ คน ของพันเอกหลวงฤทธิ์นายเวร (พุด เทพหัสดิน ณ อยุธยา พี่ชายต่างมารดาของ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)) ซึ่งเป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ เกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันพุธที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๐ ณ.บ้านสำเพ็ง หน้าวัดจักรวรรดิราชาวาส พระนคร พระยาเทพหัสดิน มีศักดิ์เป็นหลานอาของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แต่มีอายุไล่เลี่ยกัน



พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
(19 พฤษภาคม พ.ศ. 2438 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2472) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ระนอง ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และสมุทรสงคราม

สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา จบการศึกษา จากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ จากนั้นเริ่มรับราชการในตำแหน่งเสมียน ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนศุภธนสวามิภักดิ์ หลวงโยธีพิทักษ์ พระโยธีพิทักษ์ พระตรังคบุรีศรีสมุทรเขต และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยารัษฎานุประดิษฐ์เมื่อ เดือนกันยายน พ.ศ. 2458

พระยารัษฎานุประดิษฐ์ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2472 อายุ 34 ปี




มหาอำมาตย์ตรี พระยาอนุกิจวิธูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา: 12 มีนาคม พ.ศ. 2423 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491) นักการศึกษา ผู้บัญชาการ (อธิการบดี) คนแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (6 เมษายน พ.ศ. 2460 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2468) [1]และผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ ผู้แต่งหนังสือเรียนสมัยรัชกาลที่ 5 รวมทั้งหนังสือชุดธรรมจริยาเล่ม 1 และ 2


จำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นักการปกครอง และนักเขียน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2462 ในตระกูลของเทพหัสดิน ได้รับการศึกษาเบื้องต้นเข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ในปี พ.ศ. 2471 มีเลขประจำตัวนักเรียน ท.ศ. 3640 นับเป็นนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ (DSA รุ่น 2478) และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบ และเข้ารับการศึกษาในชั้นปริญญาตรีที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อักษรศาสตร์บัณฑิต และเข้าศึกษาขั้นปริญญาโทที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีการศึกษาโหราศาสตร์สากลเพิ่มเติม จนจบได้ประกาศนียบัตรชั้นสูงโหราศาสตร์ยูเรเนียนระบบฮัมบูร์ก ในด้านการทำงาน เริ่มต้นอาชีพเป็นพ่อพิมพ์ของชาติโดยเริ่มรับราชการเป็นครูอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นได้รับการโอนย้ายไปเริ่มต้นชีวิตของการเป็นนักปกครองโดยโอนย้ายไปเป็นปลัดอำเภอในปี 2487 ในช่วงที่เกิดมหาสงครามเอเชียบูรพาขึ้น และเติบโตในหน้าที่การงานเป็นนายอำเภอ และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด อาทิ เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (15 ตุลาคม 2510 - 30 กันยายน พ.ศ. 2514) จังหวัดราชบุรี (1 ตุลาคม 2514 - 30 กันยายน 2518) ฯลฯ จนเกียษณอายุราชการในตำแหน่งสุดท้ายเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และได้รับการทาบทามให้เข้าร่วมคณะรัฐมนตรีคณะที่ 40 ในสมัยรัฐบาลของ นายกรัฐมนตรี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2520 - 21 ธันวาคม 2521


นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา

นายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้ได้รับการยกย่องเป็น "บรมครูแห่งวิชากระบี่กระบอง" เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ครูนาค เทพหัสดินทร์ ณ อยุธยา บรมครูแห่งวิชากระบี่กระบองของไทย ท่านอาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้หนึ่งที่ได้เล่าเรียนวิชานี้ มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และเป็นผู้ที่รักใคร่ในศิลปะวิชานี้อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านได้แลเห็นต่างชาติภูมิใจในศิลปะประจำชาติของเขา เช่น ชาติเยอรมันและญี่ปุ่น ยกย่องวิชาฟันดาบและยูโดของเขาว่าดีเยี่ยมที่สุด และอนุรักษ์ เผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์แก่โลกมากเพียงใด ยิ่งทำให้ท่านบูชาวิชากระบี่กระบองของไทยไว้เหนือสิ่งอื่นใดมากขึ้นเพียงนั้น

ในโอกาสที่ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนพลศึกษากลาง ท่านได้ลองเริ่มสั่งสอนนักเรียนพลศึกษากลางขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2478 ท่านได้ทดลองบรรจุสอนวิชากระบี่กระบองขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2478 ทดลองสอนอยู่1 ปี ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจของท่านผู้ใหญ่ เพราะเห็นว่าวิชากระบี่กระบองนั้นมีประโยชน์ในการฝึกกำลังใจให้กล้าหาญเป็นลูกผู้ชาย ฝึกกำลังกายและความคล่องแคล่วว่องไวในการป้องกันตัวและการใช้อาวุธยิ่งกว่านั้นยังเป็นการให้ผู้เรียนได้ฝึกจิตให้เกิดสมาธิ และมีความกตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์ผลจากการทดลองบรรจุวิชานี้ในการเรียนการสอนแก่นักศึกษา จึงได้กำหนดวิชากระบี่กระบองไว้ในหลักสูตรของประโยคครูผู้สอนพลศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2479 นับแต่นั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้เล่าเรียนและสำเร็จมากขึ้นตามลำดับ บรรดาผู้ที่เล่าเรียนสำเร็จ ซึ่งโดยมากออกไปรับราชการเป็นครูสอนวิชาพลศึกษาอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้พยายามนำวิชากระบี่กระบองไปเผยแพร่ และเป็นที่น่าสนใจของชาวไทยเป็นอย่างมาก

ใน พ.ศ. 2518 กระทรวงศึกษาธิการ ได้บรรจุวิชากระบี่กระบองเข้าไว้ในหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งได้จัดเป็นวิชาบังคับเลือกของหมวดวิชาพลานามัยและใน พ.ศ. 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ก็ได้บรรจุวิชากระบี่ไว้ในหลักสูตรของมัธยมศึกษาตอนต้น จนกระทั่งปัจจุบันนี้ได้บรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนทั่วไป จึงนับว่าศิลปะชิ้นเอกนี้ นอกจากจะไม่สูญหายไปจากโลกแล้ว คงจะเจริญก้าวหน้าเอาไว้อวดหรือแสดงถึงความเป็นเจ้าของวิชาการแขนงนี้ได้ในอนาคต เพื่อให้เยาวชนของชาติได้ศึกษาเล่าเรียน และรักษาไว้ซึ่งมรดกอันล้ำค่าของชาติได้ดำรงอยู่คู่แผ่นดินไทยตลอดไป


ปรียาฉิมโฉม.jpg

นางปรียา ฉิมโฉม สกุลเดิม เทพหัสดิน ณ อยุธยา (16 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550) นักผังเมืองและสถาปนิก ผู้บุกเบิกสำคัญผู้หนึ่งด้านการผังเมืองของประเทศไทย ตั้งแต่ครั้งยังเป็นกองผังเมืองจนถึงระดับกรมโดยได้เป็นผู้อำนวยการ (อธิบดี) คนที่ 3 ของสำนักผังเมือง (ปัจจุบันคือกรมโยธาธิการและผังเมือง) และนับเป็นอธิบดีหญิงคนแรกของกระทรวงมหาดไทย นางปรียา ฉิมโฉมเป็นนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น ที่ 1 (พ.ศ. 2476)


50696Nat Internet.jpg

ณัฏฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (ชื่อเล่น : ภูมิ) เป็นนักแสดง นายแบบชาวไทยก้าวเข้ามาสู่วงการบันเทิง จากการไปแคทโฆษณา, เดินแฟชั่นโชว์ รวมถึงการถ่ายหนังสือ ถ่ายโฆษณาบัตรเครดิตของธนาคารแห่งหนึ่ง จากนั้นทางเอ็กแซ็กท์ จึงเรียกภูมิไปแคสท์ และทำให้ภูมิได้เล่นละครเรื่องแรก "เปลือกเสน่หา" ภูมิสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล ภาคภาษาอังกฤษ


th.wikipedia.org/wiki/หมวดหมู่:ราชสกุลเทพหัสดิน



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 30 ธันวาคม 2553 / 23:30

แสดงความคิดเห็น

>

53 ความคิดเห็น

POSITIVE~+ 30 ธ.ค. 53 เวลา 23:32 น. 1
ประเด็นแค่คนๆเดี๋ยว เอามาลงมาซ่ะบรรพบุรุษเสียเลย

PS.  คิดถึงเค้า!!! แต่เค้าจะเคยคิดถึงเรามั้งรึป่าว~*
1
เลิศลักษณ์ 9 พ.ย. 59 เวลา 15:23 น. 1-1

คนไหนคนนั้น ไม่เกี่ยวกันนะคะ...ที่เค้าลงให้อ่านก็เพื่อที่อยากจะขยายความรู้เพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะอวดอ้าง หรือเอามาประจานถึงราชสกุลที่สืบต่อๆกันมา คนๆเดียวก็จริง แต่ก็เกี่ยวพันกันทั้งตระกูล ถ้าคนที่เค้าแยกแยะเป็นเค้าก็จะคิดได้ ถึงจะนามสกุลนี้หรือนามสกุลไหนๆ ก็พลาดพลั้งกันได้หมดแหละค่ะ

0
มิเกร่า 31 ธ.ค. 53 เวลา 11:01 น. 3
เรารู้จักแต่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี  (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) กับณัฏฐ์  เทพหัสดิน  ณ  อยุธยา
ค.ห.1 ถ้าไม่อยากจะได้ความรู้เพิ่มเติมแล้วจะเข้ามาดูทำไม


PS.  เย้ ในที่สุดก็กู้ Internet Explorer 8 กลับคืนมาได้สำเร็จ
0
Minmin 31 ธ.ค. 53 เวลา 11:57 น. 4

โอ้โห นามสกุลโคตรยิ่งใหญ่อ่ะ สืบเชื้อสายเจ้ามาเชียว ถ้าเราเป็นแพรวานะ เครียดตายไปแล้ว

ทำให้สกุลต้องมาเสื่อมเสียแบบนี้! แต่ก็นะ อย่าไปยึดติดมาก เพราะเขาเลิกทาสไปตั้งนานแล้ว

ไม่มีนายไม่มีบ่าวแล้ว

0
แก๊งผ้าใบจร้า 31 ธ.ค. 53 เวลา 12:44 น. 6

เราฟังข่าวจากวิทยุมา
แพรวาพูดว่า "เอาชีวิตหนูไปเลยไหม"
"ผิดด้วยเหรอที่หนูเกิดมานามสกุลนี้"
เราว่าแพรวาไม่ผิดหรอกที่จะเกิดมานามสกุลนี้แต่เหตุการณ์ที่แพรวาทำมันผิดค่ะ
ถ้าแพรวาไม่ได้นามสกุลนี้ข่าวคงไม่ออกครึกโครมมากมายคนในเว็บคงไม่มาคอมเม้นอะไรมาก
เราเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วอ่ะ
แล้วเขาชนคนตายตั้ง 8 ศพ มันคงเป็นบาปและแผลเป็นติดตัวเขาไปทั้งชีวิตอ่ะ
เราเชื่อว่า เหตุการณ์นี้ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นหรอก
ขอให้ ทั้ง 8 ศพ ไปสู่สุขคติค่ะ

0
Qυεrı₫α ❀ 31 ธ.ค. 53 เวลา 17:11 น. 7
มีแต่คนดีๆทั้งนั้นเลย
(รู้จักแค่ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี กับ ณัฏฐ์ เหมือนกัน)

ปล. ตระกูลนี่เขาห้ามตั้งชื่อ เกิด 3 พยางค์ อ่ะป่าว - -*
(ถ้าไม่นับบางคนที่มี 2 พยางค์ กับ แพรวา ที่มี 3 พยางค์ เรานึกว่า มีข้อบังคับให้ตั้งพยางค์เดียวด้วยซ้ำ - -")

0
Jackie Chan 2 ม.ค. 54 เวลา 02:07 น. 8

คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยคิดอะไร ทำก่อนคิด ประมาทจึงเป็นเช่นนี้ ต้องรับกรรมที่เกิดจากการกระทำของตนแน่นอน กรรมใดใครก่อ ผู้นั้นจะต้องรับกรรม


PS.  แล้วจะส่งข้อมูลมาอีก
0
ZALYX. 2 ม.ค. 54 เวลา 07:11 น. 10

ต้นตระกูลยิ่งใหญ่มากกกก
ปล.เรื่องของแพรวาก็คือ"ทำอะไรก็มีสติหน่อย" แค่นั้นแหละ


PS.  ฤดูใดหัวใจก็คิดถึง ฤดูฝนรำพึงเฝ้าห่วงหา ฤดูหนาวไม่มีรักมาเยียวยา ฤดูร้อนไม่มีค่าเพราะขาดเธอ.
0
PTEEZOP's 2 ม.ค. 54 เวลา 09:04 น. 11
เอาเป็นว่า
อ่านไว้เป็นความรู้ อย่าเอาไปโยงกับอีกเรื่องนึงจะดีกว่า 

PS.  Nothing is permanent if we don't preserve it!
0
prnf-rich 2 ม.ค. 54 เวลา 09:32 น. 12

ขอบคุณความรู้ดีๆค่ะ

ปล.เราว่าการกระทำอยู่ที่ตัวบุคคลอย่าไปเหมารวมกับเรื่องอื่น คนเราทำผิดกันได้นะ

0
ลูน่า lovegood 2 ม.ค. 54 เวลา 09:33 น. 13

ม่ายรุจักซักคน

แม้แต่ณัฏฐ์ก้อเพิ่งมารู้จักนี่แหละ เหอๆ...


PS.  ผู้ชาย......ใช้ตีนเขี่ยๆหา...เดี๋ยวก้อเจอ...
0
คิมซัมซุน 2 ม.ค. 54 เวลา 10:34 น. 16

มีแต่คนทำเรื่องดีๆ ทั้งนั้นเลย  ทำไมพอมารุ่นนี้แล้วมันถึงเป็นแบบนี้ ก็อย่างว่า ปลาเน่าตัวเดียว แต่ มันเน่าทั้งเข่ง  อ่ะนะ 

0
roret 2 ม.ค. 54 เวลา 10:53 น. 17

จะมีคนคิดเอาไปทำหนังมั้ยน๊าาาา

แค่คิดนะคับ อย่าทำเล้ยยยย

ผมว่าคล้ายๆ ชัตเตอร์นะ แต่ชัตเตอร์ชนแ่ค่คนเดียวใช่ป่ะคับ

ผมจำไม่ได้

0
★Pokers,,Pokers,Damm 2 ม.ค. 54 เวลา 11:01 น. 18

ถึง ค.ห.7 เค้าไม่ได้ห้ามให้ตั้งชื่อเกิด 3 พยางค์

หรอกค่ะ แฟนเรายัง 3 พยางค์เลย =w=


PS.  "...หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤา เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทย "
0
AzZendiX 2 ม.ค. 54 เวลา 11:26 น. 19

อาห์ ได้ความรู้เกี่ยวกับตระกูลเชื้อเจ้าอีกแล้ว
ว่าแต่กระทู้นี้ตั้งใจให้ได้ความรู้ หรือลากบรรพบุรุษมาแฉเนี่ย
เอาเถอะ มองในแง่ดี กระทู้ให้ความรู้ละกัน


PS.  Why so serious?
0
เด็กหญิงอาเจ้ 2 ม.ค. 54 เวลา 11:33 น. 20

นามสกุล มันเป็นแค่สิ่งที่บอกบรรพบุรุษของเรา

เหตุการ์ณที่เกิดขึ้น มันเกิดขึ้นแค่คนๆเดียว


ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว


ปล.ถ้าผิดแล้วรู้จักขอโทษ ก็ควรจะให้อภัย

แต่ถ้าขอโทษแล้วหาย จะมีกฎหมายไว้ทำอะไร??


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 2 มกราคม 2554 / 11:46

PS.  ◤ชื่นชอบในรสนิยม ชื่นชมในรสนิยาม◥✿
0