6 เคล็ดลับ!! ทำรายงานให้เป็นเรื่องง่าย ได้คะแนนดี๊ดี

          ชีวิตจริงนักเรียนไทย มีเรื่องลำบากอีกเยอะะ!! ไหนจะต้องเรียนหนักเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว ยังต้องทำรายงาน สบายหน่อยก็เทอมละ 1 เล่ม แต่บางระดับชั้นมีรายงานทุกวิชาเลยทีเดียว เล่นเอาเครียดกว่าสอบปลายภาคอีก ว่ามั้ยคะ?

            แล้วรายงานมีความสำคัญพอที่เราควรเครียดขนาดนั้นหรือเปล่า? บางคนอาจจะบอกว่าทำๆ ไป ขอแค่มีส่ง ไม่ติด ร. มผ. ให้อายญาติพี่น้องก็พอ แต่ความจริงหากน้องๆ ขยันอีกนิด พวกรายงานต่างๆ จะเป็นฮีโร่ช่วยชีวิตให้ได้สัมผัสเกรดที่ดีขึ้นได้นะ แม้ว่าจุดประสงค์หลักของการทำรายงานคือ ให้น้องๆ รู้จักค้นคว้าเพิ่มเติม แต่จุดประสงค์รองก็คือ เป็นตัวเติมเต็มคะแนนเก็บเพื่อประเมินผลปลายภาค บางคนสอบได้คะแนนไม่ดีเท่าไหร่หรอกค่ะ อาศัยว่าทำงานส่งตลอด เกรดก็ออกมาหรูหราอู้ฟู่ได้ และวันนี้พี่มิ้นท์ก็มีเคล็ดลับดีๆ ในการทำรายงาน ให้ออกมาดีเริ่ด สมบูรณ์แบบค่ะ (แค่ทำรายงานก็ต้องมีเทคนิคเหมือนกันนะ^^)

  เคล็ดลับที่ 1 : วางโครงเรื่องให้น่าสนใจ
           สำหรับนักเขียนจะรู้ดีว่าโครงเรื่องสำคัญมากๆ เพราะเป็นแนวทางให้คนเขียนรู้ว่าต้องเขียนอะไรต่อไป ตรงไหนสัมพันธ์กับตรงไหน เป็นลำดับขั้นตอนที่ต่อเนื่อง แต่น้องๆ ในฐานะนักเรียน การเขียนโครงเรื่องรายงานก็เป็นเรื่องจำเป็นค่ะ เพื่อให้รายงานของเรามีเนื้อหาครอบคลุม ไม่หลุดประเด็นสำคัญ

           ยกตัวอย่างเช่น จะทำรายงานเรื่องขนมไทย ถ้าไม่วางโครงเรื่องเลย บางคนก็เขียนงงๆ วกไปวนมา เผลอๆ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าหัวเรื่องนี้ต้องเขียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง รายงานที่ออกมาก็จะไม่ได้เรื่องตามไปด้วยค่ะ แต่ถ้ากำหนดโครงเรื่องก่อนลงมือทำ จะเขียนเป็นเสต็ปขึ้น จากตัวอย่างนี้ ให้น้องๆ นึกมาเลยว่าสามารถเขียนอะไรเกี่ยวกับขนมไทยได้บ้าง เช่น ขนมไทยคือ?, ชนิดของขนมไทย, ประวัติของขนมไทย, วิธีทำขนมไทย, ขนมไทยที่ชาวต่างชาติชอบ, ส่วนผสมหลักของขนมไทย ฯลฯ เมื่อคิดได้ก็ค่อยๆ มาเรียงลำดับความสำคัญว่าหัวข้อไหนควรขึ้นก่อน-หลัง เสียเวลากำหนดโครงเรื่องแป๊บเดียว ช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้นอีกเยอะ
    

  เคล็ดลับที่ 2 : ข้อมูลได้มาด้วยการค้นคว้า ไม่ใช่ copy & paste
          อย่างที่บอกไปตอนต้นว่าจุดประสงค์ของการทำรายงานคือให้น้องๆ ค้นคว้าด้วยตัวเอง แต่มันจะมีประโยชน์อะไรถ้าทำรายงานด้วยการเอาหัวข้อไปวางใน google แล้วก็อปปี้เนื้อหาในเว็บต่างๆ ส่งคุณครู มั่นใจว่าคนที่ทำแบบนี้อยู่ บางทียังไม่ได้อ่านเลย แค่เจอหัวข้อตรงกันก็ก็อปมาส่งครูทันที ใครที่คิดว่าคุณครูไม่รู้ คิดผิดแล้วนะคะ ของแบบนี้พิสูจน์กันง่ายค่ะ แค่เอาข้อความในรายงานมาเสิร์ชหาดู บางทีขึ้นมาเป็นสิบๆ เว็บไซต์ ถ้าโชคร้ายหน่อยดันเป็นเว็บไซต์เดียวกับเพื่อน จนรายงานเหมือนกันเด๊ะ แบบนี้ระวังคะแนนรายงานกลายเป็น 0 ตัวแดงๆ นะคะ

          แล้วทีนี้ต้องหาข้อมูลยังไงดีล่ะ? ก่อนอื่นพี่มิ้นท์ไม่ได้ห้ามใช้ google นะคะ แต่ต้องใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ คือ เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ให้อ่าน จับใจความสำคัญ และเรียบเรียงให้เป็นแบบฉบับของตัวเอง ที่สำคัญคือ ควรหาแหล่งอ้างอิงจากหลายๆ ที่ ทั้งอินเทอร์เน็ต หนังสือในห้องสมุด หนังสือพิมพ์ วารสารต่างๆ เอาที่สะดวกค่ะ เพราะข้อมูลมีการอัพเดทได้ตลอด เพียงเท่านี้น้องๆ ก็จะได้เนื้อหารายงานที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และยังได้ความรู้แบบเต็มๆ เพราะได้ค้นคว้าอย่างสุดกำลัง

          นอกจากนี้จะให้รายงานเราน่าสนใจ ก็ใส่รูปหรือข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ตาราง แผนภูมิ ประกอบด้วยก็ได้จ้า

 
เคล็ดลับที่ 3 : บทสรุปต้องอ่านแล้วร้องอ๋อ..
          เนื้อหารายงานเป็นส่วนที่ต้องอธิบายชัดเจนที่สุด เนื้อหาเจาะลึกที่สุด แต่ส่วนสรุปที่อยู่ตอนท้ายจะเป็นส่วนที่ขมวดทุกอย่างในรายงานให้เหลือใน 1 หน้าพร้อมเสนอข้อแนะนำ ดังนั้นบทสรุปจึงต้องเป็นส่วนที่กระชับ ชัดเจน อ่านรอบเดียวสามารถรู้ได้ว่าทั้งรายงานพูดถึงอะไร เกี่ยวกับอะไรบ้าง แล้วผลที่ได้เป็นยังไงบ้าง หากน้องๆ ยังไม่เข้าใจวิธีเขียน ลองเปิดหนังสือเรียน เช่น วิชาสังคมฯ วิชาวิทยาศาสตร์ ดูได้ค่ะ เพราะในแต่ละบทจะมีองค์ประกอบครบ ทั้งส่วนเกริ่นเรื่อง - เนื้อเรื่อง  - สรุป เป็นตัวอย่างที่ดีที่ให้น้องๆ ศึกษาวิธีการเขียนรายงานได้

         และถ้าน้องๆ สามารถสรุปใจความของรายงานได้ดี ก็ยิ่งได้เปรียบ รายงานของเราจะดูน่าสนใจขึ้นด้วย

   เคล็ดลับที่ 4 : อย่าละเลยเรื่องภาษา
         น้องๆ เรียนไปแล้วว่าภาษาไทยนั้นมีหลายระดับ พิธีการ-ทางการ-กึ่งทางการ-ไม่ทางการและระดับกันเอง ซึ่งภาษาแต่ละขั้นใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน แล้วภาษาแบบไหนที่เหมาะสำหรับการเขียนรายงาน? พอจะรู้คำตอบกันมั้ย

         ภาษาที่เหมาะสมสำหรับการเขียนรายงานเชิงวิชาการ จะใช้ภาษาระดับทางการนะคะ จะมา "ชั้น" เทอ" "หรา" "จุงเบย" ไม่ได้ หรือแม้แต่คำธรรมดาๆ ก็ต้องเขียนลักษณะเป็นทางการ เช่น "อย่างไร" "เมื่อไร" เป็นต้น ฉะนั้นอย่าไปเผลอเขียนภาษาที่ใช้คุยกับเพื่อนนะคะ ไม่อย่างนั้นคุณครูปวดหัวแน่ๆ เลย

   เคล็ดลับที่ 5 : ต้องดูดีทั้งภายนอกและภายใน
        ภายในก็คือตัวรายงานของน้องๆ ดังนั้นภายนอกก็คือ รูปแบบตัวเล่มรายงานนั่นเองค่ะ ส่วนของรูปเล่มรายงานก็สำคัญนะคะ

        สำหรับการจัดรูปเล่ม องค์ประกอบสำคัญๆ จะต้องมี หน้าปก กระดาษรองปก(กระดาษ A4 สีขาว) คำนำ สารบัญ ส่วนด้านหลังก็จะมีกระดาษรองปกและปกหลังค่ะ ถ้าจะให้ดีมีแผ่นใสปิดหน้า-หลัง เพิ่มความเรียบร้อยอีกนิดนึง ซึ่งความดูดีในความหมายของรายงานวิชาการจะเน้นที่ความสะอาด เรียบร้อย ไม่จำเป็นต้องมีเฟอร์นิเจอร์มาตกแต่งหน้าปกมากมาย อย่างเรื่องหน้าปก น้องๆ จะชอบเลือกหน้าปกลายน่ารักๆ แต่ก่อนพี่มิ้นท์ก็เป็นนะคะ เดินเข้าร้านเครื่องเขียน ยิ่งลายรกเท่าไหร่ยิ่งชอบ โดเรมอนเกาะขอบมา 4 มุม โอ๊ย ยิ่งถูกใจค่ะ จนสุดท้ายมีอาจารย์มาแนะนำว่า การทำรูปเล่มรายงานที่เหมาะสม ควรเน้นความเรียบร้อย สุภาพมากกว่า อีกอย่างหน้าปกเรียบๆ สีเดียวก็ราคาถูกกว่าแบบลายด้วย ส่วนเรื่องกลิ่นไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ค่ะ ไม่ได้ช่วยให้คะแนนเพิ่มขึ้น :P

  เคล็ดลับที่ 6 : รายงานที่ดี ต้องมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
          ก่อนอื่นต้องถามก่อนว่า น้องๆ รู้จักบรรณานุกรมหรือเปล่า?  บรรณานุกรม คือ ส่วนท้ายของรายงาน เป็นส่วนที่บอกรายชื่อเอกสารอ้างอิงที่นำมาใช้ในการทำรายงาน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้งานของเราและเป็นการให้เกียรติกับแหล่งข้อมูลของเราด้วย ดังนั้นบรรณานุกรมจึงไม่ใช่ www.google.com นะคะ (เจอน้องๆ อ้างอิง www.google.com บ่อยจนน่าตกใจ  google เป็นแค่ที่สืบค้นแต่ไม่ใช่แหล่งข้อมูลนะคะ)

         แล้วการเขียนบรรณานุกรมเขียนยังไงล่ะ?
         การเขียนบรรณานุกรมในรายงานวิชาการ แต่ละสถาบัน/องค์กร จะมีส่วนที่ต่างกันนิดหน่อย แต่โดยรวมจะคล้ายๆ กัน คือ

 
แหล่งข้อมูลจากหนังสือ มีวิธีเขียนดังนี้
       ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

  เช่น  นางสาวปิดเทอม เดือนหน้า.  (2550). วิธีเขียนรายงานวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เด็กดี.

  
แหล่งข้อมูลจากเว็บไซต์ มีวิธีเขียนดังนี้
       ชื่อผู้เขียน. (ปีที่เขียน). ชื่อเรื่อง. เข้าถึงได้จาก: URL (วันที่สืบค้นข้อมูล: ว/ด/ป).

  เช่น  นางสาวปิดเทอม เดือนหน้า. (2550). วิธีเขียนรายงานวิชาการ. เข้าถึงได้จาก http://www.dek-d.com/education/ (วันที่สืบค้นข้อมูล 3 กันยายน 2556)

         หวังว่าการเขียนบรรณานุกรมที่ถูกต้องในรายงานวิชาการจะไม่ยากเกินไปใช่มั้ยคะ ลองพยายามฝึกเขียนดูนะ แม้ว่าส่วนนี้จะอยู่ท้ายเล่มรายงาน แต่ความสำคัญไม่เป็นสองรองใคร เป็นส่วนที่ทำให้รายงานสมบูรณ์แบบมากขึ้นแล้ว ยังทำให้คนที่อยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเข้าถึงแหล่งข้อมูลต้นฉบับได้อีกด้วย


         สุดท้าย มีคำแนะนำมาฝากเกี่ยวกับการเขียนคำนำค่ะ ในย่อหน้าสุดท้าย น้องๆ คงชินกับการเขียนว่า "หากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ทีนี้" ประโยคนี้อ่านรอบแรกเหมือนดูดี เป็นคนนอบน้อม แต่ขอบอกว่ามันไม่ควรเขียนเลยค่ะ!! เพราะรายงานที่ดีไม่ควรมีข้อผิดพลาดและแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพ จุดนี้อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยยืนยันมาเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ต้องใส่ในคำนำจ้า (หรือรอน้องๆ โตไปจะเข้าใจเองค่ะ^^)

         เอาล่ะ หวังว่าเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ในวันนี้จะมีประโยชน์กับชาว
Dek-D.com นะคะ ฝึกเรื่องเหล่านี้ให้เป็นนิสัย เพราะในอนาคตยังมีรายงานรอน้องๆ อยู่อีกหลายเล่ม (อุ้๊ย! พี่มิ้นท์พูดขู่น้องๆ ทำไมเนี่ย) หลังจากนี้จะได้ทำรายงานอย่างเป็นระบบ ระเบียบ และรายงานออกมาสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นค่ะ "รายงานดี คะแนนมา"นะคะ^^


 

พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

wasdaeyevy Member 3 ก.ย. 56 20:55 น. 1
"หากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ทีนี้" 


ใช้ทุกครั้งเวลาทำรายงานเลยค่ะ แหะๆ
ขอบคุณมากนะคะพี่มิ้นท์ ได้ความรู้การทำรายงานให้ถูกต้องเยอะเลย ^^
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

29 ความคิดเห็น

wasdaeyevy Member 3 ก.ย. 56 20:55 น. 1
"หากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ทีนี้" 


ใช้ทุกครั้งเวลาทำรายงานเลยค่ะ แหะๆ
ขอบคุณมากนะคะพี่มิ้นท์ ได้ความรู้การทำรายงานให้ถูกต้องเยอะเลย ^^
0
กำลังโหลด
ฮาฮา 4 ก.ย. 56 15:54 น. 2
"หากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ทีนี้"
ตอนเรียนวิชา ความเรียง ครูไม่ให้เขียน โดนว่ายับเลย = =
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
123 4 ต.ค. 56 19:32 น. 10
แต่ก่อนเราทำแบบนี้ตลอดเลยนะ ค้นคว้าเอง เรียบเรียงเอง แต่พอตอนตรวจ อาจารย์ดูแค่ชื่อเเล้วก็ติ๊กๆให้คะแนน ไม่มีการอ่านอะไรเลยใครส่งก็ได้แล้ว 10 คะแนน บางคนก๊อปปี้เเล้ววาง แต่ได้คะแนนเท่ากัน ตอนนี้เราเลยก๊อปแล้ววางอย่างเดียวเลย ไม่ต้องมานั่งค้น และเรียบเรียงเอง
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
dekmai 12 ก.พ. 57 19:00 น. 15
ขอบคุณครับสำหรับวิธีเขียน มีเวปหนึ่งเกี่ยวกับรูปแบบรายงาน ไงลองไปส่องกันนะครับ www.รูปแบบรายงาน.com
0
กำลังโหลด
Miss. Dangerous Member 18 มี.ค. 57 10:38 น. 16

เราเขียนทิ้งท้ายในคำนำว่า

"หากมีข้อเสนอแนะประการใด ผู้จัดทำขอรับไว้ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง"

ถือว่าไม่ควรใช่ไหมคะ T-Tเขิลจุง

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด