Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รวบรวมเทคนิคการทำวิชาเฉพาะแพทย์ แจกฟรี!!!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
วันนี้ก็ได้ทำไฟล์ ชื่อว่า มาแนะนำน้องๆ สอบวิชาเฉพาะแพทย์ครับ จากนักศึกษาแพทย์คนหนึ่ง

คือ เราได้ไปก๊อปเว็ป นั่นนี่ ที่คิดว่ามันน่าสนใจ เทคนิคอาจไม่มากและซ้ำๆกัน แต่แน่นอนอล่ะมันต้องได้ผล เพราะเขียนโดยนศพ.หลายคน

หวังว่าจะเข้ามาโหลดกันเยอะๆนะ

สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกคนโชคดี มีชัย ในการสอบครั้งนี้ * 1 กุมภา 57



https://col131.mail.live.com/default.aspx?id=64855&owa=1&owasuffix=owa%2f#!/mail/ViewOfficePreview.aspx?messageid=8d70507f-84cd-11e3-8c2f-002264c2c15c&folderid=00000000-0000-0000-0000-000000000001&attindex=0&cp=-1&attdepth=0&n=1666471592



แสดงความคิดเห็น

>

28 ความคิดเห็น

freejussie_Nialler 25 ม.ค. 57 เวลา 22:06 น. 8

555+ คิดตั้งนานว่าจะเอามาลงไง? 
ในที่สุดก็ก๊อปมาเลย ง่ายกว่าเยอะ
อย่าโมโหนะ เอามาให้แล้ว
โชคดีงับ

รวบรวมโดย : Supatcha Jusjam’73

มาแนะนำน้องๆ สอบวิชาเฉพาะแพทย์ครับ จากนักศึกษาแพทย์คนหนึ่ง

บอร์ด > แอดมิชชั่น > คณะแพทยศาสตร์

นี่ก็เข้าสู่เดื่อนตุลาแล้วใกล้เวลาที่น้องๆจะต้องสอบวิชาเฉพาะแล้วนะครับ  พี่ยังจดจำได้ว่าเมื่อปีที่แล้ว ณ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่พี่เครียดมากเหลือเกิน กลัวว่าจะทำข้อสอบไม่ได้ กลัวในอะไรอีกหลายๆอย่าง เพื่อนๆก็สอบติดในหลายๆที่ แต่ตัวพี่เองยังรอ กสพท.อย่างมีความหวัง แต่ปีที่แล้วประสบปัญหาน้ำท่วม กสพท.จึงเลื่อนเวลาไปสอบหลังวิชาสามัญครับ ถ้าจำไม่ผิดก็น่าจะช่วงเดือนมกราคมปลายๆ พี่เลยมีเวลาอ่านหนังสือเยอะไปอีก ฮ่าๆๆ พี่ก็ไปหาพวกหนังสือคู่มือต่างๆมาอ่าน ก็รู้สึกว่า เอ้อออ มันง่ายนะ พวกจริยธรรมอะไรพวกนี้ เชื่อมโยงก็ไม่ยากมาก(อันนี้คือความรู้สึกตอนทำโจทย์ที่บ้านนะ) 
  พอถึงวันสอบพี่ได้สนามสอบที่คณะแพทย์จุฬา วันไปสอบพ่อกับแม่ของพี่ก็ไปด้วย ก็เห็นคนที่มาสอบยืนออกันอยู่ข้างล่างเต็มอาคาร เห็นแล้วสัมผัสถึงกลิ่นอายแห่งความเครียดลอยมาปะทะอย่างจัง 555 คิดในใจ แต่ละคนดูเก่งๆทั้งน้านนน จะไหวมั้ยเนี่ยเรา เอาเหอะผ่านสนามสอบวิชาสามัญมาแล้ว เอาวะ เอาความดีในตัวเรา จริยธรรมแห่งความเป็นแพทย์ที่มีอยู่เปี่ยมล้นเข้าสู้ 
ก่อนสอบเดินหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พึ่งทางใจก่อน อิอิ
  นั่นไงเห็นแล้ว พระบรมรูป นั่งลงอธิษฐานจิต จุดธูป ผม นาย...... ก็ว่าไป  
เสียงประกาศดังขึ้น ให้ผู้เข้าสอบขึ้นอาคารสอบได้ 
โอ้ ต้องรีบไปสอบแล้ว มองไปที่โรงพยาบาล อธิษฐาน รอก่อนนะครับคนไข้ ผมสัญญาว่าจะต้องสอบผ่านให้ได้และนำความรู้มารักษาพวกท่าน 
  ก่อนเข้าห้องสอบ ผู้หญิงหน้าห้องสอบจับกลุ่มคุยกันเรื่องวิธีเชื่อมโยงตามกวดวิชาที่ได้ไปเรียน ผมฟังแล้วก็งง ไม่ได้กวดวิชามาด้วย เอาวะช่างเหอะ เตรียมตัว เข้าห้องสอบได้
  ความรู้สึกตอนนั้นคือมันตื่นเต้นมาก มันเป็นอะไรที่สุดๆในชีวิตจริงๆ เพราะการสอบครั้งนี้จะตัดสินอนาคตของเรานั่นเอง
                                                   กรรมการแจกข้อสอบวิชาเฉพาะฉบับที่ 1
      ทันทีที่เปิดดูแบบคร่าวๆ มีประมาณ 45 ข้อ แต่ขอบอกว่ายากกว่าในคู่มือที่ขายตามท้องตลาดเป็นอย่างมาก ข้อสอบส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะบทความเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ แล้วก็จะถามว่าข้อใดถูกต้อง ซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์เป็นอย่างมาก 
มีอนุกรมรูปภาพเหมือนกันนะครับ แต่ออกไม่มากประมาณ 5 ข้อ แต่ทิ้งไม่ได้เลยนะสำคัญมากครับ แล้วก็จะมีคำถามแนวๆประมาณว่า นก 1 ตัวบินเข้ารัง หมู 3 ตัว อะไรสักอย่างซึ่งเป็นคำถามเชาวน์ปัญญา 
    มีบทความมาให้เกี่ยวกับการเมืองและลัทธิทางศาสนา มีกราฟมาให้แล้วถามว่าข้อใดถูกต้อง (1) ลัทธิศาสนาและการเมืองมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ (2) ลัทธิทางศาสนาและการเมืองมีความสัมพันธ์กันน้อยมาก 
สิ่งที่พี่จะแนะนำคือ ให้น้องๆฝึกอ่านบทความมามากๆและลองสรุปวิเคราะห์กราฟทางสถิติมาให้ดีๆ ทำอนุกรมรูปภาพมาให้แม่นๆ
                                                   กรรมการแจกข้อสอบวิชาเฉพาะฉบับที่
   ข้อสอบมี 80 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
เท่าที่จำได้ข้อสอบถามว่า อาชีพใดที่แพทย์ไม่ควรทำเป็นอาชีพเสริมมากที่สุด ถ้าท่านต้องไปผ่าตัดคนไข้แต่เสียงเพลงชาติดังขึ้นท่านจะทำยังไง  แม่ค้าไปให้ช่างทำตาช่างปลอมให้กรณีนี้ใครผิดที่สุด ท่านเป็นพระแต่สีกาเป็นลมท่านจะช่วยหรือไม่ 
ประเด็นใดที่แพทย์ควรนึกถึงเป็นอันดับแรก ท่านเห็นคนขอทานและลูกน้อยอยู่บนทางฟุตบาทท่านจะทำยังไง และอีกมากมาย
สิ่งที่พี่จะแนะนำคือ ข้อสอบจากหนังสือวิชาเฉพาะที่วางขายตามท้องตลาดค่อนข้างโอเคอยู่นะ ตรงอยู่เหมือนกัน ไปฝึกทำมาให้มากๆครับ ควรจะซื้อเล่มที่ตอบไปหลายๆคำตอบ แล้วอธิบายว่าตอบข้อนี้จะได้คะแนนเยอะกว่าเพราะอะไร (เล่มสีเขียว)
ขอเน้นยำ้อีกที แพทย์จะต้องไม่ทำอันตรายผู้ป่วยทุกกรณี , รักษาความลับผู้ป่วย สิ่งที่ทำต้องถูกกฎหมาย 
                                                     ต่อมา ข้อสอบวิชาเฉพาะฉบับที่
  ทักษะการเชื่อมโยง ข้อสอบจะมี 2 บทความ เป็นบทความเรื่องอุทกภัย และ ภาวะเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่น่าตกใจสุดขีดคือ ในบทความไม่มีตัวเน้นสีดำๆมาให้ เอาละสิ ซวยแล้ว ต้องรีบกวาดสายตาหาว่าคำในตารางมันอยู่ส่วนไหนของบทความ บางคำก็หาไม่เจอ เลยต้องเอาคำที่มันมีความหมายใกล้เคียงกันแทน 
สิ่งที่พี่จะแนะนำคือ ฝึกทำโจทย์เชื่อมโยงให้มากๆ  พยายามอย่าคิดไปเองต้องเขียนแสดงความสัมพันธ์ตามที่โจทย์บอกมาเท่านั้น ระวังการฝนรหัสคำตอบให้ดีๆ เพราะถ้าตอบผิดจะติดลบในข้อนั้นๆ ตอบเกินก็โดนหัก
ลองหาโจทย์ที่ไม่มีตัวเน้นสีดำๆมาให้ และที่สำคัญก่อนเข้าห้องสอบเอานาฬิกาเข้าไปด้วย ดูเวลาบ่อยๆจะได้ไม่ลน
นี่ก็เป็นเพียงคำแนะนำเล็กๆน้อยๆ พี่ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่น้องๆที่เตรียมตัวสอบนะครับ
สุดท้ายนี้ พี่ขออวยพรให้น้องๆที่อยากเป็นหมอด้วยจิตใจที่มุ่งมั้น ยึดถืออุดมการณ์ในการช่วยเหลือผู้ป่วย มีจิตใจที่โอบอ้อมอารี และเมตตาต่อบุคคลทุกชนชั้น ยึดถืออิทธิบาท 4 เป็นที่ตั้ง จงประสบความสำเร็จดังใจปรารถนาครับ

สู้ๆนะครับน้องๆ มาเป็นรุ่นน้องของพี่ให้ได้นะ


0
freejussie_Nialler 25 ม.ค. 57 เวลา 22:07 น. 9

ยังมีอีกนะ อันนี้ของ นศพ. คนที่ 2
ยิ้มฟันขาว

บทความ “การอ่านเตรียมตัวสอบวิชาเฉพาะแพทย์” เขียนโดย NuPong Victory วันที่ 9 มกราคม 2555
จบกันไปแล้วสำหรับวิชาสามัญ 70 % ที่เหลือก็วิชาเฉพาะแพทย์ 30 % ที่แลดูสบายๆ ชิวๆ กว่าวิชาสามัญหลายเท่าตัวนัก ที่เหลืออีก 30 % นี้จะมาเป็นปีกติดให้เด็กที่ทำวิชาสามัญได้บินทะยานขึ้นฟ้าไปถึงฟากฝันที่คณะแพทย์หรือมาเป็นก้อนหินถ่วงให้ตกลงเหว อันนี้ก็ต้องเตรียมตัวกันต่อไป
สำหรับตอนที่พี่เตรียมตัวสอบวิชาเฉพาะนั้นเป็นช่วงที่พี่เพิ่งจะสำนึกตัวได้หลังเรียนคอร์ส Turbo Davance เสร็จ เหลือเวลา 5 วันเท่านั้นเอง และมิหนำซ้ำพี่ก็อ่านแค่ไม่กี่วันด้วย ซื้อหนังสือมาแต่ไม่ได้ใช้ ให้น้องที่โรงเรียนไปหมด แต่พี่ทำคะแนนได้ 20.2xxx ซึ่งถือว่าคุ้มค่ามากถ้าเทียบกับพวกที่อ่านเอาเป็นเอาตายมาเป็นเดือนๆ
พี่เรียน Ondemand คอร์สความถนัดแพทย์ซึ่งยอมรับได้ทั่วประเทศว่าที่นี่ดีที่สุดเรื่องนี้จริงๆ เพราะสถิติการสอบเข้าแพทย์ติดนั้นเพิ่มขึ้นทุกปี และสถาบันแห่งนี้ค่อนข้างจะดูแลเด็กอย่างดี มีการทำข้อสอบOnline ให้ด้วย เรียนแค่ 5 วันก็จบแล้ว ซึ่งพี่อ่านหนังสือของ Ondemand อย่างเดียว พูดได้ว่าแค่ทำโจทย์ในเล่มนี้ก็พอจะทำข้อสอบจริงได้แล้ว แค่จำ Concept ต่างๆแล้วก็ลองฝึกทำโจทย์แค่ไม่กี่ชุดก็พอจะจับแนวทางได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปทำโจทย์หลายๆเล่มให้วุ่นวาย ถ้าคนที่ไม่ได้เรียนก็ลองขอเพื่อนๆไปอ่านดูเพราะที่นี่เขาดีจริงๆ
สำหรับน้องๆที่ซื้อหนังสือมาหลายๆเล่ม อย่างปีพี่มีเพื่อนคนนึงซื้อมา 7 เล่ม ทำทุกข้อแต่ได้คะแนนแค่ 16/30 เพราะหนังสือหลายๆเล่มที่วางขายตามแผงนั้น แน่นอนว่าเฉลยก็ต้องมีแตกต่างกัน ระหว่างทำ คะแนนมันก็จะไม่สม่ำเสมอ คือ จู่ๆก็สูง จู่ๆก็ต่ำ เพราะแนวคิดของคนทำหนังสือแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน มันจะทำให้เราเสีย Self ไปเองโดยไม่รู้ตัว จะคิดว่า สรุปแมร่งตอบอะไรกันแน่วะ พอเข้าห้องสอบก็จะตีกันเองในหัว สุดท้ายก็ลนและเสียคะแนนไปโดยน่าเสียดาย ดังนั้นการซื้อหนังสือมาทำนั้นถือว่าโอเค แต่ขอให้ทำแล้วได้ประสิทธิภาพ ขอให้จับแนวโจทย์ได้ ไม่ใช่ตะบี้ตะบันทำเยอะๆแต่ผลที่ได้กลับกลายเป็นการขุดหลุมฝังตัวเองซะงั้น
พูดถึงการเตรียมตัวสอบวิชาเฉพาะแพทย์ ไม่มีคำว่า “อ่านวิชาเฉพาะแพทย์ไม่ทัน” หรอก เพราะจริงๆแล้วแค่อ่านแล้วจับ Concept ให้ได้เนี่ยมันใช้เวลาไม่นานเลย อยู่ที่ว่าใครจะนำ concept ไปใช้ได้อย่างดีกว่าแค่นั้นเอง ถ้าเทียบกับวิชาสามัญแล้วคือคนละเรื่องกันเลย ต่างกันลิบลิ่ว ดังนั้นคะแนนของเด็กเก่งกับเด็กอ่อน จะไม่ค่อยแตกต่างกันนัก เพียงแค่เด็กเก่งเก็บวิชาสามัญได้เยอะเลยได้เปรียบเท่านั้นเอง
สำหรับเรื่องแนวข้อสอบปีที่แล้ว กับการอ่านเจาะลึกในแต่ละเนื้อหานั้น ขอให้ติดตามกันตอนต่อไปนะครับ ^^

0
freejussie_Nialler 25 ม.ค. 57 เวลา 22:08 น. 10

ยังมีอีก ของ นศพ. คนที่ 3
ร้องไห้

คือ ที่มาก็คือ ตอนแรก ทำไม่ค่อยจะได้เต็มหรอก แต่พอรู้วิธีนี้ ซึ่งเป็นวิธีที่คิดขึ้นมาเอง จากการที่สอบหลายๆครั้ง และทำโจทย์มาหลายฉบับ ปรากฏว่านำไปใช้แล้วได้เต็ม แล้วเพื่อนก็ให้ติวให้ เพราะว่าเขาได้ไม่มาก ได้ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือเกินครึ่งไม่มาก แต่พอไปสอนวิธีนี้ให้เขา ปรากฏว่า ได้เต็ม เอาไปสอนรุ่นน้อง พอเอาไปใช้ก็ปรากฎว่า ลองทำข้อสอบจริงก็ได้เต็ม มาเริ่มกันเลยดีกว่า
1.เริ่มจากการดูคำในตารางก่อนเลยว่า คำที่เขาจะให้เชื่อมโยง หรือคำที่เป็นตัวหนามีอะไรบ้าง หลังจากนั้นอ่านบทความ แล้วให้วงคำที่เป็นคำในตารางทั้งหมด โดยตรวจให้ละเอียดทุกย่อหน้าโดยใช้ปากกาสีหนึ่ง รวมทั้ง ใช้ปากกาอีกสีเลือกมาสีหนึ่งวงคำเชื่อมที่อยู่ใกล้ๆ คำที่ต้องใช้(ซึ่งก็คือ คำที่เป็นตัวหนา หรือคำที่อยู่ในตารางนั่นเอง ) เช่น เพราะว่า มีสาเหตุมากจาก เช่น ล้วนเป็นสาเหตุให้ ทำให้ โดยเก็บให้ละเอียด แต่ละย่อหน้า จะมีเนื้อหา จบในตัวมันเองอยู่แล้วเสียส่วนใหญ่ ซึ่งก็ก็จะไปเกี่ยวข้องกับ ย่อหน้าอื่น แต่โดยเนื้อหาแล้ว จะจบไปเป็นย่อหน้าย่อหน้าไป ซึ่งวิธีนี้ จะทำให้เราไม่พลาด คำบางคำไปเลย แม้แต่คำเดียว และการที่เราวงคำเชื่อม ก็ทำให้เราคิดได้สะดวกและรวดเร็วว่าแต่ละ วลี หรือ แต่ ละประโยค มีความสัมพันธ์แบบไหนความสัมพันธ์ ทำให้ไม่พลาดอีกเช่นกัน นี่คือหัวใจเลยล่ะ
2.หลังจาก บทความทั้งบทความเต็มไปด้วย รอยปากกา ทั้งสองสี ที่สีหนึ่งวงคำเชื่อม อีกสีหนึ่ง วงคำที่ต้องใช้แล้ว เราก็นำมาเขียนแผนภาพ โดยห้าม ใช้ตัวเลข แทน ประโยค หรือ วลีที่จะเชื่อมเด็ดขาด เพราะเมื่อเราร่างเสร็จแล้ว เราอาจจะไม่มีโอกาสได้กลับมาตรวจสอบหรือตรวจสอบแล้ว งงครับ อ่านแล้วทวนเพื่อตรวจสอบว่า ที่เราเขียนแผนภาพกับ เนื้อหาในบทความตรงกันไหม อ่านเรียงกันไปตั้งแต่ต้น ค่อยๆทวนแผนภาพตามที่อ่าน ว่าความสัมพันธ์ แต่ละ วลี แต่ละ ประโยค ตรงกับกับ คำเชื่อมที่เขาให้มาไหม?
3.เสร็จแล้ว ค่อยเอาคำแต่ละคำมาฝนรหัส ซึ่ง ดูคำสั่งดีดีว่า เขาให้ความสัมพันธ์แต่ละแบบ เป็นรหัสอะไร ฝนให้ตรง อย่าใช้รหัสเก่าๆมาทำ เดี๋ยวจะได้น้ำตาร่วงเพราะทำได้ แต่ได้ 0 คะแนน
หมายเหตุ และ เทคนิคที่สำคัญ
1.คำเชื่อมต้องดูดีดีว่า เกี่ยวกับคำที่เขาให้มาไหม(คำในตาราง หรือก็คือ ตัวหนานั่นเอง) คำเชื่อมไหน ที่ ไม่เกี่ยวกับคำเหล่า อย่าไปวงเชียว อ่านประดับความรู้ หรืออ่านผ่านๆ ไปงั้นๆแหละ
2.ระวัง ตัวหนา หรือคำที่ใช้ มักซ่อนอยู่ในย่อหน้าแรก หรือในเนื้อหา แล้วค่อยไปโผล่ ย่อหน้าท้ายๆว่ามันเป็นตัวหนา ซึ่งแก้ไขโดยการที่ เปิดดูในตารางก่อนเลย แล้วค่อยมาอ่าน แล้ววงด้วยปากกา คนละสีกับคำเชื่อมนะ(ส่วนใหญ่พี่ก็ใช้ไม่ปากกาแดง ก็ปากกาน้ำเงิน ก็ครบ สองสีแล้ว)
3.อย่าคิดเอง ย้ำ!!! อย่าคิดเองเด็ดขาด ว่าอันนั้น ต้องเป็นอย่างนั้น เป็นเหตุให้อันนี้ เราไม่มีสิทธิ์คิดเอง ถ้าอยากได้เต็ม ต้องดูตามคำเชื่อมที่เขาให้เท่านั้น ถ้าไม่แน่ใจ ให้ดูการกล่าวซ้ำามันจะซ้ำกันในย่อหน้าอื่น แม้ว่าดูแปลกจากความคิดเรา แต่ถ้าดูตามคำเชื่อมแล้วมาเขียนแผนภาพแล้วมันเป็นแบบบนั้น แสดงว่า มันใช่
4.ถ้าไม่แน่ใจว่า สองคำนั้น ควรใช้ทั้งสองคำ หรือใช้แค่คำเดียว ให้ดูว่า ย่อหน้าอื่นที่เขากล่าวซ้ำ เขาให้น้ำหนักมันเท่ากันไหม ถ้าให้เท่ากันก็ใช่เลย
5.ส่วนใหญ่ในการเชื่อมโยงมักจะมีการกล่าวซ้ำมากกว่าในหนึ่งย่อหน้า ซึ่งจะมีการย้ำในย่อหน้าอื่นว่า ไอสองตัวนี้มันสัมพันธ์กันแบบนี้ ลองไปสังเกตดู มีการกล่าวซ้ำ อยู่เยอะเลย แล้วก็มี ในข้อสอบ แทบทุกชุดที่เห็นด้วย ให้ดูว่าเขาให้น้ำหนักสองข้อความนั้นเท่ากันไหม
6.ห้ามไปเปลี่ยนข้อความที่ให้มาเด็ดขาด อย่าเพิ่งขำนะ มีจริงๆ อย่างเช่น เศรษฐกิจโลกไม่ดีทำให้ น้ำมันแพง ถ้าเขาให้ ตัวหนา เป็น น้ำมันถูก เราก็จะได้ว่า เศรษฐกิจโลกไม่ดี ยับยั้ง น้ำมันถูก อย่าไปเปลี่ยนข้อความเขาใหม่เป็นว่า เศรษฐกิจโลกไม่ดี มีผลทำให้ น้ำมันแพงนะ ระวังด้วย

สุดท้ายทำโจทย์มากๆ ฝึกประสบการณ์ จะได้ไม่โดนหลอกง่ายๆ แต่ขอให้ทำข้อสอบที่มีมาตรฐานหน่อยนะครับ แนะนำอย่างยิ่งว่า ย้ำว่า แนะนำอย่างยิ่ง ให้ทำข้อสอบจริง ฉบับเก่าๆ เยอะๆ พอแล้ว เพราะหนังสือที่ออกมาเกร่อมามายตอนนี้ ดูแล้วอนาถใจ ไม่ค่อยได้มาตรฐานเลยครับ มีปัญหาเช่น คำเชื่อมกำกวม ไม่รู้จะให้ความสัมพันธ์แบบไหน ตัวหนามากเกินไป เมื่อเทียบกับบทความ (ข้อสอบจริงไม่ทำอย่างนั้นหรอกครับ เขาจะหยิบมาแค่บางตัว ) เขียนแผนภาพทีนี่ โอ้โหย เต็มหน้ากระดาษเลย มันไม่จำเป็น หรืออาจจะเชื่อมโยงไม่สมเหตุ สมผล จึงแนะนำว่าทำข้อสอบจริง ย้อนหลังก็พอครับ แต่ทำหลายๆชุดหน่อย เพราะว่าเฉลยคงตรงกันอยู่แล้วเพราะแต่ละสำนักพิมพ์ ต้องขอลิขสิทธิ์ข้อสอบมาจาก สทศ.

ใครมีอะไรปรึกษาได้นะครับ MSN ก็ ManaweeTM@hotmail.comอีเมลล์ก็ ManaweeTM@gmail.com

0
freejussie_Nialler 25 ม.ค. 57 เวลา 22:09 น. 11

ยังมีอีกของ นศพ. คนที่3 (เพิ่มเติม)
เหนื่อยจุง

ขอเพิ่มเติมนิดนึงครับ เรื่องคำเชื่อม ถ้าเป็นอย่างนี้นะครับ
1.ก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซค์ มีเทน CFC ล้วนทำให้ อุณหภูมิโลกสูงขึ้น
2.ก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซค์ มีเทน CFC ทำให้ อุณหภูมิโลกสูงขึ้น

สองอย่างนี้โยงไม่เหมือนกันนะครับ
แบบที่ 1 จะโยงว่า ก๊าซเรือนกระจก มีองค์ประกอบเป็น คาร์บอนไดออกไซค์ มีเทน CFC แล้วก๊าซแต่ละตัว ก็โยงไป ทำให้เกิด/มีผลให้เกิด อุณหภูมิโลกสูงขึ้น
แบบที่ 2 จะโยงว่า ก๊าซเรือนกระจก มีองค์ประกอบเป็น คาร์บอนไดออกไซค์ มีเทน CFC แล้วค่อยโยง ว่า ก๊าซเรือนกระจก มีผลให้/ทำให้เกิด อุณหภูมิโลกสูงขึ้น นะครับ
คำสำคัญ ที่บอกก็คือ ล้วน หรือ แต่ละชนิด ทำให้เกิด ถ้า มีสองคำนี้เมื่อไหร่ นั่นหมายถึงว่า แต่ละตัวทำให้เกิดนะครับ ซึ่งมันสามารถตรวจสอบได้จากย่อหน้าอื่นด้วย เพราะเขาจะบอกซ้ำว่า แต่ละตัว ทำให้เกิดจริงๆ
--------------------------------------

0
freejussie_Nialler 25 ม.ค. 57 เวลา 22:10 น. 12

แล้วนี่ก็ชอง พี่ นศพ. คนที่ 4
ยิ้มฟันขาว

3 Step เอาตัวรอด.. (ฉบับ)รับมือผลสอบ"กสพท."
หลังจากที่น้องๆ ได้ทราบผลสอบ กสพท. กันไปแล้ว บางคนถึงกับปล่อยโฮออกมาทั้งแบบเบาๆ น้ำตาไหลเงียบๆ หรือ แบบจัดหนักร้องไห้ไปสามบ้านแปดบ้าน...... หมดเวลาแล้วค่ะ หมดเวลาที่จะเสียใจกับอดีตที่มันผ่านไปแล้ว สลัดมันทิ้งไปเลยค่ะ แล้วตาม พี่แป้ง มาดูเลยว่า เราควรจะทำอย่างไรต่อไปเพื่อพิชิตคณะในฝัน(ที่เลือกไว้)


>> ปัญหาที่พบเจอ
ทีนี้เราจะมาอธิบายโดยยกตัวอย่างประกอบนะคะ พี่แป้ง ได้มีโอกาสตอบคำถามน้องคนนึง ให้ชื่อสมมติว่า น้องเด็กดี ล่ะกัน น้องเด็กดีได้คะแนนสอบเพียงแค่ 15 คะแนนเท่านั้น นั่งร้องไห้ไม่พูดไม่จาเกือบหนึ่งวันเต็ม แต่น้องเด็กดีตั้งสติแล้วกลับมาหาแนวทางอีกครั้ง ซึ่งเป็นวิธีเบสิกมาก มีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

Step ที่ 1 ดูแนวโน้มคะแนนที่เกิดขึ้น

จากการคิดคะแนนของทาง กสพท. แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
คะแนนสอบวิชาเฉพาะคิดเป็น 30% นะคะ ยังไม่ถึงครึ่งเลย ตอนนี้เทียบกับน้องเด็กดีที่มีอยู่ 15 คะแนน ก็เท่ากับว่าน้องเด็กดีมีคะแนน 15 เต็ม 30 คะแนน ตอนนี้ก็ยังเหลือ 7 วิชาสามัญอีก 70% หรืออีก 70 คะแนน ซึ่งเทียบแล้วเป็น-ส่วนที่เยอะมากที่สามารถพลิกได้เลยว่าจะสอบติดหรือไม่ติด

นอกจากคะแนนสอบ 7 วิชาสามัญแล้วก็อย่าชะล่าใจกับการสอบ O-NET นะคะ ถึงแม้ว่าไม่เอาคะแนนมาคิดแต่ว่าต้องสอบผ่าน 60% ไม่งั้นก็ร่วงค่ะ
* ดูแบบเต็ม ๆ ได้ที่ กสพท.
น้องเด็กดี ได้เลือกคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไว้เป็นอันดับแรก ดูจากแนวโน้มคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 58-61 คะแนน ตอนนี้น้องเด็กดีมี 15 คะแนนแล้วก็ขาดอีกประมาณ 45 คะแนน ซึ่งต้องเก็บจากการสอบ 7 วิชาสามัญ ทีนี้โจทย์ต่อไปที่จะเจอคือ จะฝึกอย่างไรให้ได้คะแนนถึง 45 คะแนนใน 70 คะแนน พี่แป้งว่ายากกว่าวิชาความถนัดแพทย์เสียอีก(เพราะมันยังไม่ได้สอบเลยยาก) แต่ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็ต้องทำให้ได้ 64.29% เอาเป็นว่า แค่ทำข้อสอบ 7 วิชาสามัญได้เกินครึ่งทุกวิชา + การเดา คะแนนก็น่าจะถึงแล้ว ...... (มั้ง?)
Step ที่ 2 ดูตัวเรา

สิ่งที่สำคัญของการสอบ นอกจากเรื่องกำลังใจจากภายนอกแล้ว ก็คือ ความรู้สึกจากภายในต้องเป็นนักเรียนคิดบวก!!!!
เป็นอย่างไรล่ะ? ดูที่ตัวเราก่อนว่า ณ ตอนนี้ เรามีความเข้มแข็งหรือยัง ในการเรียนสายแพทย์นั้นเวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก การที่คนที่ได้คะแนน้อยยังจมปลักอยู่กับความเสียใจอยู่ก็ไม่มีคุณสมบัติในการเป็นแพทย์แล้วค่ะ เปลี่ยนตัวเราซะใหม่ แล้วมาจัดระบบการเตรียมตัวสอบ 7 วิชาสามัญกันเถอะ!

>> ตอนนี้ พี่แป้ง มีคำถามให้น้อง ๆ คิดโดยที่พี่แป้งไม่ต้องการคำตอบนะคะ ลองกลับไปคิดดูค่ะ

....มีต่อนะน้องๆ

0
freejussie_Nialler 25 ม.ค. 57 เวลา 22:11 น. 13

ต่อจาก พี่ นศพ. ครที่ 4 นะน้องๆ

ว้าว

อแรก ตอนนี้เลิกเศร้ากับคะแนนหรือยัง?
ข้อสอง คนอื่นที่เขาสอบกสพท.เหมือนกัน เขาอ่านหนังสือเตรียมสอบ 7 วิชาสามัญไปถึงไหนแล้ว?
ข้อสาม ตอนนี้เราเริ่มอ่านหนังสือสอบ 7 วิชาสามัญหรือยัง?

ถ้าตอบคำถาม 3 ข้อได้แล้ว ก็ไป Step ที่ 3 ได้เลยค่ะ

Step ที่ 3 เตรียมสอบ 7 วิชาสามัญ

เป็น Step ที่ยากที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะว่าข้อสอบ 7 วิชาสามัญเพิ่งสอบปีที่แล้วเป็นปีแรก แล้วก็ไม่มีรูปแบบข้อสอบปีที่แล้วมาให้เห็น แต่ว่ารุ่นพี่ทุกคนที่สอบมาแล้วบอกเสียงเดียวเป็นเอกฉันท์เลยว่า "แนวข้อสอบ A-NET" เพราะฉะนั้นน้อง ๆ ลองหาข้อสอบ A-NET เก่า ๆ มาทำกันนะคะ ถ้าอยากรู้ทันเรื่องการสอบ 7 วิชาสามัญ เข้าไปเลยที่ รู้ทันก่อนสอบ 7 วิชาสามัญ (ฉบับ ม.6 มือใหม่หัดสอบ)
อีกเคล็ดลับที่เพิ่งได้มาสดๆ ร้อนๆ จาก พี่หมิง นักศึกษาปี 4 คณะแพทยศาสตร์ ศิริราช คือ เตรียมสอบโดยการทำข้อสอบวันละ 1 พ.ศ. คือจะไม่ตั้งไว้เยอะกว่านี้ เพราะมันหนักเกินไป ทำวันละ 1 พ.ศ. แต่ทำทุกวัน และทำซ้ำไปซ้ำมา เมื่อทำข้อสอบแล้วข้อไหนไม่ได้ห้ามผ่านเลยไป ต้องกลับไปหาคำตอบที่ถูกต้อง วิธีของพี่หมิงคือการอ่านหนังสือโดยทำโจทย์และอ่านเนื้อหาไปพร้อมๆ กัน ซึ่งตัวพี่หมิงเองเคยอ่านแต่เนื้อหาแล้วบอกว่ามันไม่เวิร์ค ถ้าใครที่เป็นแบบพี่หมิง ลองเอาวิธีนี้ไปทำดูนะคะ
สรุปแล้วการที่คะแนนสอบวิชาเฉพาะแพทย์ต่ำหรือสูงไม่ได้ส่งผลทั้งหมดของการสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์หรือคณะทันตแพทยศาสตร์นะคะ อาจจะมีผลบ้างแต่ว่าตราบใดที่ยังไม่ได้สอบ 7 วิชาสามัญก็ยังมีหวังค่ะ ดังคำที่ว่า สงครามยังไม่จบ..อย่าเพิ่งนับศพทหาร เพราะฉะนั้นอีกหนึ่งเดือนที่เหลือขอให้น้อง ๆ เต็มที่กับการสอบ 7 วิชาสามัญนะคะ
ก่อนจะจากกันไป พี่แป้ง ก็มีหนังสือดี ๆ มาแนะนำปิดท้ายสำหรับน้อง ๆ ที่อยากเป็นทันตแพทย์ มาฝากค่ะ พี่แป้ง อ่านแล้วอยากเป็นหมอฟันเลย ฟินสุด ๆ (แต่แก่ไปละ 555+) ลองไปหาอ่านดูนะคะ รับรองทั้งสนุกและเข้าใจอารมณ์ นศ.ทันตะฯ เลยค่ะ

.พี่สอบความถนัดแพทย์ปีที่แล้วนะ ก็จะมาแนะน้องๆเกี่ยวกับข้อสอบความถนัดแพทย์

ข้อสอบแบ่งเป็นสามส่วน สอบวันเดียว
ส่วนแรก เป็นประเภทเชาวน์ปัญญา มีทั้งหมดห้าสิบข้อ ส่วนนี้ทำยังไงก็ไม่ทัน เพราะงั้นถ้าน้องทำไม่ทันไม่ต้องตกใจ มีสติ ทำให้ถูกต้องมากที่สุด พวกอนุกรม รูปภาพ ออกไม่เยอะ ประมาณห้าข้อเอง เป็นพวกภาษาไทยไปครึ่งนึง 25 ข้อ แต่เป็นประเภทต้องวิเคราะห์อ่ะ ประมาณข้อความไหนสนับสนุนบทความที่ให้มามากที่สุด หรือข้อความไหนทำให้บทความน่าเชื่อถือน้อยสุด ไม่มีพวกหลักภาษานะ แล้วก็มีพวกที่ บอกสิ่งที่ต้องการหามา แล้วก็ตัวช่วยมาสองตัว ถามว่าต้องใช้ตัวช่วยทั้งสองถึงหาคำตอบได้ หรือใช้ตัวใดตัวหนึ่ง หรือใช้ทั้งสองตัวยังหาคำตอบไม่ได้ อันนี้ออกห้าข้อ มีพวกลำดับการร้องเพลง ที่นั่ง (ประมาณแพทหนึ่งสองข้อสุดท้าย) มีห้าข้อ
สำคัญ อย่าทำเรียงข้อ เพราะข้อสอบมีสี่ชุด จะเรียงความยากง่ายต่างกัน ให้ไปทำส่วนที่ตัวเองถนัดก่อน อย่าทำเรียง ข้อง่ายๆอาจอยู่กลางหรือหลัง แนะให้ทำพาร์ทที่ชัวร์ก่อน
ส่วนสอง จริยธรรม อันนี้ทำทันนะ มีเจ็ดสิบหาข้อ ตกข้อละนาทีพอดี มีทั้งหมดห้าตัวเลือก มีอิงการเมืองหลายข้อ อันนี้อยากให้ตอบที่เป็นตัวเอง แต่ก็ไม่ใช่ตอบในสิ่งที่มันผิด (เช่นฆ่าคน)
สำคัญ แพทย์ต้องรักษาความลับของคนไข้เสมอ และถ้าไม่จำเป็นจริงๆห้ามโกหก ห้ามรับของจากผู้อื่น
ส่วนสาม เป็นเชื่อมโยง ปีที่แล้วส่วนนี้ง่ายมากกกก เด็กเต็มกันเยอะมาก เป็นแบบเดียวกับแกทเลย เป๊ะๆๆ
รวมสามส่วน เต็ม 300 คะแนน คิด 30%
ความถนัดหลายๆคนอาจคิดว่าไม่สำคัญ จริงอยู่ที่จะติดหมอหรือไม่อยู่ที่วิชาการ แต่ความถนัดแพทย์จะเป็นตัวเลือกที่เรียนให้น้องว่าได้เรียนที่ไหน สู้ๆนะน้อง ยินดีต้อนรับว่าที่แพทย์ค่ะ
1. ทดสอบศักยภาพในการเรียนรู้ของน้องๆ
1.1 ความสามารถในการจับใจความ
พอน้องมาเรียนหมอเนี่ย หนังสือที่ต้องอ่าน เนื้อหามากมาย เนื้อหาหนึ่งเทอมเท่ากับเอาเนื้อหา ม. ปลาย 3 ปี มายำๆ รวมกัน หนังสือแต่ละเล่ม ฟาดแมลงสาบตายไปหลายตัวล่ะ(โหดร้าย!!) เวลาอ่านต้องจับใจความสำคัญให้ได้ เพราะข้อสอบก็จะถามแต่สิ่งที่สำคัญหรือเด่นๆ เพื่อให้เข้าใจและสามารถนำไปใช้จริงนะครับน้อง
1.2 การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
หากคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ไม่เป็น อาจลำบากหน่อยตอนเรียนหมอ เพราะน้องต้องสามารถนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้จริงในวิชาชีพได้
1.3 การเชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผล
อันนี้สำคัญมากเลยล่ะ วิทยาศาสตร์ คือความเป็นเหตุเป็นผล ตอนเรียนหมอ ต้องเชื่อมโยงกันให้ได้ว่า โรคนี้ เกิดจากอะไร ถ้าหาสาเหตุได้ ก็หาวิธีรักษาต่อ เราก็จะช่วยคนไข้ได้
1.4 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
วิจารณญาณ คือ ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง ดังนั้น หมออย่างเราต้องรู้จริง และให้เหตุผลที่ถูกต้องได้ เพื่อทำให้การแก้ปัญหา(อาจหมายถึง การรักษาคนไข้) เป็นไปอย่างถูกวิธี
2. ประเมินแนวคิดทางจริยธรรม
แน่นอนว่า “หมอ” กับ “จริยธรรม” ก็เป็นของคู่กันนะครับน้อง ถ้าเราเป็นผู้ป่วย เราก็คงอยากจะหาหมอที่ดูแลเอาใจใส่เราอย่างดี ใช่มั้ยล่ะ? “หมอ” ต้องเสียสละ ต้องทำเพื่อส่วนรวม และมีความสุขกับงานเพื่อส่วนรวม ซึ่งจริยธรรมนี้ น้องจะถูกฝึก ถูกขัดเกลาตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์เลยล่ะ ดูได้จากเวลาเรียน มีการติวเพื่อน เก็บชีทไว้ให้เพื่อน ช่วยกันเรียนหรือไม่ หรือกิจกรรมต่างๆ ของคณะ ก็ต้องช่วยเพื่อนทำงานคณะต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงความเสียสละส่วนตนเพื่อส่วนรวม

0
freejussie_Nialler 25 ม.ค. 57 เวลา 22:12 น. 14

ต่อจาก พี่ นศพ. คนที่ 4 อีกครั้งนะ อิ--อิ
ฮือฮือ

ข้อแนะนำในการสอบวิชาเฉพาะแพทย์
1. ช่วงเตรียมสอบ

1.1 หาหนังสือเตรียมสอบวิชาเฉพาะแพทย์หลายสำนักพิมพ์ มาศึกษาแนวข้อสอบ ดังประโยคที่ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” น้องควรทำโจทย์เยอะๆ ทำซ้ำๆ หลายๆ รอบ แล้วก็อย่าลืมอ่านเฉลยอย่างละเอียดด้วยล่ะ ศึกษาวิธีและแนวคิดที่ถูกต้องนะ
1.2 แล้วแต่น้องว่า จะไปเรียนพิเศษหรือไม่? แต่จริงๆ การเรียนพิเศษสำหรับวิชานี้ ไม่ค่อยจำเป็นเสมอไป
1.3 แบ่งเวลาให้กับวิชานี้ให้ดี จริงๆ วิชาเฉพาะนี้ แทบไม่ต้องเตรียมตัวเลย เพราะข้อสอบจะวัดในสิ่งที่อยู่ติดตัวน้องมาทั้งชีวิตอยู่แล้ว ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องเตรียมตัว คือ ทักษะการเรียนรู้ และแนวคิดทางจริยธรรม น้องอาจเอาเวลามาดูข้อสอบวิชานี้บ้าง แต่อย่าเห็นว่า วิชานี้ถ่วงน้ำหนักมากจึงทุ่มเทมากจนเกินไป ลองเอาเวลา ไปอ่านวิชาอื่นที่ไม่ถนัดเพิ่มเติมน่าจะดีกว่า
1.4 รักษาสุขภาพให้แข็งแรงนะครับ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเพื่อให้สมองผ่อนคลายและพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ
1.5 เอาเสื้อกันหนาวไปเผื่อนะครับ สำหรับห้องสอบที่เป็นห้องปรับอากาศ
2. ก่อนเข้าห้องสอบ
2.1 อย่าพยายามให้สิ่งแวดล้อม เช่น เพื่อน มากระทบจิตใจทำให้ตัวเองหดหู่ก่อนสอบ
2.2 ตั้งสติ ตั้งสมาธิให้มั่น อย่าเกร็ง อย่าเครียด อย่าลน
2.3 เตรียมเครื่องเขียนและเอกสารที่ต้องใช้เป็นหลักฐานแสดงตนให้พร้อม
2.4 ควรสำรวจสถานที่และห้องสอบ ก่อนสอบ 1 วัน วันสอบจะได้ไม่ต้องรีบร้อน
2.5 ทานข้าวเช้าไปด้วยนะครับ เดี๋ยวคิดไม่ออก แถมอาจเป็นลมในห้องสอบอีกนะ

3. ขณะสอบ
3.1 อ่านคำสั่งดีๆ คำถามต่างๆ บอกไว้ชัดเจนอยู่แล้ว อย่าตีความตามความเข้าใจของตนเอง ให้ตีความตามที่คำสั่งกำหนดเท่านั้น
3.2 อย่าล่อกแล่กนะ เดี๋ยวกรรมการคุมสอบหาว่า ทุจริต
3.3 ข้อไหนทำไม่ได้ ...ข้ามโลด (แล้วอย่าลืมย้อนกลับมาทำอีกรอบล่ะ)
3.4 ได้กระดาษคำตอบมา รีบเขียนชื่อ นามสกุล ให้เรียบร้อยนะ check ดูให้ครบทุกช่อง(แต่รู้สึกว่า กสพท. จะเขียนชื่อมาให้แล้วนะ ...งั้นก็ check ดูว่า ใช่ชื่อของเราถูกต้องหรือไม่?)
3.5 บริหารเวลาทำข้อสอบให้ดีนะครับ
4. หลังสอบ
4.1 ถ้ามีพี่มาขายสมุด ก็เข้าไปซื้อเลยนะ ช่วยๆ พี่เขาเอาเงินไปทำกิจกรรมคณะแพทย์ ส่วนค่านิยมที่ว่า ซื้อสมุดของสถาบันไหน จะสอบไม่ติดที่นั่น พี่จะบอกว่า ไม่จริงเลยครับน้อง! พี่เองคิดกลับกันว่า ถ้าเราได้ช่วยซื้อพี่เขา เราก็จะได้มีโอกาสกลับมาขายสมุดแบบพี่เขา(พูดง่ายๆ คือ สอบติดนั่นเอง) สมุดสวยมากเลย...โดยเฉพาะของ “วชิระ” อิอิ
4.2 สมัยที่พี่สอบ พี่กับเพื่อนๆ จำข้อสอบกันออกมาคนละข้อ แล้วรวบรวมให้รุ่นน้อง เป็นวิทยาทาน
4.3 หลายคนอาจแนะนำว่า อย่าฟังเพื่อนเฉลย หรือเถียงเรื่องคำตอบกันหลังสอบ เพื่อไม่ให้สภาพจิตใจเราแย่ไปกว่านี้ แต่พี่คิดว่า การที่เราฟังเหตุผลในการเลือกคำตอบของเพื่อน ทำให้เราได้มุมมอง วิธีคิดใหม่ เราจะได้ประสบการณ์มากขึ้น และอาจช่วยเราให้เข้าใจเหตุผลที่ถูกต้องของคำตอบนั้นด้วย
4.4 ตั้งใจสู้ กับวิชาสามัญ ต่อไปนะครับ เป็นกำลังใจให้นะ ว่าที่นักศึกษาแพทย์ตัวน้อยๆ

0
freejussie_Nialler 25 ม.ค. 57 เวลา 22:13 น. 15

เพิ่มเติมอีก นะ
อ๊าก


มาดูข้อสอบกัน
ข้อสอบจริงๆ มี Part 1-4 แต่หลังจากปี 2551 จะเหลือเพียง Part 1-3

Part 1 : ทักษะทางการตีความ มิติสัมพันธ์ และคณิตศาสตร์
1. คณิตศาสตร์ เช่น เลขอนุกรม ระบบเลขฐาน ความน่าจะเป็น
2. มิติสัมพันธ์ เช่น การหมุนรูป การพับกล่อง การนับกล่อง
3. การตีความ ให้ตีความตามที่โจทย์กำหนดให้เท่านั้น เช่น

Q : ชีวิตเป็นดังข้อสอบอัตนัย หมายความว่าอย่างไร?
A. ชีวิตไม่ได้มีหลายตัวเลือก
B. เราสามารถเลือกทางเดินชีวิต ด้วยตัวของเราเองได้
ข้อนี้ จะมีคนตอบเป็น 2 เสียง แต่จริงๆ แล้วโจทย์กำหนดว่า ข้อสอบ “อัตนัย” เท่านั้น ซึ่งเป็นข้อสอบเขียนตอบ หากตีความตามโจทย์กำหนด จะรู้ว่าการเขียนตอบ เปรียบดังชีวิตที่เราสามารถขีดเขียนได้ด้วยตัวของเราเอง จึงตอบ B
ทำไมถึงไม่ตอบ A. เพราะว่า โจทย์ไม่ได้บอกว่า “ปรนัย” คนที่ตอบข้อ A. นั้น แสดงว่าตีความนอกเหนือจากโจทย์ที่กำหนด ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ผิด แต่ไม่ใช่คำตอบที่ข้อสอบต้องการ (ตอบไม่ตรงคำถาม นั่นเอง)
4. หนังสือที่มีโจทย์ไว้ฝึกทำเยอะๆ คือ ความถนัดวิชาชีพครู SAT

Part 2 : การประเมินแนวคิดทางจริยธรรม
1. น้องต้องวิเคราะห์ว่า โจทย์แต่ละข้อ เขาวัดจริยธรรมด้านไหนของเรา เช่น
Q : มีนักการเมืองคนหนึ่งที่ทำรายการโทรทัศน์ ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรที่นักการเมืองใช้เวลาราชการมาทำรายการโทรทัศน์ส่วนตัว
A. สามารถทำได้ ไม่เป็นไร เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล
B. สามารถทำได้ เพราะไม่ทำให้ใครเดือดร้อน
C. ไม่สามารถทำได้ เพราะ ควรใช้เวลาไปบริหารราชการบ้านเมืองมากกว่า
ข้อนี้ ควรตอบข้อ C. เนื่องจาก นักการเมืองควรเสียสละ ทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องและสุจริต การเบียดบังเวลาราชการไปทำภารกิจส่วนตัว ถือเป็นการทุจริตในเรื่องของเวลา
2. ควรตอบคำถามโดยยึดประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ หรือยึดหน้าที่ที่ควรทำของตนเป็นหลัก และไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อนเกินไป บางอย่างสามารถยืดหยุ่นได้ แต่บางอย่างก็ต้องตัดสินใจเด็ดขาด สังเกตได้ว่า คนที่ตอบแนวพ่อพระแม่พระ มักได้คะแนนน้อย

Part 3 : การเชื่อมโยงเหตุผล
1. Part นี้ มีคนได้คะแนน 100 เต็ม และมีคนได้ 0
2. ส่วนใหญ่คนที่ได้ 0 เกิดจากการอ่านคำสั่งไม่ดี ทำให้เข้าใจผิด และฝนในกระดาษคำตอบผิด
3. ข้อสอบจะมีบทความมาให้ แล้วให้เขียน flow chart โดยมีสัญลักษณ์กำหนดให้ จากนั้นให้ตอบลงกระดาษคำตอบ
4. การตอบลงกระดาษคำตอบแต่ละปี อาจมีกติกาไม่เหมือนกัน บางปีไม่ต้องตอบย้อน สิ้นสุดข้อไหนก็จบที่ข้อนั้นไปเลย บางปีให้ตอบย้อนขึ้นไปด้วย เช่นข้อ 2, 3, และ 4 ต้องตอบ01M ด้วย อ่านคำสั่งและดูตัวอย่างการตอบคำถามให้ดีล่ะ

Part 4 : ทักษะด้านความจำ
(ปัจจุบันไม่สอบ Part นี้แล้ว แต่ก็อาจนำมาวนสอบในปีของน้องก็ได้นะ)
1. เคยมีคนได้ 100 เต็มเหมือนกัน โดยใช้เทคนิค นับจำนวนข้อ เพราะแต่ละข้อจะมีคะแนนกำหนดไว้
2. บางข้อสามารถตอบได้หลายคำตอบ
3. มีบทความให้อ่านประมาณ 5-10 หน้า แล้วให้จำทุกอย่าง จากนั้นบทความจะถูกเก็บ เราจะได้พัก 30 นาที แต่ช่วงพักเนี่ยแหละ จะมีการประกาศอะไรต่างๆ เพื่อลบเลือนความจำของเรา(อย่าหลงกลเขาเด็ดขาด) แล้วผู้คุมสอบจะแจกกระดาษคำตอบให้ฝนคำตอบ
4. รายละเอียดบางอย่างที่น้องอาจมองข้าม เช่น ชื่อคน วันที่พิมพ์บทความ ก็เคยออกข้อสอบมาแล้ว
5. จริงๆ คนเราจะจำทุกรายละเอียดไม่ได้หรอก ต้องรู้จักจำในสิ่งที่เด่นๆ สำคัญๆ น้องต้องเก็งข้อสอบเอาเองนะแล้วมาเป็นน้องร่วมวิชาชีพกับพี่นะ.

0
freejussie_Nialler 25 ม.ค. 57 เวลา 22:14 น. 16

เพิ่มอีกนิดนึง

รักเลย

ฟันฝ่า...กับวิชาเฉพาะแพทย์
เมื่ออดีตกาลที่ผ่านมา
ตอน ม.6
Tam : แกได้วิชาเฉพาะแพทย์เท่าไหร่อ่ะ?
Kok : 21.9192 เองแก นี่ขนาดเราได้ Part เชื่อมโยง 100 คะแนนเต็มนะเนี่ย
Tam : อะไรแก เราได้ 14.2142 เอง ดูสิ Part จริยธรรม ได้ 30 เอง
เราแย่ขนาดนั้นเลยเหรอ
Kok : จะเรียนหมอ หน้าตาดีอย่างเดียวไม่ได้หรอกนะ จริยธรรมต้องดีด้วย
Tam : เอิ่มๆๆ ช่างมันเหอะ! ยังเหลืออีกตั้ง 6 เดือน สู้กับวิชาสามัญอีก 7 วิชาแล้วกันนะ

กสพท. ประกาศผล
Tam : Hello, hello, baby; You called, I can't hear a thing. I have got no service in the
club, you say, say…
Kok : หยุด! แล้วพูดภาษาคน
Tam : ติด “แพทย์วชิระ” อ่ะ
Kok : ติดที่เดียวกันนิ เห็นชื่อแกในเว็บแล้วล่ะ เพื่อนร่วมคณะและเพื่อนร่วมวิชาชีพ

น้องๆ หลายคนที่จะเข้าหมอ คงทราบกันแล้วว่า วิชาเฉพาะแพทย์เนี่ย ถ่วงน้ำหนักถึง 30% เลยทีเดียว ซึ่งเยอะที่สุด เมื่อเทียบกับวิชาสามัญเพียง 1 วิชา วิชาเฉพาะนี้ น้องหลายคนอาจคิดว่าไม่สำคัญ แต่จริงๆ แล้ว มันสามารถชี้ชะตาชีวิตของน้องได้เลยทีเดียว ว่าน้องจะได้เข้าหมอหรือไม่? หากน้องได้คะแนนน้อย ก็คงต้องสู้กันอย่าง “หืดขึ้นคอ” กับวิชาสามัญซึ่งเนื้อหารวมกันมากกว่า 200 บทเรียน


0
freejussie_Nialler 25 ม.ค. 57 เวลา 22:15 น. 17

เพิ่มอีกๆ นะจ้ะ 555+มันเยอะอ่ะ
ว้าว

ข้อสอบวิชาเฉพาะแพทย์ เขาวัดอะไรเรา?
1. ทดสอบศักยภาพในการเรียนรู้ของน้องๆ ได้แก่
1.1 ความสามารถในการจับใจความ
พอน้องมาเรียนหมอเนี่ย หนังสือที่ต้องอ่าน เนื้อหามากมาย เนื้อหาหนึ่งเทอมเท่ากับเอาเนื้อหา ม. ปลาย 3 ปี มายำๆ รวมกัน หนังสือแต่ละเล่ม ฟาดแมลงสาบตายไปหลายตัวล่ะ(โหดร้าย!!) เวลาอ่านต้องจับใจความสำคัญให้ได้ เพราะข้อสอบก็จะถามแต่สิ่งที่สำคัญหรือเด่นๆ เพื่อให้เข้าใจและสามารถนำไปใช้จริงนะครับน้อง
1.2 การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
หากคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ไม่เป็น อาจลำบากหน่อยตอนเรียนหมอ เพราะน้องต้องสามารถนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้จริงในวิชาชีพได้
1.3 การเชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผล
อันนี้สำคัญมากเลยล่ะ วิทยาศาสตร์ คือความเป็นเหตุเป็นผล ตอนเรียนหมอ ต้องเชื่อมโยงกันให้ได้ว่า โรคนี้ เกิดจากอะไร ถ้าหาสาเหตุได้ ก็หาวิธีรักษาต่อ เราก็จะช่วยคนไข้ได้
1.4 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
วิจารณญาณ คือ ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง ดังนั้น หมออย่างเราต้องรู้จริง และให้เหตุผลที่ถูกต้องได้ เพื่อทำให้การแก้ปัญหา(อาจหมายถึง การรักษาคนไข้) เป็นไปอย่างถูกวิธี
2. ประเมินแนวคิดทางจริยธรรม
แน่นอนว่า “หมอ” กับ “จริยธรรม” ก็เป็นของคู่กันนะครับน้อง ถ้าเราเป็นผู้ป่วย เราก็คงอยากจะหาหมอที่ดูแลเอาใจใส่เราอย่างดี ใช่มั้ยล่ะ? “หมอ” ต้องเสียสละ ต้องทำเพื่อส่วนรวม และมีความสุขกับงานเพื่อส่วนรวม ซึ่งจริยธรรมนี้ น้องจะถูกฝึก ถูกขัดเกลาตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์เลยล่ะ ดูได้จากเวลาเรียน มีการติวเพื่อน เก็บชีทไว้ให้เพื่อน ช่วยกันเรียนหรือไม่ หรือกิจกรรมต่างๆ ของคณะ ก็ต้องช่วยเพื่อนทำงานคณะต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงความเสียสละส่วนตนเพื่อส่วนรวม

0
freejussie_Nialler 25 ม.ค. 57 เวลา 22:15 น. 18

เพิ่มอีกๆ
เหอะเหอะ

ข้อแนะนำในการสอบวิชาเฉพาะแพทย์

1. ช่วงเตรียมสอบ
1.1 หาหนังสือเตรียมสอบวิชาเฉพาะแพทย์หลายสำนักพิมพ์ มาศึกษาแนวข้อสอบ ดังประโยคที่ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” น้องควรทำโจทย์เยอะๆ ทำซ้ำๆ หลายๆ รอบ แล้วก็อย่าลืมอ่านเฉลยอย่างละเอียดด้วยล่ะ ศึกษาวิธีและแนวคิดที่ถูกต้องนะ
1.2 แล้วแต่น้องว่า จะไปเรียนพิเศษหรือไม่? แต่จริงๆ การเรียนพิเศษสำหรับวิชานี้ ไม่ค่อยจำเป็นเสมอไป
1.3 แบ่งเวลาให้กับวิชานี้ให้ดี จริงๆ วิชาเฉพาะนี้ แทบไม่ต้องเตรียมตัวเลย เพราะข้อสอบจะวัดในสิ่งที่อยู่ติดตัวน้องมาทั้งชีวิตอยู่แล้ว ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องเตรียมตัว คือ ทักษะการเรียนรู้ และแนวคิดทางจริยธรรม น้องอาจเอาเวลามาดูข้อสอบวิชานี้บ้าง แต่อย่าเห็นว่า วิชานี้ถ่วงน้ำหนักมากจึงทุ่มเทมากจนเกินไป ลองเอาเวลา ไปอ่านวิชาอื่นที่ไม่ถนัดเพิ่มเติมน่าจะดีกว่า
1.4 รักษาสุขภาพให้แข็งแรงนะครับ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเพื่อให้สมองผ่อนคลายและพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ
1.5 เอาเสื้อกันหนาวไปเผื่อนะครับ สำหรับห้องสอบที่เป็นห้องปรับอากาศ
2. ก่อนเข้าห้องสอบ
2.1 อย่าพยายามให้สิ่งแวดล้อม เช่น เพื่อน มากระทบจิตใจทำให้ตัวเองหดหู่ก่อนสอบ
2.2 ตั้งสติ ตั้งสมาธิให้มั่น อย่าเกร็ง อย่าเครียด อย่าลน
2.3 เตรียมเครื่องเขียนและเอกสารที่ต้องใช้เป็นหลักฐานแสดงตนให้พร้อม
2.4 ควรสำรวจสถานที่และห้องสอบ ก่อนสอบ 1 วัน วันสอบจะได้ไม่ต้องรีบร้อน
2.5 ทานข้าวเช้าไปด้วยนะครับ เดี๋ยวคิดไม่ออก แถมอาจเป็นลมในห้องสอบอีกนะ

3. ขณะสอบ
3.1 อ่านคำสั่งดีๆ คำถามต่างๆ บอกไว้ชัดเจนอยู่แล้ว อย่าตีความตามความเข้าใจของตนเอง ให้ตีความตามที่คำสั่งกำหนดเท่านั้น
3.2 อย่าล่อกแล่กนะ เดี๋ยวกรรมการคุมสอบหาว่า ทุจริต
3.3 ข้อไหนทำไม่ได้ ...ข้ามโลด (แล้วอย่าลืมย้อนกลับมาทำอีกรอบล่ะ)
3.4 ได้กระดาษคำตอบมา รีบเขียนชื่อ นามสกุล ให้เรียบร้อยนะ check ดูให้ครบทุกช่อง(แต่รู้สึกว่า กสพท. จะเขียนชื่อมาให้แล้วนะ ...งั้นก็ check ดูว่า ใช่ชื่อของเราถูกต้องหรือไม่?)
3.5 บริหารเวลาทำข้อสอบให้ดีนะครับ
4. หลังสอบ
4.1 ถ้ามีพี่มาขายสมุด ก็เข้าไปซื้อเลยนะ ช่วยๆ พี่เขาเอาเงินไปทำกิจกรรมคณะแพทย์ ส่วนค่านิยมที่ว่า ซื้อสมุดของสถาบันไหน จะสอบไม่ติดที่นั่น พี่จะบอกว่า ไม่จริงเลยครับน้อง! พี่เองคิดกลับกันว่า ถ้าเราได้ช่วยซื้อพี่เขา เราก็จะได้มีโอกาสกลับมาขายสมุดแบบพี่เขา(พูดง่ายๆ คือ สอบติดนั่นเอง) สมุดสวยมากเลย...โดยเฉพาะของ “วชิระ” อิอิ
4.2 สมัยที่พี่สอบ พี่กับเพื่อนๆ จำข้อสอบกันออกมาคนละข้อ แล้วรวบรวมให้รุ่นน้อง เป็นวิทยาทาน
4.3 หลายคนอาจแนะนำว่า อย่าฟังเพื่อนเฉลย หรือเถียงเรื่องคำตอบกันหลังสอบ เพื่อไม่ให้สภาพจิตใจเราแย่ไปกว่านี้ แต่พี่คิดว่า การที่เราฟังเหตุผลในการเลือกคำตอบของเพื่อน ทำให้เราได้มุมมอง วิธีคิดใหม่ เราจะได้ประสบการณ์มากขึ้น และอาจช่วยเราให้เข้าใจเหตุผลที่ถูกต้องของคำตอบนั้นด้วย
4.4 ตั้งใจสู้ กับวิชาสามัญ ต่อไปนะครับ เป็นกำลังใจให้นะ ว่าที่นักศึกษาแพทย์ตัวน้อยๆ

0
freejussie_Nialler 25 ม.ค. 57 เวลา 22:16 น. 19

เพิ่มอีกๆๆ 555+ เยอะนะ แต่เลือกๆละกันน้องๆ


พูดไม่ออก

มาดูข้อสอบกัน
ข้อสอบจริงๆ มี Part 1-4 แต่หลังจากปี 2551 จะเหลือเพียง Part 1-3


Part 1 : ทักษะทางการตีความ มิติสัมพันธ์ และคณิตศาสตร์
1. คณิตศาสตร์ เช่น เลขอนุกรม ระบบเลขฐาน ความน่าจะเป็น
2. มิติสัมพันธ์ เช่น การหมุนรูป การพับกล่อง การนับกล่อง
3. การตีความ ให้ตีความตามที่โจทย์กำหนดให้เท่านั้น เช่น
Q : ชีวิตเป็นดังข้อสอบอัตนัย หมายความว่าอย่างไร?
A. ชีวิตไม่ได้มีหลายตัวเลือก
B. เราสามารถเลือกทางเดินชีวิต ด้วยตัวของเราเองได้
ข้อนี้ จะมีคนตอบเป็น 2 เสียง แต่จริงๆ แล้วโจทย์กำหนดว่า ข้อสอบ “อัตนัย” เท่านั้น ซึ่งเป็นข้อสอบเขียนตอบ หากตีความตามโจทย์กำหนด จะรู้ว่าการเขียนตอบ เปรียบดังชีวิตที่เราสามารถขีดเขียนได้ด้วยตัวของเราเอง จึงตอบ B
ทำไมถึงไม่ตอบ A. เพราะว่า โจทย์ไม่ได้บอกว่า “ปรนัย” คนที่ตอบข้อ A. นั้น แสดงว่าตีความนอกเหนือจากโจทย์ที่กำหนด ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ผิด แต่ไม่ใช่คำตอบที่ข้อสอบต้องการ (ตอบไม่ตรงคำถาม นั่นเอง)
4. หนังสือที่มีโจทย์ไว้ฝึกทำเยอะๆ คือ ความถนัดวิชาชีพครู SAT



Part 2 : การประเมินแนวคิดทางจริยธรรม
1. น้องต้องวิเคราะห์ว่า โจทย์แต่ละข้อ เขาวัดจริยธรรมด้านไหนของเรา เช่น
Q : มีนักการเมืองคนหนึ่งที่ทำรายการโทรทัศน์ ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรที่นักการเมืองใช้เวลาราชการมาทำรายการโทรทัศน์ส่วนตัว
A. สามารถทำได้ ไม่เป็นไร เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล
B. สามารถทำได้ เพราะไม่ทำให้ใครเดือดร้อน
C. ไม่สามารถทำได้ เพราะ ควรใช้เวลาไปบริหารราชการบ้านเมืองมากกว่า


ข้อนี้ ควรตอบข้อ C. เนื่องจาก นักการเมืองควรเสียสละ ทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องและสุจริต การเบียดบังเวลาราชการไปทำภารกิจส่วนตัว ถือเป็นการทุจริตในเรื่องของเวลา

2. ควรตอบคำถามโดยยึดประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ หรือยึดหน้าที่ที่ควรทำของตนเป็นหลัก และไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อนเกินไป บางอย่างสามารถยืดหยุ่นได้ แต่บางอย่างก็ต้องตัดสินใจเด็ดขาด สังเกตได้ว่า คนที่ตอบแนวพ่อพระแม่พระ มักได้คะแนนน้อย



Part 3 : การเชื่อมโยงเหตุผล
1. Part นี้ มีคนได้คะแนน 100 เต็ม และมีคนได้ 0
2. ส่วนใหญ่คนที่ได้ 0 เกิดจากการอ่านคำสั่งไม่ดี ทำให้เข้าใจผิด และฝนในกระดาษคำตอบผิด
3. ข้อสอบจะมีบทความมาให้ แล้วให้เขียน flow chart โดยมีสัญลักษณ์กำหนดให้ จากนั้นให้ตอบลง
กระดาษคำตอบ

0
freejussie_Nialler 25 ม.ค. 57 เวลา 22:20 น. 20

เพิ่มได้อีกเนอะๆ

โกรธ

. การตอบลงกระดาษคำตอบแต่ละปี อาจมีกติกาไม่เหมือนกัน บางปีไม่ต้องตอบย้อน สิ้นสุดข้อไหนก็จบที่ข้อนั้นไปเลย บางปีให้ตอบย้อนขึ้นไปด้วย เช่นข้อ 2, 3, และ 4 ต้องตอบ01M ด้วย อ่านคำสั่งและดูตัวอย่างการตอบคำถามให้ดีล่ะ


Part 4 : ทักษะด้านความจำ (ปัจจุบันไม่สอบ Part นี้แล้ว แต่ก็อาจนำมาวนสอบในปีของน้องก็ได้นะ)
1. เคยมีคนได้ 100 เต็มเหมือนกัน โดยใช้เทคนิค นับจำนวนข้อ เพราะแต่ละข้อจะมีคะแนนกำหนดไว้
2. บางข้อสามารถตอบได้หลายคำตอบ
3. มีบทความให้อ่านประมาณ 5-10 หน้า แล้วให้จำทุกอย่าง จากนั้นบทความจะถูกเก็บ เราจะได้พัก 30 นาที แต่ช่วงพักเนี่ยแหละ จะมีการประกาศอะไรต่างๆ เพื่อลบเลือนความจำของเรา(อย่าหลงกลเขาเด็ดขาด) แล้วผู้คุมสอบจะแจกกระดาษคำตอบให้ฝนคำตอบ
4. รายละเอียดบางอย่างที่น้องอาจมองข้าม เช่น ชื่อคน วันที่พิมพ์บทความ ก็เคยออกข้อสอบมาแล้ว
5. จริงๆ คนเราจะจำทุกรายละเอียดไม่ได้หรอก ต้องรู้จักจำในสิ่งที่เด่นๆ สำคัญๆ น้องต้องเก็งข้อสอบเอาเองนะ



ข้อสังเกตเกี่ยวกับคนที่ได้คะแนนวิชาเฉพาะแพทย์

คนที่ได้คะแนน < 20 /// คนที่ได้คะแนน ≥ 20
ก่อนสอบ
อยากเรียนหมอ /// อยากเรียนอย่างอื่น
เรียนพิเศษทุกสถาบัน ///ไม่เรียนพิเศษที่ไหนเลยทั้งวิชาเฉพาะและวิชาสามัญ
อ่านหนังสืองกๆๆ เพื่อเตรียมสอบวิชาเฉพาะ //// ไปเที่ยวก่อนสอบ...เดี๋ยวเครียด
เครียดโว้ย!!! อ้าว! ตกลงสอบวันไหนเหรอ? ///ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ไหว้พระ 199 วัด
ขณะสอบ
ตอบอะไรดีอ่ะ...ข้อนี้ก็ใช่ ข้อนั้นก็น่าจะถูก ///หมุนปากกา...ตอบ ขอ..ไข่
ลน…คิดไม่ออก บอกไม่ถูก ////เช้ย...เฉย อย่าคิดมาก
ทำไม่ทันๆๆๆๆ ////เหลืออีกตั้งชั่วโมง...คร่อกๆๆ
เห็นข้อสอบแล้วเครียด...severe แล้วแก ///เห็นข้อสอบแล้วขำ..เพราะชั้นทำไม่ได้
**--หลังสอบ--
ทำไมเราได้ความถนัดวิศวะเยอะกว่าพวกที่จะเข้าวิศวะอีก? ///คะแนนวิศวะเท่าเนี้ย...สงสัยช่วงนี้ดวงตก
อีกตั้ง 6 เดือน ตั้งใจสู้! กับวิชาสามัญสุดๆ ไปเลย ///// เดี๋ยวเรียนมหา’ลัย จะได้เที่ยวมั้ยน้อ?...รีบๆ เที่ยวกันเพื่อนๆ


แล้วมาเป็นน้องร่วมวิชาชีพกับพี่นะ...
พี่แตม แพทย์วชิระ รุ่น 16

นศพ.ประธานปลาหมึกประจำคณะ
ที่มา : http://writer.dek-d.com/writer/writer/viewlongc.php?id=625769&chapter=28
มาตั้งใจแล้วไปให้ถึงฝันกันเถอะ ^0^ ฝันของเราคือ ทันตะแพทย์
แล้วฝันของเพื่อนๆล่ะ!?

0