‘เขียนนิยายทุกวัน’ จะใช่วิธีที่ดีที่สุดสำหรับเราจริงเหรอ?


‘เขียนนิยายทุกวัน’ จะใช่วิธีที่ดีที่สุดสำหรับเราจริงเหรอ? 



สวัสดีชาวเด็กดีทุกคนค่ะ ‘คนเป็นนักเขียนต้องเขียนทุกวัน’ น้องๆ นักเขียนหลายคนคงจะเคยได้ยินคำนี้กันอยู่บ่อยๆ แล้วการลงมือเขียนทุกวัน จะเป็นวิธีที่ใช่ที่สุดสำหรับเราจริงไหม แล้วการเขียนทุกวันที่ว่านั้นจะต้องทำอย่างไร เดี๋ยววันนี้เราจะได้มาค้นหาคำตอบกัน

พี่เชื่อว่าน้องๆ นักเขียนทุกคนต่างมีวิธีการในการเขียนที่แตกต่าง และเฉพาะตัวกันอยู่แล้ว และสิ่งที่ใครคนหนึ่งว่าดี อาจจะไม่ได้ดีสำหรับเราไปซะทุกคน ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดในการวางแผนการเขียน คงจะเป็นเวลา, ทักษะ รวมถึงเรื่องราวที่เราอยากจะเล่า หรือถ้าใครกำลังล้มเหลวกับพฤติกรรมการเขียนของตัวเองกันอยู่ วันนี้พี่ก็ได้มีเคล็ดลับดีๆ มาฝากน้องๆ นักเขียนทุกคนกัน ส่วนเคล็ดลับที่ว่านั้นจะเป็นอะไร เราไปติดตามอ่านต่อกันได้เลยค่า


 


 


เราจะวางแผนการเขียนในแต่ละวันของเราได้อย่างไร


เราจะสังเกตได้ว่านักเขียนบางคนถนัดที่จะเป็นนักเล่ามากกว่านักเขียน ถนัดกับการสร้างโลกของตัวละคร วางแผนชีวิตของตัวละครมากกว่าที่จะลงมือเขียน หรืออย่างบางคนได้ใช้เวลาหมดไปกับการเขียนค่อนข้างมาก จนอาจจะทำให้ต้องหยุดกิจกรรมอื่นๆ เอาไว้ ก่อนจะหันมาทุ่มเทให้กับการเขียนอย่างจริงจัง
 
แต่ถ้าหากเราจริงจังมากจนเกินไป งานเขียนของเราก็ไม่ได้มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้น เพราะมันจะเต็มไปด้วยแรงกดดันรวมถึงความคาดหวัง หรืออาจจะแย่จนถึงขั้นเข็ดขยาดกับการเขียนไปเลยก็มี นักเขียนในกลุ่มนี้บางคนอาจจะหยุดเขียนเป็นเวลาหลายสัปดาห์เพราะหงุดหงิดที่อะไรๆ ไม่ได้ดั่งใจ รวมทั้งหงุดหงิดกับตัวเองที่ไม่สามารถลงมือเขียนได้เหมือนอย่างคนอื่นๆ ดังนั้นวิธีแก้ที่ดีที่สุดก็คือการหาแรงจูงใจในการพาตัวเองกลับเข้ามาสู่วงโคจรของการเขียนอีกครั้ง แต่ครั้งนี้จำเป็นที่จะต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เหตุการณ์มันวนลูปเหมือนอย่างที่เคยเป็นมาอีก


 

สาเหตุของความล้มเหลวในการเขียน


อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วว่า ‘การลงมือเขียนทุกวัน’ อาจจะไม่ใช่วิธีที่ตอบโจทย์สำหรับนักเขียนทุกคน แถมนี่ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ ‘ความล้มเหลวในการเขียน’ เกิดขึ้น แล้วนอกจากสาเหตุในข้อนี้แล้ว ยังมีสาเหตุอะไรอีกบ้างที่เป็นต้นเหตุของความล้มเหลวในการเขียน เรามาดูกันดีกว่าว่าจะมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจให้เราได้ศึกษาและระมัดระวังกันอีก
 
1. มันเป็นอะไรที่ยากที่จะลงมือทำ
นักเขียนบางคนอาจจะติดพันกับชีวิตประจำวันของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ทำงานประจำ เข้างานเช้า กลับบ้านดึก อาจจะส่งผลทำให้ไม่มีเวลาพอที่จะทุ่มเทให้กับการเขียนได้เลย หรือบางคนอาจจะเจอเข้ากับสถานการณ์ที่ชวนให้หงุดหงิด อาทิเช่น ฝนตก รถติด หรือเพิ่งทะเลาะกับแฟนมา สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้การลงมือเขียนเป็นอะไรที่ยากที่จะลงมือทำยิ่งกว่าเดิม ซึ่งเราเรียกสถานการณ์เหล่านี้ว่า ‘ความเป็นไปไม่ได้’ ที่คนเป็นนักเขียนไม่ได้คาดหวังอยากจะให้มันเกิดขึ้น แต่ถ้ามันเกิดขึ้นแล้วหายนะที่จะตามมาต่อไปนั่นก็คือ…
 
2. พอไม่ได้ลงมือทำแล้ว การวางแผนก็เป็นเรื่องยากขึ้นมาทันที
เมื่อชีวิตวุ่นวายจนทำให้เราพลาดที่จะลงมือเขียน ความรู้สึกผิดก็ได้ก่อตัวขึ้นมาแทนที่ จนอาจจะทำให้คนเป็นนักเขียนมีความคิดที่ว่า ‘เราดีพอไหมที่จะเป็นนักเขียน’ ‘ทำไมเราถึงเขียนอย่างคนอื่นไม่ได้’  แต่ชีวิตคนเรามันก็เป็นอย่างนี้นี่แหละ มีทั้งสิ่งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่คนเป็นนักเขียนควรจะทำก็คือ การใช้เวลาอยู่กับตัวเอง ใช้เวลาหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ และสิ่งสำคัญที่สุดก็คืออย่ามัวพะวงกับการเขียนมากจนเกินไป หันมาใส่ใจความรู้สึกของตัวเองบ้าง แต่บางครั้งความกังวลของคนเป็นนักเขียนอย่างเรา มักจะทำให้เรามักจะละเลยกับการใส่ใจความรู้สึกของตัวเอง เพราะมัวแต่พะวงกับการเขียนอยู่นั่นเอง

3. ความสร้างสรรค์ของนักเขียนแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน
เมื่อไม่ได้ลงมือเขียน รวมถึงไม่สามารถวางแผนในการเขียนได้แล้ว นักเขียนแต่ละคนก็จะมีวิธีการรับมือและจัดการกับปัญหาต่างๆ เหล่านี้แตกต่างกันออกไป เหมือนอย่างที่เคยบอกไปว่าความวุ่นวายของชีวิตประจำวันไม่ได้ช่วยทำให้เราอยากจะเขียนกันขึ้นมาเลย แต่นักเขียนบางคนเขาก็มีวิธีการจัดการกับตัวเองได้ดี ถึงแม้ว่าพวกเขาจะใช้เวลาเพียงแค่ 15 นาทีทุกวันกับการลงมือเขียน แต่มันก็ทำให้เราภาคภูมิใจได้นะ เพราะถึงแม้จะมีเวลาเพียงแค่ 15 นาทีก็ตาม แต่ถ้าเรายังคงรักษามาตรฐานของตัวเองได้ดีขนาดนี้ในทุกวัน ต่อให้มันจะฟังดูเหมือนยังอีกไกล แต่ท้ายที่สุดแล้วพวกเขาก็จะสามารถนำพางานเขียนของตนเองไปสู่เส้นชัยได้อย่างแน่นอน


 

ประโยชน์ของการลงมือเขียนทุกวัน (เล็กๆ น้อยๆ ก็ยังดี)


สำหรับนักเขียนบางคน การพาตัวเองให้มางมกับการเขียนทุกวันได้นับว่าเป็นเรื่องที่วิเศษเป็นอย่างยิ่ง แต่จะบอกให้เลยว่าการเขียนทุกวัน (ถึงแม้จะเป็นการเขียนเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม) นั้นมีประโยชน์มากเลยนะ ส่วนประโยชน์ที่ว่านั้นจะมีอะไรบ้าง ไหนไปดูกันหน่อยซิ!
 
1. การเขียนบ่อยๆ จะทำให้เราคุ้นเคยกับการเขียนมากขึ้น
ประโยชน์ที่เราจะได้ข้อแรกเลยก็คือความสม่ำเสมอ และในเมื่อมันสม่ำเสมอแล้ว สิ่งที่จะตามมาหลังจากนั้นก็คือมันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันของเรายังไงล่ะ! เพราะถ้าเราคุ้นเคยกับการเขียนทุกวัน ต่อให้เราจะมีงานยุ่ง หรือตารางงานที่แน่นเอี๊ยดขนาดไหน พี่เชื่อว่าน้องๆ ทุกคนจะหนีการเขียนไปไม่ได้ เพราะถ้าเราไม่ได้เขียน มันจะทำให้เราเกิดความรู้สึกที่ว่าเหมือนชีวิตมันขาดอะไรไปบ้างอย่าง ไม่ชินเอาซะเลย ทำนองนี้

2. เขียนไป เขียนมา ความคืบหน้าเริ่มประจักษ์!
เหมือนกับเวลาที่เราหว่านเมล็ดพืชลงไปในกระถาง แล้ววันหนึ่งมันเกิดมีต้นกล้างอกขึ้นมา กับการเขียนนั้นมันให้ความรู้สึกไม่ต่างกันเลยจ้ะ! เพราะนอกจากเราจะได้เห็นความคืบหน้าของงานเขียนที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว มันยังจะทำให้เรามีแรงจูงใจในการเขียนต่อไปอีกด้วย เย่!

3. ลาก่อน การผัดวันประกันพรุ่ง
เมื่อความคืบหน้าเริ่มมีมาให้เห็น คนเป็นนักเขียนจะไม่มีทางหยุดชะงักกลางคัน หรือไม่ทุ่มเทให้กับมันอย่างแน่นอน เพราะพวกเขาเหล่านั้นล้วนเฝ้ารอคอย รอวันที่งานเขียนชิ้นนั้นจะเสร็จสมบูรณ์ โดยเฉพาะนักเขียนคนไหนที่สามารถรักษากิจวัตรประจำวันในการเขียนของตนเองได้นั้นนับว่าโชคดีกว่าเพื่อนๆ เพราะมันจะมีแต่ความสำเร็จ (ถ้าหากเราสามารถรักษาความสม่ำเสมอนี้ไปได้ตลอด ไม่ท้อแท้กับมันไปซะก่อนนะๆ)

4. เมื่อปฏิบัติแล้ว อย่าลืมที่จะปรับปรุง
ไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าการหันกลับมามองย้อนกลับไปในผลงานเก่าๆ เพราะมันจะแสดงให้เราได้เห็นว่าเรามาได้ไกลสักแค่ไหน ซึ่งการปรับปรุงนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้เรื่องที่เราเขียนนั้นจบก่อน เพราะเราสามารถปรับปรุงและพัฒนาตัวเองได้ในทุกวัน และเราจะสัมผัสถึงการเปลี่ยนแปลงได้เองจากผลงานการเขียนของเรา ว่ามันได้พัฒนาและก้าวหน้าไปได้มากสักแค่ไหน


 

เคล็ดลับในการสร้างกิจวัตรประจำวันในการเขียน


อ่านมาจนถึงตรงนี้ เชื่อว่าน้องๆ ทุกคนคงจะมีแรงบันดาลใจที่จะเขียนต่อไปกันแล้ว และก่อนจะจากกันพี่ก็มีของแถมเล็กๆ น้อยๆ ที่จะพัฒนาการเขียน และการสร้างกิจวัตรประจำวันในการเขียนของเราให้ดียิ่งขึ้น หวังว่าทุกคนคงจะนำเคล็ดลับเหล่านี้ไปปรับใช้กับตัวเองกันนะ!
 
1. ตั้งเป้าหมายให้กับการเขียนของเรา
โดยเป้าหมายที่ว่านั้น ไม่ควรจะเป็นเป้าหมายที่ง่ายหรือยากจนเกินไป ยกตัวอย่างเช่น วันนี้ฉันจะเขียนให้ได้สัก 10 - 15 นาที และถ้าเขียนได้อย่างนี้ทุกวัน ฉันจะให้รางวัลตัวเองด้วยการดูหนังสนุกๆ 1 เรื่องในวันหยุด หรือถ้าเราบรรลุเป้าหมายในแต่วันแต่มองว่ามันง่ายจนเกินไป อยากเขียนให้มากขึ้นกว่านี้อีกนิด เราก็สามารถปรับได้ตามที่ตัวเองชอบ แต่ควรที่จะตั้งเป้าหมายขั้นต่ำเอาไว้สักหน่อยเพื่อที่จะสร้างความมั่นใจว่าเราจะสามารถพัฒนาและงานเขียนของเราจะก้าวหน้าได้ดียิ่งขึ้น
 
2. อย่าลืมพักผ่อนสมองด้วยการหากิจกรรมดีๆ ทำ
เมื่อใช้เวลาไปกับการเขียนเรื่อยๆ คนเป็นนักเขียนอย่างเราก็คงจะเบื่อกัน พี่ขอแนะนำว่าถ้าน้องๆ เริ่มเกิดอาการเบื่อหน่ายกันขึ้นมา ให้รีบหากิจกรรมสนุกๆ ทำกันสักหน่อย เพราะความเบื่อหน่ายเหล่านั้นมันจะส่งผลต่อเป้าหมายที่เราวางไว้สำหรับการเขียนในวันต่อๆ มาด้วย นอกจากนี้การพูดคุยแลกเปลี่ยนความสนใจกับคนที่เป็นนักเขียนอย่างเราก็เป็นอะไรที่ดูเข้าท่า ถ้าหากเรายังหาคำตอบกันไม่ได้ว่าควรจะทำอะไรให้ตัวเองหายเหนื่อย ก็ลองมาตั้งกระทู้ถามคำถามในบอร์ดนักเขียนของเราก็ฟังดูดี เอาเป็นว่าสู้ๆ นะจ๊ะทุกคน
 
3. อย่าคาดหวังกับตัวเองสูงไป
เหมือนอย่างที่คำโบราณเขาได้ว่าไว้ ‘ยิ่งสูง ยิ่งหนาว’ คาดหวังสูงระวังจะตกมาแล้วเจ็บตัวกันนะ และอีกอย่างหนึ่งก็คือ อย่าโฟกัสกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้มากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น การนับชั่วโมงว่าเดือนนี้เราใช้เวลาในการเขียนนิยายไปแล้วกี่ชั่วโมงนะ หรืออะไรทำนองนี้ เพราะมันจะทำให้เกิดแรงกดดันมากกว่าแรงจูงใจ เพราะฉะนั้นนักเขียนควรใส่ใจความรู้สึกของตัวเองให้มากพอๆ กับความตั้งใจ (แต่ไม่คาดหวัง) ของเรานะ


 

via GIPHY


 
เคล็ดลับและประสบการณ์จากบทความนี้อาจจะใช้ไม่ได้กับคนทุกคน เพียงแต่พี่อยากจะขอเป็นกำลังใจ และอยากให้ทุกคนมีแรงจูงใจให้กับความตั้งใจของเราให้มากๆ โดยเฉพาะคนที่เคยมีความพยายามแต่กลับล้มเหลวพังไม่เป็นท่าเพราะความไม่ตั้งใจของตัวเอง หรือจะเพราะเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ลองหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเขียนของตัวเองดู ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการปรับที่ต้องอาศัยความค่อยเป็นค่อยไป แต่ในไม่ช้าเมื่อผลลัพธ์ของสิ่งที่เราตั้งใจได้ปรากฏ พี่เชื่อว่าน้องๆ ทุกคนจะต้องหายเหนื่อยกันอย่างแน่นอน สู้ต่อไปเพื่อฝันของเรากันนะจ๊ะ!

 
พี่นัทตี้ :)

 

พี่นัทตี้
พี่นัทตี้ - Columnist บุคคลผู้เสพติดการดูหนังแนวสยองขวัญ ที่มีความฝันอยากจะเป็นนักเขียน

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Nyx Member 20 ต.ค. 61 19:59 น. 5

เป็นบทความที่มีประโยชน์มากครับ


ผมขอแบ่งปันประสบการณ์ตรงนะครับ ตอนนี้อยู่ในจุดที่เขียนได้ทุกวันแล้ว แต่ก่อนจะถึงจุดนี้ผมทำการบ้านหนักมาก กว่าจะมีโครงเรื่องที่แน่น รู้ว่าตัวละครจะไปที่ไหน ทำอะไร นึกคิดอย่างไร ฉากต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น "การเขียนได้ทุกวัน" ของผมเหมือนการลงรายละเอียดให้โครงเรื่องกลายเป็นต้นฉบับแรกเริ่ม เหมือนการแต่งแต้มสีลงในภาพร่าง


เคล็ดลับสำคัญของผมคือ "ไม่ฝืนธรรมชาติ" หมายถึงไม่บีบคั้นตัวเองให้เค้นความคิดออกมา และค่อย ๆ ทำงานไปทีละขั้นละตอนในการวางโครงเรื่อง เพียงแต่ค่อย ๆ ทำอย่างสม่ำเสมอ ทำไปสบาย ๆ แล้วความคิดสร้างสรรค์จะมาเอง ผมไม่ฝืนที่จะเขียนเรื่องถ้ายังไม่ได้โครงเรื่องที่แน่นอนเกิน 80 % แต่ผมก็ไม่รีรอจน 100 % เช่นกันเพราะต้องเผื่อให้มีความยืดหยุ่นระหว่างเขียน


ใครมีประสบการณ์อย่างไรก็แวะมาแบ่งปันความคิดเห็นกันนะครับ

https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/yy-01.png

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Member 18 ต.ค. 61 16:44 น. 2

เขียนได้ทืุกวัน ส่วนใหญ่จะใส่เป็นคียเวิร์ดทิ้งไว้ ละค่อยมาขยายทีหลัง มาตันตอนขยายคียเวิร์ดตัวเอง

เช่น

นางa พูด "หวัดดี"

b " เออกองไว้ตรงนั้นแหละ

a "กวนตีนนะเอ็ง"

"ตีนก็อยู่เฉยๆ นิ"

แบบบางทีก็ไม่รู้จะบรรยายท่าทางบทสนทนานี้ยังไงดี

อยากให้เด็กดีสอนบรรยายนิยาย๕๕๕๕

0
กำลังโหลด

6 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
Member 18 ต.ค. 61 16:44 น. 2

เขียนได้ทืุกวัน ส่วนใหญ่จะใส่เป็นคียเวิร์ดทิ้งไว้ ละค่อยมาขยายทีหลัง มาตันตอนขยายคียเวิร์ดตัวเอง

เช่น

นางa พูด "หวัดดี"

b " เออกองไว้ตรงนั้นแหละ

a "กวนตีนนะเอ็ง"

"ตีนก็อยู่เฉยๆ นิ"

แบบบางทีก็ไม่รู้จะบรรยายท่าทางบทสนทนานี้ยังไงดี

อยากให้เด็กดีสอนบรรยายนิยาย๕๕๕๕

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Nyx Member 20 ต.ค. 61 19:59 น. 5

เป็นบทความที่มีประโยชน์มากครับ


ผมขอแบ่งปันประสบการณ์ตรงนะครับ ตอนนี้อยู่ในจุดที่เขียนได้ทุกวันแล้ว แต่ก่อนจะถึงจุดนี้ผมทำการบ้านหนักมาก กว่าจะมีโครงเรื่องที่แน่น รู้ว่าตัวละครจะไปที่ไหน ทำอะไร นึกคิดอย่างไร ฉากต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น "การเขียนได้ทุกวัน" ของผมเหมือนการลงรายละเอียดให้โครงเรื่องกลายเป็นต้นฉบับแรกเริ่ม เหมือนการแต่งแต้มสีลงในภาพร่าง


เคล็ดลับสำคัญของผมคือ "ไม่ฝืนธรรมชาติ" หมายถึงไม่บีบคั้นตัวเองให้เค้นความคิดออกมา และค่อย ๆ ทำงานไปทีละขั้นละตอนในการวางโครงเรื่อง เพียงแต่ค่อย ๆ ทำอย่างสม่ำเสมอ ทำไปสบาย ๆ แล้วความคิดสร้างสรรค์จะมาเอง ผมไม่ฝืนที่จะเขียนเรื่องถ้ายังไม่ได้โครงเรื่องที่แน่นอนเกิน 80 % แต่ผมก็ไม่รีรอจน 100 % เช่นกันเพราะต้องเผื่อให้มีความยืดหยุ่นระหว่างเขียน


ใครมีประสบการณ์อย่างไรก็แวะมาแบ่งปันความคิดเห็นกันนะครับ

https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/yy-01.png

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด