รู้จักจริงหรือไม่ "นิติกร" คืออะไร


           อัยการ ผู้พิพากษา ทนายความ นิติกร ที่ปรึกษาทางกฎหมาย Law firm เหล่านี้เป็นหนึ่งในวิชาชีพทางกฎหมาย ซึ่งก็หมายรวมทุกอาชีพที่ใช้ความรู้ทางกฏหมายเพื่อประโยชน์ต่อผู้อื่น อย่างอาจารย์สอนวิชากฎหมายก็ถือเป็นบุคคลหนึ่งในสาขาอาชีพนี้ การใช้คำว่า "วิชาชีพ" เป็นคำที่บอกว่า ผู้ซึ่งถือว่าประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย นอกจากความรู้ทางกฎหมายแล้ว ก็ยังต้องประกอบด้วยจรรยาบรรณแห่งอาชีพ มีความเที่ยงธรรม เที่ยงตรง ยึดมั่นและรักษาเกียรติยศแห่งกระบวนการยุติธรรม และที่ผู้จะประกอบอาชีพเหล่านี้ได้ต้องจบจากเอก/สาขานิติศาสตร์ ซึ่งอาจอยู่ในคณะนิติศาสตร์เอง หรืออาจสังกัดอยู่ในคณะทางสายสังคมศาสตร์ต่างๆ ก็ได้


 
       นิติศาสตร์ เป็นสาขาที่มีน้องๆ ชาว Dek-D.com สนใจกันในลำดับแรกๆ มีค่าคะแนนสูง ว่ากันว่าสอบเข้าก็ยาก เรียนก็ยาก แต่พอจบก็มีช่องทางการประกอบอาชีพที่มั่นคงดีทั้งในภาครัฐและเอกชน ซึ่งพี่เกียรติเชื่อว่า ต้องมีน้องๆ ที่สงสัยอยู่บ้างว่า จบนิติศาสตร์ทำอาชีพอะไรได้บ้าง นอกจากที่ว่าไปในบรรทัดแรกๆ แล้วอาชีพเหล่านั้นมีช่องทางการทำงานการอย่างไร ซึ่งส่วนหนึ่ง Dek-D.com ได้รวบรวมข้อมูลในการศึกษาต่อในสาขานิติศาสตร์ไว้แล้วใน "คณะในฝัน ส่วนของคณะนิติศาสตร์" แต่พี่เกียรติจะขอนำเสนอและพาน้องๆ ไปทำการรู้จักกันอาชีพหนึ่งที่เรียกว่าว่า นิติกร เพราะพี่เกียรติเชื่อว่าหลายคนคงต้องสงสัยว่านิติกรนี่มัน ทำอะไรได้บ้าง นิติกรอยู่ที่ไหน ต่างกับทนายหรือที่ปรึกษาทางกฎหมายหรือไม่ น้องๆ สงสัยหรือเปล่าไม่รู้ แต่พี่เกียรติสงสัยล่ะ ก็เลยจะ(บังคับ)ให้อยากรู้ไปด้วยกัน อิอิ



     นิติกร: Legal Officer คือ บุคคลดูแลงานด้านการศึกษา วางแผน วิเคราะห์ เขียนโครงการ วางระเบียบ ทำทุกอย่างตามหน้าที่และงานที่เกี่ยวข้องกับงานกฎหมายขององค์กร ทั้งในแง่การเสนอความเห็น และวิเคราะห์ปรับปรุงระเบียบของหน่วยงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์บ้านเมือง การทำงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างหน่วยงาน ระเบียบความเป็นธรรมของพนักงาน อาจต้องมีการประสานงานระหว่างหน่วยงาน หรือเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายให้คนภายนอกหน่วยงานเข้าใจด้วย จะว่าไปแล้วก็เหมือนตำแหน่งอื่นๆ หรือแผนกในบริษัททั่วไป อย่างพนักงานบัญชีก็ดูเรื่องรายรับรายจ่าย HR ก็ดูเรื่องรับสมัครงาน นิติกรก็ดูเรื่องงานกฎหมายของบริษัทนั่นแหละค่ะ


 
      ส่วนงานในตำแหน่งนี้จะมากจะน้อยหรือครอบคลุมภาระขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับระดับฝึมือและประสบการณ์ด้วย ถ้าเป็นนิติกรน้องใหม่ของหน่วยงานก็ต้องทำงานเอกสารจิ๊บๆ ยิบย่อยเพื่อฝึกงานไปก่อน ซึ่งตำแหน่งนิติกรนี้ที่มีประจำทั้งในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน แต่ในเอกชนนั้นอาจไม่มีตำแหน่งนี้ชัดเจน (หรือมีแต่ใช้ชื่ออื่นๆ) และหน่วยงานภาครัฐจะมีนิติกรประจำกระทรวง ประจำกรม ประจำสำนัก และเปิดรับกันหลายอัตรา มีเด็กจบใหม่สายนิติศาสตร์มุ่งเข้าไปทำในตำแหน่งดังกล่าวเพื่อสั่งสมประสบการณ์หรือลองงานๆ มากมาย มีทั้งอัตราลูกจ้าง และตำแหน่งราชการ   

       นิติกรต่างกับที่ปรึกษาทางกฏหมาย เพราะเป็นผู้ทำทุกงานด้านกฎหมายของหน่วยงานเลย ไม่ใช่แค่ให้คำปรึกษาเหมือนที่ปรึกษาทางกฎหมาย ก็สมชื่อ "นิติกร" เป็นมือกฎหมายของหน่วยงานค่ะ และก็ไม่ใช่ทนาย ไปว่าความเป็นตัวแทนหน่วยงานก็ไม่ได้ เพราะไม่มีตั๋วทนาย หรือ ใบอนุญาตว่าความ แต่ถ้าเป็นบริษัทเอกชนก็มักรับนิติกรที่มีตั๋วทนายด้วย เพื่อให้สามารถว่าความเพื่อบริษัทได้เลย ถ้าแบบนี้ก็ถือเป็นคุณสมบัติพิเศษ เงินเดือนก็จะสูงขึ้น เช่นเดียวกับนิติกรบางตำแหน่งของหน่วยงานราชการ ก็รับนิติกรผู้จบเนติบัณฑิตด้วย 
   ในหน่วยงานทางภาครัฐ ตำแหน่งงานนิติกรที่มีคนไปสมัครกันมาก ก็ตามหน่วยงานที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมสายตรงทั้งหลาย เช่น DSI ป.ป.ช. กฤษฎีกา ศาล แต่จริงๆ แล้ว กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (ในกระทรวงวัฒนธรรม) หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีนิติกรนะจ้ะ ไม่ว่าหน่วยงานไหนก็ต้องมีงานที่เกี่ยวข้องกับทางกฎหมายทั้งนั้นเลยจ้า


       ดังนั้น ถ้าใคร "งง" ว่า นิติกร คืองานอะไรกันแน่ ก็หวังว่าน้องๆ จะเข้าใจมากขึ้นนะคะ แต่ก่อนพี่ก็งงๆ เหมือนกัน แล้วตกลงนิติกรมันคือตำแหน่งอะไรแน่ๆ ฟังไม่เข้าใจ ไปอ่านข้อมูลที่ไหนก็บอกได้ไม่ชัดสักที คราวนี้ก็ได้รู้เสียที นิติกรเป็นงานที่น่าสนใจไม่น้อย การเติบโตในสายงานตำแหน่งนี้ของราชการซึ่งเป็นมาตรฐานที่สำนักงานข้าราชการพลเรือน  (กพ.) กำหนดไว้หลายระดับตั้งแต่ระดับปฎิบัติการจนถึงระดับทรงคุณวุฒิ ตามภาพนี้จ้า


       นิติกร เป็นหนึ่งในวิชาชีพทางกฎหมาย เป็นนักกฎหมายที่ทำหน้าที่งานวิเคราะห์ จัดการงานด้านกฎหมายของหน่วยงาน ดังนั้น นอกจากความรู้ด้านกฎหมายและ ยังต้องมีความชอบด้านการจัดการงานเอกสารพอสมควร เห็นว่านิติกรน้องใหม่ทั้งหลาย ต้องเคยผ่านการถ่ายเอกสาร ร่างเอกสาร และจัดทำเอกสารของหน่วยงานมาทั้งนั้นก่อนจะขึ้นไปเป็นนิติกรขั้นวางแผน ต้องรู้จักทำงานเป็นขั้นเป็นตอน มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ถ้าทำงานราชการก็ต้องรู้จักอ่อนโอนอ่อนน้อม ถ้าทำงานเอกชนก็ต้องเข้าใจระบบการขับเคลื่อนด้วยผลกำไร ทั้งยังมีโอกาสเรียนรู้งานต่างๆ ว่ากันว่างานพนักงานเจ้าหน้าที่สายนิติการของทุกหน่วยงาน จะได้รับความรู้พิเศษที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานนั้นๆ มากที่สุด เพราะต้องเข้าไปดูแลงานทางกฎหมายของทุกส่วนใน ต้องทำความรู้จักหน่วยงานของตนเองทุกซอกทุกมุม ยิ่งหน่วยงานมีประวัติศาสตร์ มีความสำคัญต่อบ้านเมือง หรือเกี่ยวข้องกับมูลค่าทางเศรษฐกิจมากขนาดไหน ก็ยิ่งมีเรื่องราวให้ได้เรียนรู้มากเท่านั้น ต้องรู้ภารกิจของหน่วยงานตนเเอง รวมถึงกฎหมายที่ใช้เป็นหลักและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และจำต้องนำมาวิเคราะห์และวางแผนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงานต่อไป เป็นนักกฎหมายสายงานฝีมือ ไม่ใช่งานฝีปากเหมือนทนายความเนอะ





 
ขอขอบคุณ
    พี่น้องโต๊ะปาล์มขวด คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
แหล่งข้อมูล,ภาพประกอบ:
   FB fan page:Law on Real
   flickr 
พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Karine!! et ~KiaT_T~ Community 15 พ.ย. 54 23:57 น. 5
รับทราบแล้วค่ะ ต้องขออภัยคุณปฐมพงศ์จริงๆ ที่อาจรู้สึกไม่พอใจกับคำที่เขียน เนื่องจาก จุดประสงค์ที่ใช้คำนี้ เพียงเพื่อต้องการเน้นย้ำให้ชัดเจนว่างาน "นิติกร" กับ "ทนายความ" เป็นงานที่ต่างกันเท่านั้น (ซึ่งเชื่อว่ายังมีหลายคนที่ไม่รู้จักงานสายนิติการ หรือคิดว่า นิติกรคือทนายความ)

นิติกรใช้ความรู้ด้านกฎหมายเพื่อหน่วยงานเป็นสำคัญ ในที่นี้ ใช้คำว่า "งานฝึมือ" แทนเพราะเน้นให้เห็นว่า นิติกรไม่ได้ออกว่าความ(ยกเว้นบางคนในบางหน่วยงาน) ไม่จำเป็นต้องมีฝีปากกล้าแบบทนายก็ได้ แต่มีความคล่องแคล่วในงานฎหมายและการจัดการ โดยเฉพาะด้านเอกสาร" แต่ทนายความต้องใช้ความรู้ทางกฎหมายในการว่าความ ซึ่งต้องใช้ทั้งประสบการณ์และฝีมืออย่างคุณกล่าวมาจริงๆ แต่สิ่งสำคัญด้วยก็คือฝีปากกล้า พูดเก่ง พูดเป็น จึงใช้สองคำนี้เทียบกัน ไม่ได้มีนัยใดๆ ในทางกล่าวลบและเปรียบด้านคุณภาพของสองอาชีพในวิชาชีพสายเดียวกันนี้ค่ะ (ไม่ได้หมายความว่า ทนายความไม่มีฝีมือ และในทางกลับกันก็ไม่ได้หมายความว่า นิติกรจะมีฝีปากกล้าเหมือนทนายไม่ได้ด้วย แค่เปรียบให้เห็นว่าสองงานมีลักษณะเด่นแตกต่างกันค่ะ ^_^)

อย่างไรต้องขออภัยมา ณ ที่นี้จริงๆ
0
กำลังโหลด

36 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
Sassy_SpooN Member 12 พ.ย. 54 00:48 น. 2

สิ่งท้าทายที่สุด ไม่ใช่การต่อสู้กับใคร แต่คือการต่อสู้กับ..."ตัวเอง"


เป็นสิ่งที่หวังสูงสุด ไม่มีคำว่าทำไม่ได้

ในพจนานุกรมของเรา เราจะเป็นคนพิสูจน์เองว่าเรา ทำได้!!

แล้วเจอกัน นิติศาสตร์ = ทนาย = ผู้พิพากษา = อัยการ ! สู้เว้ย!

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ปฐมพงศ์ 15 พ.ย. 54 14:05 น. 4
ผมอยากให้ผู้เขียน ช่วยค้นคว้าข้อมูล , ข้อเท็จจริงต่างๆ ให้รอบคอบก่อนทำการเขียนบทความนะครับ งานวิชาชีพของทนายความนั้น เน้นที่ฝีปาก ทักษะ ไหวพริบ ในการว่าความก็จริงอยู่ แต่ก็ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะก่อนการสืบพยานนั้น ก็จะต้องเตรียมคดี ไม่ว่าจะเป็นคำคู่ความต่างๆ ซึ่งจะต้องใช้ทักษะอย่างอื่น นอกจากที่คุณเรียกว่า " งานฝีปาก " แน่ๆ งานคดีที่เดิมพันกันตั้งแต่ระดับค่าเสียหายหลักแสน หรือหลักหมื่นล้าน ผมเชื่อว่าไม่มีทนายความคนไหนเค้าใช้แค่ฝีปากหรอกครับ เพราะก่อนจะใช้ฝีปากได้นั้น มันก็มาจาก " ฝีมือ " และ " ประสบการณ์ " ที่สั่งสมมา บวกกับข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายในเรื่องนั้นๆ ก็ต้องเพียบพร้อม มิฉะนั้นแล้วอาจเกิดผลเสียต่อลูกความ และตนเองได้ เนื่องจากกระบวนการกฎหมายนั้น มีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ที่ละเอียดอ่อน และยุ่งยากเป็นอันมาก หากพลาดนิดเดียว ก็อาจถูกยึดใบอนุญาต รวมถึงอาจถูกฟ้องร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายได้
0
กำลังโหลด
Karine!! et ~KiaT_T~ Community 15 พ.ย. 54 23:57 น. 5
รับทราบแล้วค่ะ ต้องขออภัยคุณปฐมพงศ์จริงๆ ที่อาจรู้สึกไม่พอใจกับคำที่เขียน เนื่องจาก จุดประสงค์ที่ใช้คำนี้ เพียงเพื่อต้องการเน้นย้ำให้ชัดเจนว่างาน "นิติกร" กับ "ทนายความ" เป็นงานที่ต่างกันเท่านั้น (ซึ่งเชื่อว่ายังมีหลายคนที่ไม่รู้จักงานสายนิติการ หรือคิดว่า นิติกรคือทนายความ)

นิติกรใช้ความรู้ด้านกฎหมายเพื่อหน่วยงานเป็นสำคัญ ในที่นี้ ใช้คำว่า "งานฝึมือ" แทนเพราะเน้นให้เห็นว่า นิติกรไม่ได้ออกว่าความ(ยกเว้นบางคนในบางหน่วยงาน) ไม่จำเป็นต้องมีฝีปากกล้าแบบทนายก็ได้ แต่มีความคล่องแคล่วในงานฎหมายและการจัดการ โดยเฉพาะด้านเอกสาร" แต่ทนายความต้องใช้ความรู้ทางกฎหมายในการว่าความ ซึ่งต้องใช้ทั้งประสบการณ์และฝีมืออย่างคุณกล่าวมาจริงๆ แต่สิ่งสำคัญด้วยก็คือฝีปากกล้า พูดเก่ง พูดเป็น จึงใช้สองคำนี้เทียบกัน ไม่ได้มีนัยใดๆ ในทางกล่าวลบและเปรียบด้านคุณภาพของสองอาชีพในวิชาชีพสายเดียวกันนี้ค่ะ (ไม่ได้หมายความว่า ทนายความไม่มีฝีมือ และในทางกลับกันก็ไม่ได้หมายความว่า นิติกรจะมีฝีปากกล้าเหมือนทนายไม่ได้ด้วย แค่เปรียบให้เห็นว่าสองงานมีลักษณะเด่นแตกต่างกันค่ะ ^_^)

อย่างไรต้องขออภัยมา ณ ที่นี้จริงๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เเตงโม 11 ก.ค. 55 12:54 น. 11
เรียนเเล้วนิติยุปี1 กำลังเรียนเข้าพื้นฐาน ที่สำคัญเรียนกะท่านอดีตอัยการสูงสุดด้วยละ เราก้อจะตั้งจัยเรียนที่สุด
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Numnoy 2 ธ.ค. 55 18:45 น. 17
เราเรียนนิติก็ไม่ได้ต่างจากหนอนตัว1เพราะว่าเราตอ้งอยู่กับหนังสือตลอด อ่านไปเพื่อ อัยการ 555
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด