เป็นเรื่องปวดหัวทุกทีเมื่อถึงเวลาของการจัดอันดับแอดมิชชั่น เพราะไม่รู้จะต้องจัดแบบไหนให้ปลอดภัย ต้องเอาคณะที่ได้คะแนนเยอะ หรือคณะที่เราอยากเรียนน้อยที่สุดไว้อันดับสุดท้าย

จริงๆ แล้วการจัดอันดับแอดมิชชั่นไม่ได้มีกฎตายตัว เพราะเราไม่สามารถการันตีได้ว่าปีนี้จะติดอันดับไหน เพราะยังมีปัจจัยอย่างอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง เช่น จำนวนผู้สมัครก็มีผล ถ้าคนสมัครคณะนั้นเยอะก็มีโอกาสที่คะแนนขึ้นสูง แต่ถ้าคนสมัครน้อยลงกว่าทุกๆ ปีก็มีโอกาสคะแนนลดลง อย่างไรก็ตาม วันนี้พี่มิ้นท์จะมาช่วยน้องๆ แนะนำหนึ่งเทคนิคสำคัญในการจัดอันดับ ที่ย้ำกันทุกๆ ปี นั่นคือ การกำจัดจุดอ่อน คณะแบบไหนที่ไม่ควรไว้อันดับ 8-10  

ไม่อยากเสี่ยงหลุด 10 อันดับรอบ 3 อย่าเลือกคณะแบบนี้ไว้อันดับท้ายๆ
ไม่อยากเสี่ยงหลุด 10 อันดับรอบ 3 อย่าเลือกคณะแบบนี้ไว้อันดับท้ายๆ

เช็กเลย! คณะแบบไหนไม่ควรไว้อันดับท้ายๆ (อันดับ 8-10) 

1. คณะใหม่

คณะใหม่ หมายถึง คณะที่เพิ่งเปิดสอนปีแรกใน TCAS67 หรือ เปิดสอนนานแล้ว แต่เพิ่งมารับผ่านรอบ Admission วิธีสังเกตง่ายๆ คือ ไม่มีสถิติคะแนนสูงสุด-ต่ำสุดย้อนหลังให้เทียบคะแนน  

ที่ไม่ควรปิดท้ายด้วยคณะใหม่ เพราะเราไม่รู้ว่าจะมีคนใจตรงกันมาเลือกคณะนี้เยอะแค่ไหน ถ้าทุกคนคิดเหมือนกันว่า คนคงเลือกน้อยแล้วเทมาเลือก ก็อาจจะทำให้คะแนนพุ่งได้ และถ้าอันดับ 1-9 ของน้องๆ ไม่ปลอดภัยจริงๆ อันดับ 10 คณะใหม่นี้ก็อาจจะหลุดได้ด้วยเช่นกัน

2. คณะที่ไม่สามารถคาดการณ์คะแนนได้

ในปีนี้โปรแกรมคำนวณคะแนน Dek-D และระบบสมัครของ ทปอ. มีการคาดการณ์คะแนนต่ำสุดปีนี้ไว้ให้ โดยใช้ปัจจัยต่างๆ เข้ามาคำนวณ เช่น ค่าสถิติคะแนนสอบ จำนวนรับ คะแนนต่ำสุดปีที่แล้ว รวมถึงค่าน้ำหนักต่างๆ ซึ่งในโปรแกรมจะมีคาดการณ์คะแนนให้เกือบทุกคณะ (คาดการณ์โดยไม่รวมปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ความนิยมของคณะ เป็นต้น) แต่ถ้าคณะใดขึ้นคำเตือนว่า ไม่สามารถคาดการณ์ได้ แปลว่ามีปัจจัยสำคัญอย่างอื่นที่ไม่สามารถนำมาคำนวณคะแนนได้ เช่น มีข้อมูลน้อยเกินไป หรือมีความผิดปกติของคะแนนในปีก่อนๆ  

 

คาดการณ์คะแนนต่ำสุด TCAS67 ในระบบ ทปอ.
คาดการณ์คะแนนต่ำสุด TCAS67 ในระบบ ทปอ.
คาดการณ์คะแนนต่ำสุด โดยเว็บไซต์ Dek-D
คาดการณ์คะแนนต่ำสุด โดยเว็บไซต์ Dek-D

ดังนั้น ใครที่โปรแกรมขึ้นว่าไม่สามารถคาดการณ์คะแนนต่ำสุดได้ ไม่แนะนำให้ไว้อันดับ 9-10 ค่ะ ยกเว้นว่าจะคะแนนของน้องจะสูงกว่าคะแนนต่ำสุดปีก่อนมากๆ เช่น คะแนนมากกว่า 10 คะแนนขึ้นไป ก็อาจอนุโลมให้วางไว้ได้

3. คณะที่ได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนต่ำสุดปีที่แล้ว

หากอันดับท้ายๆ คะแนนของน้องยังน้อยกว่าคะแนนคาดการณ์หรือคะแนนต่ำสุดมากๆ อันนี้ก็ไม่แนะนำนะคะ อันดับ 8-10 ควรเป็นพื้นที่ของคณะที่ปลอดภัย คือ คะแนนที่บวกเยอะๆ เพราะยิ่งคะแนนน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งเสี่ยงหลุดเท่านั้น เช็กของตัวเองด่วน ว่า 3 อันดับนี้ ยังมีคณะที่คะแนนติดลบอยู่หรือเปล่า  

4. คณะที่อันดับมีผลต่อการคัดเลือก

เช็กดีๆ มีบางมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้อันดับมีผลต่อการคัดเลือก เช่น กำหนดไว้ว่าจะต้องเลือกไว้ไม่เกินอันดับที่เท่าไหร่ หรือ อันดับมีผลต่อการคำนวณคะแนน ยิ่งไว้อันดับสูงยิ่งได้คะแนนมาก

ในกรณีที่กำหนดขั้นต่ำอันดับไว้ แล้วเราเลือกไว้ต่ำกว่านั้น ก็จะไม่ได้รับการพิจารณาทันที  

ในกรณีที่คณะนำอันดับมาคำนวณคะแนนด้วย ถ้าเราไว้ต่ำกว่าคนอื่น ก็จะได้คะแนนน้อยกว่าคนอื่นนั่นเอง  

ดังนั้นคณะประเภทนี้ หากเราไว้อันดับท้ายๆ เสี่ยงหลุดมากๆ  

ตัวอย่าง คณะนิติศาสตร์ มศว กำหนดอันดับขั้นต่ำในการเลือก คือ อันดับ 5
ตัวอย่าง คณะนิติศาสตร์ มศว กำหนดอันดับขั้นต่ำในการเลือก คือ อันดับ 5

5. คณะที่คะแนนต่ำสุดน้อยจนผิดปกติ

ในการดูคะแนน ไม่ควรดูแค่คะแนนของตัวเองอย่างเดียว ควรจะดูคะแนนต่ำสุดของหลายๆ ปีย้อนหลังเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

เพราะเคยมีบางคณะ ที่คะแนนต่ำสุดน้อยจนผิดปกติ คือน้อยมากจนรู้สึกว่าไม่ควรน้อยขนาดนั้น เช่น 0, 2, 3 คะแนนเป็นต้น ซึ่งอาจเกิดได้จากการที่มีจำนวนผู้สมัครน้อยกว่าจำนวนรับ ใครสมัครไปก็ติด  ซึ่งคะแนนนี้เอามาอ้างอิงไม่ได้ค่ะ

หากเกิดแบบนี้ จะต้องทำยังไง? อย่างแรกคือ ไม่ควรนำมาปิดท้ายอันดับ และให้ดูคะแนนย้อนหลังปีอื่นๆ หากคะแนนดูเป็นปกติของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ก็สามารถอ้างอิงได้และนำไปวางไว้ในอันดับที่เหมาะสมแทน

 

น้องๆ บางคนอาจจะมีคำถามว่า คณะที่เปลี่ยนเกณฑ์สามารถวางไว้อันดับท้ายๆ ได้มั้ย เนื่องจากปีนี้มี "คะแนนคาดการณ์" ให้ ซึ่งคำนวณตามปัจจัยเรื่องสถิติคะแนนสอบและค่าน้ำหนักแล้ว จึงสามารถอ้างอิงจากคะแนนคาดการณ์ได้เลย โดยนำมาประกอบกับเงื่อนไข 5 ข้อนี้ ถ้าไม่ตรงก็สามารถวางไว้อันดับท้ายๆ ได้ค่ะ  

 

การจัดอันดับเป็นอะไรที่ต้องพิถีพิถันสักหน่อยโดยเฉพาะอันดับท้ายๆ เพราะนี่ถือเป็นด่านสุดท้าย หากไม่ปลอดภัยพอ ก็ทำให้เสี่ยงต่อการหลุดจากรอบแอดมิชชั่นไปเลยค่ะ และถ้าพี่มิ้นท์จะแนะนำวิธีที่ทำให้ปลอดภัย ก็คือ ควรเลือกคณะ/สาขาที่บวกจากคะแนนคาดการณ์ไว้สัก 5-10 คะแนนขึ้นไป หากสูงกว่าได้ 10-20 คะแนนได้ ยิ่งปลอดภัย ไม่หลุด 10 อันดับแน่นอน!

อ่านเรื่องก่อนหน้า

อ่านเรื่องต่อไป

 

พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

1 ความคิดเห็น

suraneeka Member 7 พ.ค. 67 15:40 น. 1

ฝากน้อง ๆที่สนใจ เรียน 7 สาขานี้ สมัครกันได้เลยนะคะ รับถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2567

▶️หลักสูตรที่เปิดสอน: https://ka.mahidol.ac.th/th/curriculum/

????7 สาขาวิชา ดังนี้

- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร

Agricultural Science, Mahidol University

- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ EngineeringMUKA

- สาขาวิชาธรณีศาสตร์

ธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

- สาขาวิชาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์

Conservation Biology, Mahidol University

- สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร

Food Technology Mahidol University Kanchaburi Campus

- สาขาวิชาบัญชี

บัญชี มหาวิทยาลัยมหิดล

- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

Business Administration, Mahidol University


7 สาขานี้เปิดการเรียนการสอน ที่ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

????เตรียมเอกสารต่างๆ ให้พร้อม อย่ารอช้ารีบมาสมัคร กันน๊า

เรียนด้วย เที่ยวด้วย ประสบการณ์มากมายค้นหาได้ที่ นี่ เมืองกาญจน์ ดินแดนแห่งเมืองท่องเที่ยว ปี 1 เรียนที่ ม.มหิดล ศาลายา ส่วน ปี2-3 เรียนที่ กาญจนบุรี นะจ๊ะ ปี4 ฝึกงานตามความสนใจของนักศึกษา

☎️ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานการศึกษา วิทยาเขตกาญจนบุรี หมายเลขโทรศัพท์ 034-585058 ต่อ 2101,2102 หรือ 086-3779947

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด