Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อยากรู้เรื่องยีนส์เด่น-ด้อยค่ะ ^^

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เท่าที่เราจำได้เนี่ย
ถั่วเด่น+ถั่วด้อย=ถั่วเด่นทั้งหมดใช่ไหมคะ
แล้วถ้าเอาถั่วเด่นพวกนั้นมาผสมกันจะมีทั้งถั่วเด่นถั่วด้อยใช่ไหมคะ??เพราะที่จำได้ ยีนด้อยจะแสดงในรุ่นหลาน....แล้วถ้า..
ถั่วเด่น+ถั่วด้อย=ถั่วเด่น
ถั่วเด่นที่ได้+ถั่วด้อยจากที่อื่น=???
มันจะเป็นแบบไหนคะ ช่วยตอบด้วยน้าา
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ :)

PS.  กรรมเป็นดั่งบูมเมอแรง ยิ่งแรงยิ่งกลับมาเร็ว...

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

555 28 ธ.ค. 54 เวลา 20:20 น. 1

ถั่วเด่นที่ได้เป็นเด่นพันธุ์ทาง(Tt)ค่ะ เพราะผสมระหว่างเด่นและด้อย ต้องเอามาอย่างและครึ่ง ส่วนด้อยไม่ว่าจากไหนก็ตามจะเป็นด้อย(tt)เสมอ ถ้าผสมกันจะได้เด่นพันธุ์ทางครึ่งและด้อยครึ่งค่ะ
เช่น T เด่น t ด้อย
ไม่ว่าจะเด่นพันธุ์แท้หรือพันธุ์ทาง ลูกจะเป็นเด่นพันธุ์ทาง
TT&nbsp x&nbsp  tt&nbsp  =&nbsp  Tt
Tt&nbsp  x&nbsp  tt&nbsp  =&nbsp  Tt , tt
นำเด่นที่ได้มาผสมกับด้อย
Tt&nbsp  x&nbsp  tt&nbsp  =&nbsp  Tt , tt

0
bioman 28 ธ.ค. 54 เวลา 22:26 น. 3

จากคำถามที่ถามมานั้น ต้องขออธิบายซักนิดนะครับว่า ลักษณะดังกล่าวนั้นเป็นการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบเมนเดล (Mendelian inheritance) ซึ่งจะมีข้อควรระวังหลักๆคือ

1. ยีนที่ควบคุมลักษณะดังกล่าวต้องอยู่บนโครโมโซมร่างกาย (autosome)
2. ยีนที่ควบคุมลักษณะดังกล่าวสามารถมีการแสดงออกได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของเพศ
3. การแสดงออกของยีนที่ควบคุมลักษณะเด่นสามารถข่มการแสดงออกของยีนด้อยได้อย่างสมบูรณ์ เช่น สมมติให้ยีนที่ควบคุมลักษณะต้นสูงแทนด้วย T ส่วนยีนที่ควบคุมลักษณะต้นเตี้ยแทนด้วย t ถ้าพืชนั้นมีรูปแบบของยีนเป็น Tt จะแสดงลักษณะต้นสูง (คือไม่มีลักษณะที่อยู่ก้ำกึ่งลักษณะทั้งสองและไม่ได้แสดงออกพร้อมทั้งสองลักษณะ)
4. ยีนที่ควบคุมแต่ละลักษณะนั้นเป็นอิสระต่อกัน เช่นยีนที่ควบคุมการแสดงออกของความสูงของลำต้นจะเป็นอิสระจากยีนที่ควบคุมการแสดงออกของสีของดอก เป็นต้น

โดยการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบเมนเดลนั้นจะมีกฎอยู่ 2 ข้อหลักๆคือ

1. กฎการแยกตัว (Law of segregation) ซึ่งกฎข้อนี้กล่าวว่า ในสิ่งมีชีวิตนั้นยีนที่ควบคุมลักษณะใดลักษณะหนึ่งในสิ่งมีชีวิตจะอยู่เป็นคู่ เช่น Tt และยีนในแต่ละคู่จะแยกออกจากกันเมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ (ในที่นี้ก็จะได้เซลล์สืบพันธุ์ที่มียีน T 1 เซลล์และเซลล์สืบพันธุ์ที่มียีน t 1 เซลล์)&nbsp โดยในกฎข้อนี้พิจารณาจากการผสมลักษณะเดียว (monohybrid cross)

2. กฎการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (Law of independent assortment) ซึ่งกฎข้อนี้กล่าวว่า ยีนที่ควบคุมลักษณะต่างๆในแต่ละคู่จะแยกจากกันแล้วกลับรวมกันใหม่อย่างอิสระ&nbsp โดยในกฎข้อนี้พิจารณาจากการผสมลักษณะสองลักษณะพร้อมกัน (dihybrid cross) เช่นการผสมถั่วลันเตาที่มีดอกสีม่วง, ต้นสูง กับถั่วลันเตาที่มีดอกสีขาว, ต้นเตี้ย


ถัดมาก็มาทำความเข้าใจของความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะที่แสดงออกมา (phenotype) กับยีน คือ
สมมติให้ยีนที่ควบคุมลักษณะต้นสูงเป็น T และยีนที่ควบคุมลักษณะต้นเตี้ยเป็น t (กำหนดให้ยีนที่ควบคุมลักษณะเด่นเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ และยีนที่ควบคุมลักษณะด้อยเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กเสมอ)&nbsp ซึ่งจะได้ว่าถั่วลันเตาต้นสูงมีรูปแบบของยีน (genotype) เป็น TT หรือ Tt ก็ได้ (ลักษณะที่เป็น TT เราจะเรียกว่า homozygous dominant หรือลักษณะเด่นพันธุ์แท้ ส่วนลักษณะที่เป็น Tt เราจะเรียกว่า heterozygous dominant หรือลักษณะเด่นพันธุ์ทาง) ส่วนถั่วลันเตาต้นเตี้ยจะมี genotype เป็น tt เสมอ

ดังนั้นจากคำถามสามารถสรุปได้ว่าจะต้องพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1. ถั่วเด่นนั้นเป็น homozygous dominant ซึ่งจะได้

รุ่นพ่อ-แม่ (P)จะเป็น&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp TT x tt
รุ่นลูก (F1)จะเป็น&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp Tt&nbsp &nbsp &nbsp  ทั้งหมด
ถ้า F1 ผสมกันเองจะเป็นรุ่นหลาน (F2)&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  Tt x Tt&nbsp จะได้&nbsp 1/4 TT, 2/4 Tt, 1/4 tt
ถ้า F1 ที่เป็น homozygous dominant ผสมกับถั่วด้อยจะเป็น&nbsp &nbsp TT x tt&nbsp จะได้&nbsp Tt ทั้งหมด
ถ้า F1 ที่เป็น hetrozygous dominant ผสมกับถั่วด้อยจะเป็น&nbsp &nbsp  Tt x tt&nbsp จะได้&nbsp 2/4 Tt, 2/4 tt


กรณีที่ 2. ถั่วเด่นนั้นเป็น heterozygous dominant ซึ่งจะได้

รุ่นพ่อ-แม่ (P)จะเป็น&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  Tt x tt
รุ่นลูก (F1)จะเป็น&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  2/4 Tt, 2/4 tt
ถ้า F1 ที่เป็นลักษณะเด่นผสมกันเองจะเป็นรุ่นหลาน (F2)&nbsp &nbsp &nbsp  Tt x Tt&nbsp จะได้&nbsp 1/4 TT, 2/4 Tt, 1/4 tt
ถ้า F1 ที่เป็นลักษณะเด่นผสมกับถั่วด้อยจะเป็น&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  Tt x tt&nbsp จะได้&nbsp 2/4 Tt, 2/4 tt

ซึ่งการนำลักษณะด้อยมาผสมกับลักษณะเด่นที่ไม่ทราบ genotype นี้จะเรียกว่า test cross

0
Lee Rachasa 28 ธ.ค. 54 เวลา 22:40 น. 4

 =_= เรียนเรื่องเดียวกันเลยวุ๊ย แต่เราผ่านไปแล้วอ่ะ


PS.  นิยาย http://writer.dek-d.com/rachasaza/writer/view.php?id=772939 เพจเฟสบุ๊ค http://www.facebook.com/pages/Killer-Online-Yaoi/136176216493552
0
StarrySword 7 ม.ค. 55 เวลา 17:35 น. 5

ถั่วเด่น+ถั่วด้อย=ถั่วเด่น
ถั่วเด่นที่ได้เป็น Tt เท่านั้น
ผสมถั่วด้อย tt
ได้ Tt หรือ tt (ได้ทั้งเด่นพันธุ์ทาง และด้อย ค่ะ)

0
achiraya 29 ก.ค. 57 เวลา 22:18 น. 6

กรณีที่ 1. ถั่วเด่นนั้นเป็น homozygous dominant ซึ่งจะได้
รุ่นพ่อ-แม่ : TT x tt
รุ่นลูก (F1) : Tt
F1 ผสมกันเองจะเป็นรุ่นหลาน Tt x Tt จะได้ 1/4 TT, 2/4 Tt, 1/4 tt
F1 ที่เป็น homozygous dominant ผสมกับถั่วด้อยจะเป็น TT x tt จะได้ Tt
F1 ที่เป็น hetrozygous dominant ผสมกับถั่วด้อยจะเป็น Tt x tt จะได้ 2/4 Tt, 2/4 tt


กรณีที่ 2. ถั่วเด่นนั้นเป็น heterozygous dominant ซึ่งจะได้
รุ่นพ่อ-แม่ : Tt x tt
รุ่นลูก (F1) : 2/4 Tt, 2/4 tt
F1 ที่เป็นลักษณะเด่นผสมกันเองจะเป็นรุ่นหลาน Tt x Tt จะได้ 1/4 TT, 2/4 Tt, 1/4 tt
F1 ที่เป็นลักษณะเด่นผสมกับถั่วด้อยจะเป็น Tt x tt จะได้ 2/4 Tt, 2/4 tt

ซึ่งการนำลักษณะด้อยมาผสมกับลักษณะเด่นที่ไม่ทราบ genotype นี้จะเรียกว่า test cross

0