ตื่นตอนนี้ ต้องนอนตอนไหน? เช็กตารางการนอนหลับให้ตาม 'วงจร 90 นาที'

Spoil

  • คนเราต้องการการนอนหลับไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับอายุและร่างกาย
  • วงจรการนอนหลับ 90 นาที เป็นลำดับการนอนหลับของมนุษย์
  • ถ้านอนได้ครบวงจร 5 หรือ 6 รอบ จะทำให้ตื่นมาสดชื่นสุดๆ

เรื่องการนอนหลับเป็นเรื่องธรรมด๊าธรรมดาแต่ว่าคนเราก็มีปัญหากับมันมากเหลือเกิน บางคนนอนไม่หลับ บางคนนอนไม่พอ บางคนนอนไม่เป็นเวลา วันนี้เราจะพาไปปรับตารางการนอนเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของชาว Dek-D ทุกคน มาดูกันว่าเราต้องนอนเท่าไหร่ถึงจะพอ แล้วถ้าต้องตื่นตอนนี้จะต้องนอนกี่โมง ไปค่ะ ไปปรับการนอนให้เฮลตี้ไปด้วยกัน

(ภาพจาก unsplach.com)
(ภาพจาก unsplach.com)

คนเราต้องการการนอนหลับกี่ชั่วโมง?

จริงๆ แล้วเวลาการนอนของคนเราเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต ขึ้นอยู่กับอายุและร่างกาย มีข้อมูลจาก สมาคมเวชศาสตร์การนอนหลับของสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatrics) สรุปความต้องการการนอนหลับของคนแต่ละช่วงวัยไว้ดังนี้

  • เด็กแรกเกิด - 3 เดือน : 14 - 17 ชั่วโมง
  • 4 เดือน - 11 เดือน : 11 - 14 ชั่วโมง
  • 1 - 2 ปี : 11 - 14 ชั่วโมง
  • 3 - 5 ปี : 10 - 13 ชั่วโมง
  • 6 - 12 ปี : 9 - 12 ชั่วโมง
  • 13 - 18 ปี : 8 -10 ชั่วโมง
  • 18 - 64 ปี : 7 - 9 ชั่วโมง
  • 65 ปีขึ้นไป : 7 - 8 ชั่วโมง

รู้ได้ยังไง? ว่าเรานอนพอหรือไม่พอ

แต่ถึงจะอายุเท่ากัน แต่ระยะเวลาการนอนหลับที่ต้องการของแต่ละคนก็ไม่เท่ากันนะ ถ้าไม่แน่ใจว่าตัวเองนอนพอมั้ย? เช็กร่างกายตัวเองตามนี้ถ้ามีปัญหาข้อไหน ก็อาจจะหมายความว่าที่นอนอยู่ทุกวันนี้อาจจะยังไม่เพียงพอ

  • มีอาการง่วงนอนหรืองีบหลับระหว่างวัน
  • จำเป็นต้องพึ่งกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกกำลังให้ไม่หลับระหว่างวัน
  • ตื่นตอนกลางคืนบ่อย นอนหลับไม่สนิท
  • หงุดหงิดง่าย
  • ไม่ค่อยมีสมาธิ ร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่
  • หิวมากขึ้น กินอาหารเยอะขึ้น
  • ใต้ตาดำ ผิวคล้ำ มุมปากตก
(ภาพจาก freepik.com)
(ภาพจาก freepik.com)

วงจรการนอนหลับของมนุษย์

การนอนหลับของคนเรามีลำดับขั้นตอนของมันอยู่ ในหนึ่งคืนเรารู้สึกว่าหลับไปรอบเดียว แต่สมองและร่างกายยังต้องทำงานอยู่ และผ่านวงจรการนอนหลับที่เรียกว่า The Stages of Sleep แบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ

NON REM (NON Rapid Eye Monement) การนอนในช่วงเริ่มต้น แบ่งเป็นอีก 3 สเตจ

  1. N1 เป็นช่วงกำลังจะหลับ กึ่งหลับกึ่งตื่น กำลังงัวเงียเต็มที่
  2. N2 เป็นช่วงนอนหลับขั้นต้น  อุณหภูมิในร่างกายจะลดลง การหายใจและการเต้นของหัวใจคงที่ แต่ยังรับรู้ถึงสิ่งต่างๆ รอบตัวอยู่
  3. N3 ระยะหลับลึก หายใจช้าลง ความดันโลหิตลดลง กล้ามเนื้อผ่อนคลาย เป็นช่วงที่่ร่างกายจะฟื้นฟูตัวเอง

REM (Rapid Eye Monement) 

เป็นขั้นสุดท้ายของการนอนหลับ ใช้เวลาประมาณ 25% ของวงจรการนอน ช่วงนี้เป็นเวลาที่สมองจะตื่นตัว ที่เรานอนฝันก็จะเกิดในช่วงนี้ ดวงตาจะขยับไปมา เป็นช่วงเตรียมตื่นตอน

โดยเฉลี่ยแล้วในวงจรการนอน 1 รอบ จะใช้เวลาประมาณ 90 นาที ถ้าเรานอนได้ครบวงจร 5 รอบต่อคืน ก็หลับไปราวๆ 7.5 ชั่วโมง จะดีที่สุดถ้าทำได้ 6 รอบหรือหลับ 9 ชั่วโมง ถ้าเวียนได้ครบรอบจะทำให้ตื่นมาอย่างสดชื่น หลับเต็มตื่น มีพลังเต็มหลอด

(ภาพจาก unsplash.com)
(ภาพจาก unsplash.com)

ตื่นเวลานี้ ควรนอนเวลาไหน? 
ให้ครบรอบวงจรการนอนหลับ 90 นาที

เวลาตื่นเวลาเข้านอน (7.5 ชั่วโมง)เวลาเข้านอน (9 ชั่วโมง)
05.00 น. 21.15 น.19.45 น.
05.30 น.21.45 น.  20.15 น.
06.00 น.  22.15 น. 20.45 น.
06.30 น.  22.45 น. 21.15 น.
07.00 น.  23.15 น. 21.45 น.
07.30 น. 23.45 น.  22.15 น.
08.00 น. 00.15 น.  22.45 น.
08.30 น.  00.45 น.  23.15 น.
09.00 น. 01.15 น. 23.45 น.

เพื่อประสิทธิภาพการนอนที่ดีที่สุด ก็ควรหลับให้ได้ตามวงจรข้างบนนี้ ดูเวลาที่ตื่นแล้วเราอาจจะเข้านอนเร็วกว่านั้นเล็กน้อยเพื่อให้ร่างกายเตรียมตัวนอน ถ้าทำได้ตามนี้รับรองว่าจะหลับได้อย่างผ่อนคลายและตื่นมาอย่างสดชื่นสุดๆ และสุขภาพที่ดีก็จะตามมาติดๆ ชาว Dek-D คนไหนมีตัวช่วยในการนอนยังไงอีกบ้าง? มาแชร์กันค่ะ 

 

ข้อมูลจากhttps://www.healthline.com/health/sleep/sleep-calculator#bottom-linehttps://www.verywellhealth.com/the-four-stages-of-sleep-2795920https://www.aappublications.org/news/2016/06/13/Sleep061316

 

พี่แพม
พี่แพม - Columnist คอลัมนิสต์สายติ่งเกาหลี นอนน้อยเพราะดูซีรีส์ สาระไม่ค่อยมี หน้าตาดีไปวันๆ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น