Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เรียนหมอปี 2 ลาออกดีไหม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีค่ะ คือตอนนี้เราเรียนอยู่คณะแพทย์อันดับต้นๆ ของประเทศ แต่เรามีอาการป่วยหนักมากจนต้องดรอปเรียนเมื่อกลางเทอม ตอนนี้เราเลยยังไม่จบปี 2  เลยด้วยซ้ำ ตอนนี้ผ่านมาสักพักเรารู้สึกเคว้งมากๆ และเริ่มกลับมาตกตะกอนความคิดว่าเราอาจไม่ได้อยากเรียนแพทย์แล้วขนาดนั้น (จริงๆ อาจเพราะการเรียนมันหนักมาก ยิ่งเรียนเรายิ่งท้อ พยายามเท่าไหร่ก็ไม่เคยผ่านมีนเลยด้วยซ้ำ) เรารู้สึกเหนื่อยมากๆ มองภาพตัวเองตอนขึ้นวอร์ดแล้วโดนอาจารย์ซอยไม่ออกด้วยซ้ำ เรากลัวเรามีความรู้ไม่มากพอจะไปรักษาคนไข้ ที่สำคัญเลย เราไม่มีความสุขเลยในการเรียนแต่ละวัน แต่ทุกครั้งที่มีอาจารย์มาเล่าเรื่องการเป็นแพทย์ หรือได้คุยกับรุ่นพี่ เราก็รู้สึกอยากเป็นหมอต่อไปอยู่ดี

จากเหตุการณ์โควิดทำให้เราไม่สามารถออกไปค้นหาตัวเองได้อย่างที่ตั้งใจไว้  แต่การลาออกไปเราก็ยังไม่รู้เลยว่าเราอยากเป็นอะไรกันแน่ เรายังไม่มีคณะในดวงใจ แต่ตอนยื่นคะแนน เรายื่นแพทย์กสพท. กับนิติมหาลัยรัฐที่ดังมากๆ ที่นึง ซึ่งเราติดทั้งสองที่ ตอนนี้เราก็ยังรู้สึกว่าเราอาจจะอยากเรียนนิติมากกว่าแพทย์ก็ได้

เกริ่นมาสักพักแล้ว เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ มีคำแนะนำไหมคะ เรารู้สึกใจเราไม่ไปต่อแล้วแหละ แต่เราก็เสียดายมากๆ เลย เราพยายามมาตั้งแต่ม.ต้นที่จะเข้ามาในคณะนี้  ตอนม.6 เราก็พยายามมากจริงๆ   กว่าเราจะตัดสินใจดรอปออกมารักษาโรคได้เราก็รู้สึกยากมากๆ เป็นการตัดสินใจที่ลากยาวมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 62 จนตัดสินใจได้เมื่อกลางมีนาคม 63 เอง เราควรลาออกไปเลย แล้วตั้งใจซิ่วเป็น dek64  ไหมคะ หรือเราควรกลับไปเรียนต่อในปีการศึกษาถัดไป

เผื่อว่าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังงงๆ 555555
คือเราดรอปหมอปี 2 กลางเทอมค่ะ ตอนนี้อายุ 20 ย่าง 21
เราลังเลว่าจะกลับไปเก็บปี 2 ให้ครบแล้วเรียนต่อพร้อมรุ่นน้องไปจนจบดีไหม
หรือเราจะซิ่วไปนิติ ซึ่งเป็นความฝันวัยเด็กหรืออาจจะไปอักษร เพราะเราสนใจด้านภาษามากๆ ไม่ใช่แค่ตัวภาษา แต่โครงสร้างและวัฒนธรรมของมันด้วย

แสดงความคิดเห็น

>

21 ความคิดเห็น

ตามทางฝัน:) 9 เม.ย. 63 เวลา 13:59 น. 1

สำหรับเราการทำตามสิ่งที่ตัวเองฝันหรือเลือกเดินต่อในทางที่ตัวเองชอบและมีใจให้กับมันนั้นเป็นสิ่งที่ดีนะ ไม่ว่าทางไหนเราประสบความสำเร็จได้เสมอถ้าเรา "เลือกในสิ่งที่ใช่"

0
ผ่านมา 9 เม.ย. 63 เวลา 14:42 น. 2

ออกไปค้นหาตัวเองตอนนี้ไม่ได้ ก็ไม่แปลกครับ นี่คือปรกติของชีวิตที่ไม่สามารถทำอะไรตามที่ต้องการได้ทุกอย่าง


น้องไม่ชอบหมอ จะดรอป ก็เป็นทางเลือกนึงครับ แต่ก่อนจะดรอป น้องต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า ดรอปแล้วไปไหน จะทำอะไรต่อในอนาคตที่สามารถหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้


ถ้าน้องเลือกแล้ว มั่นใจ ก็ออกเลยครับ


ถ้ายังไม่เลือก อย่าเพิ่งออก

0
Sleepytimeeeee 9 เม.ย. 63 เวลา 14:49 น. 3

คือมันพูดยากนะครับ แต่คิดว่าหลักๆคืออยู่ที่ว่าน้องโอเคกับวิชาชั้นคลีนิกไหมมันจะมีสามประเภท

1.พวกที่ไม่เก่งวิชาพรีคลีนิก แต่พอขึ้นวอร์ดได้ปฏิบัติแล้วดีขึ้น

2.พวกที่ไม่เก่งวิชาพรีคลีนิก แล้วยิ่งขึ้นวอร์ดไม่ดีขึ้นแต่ลากไปได้

3.พวกที่ไม่เก่งวิชาพรีคลีนิก แล้วขึ้นวอร์ดคือพัง(พี่เป็นประเภทนี่)


คือน้องต้องดูสิ่งที่พี่คลีนิกเขาทำแล้วตอบตัวเองว่า มันเป็นสิ่งที่ตัวเองอยากทำไหม น้องอยากทำงานแบบนั้นหรือแค่รู้สึกว่าเห็นหมอช่วยคนได้แล้วมันดูเท่ ถ้าไม่อยากทำ ก็ออกเลยครับ คืออย่าไปฟังอาจารย์มาก คนที่ไม่โอเคกับระบบแบบนี้เป็นอาจารย์ไม่ได้หรอกครับ ส่วนเรื่องรุ่นพี่ พี่ว่าน้องไปคุยกับแค่คนที่เขาอยากเป็นอยู่แล้วรึเปล่า ทำไมทั้งเพื่อน รุ่นน้อง รุ่นพี่พี่ นี่ส่วนใหญ่ประมาณ "นี่หลงเข้ามาเจออะไรเนี่ย" กันหมด


ถ้าอยากทำหรือเฉยๆ อาจจะลองไปต่อก็ได้ เพราะจริงๆถ้าที่บ้านส่งได้ ช้าหน่อยก็ไม่เป็นไรหรอกครับ ไปให้ถึงจุดนั้นแล้วค่อยตัดสินใจก็ได้ จะได้ไม่ค้างคา เพราะมันก็มีคนที่พรีคลีนิกจะตกตลอด แล้วพอถึงคลีนิกไปฉลุย


เอาจริง เรื่องนิตินี่... คือพี่ไม่ค่อยแนะนำสำหรับคนที่มาจากแพทย์เท่าไหร่นะ พี่ว่าสำหรับคนที่เลือกเรียนแพทย์แล้วไม่โอเคกับปีแรกๆ มันจะไม่โอเคกับนิติ(พี่เคยเจออาจารย์นิติคนนึงบอกว่า ทำงานในศาลสักพักแล้วรู้สึกว่าไม่โอเคเลยหนีไปเป็นอาจารย์เลย ซึ่งก็ค่อนข้างตรงกับประสบการณ์ของเพื่อนพี่นะ)


คือเอาจริงมันอยู่ที่อะไรอีกหลายอย่าง(ฐานะทางบ้าน ความถนัดบลาๆ ) ที่พี่ตอบยากเพราะมันมีทั้งคนที่ลุยแล้วจบ กับลุยถึงคลีนิกแล้วเจ๊ง แต่ก็คิดว่าประมาณนี้


0
kaeonat 9 เม.ย. 63 เวลา 17:53 น. 4

สู้ๆต่อไปครับ ออกมากลางทางก็น่าเสียดายนะครับ บางคนกว่าจะสอบหมอติดครับ เว้นแต่เราไม่ชอบจริงๆ หรือว่าแค่บางเวลา บางอารมณ์เรารู้สึกเหนื่อย ก็พักๆ ตั้งสติ แล้วกลับมาถามตัวเองว่า ลุยต่อดีไหม ถ้าเรียนมาถึงขนาดนี้ก็เรียนต่อเถอะครับ ถ้าใจเรายัง 50/50 ในการเป็นหมอ ลองถามใจตัวเองครับ พี่ว่า คนอื่นผ่านมันไปได้ เราก็น่าจะผ่านได้นะครับ สู้ๆนะครับ เป็นกำลังใจให้ครับ

0
กัลย์ 9 เม.ย. 63 เวลา 20:10 น. 5

อยู่ปี 2 คณะแพทย์ป่วยหนัก ต้องดรอปรักษาตัว ไม่มีข้อมูลป่วยเป็นอะไร  พอจะบอกได้หรือไม่ เช่น อาการซึมเศร้า โรคมะเร็ง หรืออื่นๆ

มีเด็กเรียนแพทย์ ปี 2 คนหนึ่งที่รู้จัก ป่วยเป็นมะเร็งที่ไทรอยด์ ดรอปไปรักษาตัว 1 ปี รักษาหายกลับมาเรียนพร้อมรุ่นน้อง เข้ากับรุ่นน้องได้สบาย ไม่เห็นต้องอายอะไรเลย ตอนนี้ก็เรียนใกล้จบแพทย์แล้ว

ปี 1-3 เรียนภาคทฤษฎี บางคนอาจจะไม่ชอบ ผลการเรียนอาจจะไม่ดีก็ได้ ไม่เป็นไร ขอให้สอบผ่านก็พอ

ปี 4-6 เรียนภาคปฏิบัติ บางคนอาจจะชอบ เก่งทางปฏิบัติ

เรียนแพทย์หนักอยู่แล้ว เด็กเก่งมาก ตอนเรียนมัธยม เก่งมากเลย พอมาเรียนแพทย์ เจอแต่เด็กเก่งๆ พอคะแนนไม่ผ่านมีน เลยท้อมาก ขอให้ทำใจใหม่สอบผ่านได้ ก็พอ ไม่ต้องไปสนใจเกรด อย่าไปอายรุ่นน้อง ปรับตัวให้เข้ากับรุ่นน้อง


ถ้าเรียนจบแพทย์ และผ่าน ศรว.1- 3 ได้ มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ก็มีความรู้แพทย์แน่นอน ไม่ต้องกลัวว่า จะไม่มีความรู้จะไปรักษาคนไข้ 


ที่บอกว่า ทุกครั้งที่มีอาจารย์มาเล่าเรื่องการเป็นแพทย์ หรือได้คุยกับรุ่นพี่ รู้สึกอยากเป็นหมอต่อไป แสดงว่า ยังมีใจรักการเรียนแพทย์ ต้องการจะเป็นแพทย์


เมื่อยังไม่รู้เลยว่า ตัวเองอยากจะเป็นอะไร ไม่มีคณะในดวงใจ  ยังไม่รู้อนาคตตัวเอง 

แล้วจะลาออกไปเริ่มต้นใหม่ทำไม เสียดายวิชาชีพที่ตัวเองมีอยู่แล้ว ที่จบแพทย์ ก็ไปรับราชการทำงานใช้ทุนในโรงพยาบาลต่างจังหวัดได้แล้ว มีรายได้ดีพอแล้ว 

ไม่ต้องไปสมัครสอบอะไร เพื่อหางานทำเหมือนจบนิติศาสตร์


ส่วนตัวไม่เห็นด้วย ที่จะไปเรียนนิติศาสตร์ เรียนแพทย์จบมามีงานทำแน่นอน ไม่ตกงาน

เรียนนิติศาสตร์ จบปริญญามายังไม่มีงานทำ ต้องสอบใบอนุญาตทนาย สอบเนติฯ 

ระหว่างเรียนทนาย เรียนเนติฯ 1 ปี อาจจะสอบไม่ผ่าน อาจจะต้องตกงานอีกหลายปี


ลองอ่านบทความนี้ก่อน อ่านแล้วอาจจะตัดสินใจ ไม่อยากเรียนนิติศาสตร์ ก็ได้

นิติศาสตร์ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า

https://www.dek-d.com/board/view/3681424/


หากตัดสินใจ จะลาออก ไม่เรียนแพทย์ รู้สึกเสียดายแทนมากๆ ที่มีอาชีพที่ดีๆ แน่นอนแล้ว

ไม่เอา จะไปเริ่มต้นใหม่ ที่ยังไม่รู้อนาคตตัวเองเลย


ขอแนะนำว่า ให้กลับไปเรียนเก็บปี 2 ให้ครบ แล้วเรียนต่อพร้อมรุ่นน้องจนจบแพทย์ จะดีที่สุด ครอบครัวจะภูมิใจ ดีใจมาก ที่สุด


สรุป อย่าซิ่วไปคณะนิติศาสตร์ เริ่มต้นใหม่อีกเด็ดขาด

0
Xyz 9 เม.ย. 63 เวลา 20:11 น. 6

เราเคยนะ​ เรียนสายวิทย์สุขมาก่อนจนถึงปี2 มันรู้สึกว่าตัวเองมาสุดทางแล้วสำหรับที่นี่​ เราลาออกเลยค่ะ​ มาสอบเข้าใหม่ในคณะที่อยากทำงานตอนโตจริงๆ

0
กัลย์ 9 เม.ย. 63 เวลา 20:19 น. 7

คนในอยากออก ออกไม่ได้ เพราะถลำลึกแล้ว

คนนอกอยากเข้า เพราะยังไม่รู้ข้อมูลจริงๆ


ขออนุญาตเล่าตามประสบการณ์ที่เคยอยู่ในวงการยุติธรรมมาหลายสิบปี เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากเงินเดือนผู้พิพากษา อัยการไม่มาก เป็น เงินเดือนแสนกว่าบาท ก็เริ่มมีคนสนใจเรียนนิติศาสตร์เพิ่มมากขึ้น


สมัยก่อนคนเรียนนิติศาสตร์ยังไม่มาก มี 3 - 4 สถาบันที่คนรู้จัก เช่น จุฬา ธรรมศาสตร์ รามฯ สุโขทัยฯ จบปริญญาตรีนิติศาสตร์ สมัครวิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา ก็เสียเงินเเลือกเป็นทนายชั่วคราว หรือตลอดชีพได้ ไม่ต้องอบรม ไม่ต้องสอบ เพราะช่วงนั้นยังไม่ได้มีการหาเงินเข้าสภาทนายมากเหมือนปัจจุบันนี้ ถ้ามีตั๋วทนายแล้ว ก็ต้องหาสำนักงานทนายความเข้าทำงานเพื่อได้ประสบการณ์ สำนักทนายจะรับคนเข้าใหม่เฉพาะลูก หลานคนในสำนัก หรือคนที่มีบุญคุณฝากมา ถึงจะรับ เพราะพวกทนายใหม่ พอทำงานมีประสบการณ์ 3-5 ปี ก็จะออกไปตั้งสำนักงานเอง ดึงลูกค้าบางส่วนไปด้วย เริ่มทำงานใหม่ๆ ทนายจะไม่มีเงินเดือน ค่าจ้างเลย แม้แต่บาทเดียว เพราะต้องการหาความรู้เอง เจอลูกพี่ใจดี ให้ไปยื่นคำร้อง คำแถลงที่ศาล ก็จะให้เงินค่ารถเมล์ 100 บาท ลูกพี่บางคนไม่ให้เงินเลยก็มี ทนายใหม่ และผู้จบนิติศาสตร์ส่วนใหญ่จะหาสอบงานราชการไว้ด้วย เพราะงานเอกชนมีน้อย และไม่มั่นคง เอาที่เด่นๆรับคนจำนวนมาก คือ

1.ปลัดอำเภอ

2.พัฒนากร

3.ตำรวจ

4.ทหาร

5. ก.พ.และส่วนราชการต่างๆ

6.รัฐวิสาหกิจ

7.ธนาคาร(เอกชน)


ส่วนพวกมีเงิน ฐานะทางบ้านดี ลูกพ่อค้า ลูก ส.ส. ลูกทนายความ ลูกข้าราชการ ลูกผู้พิพากษา/อัยการ ก็เรียนให้เรียนต่อจนจบเนติฯอาจจะ 1 ปี หรือ 2 ปี หรือ 3 ปี แล้วแต่คุณภาพของคนสอบ จบแล้วทำงานในวงการกฎหมาย 2 ปี รอสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา อัยการ สมัยนั้นสอบได้จำนวนเป็นร้อย มีบางปีปล่อยผีได้ประมาณ 500 คนก็มี บางคนสอบปีเดียวติดก็มี บางคน 2-3 ปีถึงติด


สมัยนี้คนเรียนนิติศาสตร์ มีจำนวนเท่าใด ไม่รู้ รู้แต่ว่ามีจำนวนมาก มีสถาบันสอนนิติศาสตร์เยอะแยะไปหมด ทั้ง ม.รัฐ และ ม.เอกชน แข่งกันเปิด เพราะตลาดมีความต้องการมาก(ต้องการเรียน) การลงทุนถูก ค่าใช้จ่ายดำเนินการเปิดสอนนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยน้อยมากเมื่อเทียบกับคณะอื่นๆ พวกสายวิทยาศาสตร์ ขอยกตัวอย่าง ม.รัฐที่ผลิตนิติศาสตร์บัณฑิตเยอะๆ เช่น รามฯ ราชภัฏทั่วประเทศ สุโขทัย ส่วน ม.เอกชนทั่วประเทศ ก็รับไม่อั้น เพราะรายได้เข้ามหาลัยดีมาก จบปริญญาตรีนิติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นทนายไม่ได้ ต้องเสียเงินค่าอบรม สอบให้ผ่านก่อน ถ้าสอบผ่านแล้ว เสียเงินสมัครวิสามัญสมาชิกเนติฯ เสียค่าจดทะเบียนเป็นทนาย 800 บาท เสียค่าตั๋วทนายชั่วคราว 2 ปี 800 บาท ตั๋วทนายตลอดชีพ 4,000 บาท(เสียเงินทั้งหมดให้สภาทนายไม่ใช่น้อย) เป็นทนายแล้ว ก็ยังหาสำนักลงไม่ได้ เพราะพ่อแม่ไม่มีพรรคพวกเป็นเจ้าสำนัก จึงต้องไปสมัครเป็นลูกจ้างชั่วคราวตามส่วนราชการก่อน ถ้าลูกมีพ่อแม่เป็นผู้พิพากษา ก็อาจจะฝากเข้าเป็นลูกจ้างชั่่วคราว นิติกรตามศาลต่างๆได้ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา(ถ้าเส้นใหญ่ชอบศาลฎีกา) เพื่อให้ได้คุณสมบัติ รอสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา อัยการต่อไป แต่ก็ไม่รู้จะสอบติดอีกกี่ปี เพราะจะมีผู้สอบติดปีละไม่กี่คน น้อยมาก มีบางปีได้ 6 คนก็มี พวกสอบไม่ได้ ก็ต้องรอสอบไปเรื่อยๆ ทุกปีก็มีคนสะสมเพิ่มจำนวนคู่แข่งขันมากขึ้นไปเรื่อยๆ มีบางคนสอบ 3 ปี ก็ยังไม่ติดเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา อัยการ ถ้าคนไม่มีงานทำ ก็ถอดใจ ถูกทางบ้านด่าทุกวัน ก็ต้องไปหางานทำ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับสายงานก็ได้


สมัยก่อน ตำแหน่งนิติกรลูกจ้างชั่วคราวในศาลยุติธรรม เด็กนิติศาสตร์ จุฬา ธรรมศาสตร์ ไม่ค่อยสนใจมาสมัคร มีแต่เด็กนิติฯรามฯมาสมัครทั้งนั้น ต่อมาเด็กรามฯ ก็สอบเป็นผู้พิพากษา อัยการได้หลายคน


สมัยปัจจุบันนี้ มีเด็กนิติศาสตร์จุฬา ธรรมศาสตร์ รามฯ และอื่นๆ ทุกสถาบันมาสมัครสอบเป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งนิติกร ครั้งละจำนวนมากๆ แต่รับไม่กี่คนเอง เคยเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ ถามเด็กว่า ตอนนี้ยังไม่ค่อยมีงานวิชาการอะไรทำ ส่วนมากจะเป็นงานช่วยขนของ โต๊ะ เก้าอี้ ถ่ายเอกสาร ค้นหาเอกสาร ส่งเอกสาร ฯลฯ ทำได้หรือไม่ ทุกคนบอกทำได้ ทุกคนต้องการทำงาน แม้เงินเดือนน้อย สวัสดิการไม่มีเหมือนข้าราชการ


ความจริงมีรายละเอียดมากกว่านี้ แต่ขออนุญาตเล่าประสบการณ์คร่าวๆ เพียงเท่านี้ แล้วพิจารณาเอาเอง


สรุป เรียนอะไรก็ได้ ขอให้จบมาแล้วมีงานทำ ไม่ตกงาน

0
กัลย์ 9 เม.ย. 63 เวลา 20:29 น. 8

-อาชีพแพทย์/ทันตะ กำลังเรียน ม.6 สอบติดแพทย์/ทันตะ รู้เลยว่าอีก 6 ปีข้างหน้า จะต้องทำงานเป็นแพทย์/ทันตะ ตามสัญญาใช้ทุนที่ทำไว้(รู้อนาคต)


-อาชีพผู้พิพากษา/อัยการ จบ ม.6 สอบติดนิติศาสตร์ อีก 6 ปียังไม่รู้เลยว่า จะได้ทำงานเป็นผู้พิพากษา/อัยการ หรือไม่(ไม่รู้อนาคต)


เส้นทางเดินก่อนเป็นผู้พิพากษา

-ผู้ที่มีสิทธิสมัครสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาต้องอายุ 25 – 60 ปี(อาจจะมีการแก้ไขเพิ่มอายุจาก 25 ปีเป็น 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในอนาคต)

-จะต้องเรียนจบปริญญาตรีกฎหมาย นิติศาสตร์บัณฑิต และจบเนติบัณฑิตด้วย นอกจากนี้ ยังต้องมีประสบการณ์ทำงาน รับราชการที่เกี่ยวกับกฎหมาย ไม่ต่ำกว่า 2 ปี

หรือไม่ก็ต้องมีอายุงานเก็บคดีทางกฎหมาย เช่น ทนายความ ไม่ต่ำกว่า 2 ปี เก็บคดีได้ 20 คดี(คดีแพ่ง 5 คดี) เป็นต้น


จึงเห็นได้ว่า กว่าที่จะผ่านด่านต่างๆมาได้ จนมีคุณสมบัติครบมีสิทธิเข้าสอบผู้ช่วยผู้พิพากษานั้น ก็ไม่ใช่ได้ง่ายๆเลย และแม้ว่าโอกาสสมหวัง อาจมีไม่ถึง 1% (0.25%) แต่ก็ยังมีคนสนใจเข้าสอบกันมากมายทุกปี บางคนสอบครั้งเดียวติด(ส่วนใหญ่พวกปริญญาตรีเกียรตินิยม) บางคนต้องสอบหลายครั้ง มีบางคนอดทน รอสอบทุกปีไม่ไหว ต้องเบนเข็มไปทำอาชีพอื่น ไม่เอาแล้วผู้พิพากษา อัยการ อุตส่าห์เรียนปริญญาตรี 4 ปีจบ เรียนเนติฯ ไม่รู้ 1 ปีหรือกี่ปีจบ มีประสบการณ์งานกฎหมาย 2 ปี


สรุปจบปริญญาตรีมาแล้ว 4-5 ปี ยังไม่รู้จะสอบติดผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือไม่ หรือจบ ม.6 มาแล้ว 8-9 ปี ยังไม่รู้จะสอบติดเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือไม่


คุณสมบัติ คุณวุฒิ เงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพ สำหรับผู้สมัครสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา

๑) สนามใหญ่ อายุ ๒๕ ปีขึ้นไป+ เนติบัณฑิต + อายุงาน ๒ ปี + หากเป็นทนาย อายุตั๋ว ๒ ปี + ๒๐ คดี

๒) สนามเล็ก อายุ ๒๕ ปีขึ้นไป + เนติบัณฑิต + ปริญญาโทในประเทศหรือต่างประเทศ + อายุงาน ๑ ปี + หากเป็นทนาย อายุตั๋ว ๑ ปี + ๑๐ คดี

๓) สนามจิ๋ว อายุ ๒๕ ปีขึ้นไป+ เนติบัณฑิต + ปริญญาตรีกฎหมาย ๓ ปี จากต่างประเทศ หรือปริญญาเอกกฎหมายในประเทศ (ไม่ต้องใช้อายุงาน) หากเป็นปริญญาตรีกฎหมาย ๒ ปี หรือ ปริญญาโทกฎหมาย ๒ ปีจากต่างประเทศ ต้องใช้อายุงาน ๑ ปี + ๒๐ คดี


ส่วนสนามเล็กสำหรับผู้ที่เป็นอาชีพพิเศษ

๑) แพทย์ เภสัช ฯลฯ + เนติบัณฑิต + จบโทหรือเอกสาขาแพทย์ (ในหรือต่างประเทศก็ได้) + ประกอบวิชาชีพในสาขาที่เรียนมา ๓ ปี หรือ ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย ๓ ปี (อย่างหนึ่งอย่างใด) + หากประกอบวิชาชีพกฎหมายประเภททนายความ ฯลฯ ต้องเก็บคดี ๓๐ คดี

๒) แพทย์ เภสัช ฯลฯ + เนติบัณฑิต + ประกอบวิชาชีพในสาขาที่เรียนมา ๑๐ ปี (ไม่ต้องเก็บคดีหรือมีอายุงานกฎหมาย)

อาชีพพิเศษได้แก่ แพทย์ ทันตะ เภสัช สัตวแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล วิศวะ สถาปัตย์ หรือการบัญชีและได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การสัตวแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ การพยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือเป็นผู้สอบบัญชี รับอนุญาตแล้วแต่กรณี


ส่วนใหญ่พ่อแม่ที่เป็นผู้พิพากษาที่มีฐานะดี หรือเป็นผู้พิพากษาชั้นผู้ใหญ่ จะใช้ช่องทางพิเศษ ส่งลูกไปเรียนที่ต่างประเทศ เมื่อจบกลับมาไทย ก็จะสอบสนามเล็ก สนามจิ๋ว ซึ่งมีโอกาสติดง่ายกว่าสนามใหญ่มาก

อยากรู้รายละเอียดลองอ่านบทความตามลิงค์นี้ http://prachatai.com/journal/2012/08/41970

บทความนี้ลงเมื่อปี 55 ปัจจุบันนี้การแข่งขันยิ่งเข้มข้นสูงมากกว่าเดิม ติดยากกว่าเดิม

0
modx 10 เม.ย. 63 เวลา 15:16 น. 9

คือเท่าที่อ่าน ๆ ดูต้องขึ้นอยู่กับ จขกท.เป็นหลักเลยครับ:

1.สุขภาพร่างกายไปไหวไหม ถ้าไม่ไหว ก็ เลิกเรียนคณะนี้เลย สุขภาพร่างกายต้องมาอันดับหนึ่ง

2.ชอบคณะนี้จริงๆ ไหม ถ้าไม่ชอบ ก็เลิกเรียนเลย

3.ทุกคณะมีดีทุกคณะครับ ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง จะสู้ ฝ่าฝันไปได้ถึงที่สุดไหมครับ

4.การเรียนทุกคณะ มีคนลาเข้า-ออกทุกปี ซิ่วไปเข้าคณะใหม่ตามที่ตัวเองชอบก็เยอะครับขึ้นอยู่กับ เรียนแล้วมีความสุข หรือไม่ คณะแพทย์บางคนก็ลาออกตั้งแต่ ปี 2 (รู้ตัวเร็ว), บางคนปี 4 (กว่าพ่อแม่จะเห็นใจ) ,บางคนก็คิดทำร้ายตัวเอง (หมดหนทาง)

5.ฟังดีๆ นะครับ ชีวิตเป็นของเรา อาชีพต้องอยู่กับเราตลอดชีวิต อะไรที่เราทำแล้วมีความสุข ก็ทำตามนั้น เราทำแล้วชอบ ก็ทำ การค้นพบตัวเองได้เร็ว จะทำให้เราไม่เสียเวลาเดินทางครับ ขอให้โชคดีนะครับ

0
joojubjub 10 เม.ย. 63 เวลา 18:35 น. 11

drop ต่อไป จนกว่าจะพร้อม เเล้วค่อยกลับไปเรียน เอาให้หายจริงๆ นะ ไม่งั้นจะลำบากมาก เพราะว่ามันเรียนหนักมากกกกกกกก

0
pocky_pv95 10 เม.ย. 63 เวลา 20:03 น. 13

ตอนนี้พี่หายป่วยหรือยัง ขอให้สุขภาพแข็งแรงนะคะ คงไม่มีใครเลือกทั้งสามทางอย่างได้ดีเท่าพี่ พี่ลองนึกย้อนไปดูนะคะ ว่าความรู้สึกของพี่ตอนอยากจะเรียนแพทย์แพทย์ให้ได้ มันเป็นความรู้สึกแบบไหน แล้วเหตุผลของพี่คืออะไร ถ้าพี่ยังพอรู้สึกถึงมันได้ เป้าหมายพี่มันไม่เปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก หนูก็อยากให้พี่อย่าพึ่งหันหลังให้ทางนี้ ไม่ต้องกลัวว่าจะมีความรู้ไปรักษาคนไข้ไม่เพียงพอ พี่ต้องเชื่อว่าพี่ทำได้ แต่ถ้าพี่ไม่ได้รู้สึกแบบเดิมแล้ว พี่อาจจะฝืนมันไปได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าพี่ต้องอยู่ไปกับมันไปทั้งชีวิต ถ้าเลือกซิ่วใหม่พร้อมเด็ก 64 พี่ทบทวนตัวเองอีกทีนึงว่าความฝันในวัยเด็กตอนนี้มันยังคงเป็นความฝันของพี่อยู่อีกไหม แต่หนูแอบเชียร์อักษรมากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่พี่ชอบและถนัดด้วย เรื่องการทำงานก็กว้างได้หลายอาชีพ พี่จะเลือกอะไรเป็นคำตอบของพี่ หนูก็ขอให้พี่เชื่อในตัวเองและอดทนมากๆ ถึง ตอนนี้มันจะอยากลำบาก แต่ถ้าสิ่งที่พี่เลือกในตอนสุดท้ายมันจะทำให้พี่มีความสุขได้ มันก็เพียงพอแล้วให้กับทุกๆอย่าง หนูคิดว่างั้นนะ หนูก็อยากเข้าแพทย์ แต่ใจมันเอียงไปทางเภสัชมากเหมือนกันนะ เชียร์หนูด้วยนะ

0
bee0862532038 11 เม.ย. 63 เวลา 17:23 น. 14

ในความคิดส่วนตัว​

เลือกในสิ่งที่ใช่สำหรับตัวเรามากที่สุด​ค่ะ​เพราะเราต้องอยู่กับมันไปอีกนานน้า อย่าได้แคร์ใครค่ะ​ (เลือกสิ่งที่เราอยู่ด้วยhappyที่สุด)​ แล้วลุยเลย!

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

Himawari Yukino 11 เม.ย. 63 เวลา 19:55 น. 16

ในความคิดส่วนตัวแล้วพี่คิดว่าทุกคณะทุกสาขาคือเรียนหนักเหมือนกันหมด มันขึ้นอยู่กับว่าเรายังสามารถที่จะทนและสู้ไปกับมันได้อยู่มั้ย ถ้ามันถึงจุดๆที่เราทนไม่ไหวแล้ว ยิ่งเรียนไปก็รู้สึกว่ามันยังไม่ใช่ตัวเรา ก็ลองถอยออกมาตั้งหลักแล้วสำรวจตัวเองว่าจริงๆแล้วเราถนัดอะไร เราชอบที่จะทำอะไร ลองคิดเพ้อไปให้ไกลๆเลยก็ได้(แต่ต้องอยู่บนความเป็นจริงนะ) ว่าเราจบตรงนี้แล้วเราจะได้ไปทำงานแบบนี้นะ เราสามารถที่จะอยู่ตรงนี้ได้และมีความสุขที่จะได้ทำงานตรงนี้มั้ย//เรื่องของการดรอปที่น้องพูดถึง น้องอาจจะกลับไปเก็บปี2ให้ครบจนจบก่อนก็ได้ถือว่ายืดเวลาคิดว่าควรจะซิ่วดีมั้ยหรือถ้ามันไม่ใช่จริงๆ ตัดสินใจแน่วแน่ที่จะซิ่วก็เอาเลยค่ะ

ไม่ก็ลองปรึกษาเพื่อนๆ ปรึกษาอาจารย์กับรุ่นพี่ให้เยอะๆเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจ//ตอนนี้น้องยังเลี้ยวกลับได้ค่ะ ไม่เหมือนพี่ที่ตอนนี้เรียนแฟชั่น สภาพคือจะกลายเป็นซอมบี้แล้ว55555 ความฝันตอนม.ปลายคือการได้เรียนภาษาญี่ปุ่นแต่ทางบ้านไม่สนับสนุน ทางเดินของพี่เลยดูไม่ค่อยมีความสุขไปกับมันเท่าไหร่จนเข้าข่ายจะเป็นโรคซึมเศร้าแล้วค่ะ

ฝากไว้ละกันค่ะ ลองคิดดูให้ดีๆว่าจริงๆแล้วเราอยากที่จะทำอะไรกันแน่

0
แบทแมน54 12 เม.ย. 63 เวลา 02:52 น. 17

ไปทางไหนที่มีความสุข แล้วไปให้สุดทาง คุณจะมีความสุขในทุกๆวัน มีความเป็นตัวของคุณเอง เขื่อมั่นในตัวเองในคณะที่เลือก เชื่อว่าคุณเป็นคนเก่ง

0
Unlimit 12 เม.ย. 63 เวลา 12:47 น. 18

ถ้าไม่ชอบจริงๆ ก็ออกก็ดีครับ เพราะเรียนต่อก็ทรมาน



แต่ถ้ายังไม่มีทางไปจริงๆ อาจจะลองใช้เวลาช่วงที่ดรอป ไปฝึกงาน ไปดูงานในสาขาต่างๆดูครับ


แต่ถ้าสุดท้ายไม่รู้จะยังไงก็เรียนต่อไปก่อนแล้วค่อยๆหาตัวตนก็ได้ครับ

0
ืnoon 12 เม.ย. 63 เวลา 15:22 น. 19

โอนหน่วยไปสาขาวิชาอื่น คณะอื่นได้ค่ะ ไม่ไหวอย่าฝืนเลย ตอนนี้ถือว่ายังไม่เสียเวลามากนักค่ะ

0
..... 14 เม.ย. 63 เวลา 15:24 น. 20

ลาออกเถอะครับ ปี3 4 5 6 หนักขึ้น

เรื่อยๆ เลือกที่เหมาะสมกับเราดีกว่า

ระดับนี้แล้ว เรียนอื่น ๆ อยู่แถวหน้าแน่นอน ไปต่อได้ดีครับ ดีกว่าเครียดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เห็นมาหลายคนแล้วครับ

0
เครียด 12 ส.ค. 64 เวลา 21:52 น. 21

ตอนนี้จขกท.เป็นยังไงบ้างคะ ได้ลาออกหรือยังคะ ตอนนี้เราเรียนเภสัชปี2แล้วมันทรมานมากๆอยากเรียนอักษรเคยสอบติดแล้วด้วยตอนปี1แต่พ่อไม่ยอมให้ลาออก ตอนนี้รู้สึกเหมือนตกนรกทั้งเป็นเลยค่ะไม่แรงใจมาอ่านหนังสือสอบเหมือนตอนปี1เลย

1
AzkuTzo 28 ก.ย. 64 เวลา 09:23 น. 21-1

ตอนนี้เรากลับมาเรียนปี 3 แล้วค่ะ เราดรอปไปลองทำอะไรหลายๆ อย่างในช่วงปีที่ผ่านมา ตอนนี้เราเลยกลับมาเรียนหมอด้วยความเข้าใจตัวเองมากขึ้น คาดหวังในตัวเองให้ไม่มากเกินไป และเอนจอยการใช้ชีวิตค่ะ

0