Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เรียน biotech

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
อยากรู้ว่า biotech เรียนเกี่ยวกับอะไร

จบมาทำงานอะไรอะค่ะ

ขอแบบละเอียดเลยนะค่ะ

เป็นแนวทางเลือกคณะ

ขอคุณล่วงหน้าค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

13 ความคิดเห็น

BIOT 4 เม.ย. 53 เวลา 19:21 น. 1

เอาวิชาเรียนมาให้ดูก่อนละกัน&nbsp อันนี้ของ Biot เกษตร&nbsp แต่ที่อื่นก็คล้ายๆ กัน มีต่างกันบ้างเล็กน้อย
ปี 1 ภาคต้น
เคมีทั่วไป
เคมีทั่วไป ภาคปฏิบัติการ
หลักชีววิทยา
ชีววิทยา ภาคปฏิบัติการ
ฟิสิกส์พื้นฐาน I
ปฎิบัติการ ฟิสิกส์พื้นฐาน
แคลคูลัส I
กิจกรรมพลศึกษา

0
BIOT 4 เม.ย. 53 เวลา 19:23 น. 2

ปี1 ภาคปลาย
เคมีอินทรีย์
เคมีอินทรีย์ ภาคปฏิบัติการ
ฟิสิกส์พื้นฐาน II
ปฏิบัติการทางฟิสิกส์พื้นฐาน II
แคลคูลัส II
หลักสถิติ I
อุตสาหกรรมเกษตรเบื้องต้น
ภาษาอังกฤษ
กิจกรรมพลศึกษา

0
BIOT 4 เม.ย. 53 เวลา 19:26 น. 3

ปี 2 ภาคต้น
ชีวเคมี I
ชีวเคมี I ภาคปฏิบัติการ
การเขียนแบบวิศวกรรม
จุลชีววิทยาทั่วไป
จุลชีววิทยาทั่วไป ภาคปฏิบัติการ
แคลคูลัส III
Unit Operation in Agro-Industry I
คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน

ปี2 ภาคปลาย
ชีวเคมี II
Unit Operation in Agro-Industry II
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของชีววัตถุ
สมการเชิงอนุพันธ์เบื้องต้น
เคมีเชิงฟิสิกส์สำหรับวิศวกรเคมี
ศิลปการดำเนินชีวิต

0
BIOT 4 เม.ย. 53 เวลา 19:28 น. 4

ปี 3 ภาคต้น
ระบบชีวภาพและการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์
เทคโนโลยีชีวภาพ I
Unit Operation in Agro-Industry III
วิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น
ภาษาอังกฤษ
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

ปี3 ภาคปลาย
ชีวเคมีและการควบคุมการผลิตของจุลินทรีย์
วิศวกรรมเคมีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ II
หลักสถิติ II
สถิติการควบคุมคุณภาพ
ภาษาอังกฤษ

0
BIOT 4 เม.ย. 53 เวลา 19:32 น. 5

ปี 4 ภาคต้น + ปลาย
การควบคุมและการใช้เครื่องมือ
เทคโนโลยีชีวภาพ III
การออกแบบทางเทคโนโลยีชีวภาพ

นอกนั้นก็เป็น ฝึกงาน วิจัย วิชาเลือก สัมมนา

จบไปทำอะไร&nbsp 
1. นักวิจัย
2. อุตสาหกรรม เบียร์ ไวน์ เหล้า ซีอิ๊ว&nbsp ดัชมิล ยาคูล&nbsp อาหารสัตว์&nbsp ฯลฯ ประมาณนี้อ่า
3. ก็ต่อโท ถ้าจะเรียนพวกเทคโนโลยีพันธุกรรม จะเป็นของ ป.โท

0
BIOT 4 เม.ย. 53 เวลา 19:34 น. 6

วิชาเรียน จริงๆ ยังมีอีกหลายวิชานะ

แต่เป็นวิชาเลือกอะ&nbsp พวกเทคโนโลยีเอนไซม์ อะไรพวกนี้

0
cotton 4 เม.ย. 53 เวลา 21:28 น. 8
ด้านการแพทย์
       - การผลิตยาปฏิชีวนะโดยกระบวนการหมัก
       - การผลิตวัคซีนโดยการใช้ดีเอ็นเอสายผสม (Recombinant DNA)
       - การผลิต Monoclonal Antibodies สำหรับตรวจและรักษาโรค
       - การตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
       - การผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในการรักษาและวิเคราะห์โรค
ด้านการเกษตร
       - การจำแนกสายพันธุ์และถ่ายยีนเข้าเซลล์พืชและหรือสัตว์
       - การผลิตพืชที่มีลักษณะทนแล้งโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
       - การผลิตจุลินทรีย์ช่วยตรึงไนโตรเจนในพืช
       - การผลิตปศุสัตว์พันธุ์ดีโดยการถ่ายฝากตัวอ่อน
       - การผลิตโปรตีนอาหารสัตว์
       - การผลิตปุ๋ยชีวภาพ
       - การผลิตจุลินทรีย์ปราบศัตรูพืช
ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
       - การผลิตแอลกอฮอล์โดยกระบวนการหมัก
       - การผลิตก๊าซชีวภาพ
       - การทำเหมืองแร่
       - การใช้จุลินทรีย์ขจัดคราบน้ำมัน
       - การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
ด้านอาหาร
       - การผลิตกรดอะมิโน
       - การผลิตสารปรุงแต่งเพิ่มรสในอาหาร
       - การผลิตโปรตีนเซลล์เดียว
       - การผลิตโพลีเมอร์ทำให้หนืดข้น
       - การผลิตผลิตภัณฑ์นม
0
l3enj@m!N 6 เม.ย. 53 เวลา 13:08 น. 10
เรียนอะไรในสาขาวิชานี้
            สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ รับผิดชอบการเรียนการสอน และงานวิจัย เกี่ยวกับศาสตร์ในด้านการใช้ประโยชน์จากพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ เพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ ทั้งในรูปของสารชีวภาพ และผลิตภัณฑ์สำเร็จ เช่น สารปฏิชีวนะ เอนไซม์ กรดอะมิโน และกรดอินทรีย์ชนิดต่างๆ รวมถึงการค้นหาและสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากสมุนไพร ซึ่งสามารถยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคได้ด้วย การเรียนในสาขาวิชานี้ จึงต้องผสมผสานความรู้พื้นฐานด้านชีวเคมี จุลชีววิทยา วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีการผลิตเข้าด้วยกัน รวมทั้งศึกษาเทคโนโลยีขั้นสูง ได้แก่ เทคโนโลยีทางยีนเพื่อปรับปรุงคุณภาพและปริมาณของผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีการหมักอาหารและเครื่องดื่ม (เช่น ไวน์ เบียร์ ซี้อิ๊ว น้ำปลา ฯลฯ) เทคโนโลยีแป้งและน้ำตาล เทคโนโลยีอาหารสัตว์ การสร้างสภาวะจำลองกระบวนการผลิตทางชีวภาพ ตลอดจนการออกแบบกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรม

โอกาสทางอาชีพ
          ผู้ที่จบสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสามารถทำงานในภาคอุตสาหกรรมการหมักอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมการผลิตแป้ง อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ และอุตสาหกรรมการผลิตสารชีวภาพต่างๆ ได้แก่ กรดอินทรีย์ แอลกอฮอล์ กรดอะมิโน สารให้กลิ่นรส สารยับยั้งเชื้อก่อโรค และ สารเสริมสุขภาพ เป็นต้น โดยเข้าไปมีบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมการผลิต การควบคุมคุณภาพ การจัดหาวัตถุดิบ เป็นนักวิจัยและพัฒนา หรือศึกษาต่อปริญญาโทและ/หรือปริญญาเอกในสาขาวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะสาขาเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมเคมี นอกจากนี้บัณทิตที่จบยังสามารถเข้าสู่อุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมการนำเข้าส่งออกสารเสริมชีวภาพ ในฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายบริการวิชาการ ฝ่ายขายและฝ่ายการตลาดความก้าวหน้าของสายงานอาชีพสำหรับบัณฑิตที่จบการศึกษาจากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพสามารถมีความก้าวหน้าของสายงานอาชีพไปจนถึงระดับผู้อำนวยการฝ่ายต่างๆ ของโรงงานและบริษัทที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังสามารถทำงานเป็นนักวิจัย นักวิชาการ รวมถึงนักวิเคราะห์โครงการฯ ในหน่วยงานต่างๆ เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ฯลฯ

ที่มา... http://admission.agro.ku.ac.th/department_of_biotechnology.html

ส่วน วิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น หลักสถิติ II สมการเชิงอนุพันธ์เบื้องต้น ไม่มีในหลักสูตรแล้วครับ และฟิสิกส์ เรียนเพียงตัวเดียว

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 6 เมษายน 2553 / 22:42
0