2 วิทยากรโจ๋โอลิมปิก ชวนน้องทดลองไฟฟ้าสถิต

น้องๆ เคยสงสัยมั้ยว่า........

ทําไมเวลาที่อยู่ในห้องแอร์เย็นๆ หรือตอนหน้าหนาว ถอดถุงเท้าหรือเสื้อไหมพรมแล้วมีเสียงดังเป๊าะแป๊ะ ??

ช่วงฤดูหนาวหวีผมแล้วทำไมผมดีดออก และชี้ฟูติดหวีได้ ??

ช่วงหน้าหนาวที่อากาศแห้งๆ ทำไมเสื้อหรือกางเกงถึงลีบติดตัว ??

ข้อสงสัยเหล่านี้ พี่ปาล์มเองก็เคยสงสัยเช่นกัน และเมื่อพี่ปาล์มถามใครต่อใคร ก็จะได้รับคำตอบแค่ว่า "อ๋อ มันเกิดจากไฟฟ้าสถิตน่ะ" แต่ไม่มีใครให้ความกระจ่างได้เลยว่า แล้วเจ้าไฟฟ้าสถิตนี่มันคืออะไรกัน?

แต่ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติประจำปี 2551 ที่ผ่านมา บริเวณชั้น 1 อาคารอำนวยการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มีพี่วัยโจ๋ อดีตผู้แทนประเทศไทยฟิสิกส์โอลิมปิก อาสาเป็นวิทยากร เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนมองฟิสิกส์เป็นเรื่องใกล้ตัว


พี่ๆ ทั้งสองคือ เทียม นายรณชัย เจริญศรี เจ้าของเหรียญเงินฟิสิกส์โอลิมปิก ปี 2548 และเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก ปี 2549 และ ตี๋ นายอำนวย พลสุขเจริญ เจ้าของเหรียญเงินฟิสิกส์โอลิมปิก ปี 2549 ปัจจุบันทั้งสองกำลังศึกษาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) หรือทุนโอลิมปิกวิชาการ โดยเทียมกำลังจะเข้าเรียนฟิสิกส์ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ส่วนตี๋กำลังจะศึกษาฟิสิกส์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยชิคาโก

ช่วงจัดงานดังกล่าวทั้งสองหนุ่มกลับมาเมืองไทยในช่วงปิดภาคเรียนพอดี น้องๆ ที่มาร่วมงานจึงได้รับความรู้จากพี่ๆ มาไขความลับถึงหลักการเกิดไฟฟ้าสถิต ปรากฏการณ์ที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากัน ปกติจะแสดงในรูปการดึงดูด การผลักกัน และเกิดประกายไฟ



"ไฟฟ้าสถิตเกิดจากการที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงดึงดูดเมื่อวัตถุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุต่างชนิดกัน หรือเกิดแรงผลักกันเมื่อวัสดุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุชนิดเดียวกัน เราสามารถสร้างไฟฟ้าสถิตโดยการนำผิวสัมผัสของวัสดุทั้ง 2 ชิ้นมาขัดสีกัน พลังงานที่เกิดจากการขัดสีกันทำให้ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุเกิดการแลกเปลี่ยนกัน โดยจะเกิดกับวัตถุประเภทที่ไม่นำไฟฟ้า หรือที่เรียกว่าฉนวน เช่น ยาง พลาสติก และแก้ว" เทียมอธิบาย

ในฤดูหนาวความชื้นในอากาศจะต่ำมาก การเกิดไฟฟ้าสถิตบนผิวหนังจะเกิดขึ้นง่ายมาก ดังนั้น เมื่อเกิดการสัมผัสกับวัสดุประเภทตัวนำจะทำให้เกิดการถ่ายเทประจุไปยังตัวนำอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการสะดุ้ง นอกจากนั้นยังสามารถทำความเสียหายให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ถ้าไม่อยากให้เกิดไฟฟ้าสถิตเราต้องควบคุมอุณหภูมิร่างกายหรือวัสดุต่างๆ ให้เท่ากันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด

เพื่อให้เห็นการเกิดไฟฟ้าสถิตชัดเจนมากขึ้น เทียมและ ตี๋ ใช้"เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสถิตแวนเดอร์แกรฟฟ์" (Van de Graaff Genera tor) เป็นอุปกรณ์สาธิตให้น้องๆ ที่ร่วมกิจกรรมได้เห็นและทดลองทำด้วยตัวเอง

เครื่องแวนเดอร์ แกรฟฟ์เป็นอุปกรณ์ที่สร้างไฟฟ้าสถิต โดยใช้หลักการการขัดถูของวัตถุทำให้เกิดประจุไฟฟ้าสถิตขึ้น



เมื่อเปิดสวิตช์เครื่องแวนเดอร์แกรฟฟ์จะทำ ให้แกนมอเตอร์หมุน เป็นผลให้แท่งทรงกระบอกล่างหมุน และทำให้สายพานเคลื่อนที่ไปด้วย ผลจากการเสียดสีระหว่างสายพานกับแท่งทรงกระบอกล่างทำให้ทรงกระบอกล่างเกิดการสะสมของประจุลบ และสายพานเกิดการสะสมของประจุบวก ประจุลบจากสายพานเคลื่อนที่ไปยังหวีโลหะล่างที่ต่อกับสายดิน

จากนั้นสายพานที่มีประจุเป็นบวกเคลื่อนเข้าไปใกล้หวีโลหะด้านบน ซึ่งต่ออยู่กับตัวนำทรงกลมกลวง ทำให้อิเล็กตรอนจากหวีโลหะด้านบนกระโดดมายังสายพาน ประกอบกับการเสียดสีระหว่างสายพานกับแท่งทรงกระบอกบนทำให้ทรงกระบอกบนมีประจุเป็นบวก และสายพานมีประจุเป็นลบ ทำให้สายพานที่วิ่งผ่านทรงกระบอกบนมีประจุลบ ผลจากข้างต้นทำให้ทรงกลมกลวงสเตนเลสมีประจุไฟฟ้าบวกกระจายอยู่ทั่วทั้งผิวทรงกลม กระบวนการจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะปิดสวิตช์

เมื่อเปิดเครื่องแวนเดอร์แกรฟฟ์ วิทยากรวัยโจ๋ขอให้น้องๆ มาเป็นอาสาสมัครลองใช้มือจับที่ตัวนำทรงกลมกลวงทำด้วยสเตนเลส พบว่าเมื่อเวลาผ่านไปไม่นานผมบนศีรษะจะชี้ฟูตั้งขึ้น เป็นที่ตลกขบขันของเพื่อนๆ ผู้ชม (55555 เป็นพี่ก็คงขำอ่ะ เอิ๊กๆ)

การเกิดผมชี้ฟูนี้พี่ตี๋อธิบายให้น้องๆ ฟังว่า

"
เมื่อเราเอามือไปสัมผัสกับผิวทรงกลมสเตนเลส จากนั้นเปิดสวิตช์เครื่องแวนเดอร์แกรฟฟ์ อิเล็กตรอนจากตัวเราจะวิ่งไปยังผิวทรงกลม ทำให้ร่างกายเรามีประจุบวก เมื่อประจุบวกอยู่ใกล้ประจุบวกจะเกิดแรงผลัก แรงผลักระหว่างประจุจึงส่งผลให้เส้นผมเราซึ่งมีน้ำหนักเบามากชี้ฟูแยกออกจากกัน"

เทียมกล่าวว่า ไม่ว่าสาขาวิชาใดก็ตามเมื่อเรียนมาแล้วควรเชื่อมโยงในชีวิต ประจำวันให้ได้ ไม่อย่างนั้นเรียนไปก็เปล่าประโยชน์ เด็กๆ ชั้นประถมศึกษาที่เรียนวิทยาศาสตร์แบบมองไม่ค่อยเห็นภาพ หากได้ทดลอง ได้เรียนรู้เรื่องใกล้ตัว จะทำให้เห็นว่าหลักการที่เขาได้เรียนนั้นเป็นจริงอย่างไร"

โว้ว...โว้ว... วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุกจริงๆ นะ น้องๆ ว่ามั้ย?

พี่ปาล์มขอบคุณเรื่องจากหนังสือพิมพ์ข่าวสด

ขอบคุณภาพประกอบจาก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

4 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
pite 7 พ.ค. 52 15:41 น. 2
ก็งี้เหละครับ เด็กปกติพอได้ยินคำว่าเด็กโอลิมปิกวิชาการก็เดินหนีแล้ว ว่ายังไงก็พูดไม่รู้เรื่อง เปลี่ยนมุมมองกันเถอะครับ พวกเขาก็คนเหมือนกัน แต่อาจจะได้โอกาสที่ดีได้เรียนเนื้อหาระดับสูงแค่นั้นเอง
0
กำลังโหลด
ก๊อต 27 ก.พ. 54 00:49 น. 3
ขอถามไรหน่อยคร้าบ เครื่องแวนเดอร์แกรฟฟ์
กับลูกแก้วพลาสม่ามันเหมือนกันไหมครับ เครื่องแวนเดอร์แกรฟ จะถ่ายเทประจุบวกไปให้ผู้สัมผัส แล้วลูกแก้วพาสม่าจะถ่ายเทประจุบวกเหมือนกันรึป่าวครับ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด