Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ครั้งแรกของ “พลุ” ที่สามารถระเบิดในอวกาศ และ “พลุ” มีที่มาและ ทำอย่างไรเมื่อจุดแล้วมีลวดลายและมีสันสันสวยงาม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เมื่อครั้งวันลอยกระทง บรรดาดอกไม้ไฟ และพลุก็ประโคมกันจุดให้หูแตกเลยทีเดียว เฮนรี่เลยเกิดข้องสงสัยว่า “พลุ” ทำมาจากอะไรแล้วทำอย่างไรถึงได้มีลวดลาย เช่น รูปหัวใจ รูปดอกไม้ได้นะ.......เฮนรี่ไปหามาให้อ่านกันครับ ก่อนอื่นลองอ่านเรื่อง “พลุนัดแรกที่ระเบิดในอวกาศ” กันก่อน ว่าทำไมฝรั่งชอบทำให้ยากๆ จุดพลุให้ไประเบิดบนชั้นอวกาศไรอย่างงี้ เหอๆๆ.... ลองอ่านกันนะค้าบ

 



พลุนัดแรกที่ระเบิดในอวกาศ

 

พลุของมือสมัครเล่นนัดแรกมีชื่อว่า GoFast ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่สามารถระเบิดได้ที่ความสูงถึง 100 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล
พลุขนาดความสูง เมตรซึ่งถูกนำมาทดสอบที่ทะเลทราย Nevada’s Black Rock เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยมีการติดตั้งชุดสัญญาณวิทยุเพื่อตรวจจับตำแหน่งและความสูงขณะกำลังขึ้นสู่ท้องฟ้า




ทีม Civilian Space Exploration (CSXT) ผู้สร้างพลุราคาหนึ่งแสนดอนลาร์ให้ความเห็นว่า พลุนัดนี้มีกำลังส่งสูงสุดเท่าที่นักสร้างพลุมือสมัครเล่นเคยสร้างมา
ความสำเร็จครั้งนี้เกิดขึ้นยาวนานกว่า ปีที่ผ่านมา หลังจากความพยายามในการทดสอบครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2002 ซึ่งการทดสอบครั้งนั้นประสบความล้มเหลว เนื่องจากพลุได้ระเบิดออกหลังจากที่ถูกปล่อยเพียง วินาที


Eric Knight ผู้นำทีมสร้างพลุนี้กล่าวว่า การทดสอบครั้งนี้เป็นเสมือนลานนาฬิกาที่ดำเนินไปเรื่อย ๆ ท่ามกลางสายตาและเสียงเชียร์ของลูกทีม และ US Federal Aviation Administration
พลุมีความเร่งสูง โดยมีความเร็วสูงถึง 6500 กิโลเมตรต่อชั่วโมงภายในระยะเวลาเพียง วินาที เมื่อพลุขึ้นสูงจุดที่สูงที่สุดแล้ว จะค้างอยู่ในอากาศนาน 2-3 นาที ก่อนที่จะตกกลับลงมาสู่ผิวโลก โดยการเดินทางทั้งหมดของพลุนั้นเกิดขึ้นน้อยกว่า 15 นาที


องค์กรที่ดูแลเรื่องพลุของประเทศอังกฤษ หรือ UK Rocketry Association ได้แสดงความยินดีกับทีมสร้างพลุ โดย John Bonsor หนึ่งในผู้ก่อตั้งองค์กรนี้กล่าวว่า การทดสอบครั้งนี้จัดเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง
นอกจากนั้น Bonsor ยังกล่าวต่อไปว่า จากประวัติของพลุที่ย้อนหลังไปเมื่อช่วงปี 1930 ข้อจำกัดหลักของพลุที่ขึ้นสู่อวกาศ คือ ลักษณะทางกายภาพของพลุ และ ข้อจำกัดด้านนโยบาย
ประการแรกนั้น ผู้สร้างพลุจะต้องหาวิธีการบรรจุเชื้อเพลิงเพื่อให้เหมาะสมกับระยะทางที่จะขึ้นสู่อวกาศโดยไม่ให้น้ำหนักของเชื้อเพลิงมาสร้างปัญหาในการทำงาน ประการที่สอง คือ ปัญหาเกี่ยวกับการขออนุญาตทำการทดสอบพลุที่สร้างขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก
Bonsor กล่าวอีกด้วยว่า ในปัจจุบันอุปสรรคต่าง ๆ ในการทดสอบพลุนั้นไม่ค่อยเป็นปัญหาเท่าใดนัก เนื่องจากทีมผู้สร้างบางทีมสามารถทำความสูงได้ถึง 50 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล และเมื่อประมาณ 10 ที่ผ่านมาสามารถทำความสูงได้ถึง 100 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล



แต่อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จครั้งนี้ไม่ค่อยโด่งดังมากนักเนื่องจาก มีข่าวการนำเสนอเกี่ยวกับทีมผู้ชนะในการแข่งขัน X-Prize โดยมีเงินรางวัลสูงถึง 10 ล้านดอลล่าร์ให้กับทีมผู้สร้างที่สามารถนำลูกเรือขึ้นสู่ห้วงอวกาศได้ภายในเวลาสองสัปดาห์
บริษัท US Company Scaled Composites ได้ทำการบันทึกไว้ว่า เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคมที่ผ่านมาสามารถนำนักบินขึ้นสู่ความสูง 65 กิโลเมตรเหนือผิวโลกได้สำเร็จ โดยมีผู้สังเกตการณ์ได้ให้ความเห็นว่าบริษัทนี้ควรได้รับรางวัลชนะเลิศ X-prize นี้ไป


ในปี 1997 ได้มาการจัดการแข่งขันในทำนองเดียวกันสำหรับผู้สร้างพลุ ภายใต้ชื่อการแข่งขันที่ว่า The Cheap Access To Space หรือ CATS Prize เงินรางวัลมูลค่า 250,000 ดอลล่าร์จะถูกมอบให้กับผู้ชนะเลิศที่สร้างพลุที่สามารถรับน้ำหนักได้ กิโลกรัมและขึ้นสู่ความสูงที่ระดับ 200 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล แต่สำหรับการแข่งขันในครั้งนั้น ไม่มีผู้ได้รับรางวัล เนื่องจากรางวัลนี้ได้กำหนดระยะเวลาการแข่งขันไว้เพียง ปี นั่นคือ รางวัลได้หมดเขตลงเมื่อปี 2000 ที่ผ่านมา

 

และต่อด้วยเรื่อง “พลุ”  มันทำมาจากอะไร แล้วทำไมถึงทำลวดลายได้กันน่ะ

 

 



กว่าจะมาเป็นพลุสวยๆให้เราเห็นบนท้องฟ้าได้เนี่ยช่างทำดอกไม้ไฟ(ชื่อภาษาอังกฤษคือpyrotechnists-) เค้าต้องคิดค้น ออกแบบ และผสมสารเคมีต่างๆมากมายเลยนะ โดยเจ้าสารเคมีทั้งหลายจะถูกบรรจุลงในเปลือกทรงกลมแข็งๆ เจ้าเปลือกที่ว่านี่ประกอบไปด้วยท่อเล็กๆ และกระดาษที่ห่อไปห่อมาอีกหลายชั้น ยิ่งตัวเปลือกนี้สลับซับซ้อนมากเท่าไหร่ก็จะทำให้พลุลูกนั้นแตกออกเป็นหลายๆลูกได้เท่านั้น นอกจากนี้แล้ว ตัวเปลือกนี้แหละที่เป็นตัวควบคุมการหน่วงเวลาระหว่างการระเบิดแต่ละครั้ง
ถ้านึกถึงตอนที่เค้าจุดพลุกัน มันจะมีเสียงหวีดดดด ตอนที่พลุแหวกขึ้นไปกลางอากาศ ก่อนที่จะระเบิดดังๆ พร้อมทั้งแตกตัวออกเป็นรูปสวยๆให้เราเห็นกัน ...นึกออกป่าว?? เสียงพวกนี้มาจากส่วนประกอบที่เรียกว่าflash powderซึ่งเคยใช้สำหรับให้แสง flash ในการถ่ายรูปนั่นเอง เจ้า flash powder นี้ผสมมาจากโลหะที่มีคุณสมบัติเป็นเชื้อเพลิง กับสารเคมีที่คอยทำหน้าที่ให้ออกซิเจนกับเชื้อเพลิงนั้น พอมารวมกันก็เลยติดเป็นไฟขึ้นมาได้ไง อัตราส่วนที่แตกต่างกันของผงโลหะกับตัวที่ให้ออกซิเจนนี้แหละที่ก่อให้เกิดเสียงที่แตกต่างกันไปสำหรับพลุแต่ละอัน

 

เอ...แล้วสารเคมีอะไรที่ทำให้เกิดเสียงระเบิดดังๆได้นะ ?? ...สมัยก่อนชาวกรีกและโรมันโบราณ เคยใช้สารบิสมัทในการผลิดเครื่องสำอางค์ต่างๆ แต่ปัจจุบันนี้ นักเคมีเอาBismuth trioxide (บิสมัท ไตรออกไซด์)มาผสมลงใน flash powder เพราะค้นพบว่าเจ้าสารนี้แหละ ที่ก่อให้เกิดเสียงระเบิดดังกึกก้องได้ดีมากๆ จนเค้าตั้งชื่อให้พลุที่ผสมเจ้านี่จนระเบิดได้ดังมากๆว่าDragon eggs หรือ ไข่มังกรนั่นเอง (ไม่เห็นเข้าใจเลยว่าเกี่ยวกันยังไง - -") นอกจากนี้แล้ว เสียงหวีดแหลมของพลุตอนแหวกอากาศขึ้นไปนั้นมีส่วนผสม อย่างด้วยกัน สองในสี่นั้นคือ พวกวัตถุกันเสียกับวาสลีน o_O+ จริงหรอเนี่ย!!
พูดถึงเสียงไปแล้ว...มาดูแสงกับสีกันบ้าง เค้าบอกว่าสีของดอกไม้ไฟแต่ละอันนั้นขึ้นอยู่กับผงโลหะที่เค้าใส่ลงไปนั่นเอง แล้วโลหะชนิดไหน ให้แสงสีอะไรกันบ้างล่ะนี่...

 

ทองแดง  ให้แสงสีฟ้า 

 

 แบเรี่ยม  (สารที่ใส่ในยาเบื่อหนูและใช้ผลิตแก้วด้วย) ให้แสงสีเขียว

 

 แคลเซี่ยม ให้แสงสีส้ม

  
โซเดียม ให้แสงสีเหลือง

 

อะลูมิเนียมและไทเทเนี่ยม  ให้แสงสีขาว

 

ทีนี้...ด้วยความช่างคิด ช่างประดิษฐ์ของมนุษย์เรา จะให้ดอกไม้ไฟมันออกมาเป็นดอกกลมๆแบบเดียวก็ดูจะง่ายไป เราก็เลยได้เห็นดอกไม้ไฟรูปต่างๆ เช่น เป็นธงชาติไทย เป็นต้น แล้วเค้าทำกันยังไงนะ?? ช่างทำดอกไม้ไฟเค้าต้องออกแบบรูปที่ต้องการลงบนกระดาษไขก่อน แล้วก็จัดวางผงโลหะลงไปตามสีที่ต้องการ ภาพที่เราเห็นบนท้องฟ้า จะเป็นภาพกลับซ้ายไปขวา (เหมือนเวลาส่องกระจก) ของภาพที่เค้าวาดไว้บนกระดาษไข
เนื่องจากว่าเวลาที่พลุมันขึ้นไประเบิดกลางอากาศ ภาพที่เราเห็นจะเป็นภาพสองมิติเท่านั้น ทำให้คนที่ยืนอยู่คนละที่กัน เห็นภาพที่เกิดขึ้นไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเวลาจุด เค้าก็เลยมักจะจุดพลุแบบเดียวกันขึ้นไปทีละสองอัน เพื่อให้เห็นภาพสวยๆกันได้อย่างทั่วถึง ทุกองศาไง

 

 

โปรดจงระวังเมื่อได้เล่นกับไฟ 555

 

 

ขอขอบคุณ

vcharkarn.com

Duncan Graham-Rowe from newscientist.com/ 
 DEK-D.COM

ภาพประกอบ

nikkipilk.sc10.co.uk

zastavki.com/pictures/1600x1200/2008/Photoshop_Firework

wikimedia.org

rocketryplanet.com

digitalriver.com/

the-rocketman.com

spaceflightnews.net

สำหรับข้อมูลดีๆค้าบ

 







 

เฮนรี่ขอฝากเวปไซต์ที่รวบรวมเนื้อหาสาระไว้มากมาย

เข้าไปอ่านกันได้ฟรีๆค้าบผม.......

 

จิ้ม>>คลับของคนมีคลาส

จิ้ม>>Facebook ของ คลับคนมีคลาส

และ คลับสำหรับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

จิ้ม >>> English Fit Fit

ไว้ในอ้อมใจด้วยนะค้าบผม ^_^ 

แสดงความคิดเห็น