Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อาถรรพ์ในประวัติศาสตร์สยาม..... ไทยเสียกรุงแก่หงสาวดี

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์(พระเจ้าช้างเผือก)สวรรคตระหว่างครอง แผ่นดิน ครั้งที่ ๒ สมเด็จพระมหินทราธิราชพระราชโอรสก็ขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่ ๒ สืบแผ่นดิน แต่ทั้งๆ ที่มีศึก ประชิดติดเมือง สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินหาได้นำพาการศึกไม่ ประทับแต่ในพระราชวัง ไว้การ ทั้งปวงแก่ มุขมนตรี และ ท้าวพระยาแม่ทัพใหญ่ ต่อสู้กัน ตามสติปัญญา

โดยมีพระยารามเป็นผู้ทุ่มเทความรู้ความสามารถพลกำลังสู้ศึกเต็มที่ แต่ หนักเข้า ความคิดก็แตก กับ มุขมนตรี ไม่มีใครยอมเชื่อฟัง บังคับบัญชา พระเจ้าแผ่นดิน ก็มิทรงมาดูแลแต่อย่างใด การรบพุ่งกับ ข้าศึก จึงต่างฝ่ายต่างรบ ไม่มีแผนประสาน ถึงกระนั้นพระเจ้าหงสาวดี ก็มิอาจหักเข้าพระนครได้ ฤดูฝนก็ใกล้ เข้ามาจะลำบากแก่การเอาชนะ จึงคบคิดกับพระมหาธรรมราชา ตัดกำลังฝ่ายพระนคร โดยทำทีเป็น โอนอ่อน ผ่อนปรนไม่หักหาญเข้าพระนครซ้ำจะเป็นไมตรีด้วยดังเดิม เพียงแต่ให้ส่งพระยาราม มามอบ เท่านั้น เพราะการศึกครั้งนี้เกิดขึ้นจากสมเด็จพระเจ้าช้างเผือก กับ พระยาราม เป็นต้นเหตุ สมเด็จพระเจ้า ช้างเผือก สวรรคตแล้ว อยู่แต่ พระยาราม หาก ส่งตัวให้ก็จะยุติศึก และ เป็นไมตรีไทย

สมเด็จพระ มหินทราธิราช มิได้ทรงใส่พระทัย เรื่องการรบ ทรงสำราญอยู่แต่ใน พระราชวัง ตลอดมา เมื่อรับการติดต่อ เช่นนั้น ก็ทรงเรียกประชุมมุขมนตรีซึ่งต่างก็แตกกับพระยารามอยู่แล้ว จึงมีมติให้ทำตาม พระเจ้าหงสาวดี เพื่อศึกสงครามได้ยุติกันเสียที สมเด็จพระมหินทราธิราชจึงกระทำ ตามคำ พังเพยโบราณที่ว่า มือไม่พาย แต่เอาเท้าราน้ำ ส่งตัวพระยารามโดยการจองจำออกไปมอบพระเจ้าหงสาวดี โดยมีพระสังฆราช กับพระ ภิกษุอีก ๔ องค์ตามไปด้วย เมื่อรับ พระยารามแล้ว พระเจ้าหงสาวดีก็เล่นแง่ตามแผนการ คือให้สมเด็จ พระมหินทราธิราชกับท้าวพระยาผู้ใหญ่ออกไปถวายบังคมพระองค์ก่อน จึงจะเป็นไมตรีด้วยเมื่อ พระสังฆราชนำความมากราบทูลเงื่อนไขใหม่ ท้าวพระยาทั้งหลายก็ทูลยับยั้งว่าน่าจะเป็น เพทุบายของ พระเจ้าหงสาวดี วางแผนกุมตัว ท้าวพระยาผู้ใหญ่ทั้งปวงไว้แล้วส่ง ทัพเข้ามาเทครัว อาณาประชาราษฏร เป็นเชลย สมเด็จพระมหินทราธิราช ทรงเห็นด้วย จึงไม่ออกไปตามเงื่อนไขของหงสาวดี

พระเจ้าหงสาวดี รออยู่ถึง ๗ วันไม่เห็นฝ่าย ไทย ออกไป สวามิภักดิ์ ตามรับสั่ง จึงตรัสกับสมเด็จพระมหาธรรมราชา ที่ยอม สยบอยู่ด้วยนานแล้วว่าจะแต่งทัพเข้าไปปล้นเอาเมืองเหมือนเดิม แต่พระมหาธรรมราชาขอให้งด แผน ครั้งนี้ไว้ด้วยเหตุผล "ข้าพเจ้าจะเข่าไปแถลงการณ ์ทั้งปวง ให้พระเจ้า แผ่นดิน และ ท้าวพระยาผู้ใหญ่ เห็นแท้จะเป็นทางพระราชไมตรี อย่าให้ยากแก่สมณพราหมณ์ประชาราษฏรทั้งหลาย" พระเจ้าหงสาวดี ก็ตรัสบัญชาให้ทำตามนั้น สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงเสด็จด้วย พระเสลี่ยงมายืนอยู่ตรงหน้า ที่พระมหา เทพ ร้องเรียกเจ้าหน้าที่ เข้าไปรับ จะมาระงับการแผ่นดิน พระมหาเทพ ไม่ไว้ใจ พระมหาธรรมราชา อยู่แล้ว จึงสั่งให้เจ้าหน้าที่ยิงปืนใหญ่น้อยออกไปพระมหาธรรมราชา ต้องโดดลงจากพระเสลี่ยง ขุนอินทรเดชะ เข้าแบก พระองค์วิ่งกลับออกมา จากนั้นก็ เข้าเฝ้าถวายรายงานแก่ พระเจ้าหงสาวดีถึงเหตุที่ เกิดยัง ความพิโรธ โกรธแค้น รับสั่งให้ระดมพลเข้าตีพระนครทั้งวันทั้งคืน ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระศรีเสาวราชถือพลหมื่นห้าพันตั้งเป็นกองกลางอยู่ท้องสนามหลวง ถ้า เจ้าหน้าที่มาทูลว่าศึกหนักด้านใดก็จะส่งทหารไปช่วยโดยมิได้กราบทูลพระราชบิดาก่อนเพราะเกรงจะช้ามิทันกาล สมเด็จ พระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดิน ซึ่งมิได้เอาพระทัย ใส่ การศึกอยู่แล้ว ได้ รับรายงานว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ทรง ปฏิบัติการโดยพระองค์เอง มิได้แจ้งมาให้ทรงทราบก่อน ก็เกิดแคลงพระทัย ว่าการกระทำตามอำเภอใจนั้นจะเกิดเหิม เกริมหักแผ่นดินในภายหลัง จึงให้หาพระศรีเสาวราช เข้ามา แล้วสั่ง พระยาธารมานำตัวไป "ล้าง"เสียที่วัด

พระราม ความทราบถึงข้าราชการ นายทัพ นายกองทั้งหลาย ต่างก็เสียใจ ในการสั่ง ประหาร ลูกตัวเอง ของพระเจ้าแผ่นดิน อย่างหนัก ด้วยรู้ดีว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระศรีเสาวราช ทรงเอาใจใส่ใน การ ศึกป้องกัน พระนครมาโดยตลอด พระราชบิดาเจ้าแผ่นดิน เสียซ้ำ ไม่สนพระทัย เลย กลับ ระแวงสั่งประหาร แต่ทุกคนก็ต้องกัดฟันป้องกัน พระนคร จนสุด ชีวิต ด้วยความ รักลูกเมีย และแผ่นดิน ระหว่างศึกหนัก ขุนราชเสนา ขุนมหาวิไชย กับไพร่พลห้าสิบคน ที่นำ ศุภอักษร จากเมืองไทยไปถวาย ขอกำลังทัพ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตมาช่วยกระหนาบทัพหงสาวดี ได้ขึ้นไปถึง จุดหมาย ถวายสาส์นเป็นที่ เรียบร้อย พระเจ้ากรุงศรีฯ ทรงเป็นไม้เบื่อไม้เมา กับ พระเจ้าหงสาวดีกับ สมเด็จพระมหาธรรมราชาอยู่แล้ว จึงทรงยกพลลงมาโดยมิรั้งรอ กระทั่งถึงด่านเมืองนครไทย ชาวด่าน ก็รีบส่งข่าวถึง สมเด็จพระมหาธรรมราชาให้ทรงทราบ

เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชา นำความกราบทูล พระเจ้าหงสาวดี จึงปรึกษากันโดย ถามพระยารามผู้ตกเป็นเชลยว่า พระเจ้ากรุงศรีฯ ยกทัพมาเอง หรือ ประการใด พระยารามก็แจ้งถึงมูลเหตุ สมเด็จพระมหินทราธิราชรับสั่งให้เขามีหนังสือแจ้งไปขอ กองทัพ มาช่วย พระเจ้ากรุงศรีฯ รับศุภอักษร แล้วจึงยกทัพลงมา ช่วย พระเจ้าหงสาวดี ทราบความจึงตรัสว่า ถ้าปล่อย ให้ทัพ ล้านช้างลงมาใกล้ จะทำให้ชาวพระนครแข็งมือขึ้น จึง ทรงวางอุบายให้สมเด็จพระมหา ธรรมราชา กับ พระยารามเอาช่างมีฝีมือมาแกะ ตราให้เหมือนตราราชสีห์ ของ สมเด็จพระมหินทราธิราช แล้วแต่ง เป็นศุภอักษรทำนองว่า ทัพหงสาวดีกำลังขาดเสบียง จวนเลิกถอยอยู่แล้ว ขอให้ เร่งทัพลงมา กระหนาบจะได้ชัยชำนะโดยง่าย แต่งศุภอักษรเสร็จ ประทับ ตราราชสีห์ปลอม ที่แกะขึ้น มอบให้ไทย ที่มีสติ ปัญญานำไปถวาย พระเจ้ากรุงศรีฯที่กำลังจะมาถึงสระบุรี แล้วให้พระมหาอุปราชายกพยุหยาตราไปทาง บก ตามแนวน้ำป่าสักฟากตะวันออกวางพลซุ่มไว้ใกล้เมืองสระบุรีทั้งสองฟากน้ำ

พระเจ้ากรุงศรีฯรับ ศุภอักษรปลอม ก็มิได้ใช้วิจารณญาณ ว่าเอกสารจริงหรือปลอมรีบเร่งยกทัพมาเมืองสระบุรีหมายตี กระหนาบ ครั้นถึงตำบลหมากสองต้น ยังไม่ทันได้ตั้งตัวก็ถูก กองทัพพระมหาอุปราชา ที่ซุ่มอยู่จู่โจม กระหน่ำรี้พลเจ็บและตายเป็นอันมาก พระเจ้ากรุงศรีฯต้องขึ้นช้างหนีไป ทัพพระมหาอุปราชา ไล่ติดตาม ยึดพลยึดช้างม้ามาถวาย พระเจ้าหงสาวดี นับร้อยๆ พระเจ้าหงสาวดีจึงปล่อยเชลยล้านช้างเข้าพระนคร แจ้งเหตุให้ชาวพระนครทราบถึงความสูญเสีย สมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดิน นายทัพนายกอง ฝ่ายไทย แจ้งข่าวเสียทัพพระเจ้ากรุงศรีฯก็เศร้าหนัก พระเจ้าหงสาวดี คบคิดกับสมเด็จพระมหาธรรมราชา จะหักเอาพระนครให้ได้พระมหาธรรมราชาจึงเรียกพระยาจักรีเข้ามาให้ สาบาน ตนแล้วตรัสความลับ จะส่งไปเป็นไส้ศึกเข้าไปในพระนครบ่อนทำลายกำลังภายในเปิดประตูเมืองรับกองทัพ พระเจ้า หงสาวดี เมื่อเสร็จศึกแล้ว จะปูนบำเหน็จ เต็มที่ พระยาจักรีก็รับสนอง พระคุณจนกว่าสิ้นชีวิต "แผนบ่อนทำลาย" จึงเดินหน้าทันที โดยพระเจ้าหงสาวดี อุบาย ให้เอาพระยาจักรี มาลงอาญาแล้วจำไว้ให้พม่ามอญราว ๓๐ คน ควบคุม ตัวอยู่ ๕-๖ วัน

 สมเด็จพระมหาธรรมราชา ส่งคนลอบเข้าไปปล่อย พระยาจักรี เข้าพระนคร ทั้งที่ยังจองจำอยู่ โดยเข้าทาง ด้านหน้าที่พระยาธารมา รักษาการตรงวัดสบสวรรค์ในช่วงเวลากลางคืน รุ่งขึ้นพระเจ้าหงสาวดี ทำเป็น ค้นหาพระยาจักรีทุกกองทัพ เมื่อไม่พบก็ให้เอาผู้คุม ๓๐ คน ตระเวนรอบ กองทัพ ฐานละเลยปล่อยพระยาจักรี หนีไป ได้แล้วประหารชีวิต เสียบประจานหน้าค่ายวัดสบสวรรค์ ของ พระยาธารมา ซึ่งได้นำตัวพระยาจักรีเข้าเฝ้า สมเด็จพระ มหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินสำคัญว่า พระยาจักรี หนีมาจริง ก็ยินดีช่วยถอดเครื่องจองจำ ปูนบำเหน็จรางวัลเป็นอันมาก มอบหมาย ให้บังคับการรบ ป้องกัน พระนคร พระราชทานอาญาสิทธิ์แห่งเครื่องสูง ปี่กลองชนะแตรสังข์ ประโคน เที่ยวตรวจหน้าที่ พระยา จักรีก็จัดค่ายคูประตูหอรบ ปฏิบัติการจริงจังได้เดือนหนึ่งจากนั้นก็พาลถือ อาญาสิทธิ์เอาผิด กับนักรบ ที่เข้มแข็งหาว่าละหน้าที่ แล้วเอา พลเรือนไม่เป็นการรบ มาทำแทน สับเปลี่ยนจนกำลังรบอ่อนยวบลง แล้วลอบส่งหนังสือนัดหมายให้พระเจ้าหงสาวดี ยกทัพเข้ามา ในวันศุกร์แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๙ เมื่อ พระเจ้าหงสาวดี กระทำ การตามนัดหมายก็เข้ายึดพระนครได้ สำเร็จเรียบร้อย ในวัน เสาร์ แรม ๑๑ ค่ำเดือน ๙ ศักราช ๙๑๘ ปีมะโรง อัฐศก (พ.ศ. ๒๐๙๙) เพลาเช้า สาม นาฬิกา ไทยต้องเสียแผ่นดิน ในครั้งนั้นด้วยอาถรรพณ์อันเกิดจาก ความแตกแยก ความ สามัคคี โลภโมโทสัน ระแวงแข็งขึ้น ต่อกัน นั่นเอง

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น