Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ยุโรปเลือกทะเลทรายชิลี ตั้งหอดูดาวใหญ่ที่สุดในโลก

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000058079

      ยุโรปเลือกทะเลทรายในชิลี เป็นที่ตั้งหอดูดาวแห่งใหม่ โดยจะสร้างหอดูดาวที่ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ เส้นผ่านศูนย์กลาง 42 เมตร ซึ่งจะเป็นหอดูดาวขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และใหญ่กว่าหอดูดาวที่ใหญ่สุดในปัจจุบันถึง 5 เท่า คาดจะเริ่มใช้งานได้ในปี 2018
       
       อี-เอลท์ (E-ELT: European Extremely Large Telescope) หอดูดาวแห่งใหม่ของยุโรปจะถูกสร้างบนภูเขา “เซอร์โร อาร์มาโซนส์” (Cerro Armazones) ภูเขาสูง 3,000 เมตรในทะเลทรายอาตาคามา (Atacama Desert) ในชิลี ซึ่งบีบีซีนิวส์รายงานว่าจะเป็นหอดูดาวขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะติดต้องกล้องดูดาวที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 42 เมตร
       
       ขนาดกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวอี-เอลท์นี้ใหญ่กว่ากล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวเวรีลาร์จ (Very Large Telescope) หรือวีแอลที (VLT) ของอีโซเช่นเดียวกัน ถึง 5 เท่า โดยวีแอลมีกล้องโทรทรรศน์เชิงแสงขนาดใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้ 4 ตัว ซึ่งกล้องโทรทรรศน์แต่ละตัวมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8.2 เมตร และตั้งอยู่บนภูเขาเซอร์โรพารานัล (Cerro Paranal) ที่อยู่ห่างจากเซอร์โรอาร์มาโซนส์ไปเพียง 20 กิโลเมตร นอกจากนี้อี-เอทล์ยังให้ภาพที่คมชัดกว่ากล้องฮับเบิลได้ถึง 15 เท่า
       
       การออกแบบหอดูดาวแห่งใหม่นี้ถือเป็นความท้าทายยิ่ง เนื่องจากเป็นไปไม่ได้เลยที่ผลิตกระจกซึ่งมีขนาดใหญ่โตขนาดนี้ได้ ดังนั้นกล้องโทรทรรศน์จึงได้รับการออกแบบพื้นผิวสะท้อนแสงให้ประกอบไปด้วยกระจกหกเหลี่ยมขนาด 1.45 เมตร ทั้งหมด 984 แผ่น
       
       หอดูดาวขนาดใหญ่นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการยักษ์ในแผ่นที่นำทางของโครงสร้างพื้นฐานงานวิจัย ซึ่งยุโรปรู้สึกว่าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเติมเต็มเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยคาดว่าจะเริ่มโครงการก่อสร้างหอดูดาวนี้ได้ในช่วงปลายปี และองค์การหอดูดาวยุโรปซีกฟ้าใต้ (European Southern Observatory) หรืออีโซ (Eso) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลโครงการนี้คาดหวังว่าจะเริ่มใช้งานหอดูดาวแห่งใหม่นี้ได้ในปี 2018 และประมาณว่าจะใช้เงินในโครงการนี้ประมาณล้านล้านยูโร
       
       นักดาราศาสตร์กล่าวว่า หอดูดาวยุคหน้าจะมีกำลังมากถึงขั้นถ่ายภาพดาวเคราะห์หินที่อยู่ไกลออกไปจากระบบสุริยะของเราได้ อีกทั้งต้องให้ข้อมูลอันลึกซึ้งมากพอที่จะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติของหลุมดำ การก่อตัวของกาแลกซี และสสารมืดอันลึกลับที่กำลังแผ่ขยายไปทั่วเอกภพได้ หรือแม้กระทั่งพลังงานมืดซึ่งกำลังผลักเอกภพให้ขยายตัวออกด้วยอัตราเร่ง
       
       การตัดสินใจเลือกที่ตั้งของหอดูดาวอี-เอลท์นั้นขึ้นอยู่กับสภาองค์การหอดูดาวยุโรปซีกฟ้าใต้ หลังจากได้ศึกษาพื้นที่หลายแห่งที่เหมาะสม ซึ่งมีทั้งพื้นที่อื่นๆ ในชิลี และในหมู่เกาะแคนารีของสเปน ทั้งนี้ ภูเขาเซอร์โรอาร์มาโซนส์นั้นมีสภาพที่เหมาะแก่การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกือบสมบูรณ์แบบ ตลอดทั้งปีมีท้องฟ้าที่ปลอดเมฆอย่างน้อย 320 คืน และทะเลทรายอาทาคามายังมีไอน้ำในบรรยากาศเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะลดการบิดเบือนแสงดาวที่ผ่านชั้นบรรยากาศโลกลงมา


PS.  ฝากด้วยจร้า ขอความกรุณาอย่างแรง ที่ http://writer.dek-d.com/narehasoul/writer/view.php?id=755812

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น