โอกาสเก็บพอร์ต! สสส. ชวนส่งไอเดียและผลงาน “นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ” ในการประกวด Prime Minister’s Award for Health Promotion Innovation 2023

สสส. เชิญชวน ส่งไอเดียและผลงาน “นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ” 
ในการประกวด Prime Minister’s Award for Health Promotion Innovation 2023

สสส. เชิญชวน เยาวชนคนรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการ Startup และภาคีเครือข่าย สสส.ส่งไอเดียและผลงาน “นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ” ในการประกวด  Prime Minister’s Award for Health Promotion Innovation 2023 ชิงรางวัลรวมมูลค่ากว่า 700,000 บาท พร้อมโอกาสในการพัฒนาและต่อยอดนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง

 

ที่มา

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมุ่งแก้ไขต้นแหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนไทย และสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่หลากหลาย ทั้งสิ่งประดิษฐ์ กระบวนการ บริการ ที่สร้างคุณค่า สามารถช่วยแก้ปัญหาสุขภาพและช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะอย่างยั่งยืน

การประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ Prime Minister’s Award for Health Promotion Innovation 2023 เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานด้านนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ เยาวชน ประชาชนทั่วไป กลุ่มธุรกิจ Startup และภาคี สสส. ที่สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่สามารถต่อยอด และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อค้นหานวัตกร ได้แก่ เยาวชน ประชาชนทั่วไป และภาคี สสส. ที่สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่สามารถต่อยอด และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
  2. เพื่อบ่มเพาะและเพิ่มทักษะความรู้ความสามารถของผู้เข้าร่วมประกวดด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม และเพิ่มความเข้าใจในการต่อยอดผลงานให้สามารถเกิดขึ้นได้จริง
  3. เพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพในการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ สามารถนำไปดำเนินการได้จริง และมีแนวทางการต่อยอดขยายผล

ประเภทการประกวด แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  • ประเภทที่ 1 มัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ประเภทที่ 2 อาชีวศึกษา (ปวช. หรือเทียบเท่า)
  • ประเภทที่ 3 ประชาชนทั่วไป และกลุ่ม Startup
  • ประเภทที่ 4 ภาคีเครือข่าย สสส.

. . . . . . . . .

ประเภทที่ 1 มัธยมศึกษาตอนปลาย 
และกลุ่มที่ 2 อาชีวศึกษา (ปวช. หรือเทียบเท่า)

โจทย์การประกวด

        “นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ที่ช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยง หรือส่งเสริมให้คนมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย”

 

หัวข้อย่อย (เลือกทำเพียง 1 ข้อ)

  • ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่
  • ลดอุบัติเหตุและสร้างเสริมความปลอดภัยทางถนน
  • เพิ่มการบริโภคผักผลไม้ และอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
  • เพิ่มกิจกรรมทางกาย หรือ ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
  • สร้างเสริมความเข้าใจสุขภาวะทางเพศ
  • การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
  • สร้างเสริมสุขภาพจิต และจัดการอารมณ์และความเครียด

คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด

  1. เป็นทีมจากสถาบันการศึกษาเดียวกัน ทีมละ 3 คน และมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำทีม 1 คน
  2. ไอเดียที่ส่งเข้าร่วมประกวดต้องสามารถพัฒนาและทดสอบเบื้องต้นได้จริง
  3. สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดโครงการ

* ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย จะได้รับเกียรติบัตรและงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาผลงานทีมละไม่เกิน 10,000 บาท

. . . . . . . . .

ประเภทที่ 3 ประชาชนทั่วไป 
และกลุ่ม Startup

โจทย์การประกวด

เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับกลุ่มผู้ขาดโอกาสการเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาพ 
เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ แรงงานนอกระบบ เป็นต้น

 

กลุ่มการประกวด

  1. กลุ่มไอเดียนวัตกรรม : แนวคิดที่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นจริง พัฒนาเป็นต้นแบบเพื่อนำไปทดสอบ หรือ ทดลอง (Proof of Concept) ได้
  2. กลุ่มต้นแบบนวัตกรรม (Startup) : มีต้นแบบของผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการ หรือบริการ ที่มีการใช้จริง หรือออกสู่ตลาดแล้วไม่เกิน 3 ปี และต้องการพัฒนา ต่อยอด และขยายผลการใช้งาน

 คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด

  • เปิดรับสมัครเป็นทีม ทีมละไม่ต่ำกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน
  • หากเป็นกลุ่ม Startup ต้องอยู่ในระยะก่อตั้งธุรกิจหรือจัดตั้งบริษัทจำกัดแล้ว ไม่เกิน 3 ปี
  • สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดโครงการ
  • ผลงานที่จะส่งเข้าประกวด ต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยได้รับทุนสนับสนุนจาก สสส.

*ทีมที่ผ่านเข้ารอบจะได้รับงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาผลงาน

. . . . . . . . .

ประเภทที่ 4 
ภาคีเครือข่าย สสส.

กลุ่มการประกวด

  1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์
  2. นวัตกรรมกระบวนการ
  3. นวัตกรรมพื้นที่ต้นแบบ
  4. นวัตกรรมเทคโนโลยีและระบบดิจิทัล

คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด

  1. ผู้รับทุน ที่เป็นโครงการหลัก หรือรับทุนโครงการย่อย ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป
  2. ผู้รับทุนโครงการย่อย ต้องมีชื่อผู้รับผิดชอบโครงการเป็นบุคคลอ้างอิง
  3. โครงการที่ปิดโครงการแล้ว ผลงานที่ส่งยังคงต้องดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง
  4. สามารถจัดทำคลิปนำเสนอผลงานความยาว 3 – 5 นาที ประกอบด้วย ชื่อผลงาน กลุ่มเป้าหมาย จุดเด่นของผลงาน และผลสำเร็จจากการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ โดยต้องเป็นคลิปที่ทำขึ้นมาใหม่เท่านั้น

. . . . . . . . .

วิธีการสมัคร

เตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อนที่จะกรอกข้อมูลการสมัคร และแนบไฟล์หลักฐานประกอบในระบบรับสมัคร ดังนี้

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารแนบ        

  • เอกสารแนบ(ถ้ามี) ให้ตั้งชื่อไฟล์เอกสารเป็น ชื่อทีม_ชื่อผลงาน_XXX เช่น 
    ชื่อทีม_ชื่อผลงาน_ภาพประกอบ, 
    ชื่อทีม_ชื่อผลงาน_ Flowchart, 
    ชื่อทีม_ชื่อผลงาน_ Pitch Deck, 
    ชื่อทีม_ชื่อผลงาน_ แผนการต่อยอดโครงการ เป็นต้น
  • รายละเอียดเอกสารแนบที่เป็นเอกสารกำหนดรูปแบบ .doc หรือ .docx หรือ .pdf
  • กลุ่มภาคีเครือข่าย สสส. คลิปนำเสนอผลงาน กำหนดให้อยู่ในรูปแบบ .mp4 ขนาดไม่เกิน 500 MB

กติกาการประกวด

  1. ผู้เข้าร่วมทุกประเภทส่งผลงานเข้าประกวดได้เพียง 1 ผลงานเท่านั้น และต้องเป็นผลงานที่ไม่ได้อยู่ระหว่างการประกวดในโครงการอื่น หรือขอรับการสนับสนุนทุนจากหน่วยงานอื่น
  2. ผลงานที่ส่งประกวดต้องเป็นผลงานที่คิดค้น พัฒนาด้วยตนเอง หรือต่อยอดจากงานเดิมที่มีอยู่ โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบจากผู้อื่น ขอสงวนสิทธิ์เรียกคืนรางวัลทั้งหมด หากตรวจพบภายหลังว่าผลงานที่ส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลนั้นเป็นผลงานของผู้อื่น
  3. ผลงานที่ส่งประกวดต้องไม่เป็นผลงานที่ได้รับรางวัลระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ
  4. ห้ามนำผลงานหรือแนวคิดส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดของบุคคลอื่น หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมาส่งเข้าประกวด มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ์จากการประกวดทันที ผู้จัดการประกวดฯ ไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้นในกรณีที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หากผลงานที่ได้รับรางวัลเมื่อเผยแพร่แล้วมีบุคคลอื่นโต้แย้งทรัพย์สินทางปัญญาในผลงาน
  5. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องรับผิดชอบต่อทรัพย์สินทางปัญญาของข้อมูล ได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง คลิปวิดีโอ ซอฟต์แวร์ หรืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงานโดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา และมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน
  6. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
  7. สิทธิ์ความเป็นเจ้าของผลงานเป็นของผู้เข้าประกวดทั้งหมด โดย สสส. ขอสำเนาข้อมูลและสิทธิ์เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ทั้งระหว่าง และหลังสิ้นสุดโครงการฯ

*ผู้จัดการประกวดฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดและเงื่อนไขต่าง ๆ ของการประกวดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

. . . . . . . . .

วิธีการคัดเลือกและตัดสินการประกวด

1. ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย และประเภทอาชีวศึกษา (ปวช. หรือเทียบเท่า)

รอบที่ 1 การคัดเลือกจากข้อมูลตามใบสมัครและเอกสารประกอบ (Application Selection)

  • สสส. ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครจากข้อเสนอโครงการและเอกสารประกอบ โดยคัดเลือกให้เหลือประเภทละ 15 - 20 ทีม

รอบที่ 2 การคัดเลือกในรูปแบบ Pitching ครั้งที่ 1

  • ทีมผู้สมัครจะต้องนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพต่อหน้าคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในรูปแบบ Onsite โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงการนำเสนอ 5 นาที และช่วงการตอบข้อซักถาม 5 นาที เพื่อทำการคัดเลือกทีมที่ผ่านเข้ารอบ ระดับละ 8 - 10 ทีม
  • ทุกทีมที่ผ่านเข้ารอบ จะต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ โดยหลังจากสิ้นสุดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ แต่ละทีมจะได้รับงบประมาณในการพัฒนาผลงาน จำนวนทีมละ 10,000 บาท

รอบสุดท้าย การตัดสินการประกวดในรูปแบบ Pitching ครั้งที่ 2

  • ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้ง 2 ประเภท นำเสนอผลงานที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาพร้อมบรรยายแนวคิด วิธีดำเนินการต่อคณะกรรมการ โดยนำเสนอ 5 นาที คณะกรรมการ ถาม-ตอบ 5 นาที เพื่อตัดสินหาทีมที่ชนะในประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทอาชีวศึกษา (ปวช. หรือเทียบเท่า)

2.  ประเภทประชาชนทั่วไป

รอบที่ 1 การคัดเลือกจากข้อมูลจากใบสมัครและเอกสารประกอบ (Application Selection)

สสส. ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครจากข้อเสนอโครงการและเอกสารประกอบ แบ่งออกเป็น

  1. กลุ่มไอเดียนวัตกรรม จำนวนประมาณ 30 ทีม
  2. กลุ่มต้นแบบนวัตกรรม จำนวนประมาณ 30 ทีม

รอบที่ 2 การคัดเลือกจากการนำเสนอในรูปแบบ Pitching ครั้งที่ 1

ทีมผู้สมัครจะต้องนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในรูปแบบ Onsite โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงการนำเสนอ 5 นาที และช่วงการตอบข้อซักถาม 5 นาที ทั้งนี้ คณะกรรมการจะทำการคัดเลือกทีมผู้ผ่านเข้ารอบในแต่ละกลุ่ม ดังนี้          

  1. กลุ่มไอเดียนวัตกรรม ประมาณ 10 - 15 ทีม
  2. กลุ่มต้นแบบนวัตกรรม ประมาณ 10 - 15 ทีม

ทุกทีมที่ผ่านเข้ารอบจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพตามที่กำหนด และแต่ละทีมจะได้รับงบประมาณในการพัฒนาผลงานตามความเหมาะสม โดยกลุ่มไอเดียนวัตกรรม ได้รับงบประมาณทีมละไม่เกิน 70,000 บาท และกลุ่มต้นแบบนวัตกรรม ได้รับงบประมาณทีมละไม่เกิน 150,000 บาท

รอบสุดท้าย การตัดสินการประกวดในรูปแบบ Pitching ครั้งที่ 2

ทีมผู้สมัครจะต้องนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในรูปแบบ Onsite โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงการนำเสนอ 5 นาที และช่วงการตอบข้อซักถาม 5 นาที เพื่อคัดเลือกหาทีมที่ชนะในแต่กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มไอเดียนวัตกรรม 4 รางวัล และกลุ่มต้นแบบนวัตกรรม 4 รางวัล

 

3.   ประเภทภาคีเครือข่าย สสส.

รอบที่ 1 พิจารณาจากเอกสารรายงาน วิดีทัศน์ ข้อมูลผลงาน และหลักฐานเชิงประจักษ์ แบ่งออกตามประเภทของผลงานนวัตกรรม ดังนี้

  1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 3 – 5 ผลงาน
  2. นวัตกรรมกระบวนการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 3 – 5 ผลงาน
  3. นวัตกรรมพื้นที่ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 3 – 5 ผลงาน
  4. นวัตกรรมเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 3 – 5 ผลงาน

รอบตัดสิน ทีมผู้สมัครนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในรูปแบบ Onsite โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงนำเสนอ 5 นาที และช่วงตอบข้อซักถาม 5 นาที เพื่อหาทีมที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติตามประเภทของผลงานนวัตกรรม ดังนี้

  1. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 1 ผลงาน
  2. นวัตกรรมกระบวนการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 1 ผลงาน
  3. นวัตกรรมพื้นที่ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 1 ผลงาน
  4. นวัตกรรมเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 1 ผลงาน

. . . . . . . . .

ประเภทของรางวัล 

*รางวัลทั้งหมดในการประกวดยึดถือตามคำตัดสินของกรรมการ

1. ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย

  • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 60,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 50,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 40,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
  • รางวัลชมเชย เงินรางวัล 10,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
  • เกียรติบัตรมอบแก่สมาชิกทีมประกวดที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทุกคน

2. ประเภทอาชีวศึกษา (ปวช. หรือเทียบเท่า)

  • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 60,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1รางวัล)
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 50,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 40,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
  • รางวัลชมเชยเงินรางวัล 10,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
  • เกียรติบัตรมอบแก่สมาชิกทีมประกวดที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทุกคน

3. ประเภทประชาชนทั่วไป และ Startup

3.1 กลุ่มไอเดียนวัตกรรม

  • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 70,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1รางวัล)
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 50,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 30,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
  • รางวัลชมเชย เงินรางวัล 20,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)

3.2   กลุ่มต้นแบบนวัตกรรม

  • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1รางวัล)
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 70,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 50,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
  • รางวัลชมเชย เงินรางวัล 30,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)

4. ประเภทภาคีเครือข่าย สสส.

โล่ประกาศเกียรติคุณและเกียรติบัตร 5 รางวัล

. . . . . . . . .

กำหนดการประกวด

กำหนดการ

วันที่

เปิดรับสมัคร

    15 มิถุนายน – 25 กรกฎาคม 2566

กิจกรรม Open House (Facebook Live)

1 กรกฎาคม 2566

การคัดเลือกทีมผู้สมัคร 
- ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย และอาชีวศึกษา (Pitching รอบที่ 1)

12 สิงหาคม 2566

- ประเภทประชาชนทั่วไป และกลุ่ม Startup (Pitching รอบที่ 1)

10 สิงหาคม 2566

- ประเภทภาคี สสส. (พิจารณาเอกสารและจาก VDO)

11 สิงหาคม 2566

ประกาศผลทีมที่ผ่านเข้ารอบ 

16 สิงหาคม 2566

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ 

ปลายเดือนสิงหาคม – กันยายน 2566

การตัดสินรอบสุดท้ายโดยการนำเสนอต่อคณะกรรมการ

29 พฤศจิกายน 2566

พิธีประกาศผลและมอบรางวัล 

 30 พฤศจิกายน 2566

*ผู้จัดการประกวดฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ ของการประกวด โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ช่องทางสอบถามรายละเอียด & ติดตามความเคลื่อนไหว

ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์ - Columnist ข่าวประชาสัมพันธ์ภายในเว็บไซต์ Dek-D.com

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น