คณะรัฐศาสตร์  Issue 004 week3, July 2009
 
คณะรัฐศาสตร์
ตอนที่ 4/4 : ที่ตรงนี้มีคำตอบ
 
คำถามที่สงสัยเกี่ยวกับคณะรัฐศาสตร์
       "ผ่านพ้นมาจนถึงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม และคณะในฝันของเราก็ยังคงอยู่ที่ "คณะรัฐศาสตร์" ซึ่งคราวนี้ พี่เป้ ขออาสาตอบข้อข้องใจ คลายข้อสงสัยของน้องๆ กับคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับคณะรัฐศาสตร์ ใครอยากเข้าคณะนี้ห้ามพลาดเด็ดขาด "
 
ข้อสงสัย : ภาคหรือวิชาเอกต่างๆ ในคณะรัฐศาสตร์ มีจุดเด่นหรือข้อแตกต่างกันอย่างไร ?
พี่เป้: โดยทั่วไปแล้ว คณะรัฐศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 3 ภาควิชา ได้แก่ - ภาคการปกครอง ศึกษาเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองรวมถึงกฏหมาย โดยจะยึดบริบทในประเทศไทย - ภาคความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สังคม กฏหมาย และการเมืองโลก - ภาครัฐประศาสนศาสตร์หรือบริหารรัฐกิจ ศึกษาเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ การบริหารงานทั้งของภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมีภาคสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาซึ่งมีในบางมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาฯ โดยศึกษาเกี่ยวเหตุการณ์ในสังคมที่ส่งผลต่อมนุษย์ และทฤษฎีต่างๆ ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
 

 
 
ข้อสงสัย :การเรียนรัฐศาสตร์ จำเป็นต้องเก่งภาษาอังกฤษมั้ย ?
พี่เป้: การเรียนรัฐศาสตร์นั้น น้องๆ จะต้องได้อ่านบทความ หรือหนังสือเสริมที่เป็นภาษาอังกฤษอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นการได้อ่านหนังสือเสริมภาษาอังกฤษนั้นอยู่เรื่อยๆ จะทำให้ทักษะภาษาอังกฤษของน้องๆ เพิ่มขึ้นอัตโนมัติ ดังนั้นคนที่เก่งภาษาอังกฤษอยู่แล้วก็จะเก่งมากขึ้นไป ส่วนคนที่อ่อนภาษาอังกฤษก็จะได้พัฒนาตัวเอง และสามารถเรียนรัฐศาสตร์ได้อย่างแน่นอน
 
ข้อสงสัย : การเรียนรัฐศาสตร์ จำเป็นต้องติดตามข่าวสารบ้านเมืองหรือเปล่า ?
พี่เป้: แน่นอนค่ะ เพราะการเรียนรัฐศาสตร์เหมือนเป็นการเรียนรู้เรื่องรอบตัวของเรา ทั้งการเมือง กฏหมาย สังคม และอื่นๆ ในข้อสอบต่างๆ มักจะกล่าวถึงเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพราะฉะนั้นน้องๆ จำเป็นอย่างมากที่จะต้อง หมั่นอ่านหนังสือพิมพ์ อัปเดทตัวเองให้ทันสังคมโลก
 
ข้อสงสัย : เรียนจบแล้ว จะสามารถทำงานอะไรได้บ้าง ?
พี่เป้: น้องๆ บางคนมักคิดว่า จบแล้วจะต้องไปเป็นข้าราชการหรือลงเล่นการเมืองเท่านั้น ขอบอกว่าถูกแค่ครึ่งเดียวค่ะ เพราะหากเรียนจบจากคณะรัฐศาสตร์แล้ว สามารถทำงานได้หลากหลายสาขามาก เช่น พนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคลทั้งของรัฐและเอกชน ล่าม (สำหรับคนที่เก่งภาษา) นักวิจัย เจ้าหน้าที่ในสถานทูต แอร์โฮสเตรส หรือทำงานด้านกฏหมายก็ได้ค่ะ
 
        และแล้วคณะในฝันประจำเดือนกรกฎาคมก็เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เป็นยังไงบ้างคะ หวังว่าน้องๆ ที่อยากเรียนคณะรัฐศาสตร์ คงจำได้ความรู้และประโยชน์ไปไม่น้อยเลยใช่มั้ยคะ ยังไง พี่เป้ ก็ขออวยพรให้น้องๆ ทุกคนที่อยากเข้าคณะนี้แอดมิชชั่นติด ได้เป็นชาวสิงห์สมใจอยากเลยละกันนะคะ ส่วนในเดือนหน้า น้องๆ อยากให้ พี่เป้ไปติดตามคณะอะไร ก็คอมเม้นท์ขอมาได้เลย
 
 
พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

57 ความคิดเห็น

น้ำ 29 ก.ค. 52 18:25 น. 1
อยากทราบว่าแล้วมที่มธ.มีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

คณะนี้เป็นการเรียนด้านรัฐศาสตร์เหมือนกันรึป่าวคะ

แล้วทำไมต้องแยกออกมาเป็นคณะนี้ด้วย

ไม่รวมเป็นคณะรัฐศาสตร์ไปเลย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
......... 30 ก.ค. 52 13:09 น. 6
รัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีอินเตอร์ที่ธรรมศาสตร์จ้า

เป็นโครงการควบตรี-โท

เรียนที่ท่าพระจันทร์ ^^
0
กำลังโหลด
เดินผ่านมา 30 ก.ค. 52 13:15 น. 7
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ของ มธ. มีเนื้อหา โดยพื้นฐาน ศาสตร์ ไม่ต่างกัน กับของ จุฬาฯ แต่ นับจากพื้นฐานขึ้นไป ระดับสูงขึ้น ของมธ. จะเน้นด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาโดยตรงเป็นศาสตร์บริสุทธิ์ ในขณะที่จุฬาฯ เป็นศาสตร์ประยุกต์กับเนื้อหาทางรัฐศาสตร์กับการปฏิบัตินำไปใช้

ดังนั้น เนื้อหา ทางด้านเข้มข้นแล้ว อาจตอบได้ว่าต่างกัน ขึ้นกับว่าน้องๆชอบหลักสูตรเนื้อหาแบบไหนมากกว่ากัน ลองอ่านรายละเอียดเนื้อหาวิชาการสอน ของคณะสังคมวิทยาฯ มธ. กับ ภาคสังคมวิทยาฯ จุฬาฯ ดูนะคะ มันแตกต่างกันในรายละเอียดเนื้อหาการเรียนค่ะ

ส่วนน้องที่ถามว่ามีที่ไหน เปิด inter บ้าง เท่าที่รู้มา มีที่ มช. ส่วนจุฬาฯ มีแต่ ป. โท
0
กำลังโหลด
เมจิ 30 ก.ค. 52 19:26 น. 8
นักรัฐศาสตร์ย่อมเปรียบเสมือนกับเทียนไข

ที่ยอมเผาผลาญตัวเอง เพื่อแสงสว่างแก่ผู้อื่น



รัฐศาสตร์ . จุฬา นั้นคือ สิงห์ดำ


จะรอวันนั้นวันที่ฝันเป็นจริง สู้ๆๆๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Soc44 PolSci35 31 ก.ค. 52 02:10 น. 11
แต่รัฐศาสตร์เกษตรมีสี่สาขานะ

สาขาการปกครอง : Government (GOV) จัดการเรียนการสอนในเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองและการปกครองของประเทศต่างๆตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยแยกออกเป็นวิชาย่อยที่ให้ภาพ หรือมิติต่างๆของการเมือง เช่น ทฤษฎีการเมือง การเมืองเปรียบเทียบ ระบบเอกรัฐและสหพันธรัฐ เป็นต้น สำหรับลักษณะการปกครองของประเทศต่างๆ สาขาการปกครองเปิดสอนเกี่ยวกับการปกครองของประเทศต่างๆ ที่สำคัญคือ ไทย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซีย ยุโรป จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น อนึ่ง ในการกล่าวถึงการเมืองการปกครองของประเทศ หรือกลุ่มประเทศใดๆนั้น นอกจากจะเน้นที่สถาบันและกระบวนการทางการเมืองระดับชาติแล้ว ยังพยายามเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองท้องถิ่นและการเมืองระหว่างประเทศนั้นๆอีกด้วย

สาขาบริหารรัฐกิจ : Public Administration (Pub-Ad) จัดการเรียนการสอนโดยเน้นเกี่ยวกับการบริหารในภาครัฐทั้งหมด กล่าวคือทั้งระบบราชการและรัฐวิสาหกิจ วิชาการบริหารรัฐกิจมีหลายวิชา เช่น การบริหารงานบุคคล การบริหารองค์การ การบริหารงานคลังและงบประมาณ การวางแผน และบริหารโครงการ การวางแผนกำลังคน พฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การ เทคโนโลยีทางการบริหาร นโยบายสาธารณะ และการบริหารรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : International Relations (IR) เน้นหนักทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศของกลุ่มประเทศต่างๆ องค์การระหว่างประเทศ และประวัติศาสตร์การทูต เป็นต้น สาขาวิชานี้เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาปรากฎการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อปฏิสัมพันธ์ของประเทศต่างๆในเวทีระหว่างประเทศ จะช่วยให้ผู้ศึกษามีความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปและการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ทำให้เป็นผู้ทันสมัยและมีวิสัยทัศน์

สาขาบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย : Justice Administration (JA) จัดการเรียนการสอนในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารงานในระบบงานยุติธรรม ได้แก่ องค์กรตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์และคุมประพฤติ วิชาที่เรียนเน้นหนักไปในเรื่องหลักการบริหาร การบังคับใช้กฎหมายอาญา การแก้ปัญหาการกระทำความผิดในสังคม ตลอดทั้งการบริหารเพื่อความปลอดภัยภายในองค์กรเอกชน

ที่มา : http://www.polsci.soc.ku.ac.th/intro.html
ยังไงก็ฝากสิงห์เขียวไว้ด้วยนะคะ^ ^
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
uri n n 31 ก.ค. 52 23:17 น. 14
เรา เพิ่งจบได้ สี่เดือน
คณะ รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์

ตอนแรกไม่ชอบเลย
พอเรียนไป ก็สนุกดี..

เวลามีคนถามจบอะไรมา ?


รู้สึกตอบได้อย่าง ภาคภูมิใจมากเลยค่ะ
^^
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
สิงห์แดง 61 2 ส.ค. 52 14:50 น. 19
สำหรับคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเปิดอยู่ทั้งหมดสี่สาขา แยกเป็นภาคภาษาไทยสามสาขา คือ
1) การเมืองการปกครอง
2) การระหว่างประเทศ ( International Affairs)
3) บริหารรัฐกิจ ( Public Administration)
ทั้งสามสาขานี้เรียนที่รังสิตตลอดหลักสูตร การสอบเข้าจะมีทั้งสอบตรงและแอดมิชชันเข้าประมาณอย่างละครึ่ง นอกจากนี้มีภาคภาษาอังกฤษอีกหนึ่งสาขา คือ โครงการควบตรี-โท สาขาวิชาการเมืองและการระหว่างประเทศ ( BMIR ) ซึ่งโครงการนี้เปิดปีที่แล้วเป็นปีแรกเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ของคณะ สำหรับการสอบเข้าโครงการ BMIR มีเพียงการรับตรงของคณะเท่านั้น
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด