วิศวกรสิ่งแวดล้อม งานเท่ได้ช่วยสิ่งแวดล้อมและสังคม

คณะ วิศวกรรมศาสตร์
สาขา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ตอนที่ 2/3 : ชีวิตนอกรั้วมหาวิทยาลัย
   
 

         
 
      สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com ... เจอกับ พี่เป้ และคณะในฝันเช่นเคย และเดือนนี้เรายังอยู่กันที่ "คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม" ครั้งก่อนพาน้องๆ ไปพูดคุยกับรุ่นพี่ที่กำลังเรียนในคณะและสาขานี้ (ย้อนอ่าน คลิก) สำหรับวันนี้จะขอพาน้องๆ ไปคุยกับรุ่นพี่ที่เค้าเรียนจบมาแล้วและกำลังทำงานทางสายนี้อยู่ มาดูกันดีกว่าว่า งานสายวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเค้าทำอะไรกันบ้าง

 

สวัสดีค่ะ ก่อนอื่นช่วยแนะนำตัวแก่น้องๆ Dek-D.com หน่อยค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่ชื่อรัชนีวรรณ คงอยู่ (พี่เกตุ) จบคณะวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม รุ่น 14 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปัจจุบันทำงานอยู่บริษัทซันชาย ไบโอเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จังหวัดปราจีนบุรีค่ะ


ทำไมพี่เกตุถึงเลือกเรียนวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมคะ มีอะไรเป็นแรงบันดาลใจ

เรื่องแรงบันดาลใจ คงต้องพูดไปสมัยเรียนมัธยมต้นโน้นเลยอะ พี่เป็นคนที่ชอบคำนวณและชอบการทดลอง เวลามีการแข่งในงานวันวิทยาศาสตร์ของโรงเรียน พี่ก็จะเป็นตัวแทนห้องไปแข่งกับห้องอื่นๆ ทำให้มีความรู้สึกชอบและท้าทายความสามารถของตัวอีกด้วย พอเข้ามหาลัยก็เลยมองหาคณะที่เราชอบ ตอนแรกคณะวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมพี่ไม่ได้สนใจเลยนะ เพราะตอนแรกที่เข้ามาในรั้วมหาลัย พี่สนใจคณะวิศวะพอลิเมอร์ เพราะมันน่าจะมีเคมีและคำนวณเยอะ แต่พอเรียนไปแล้วมันกลับไม่ใช่ตัวเอง เลยมานั่งมองตัวเองว่าเราชอบอะไร แล้วคณะที่เหมาะสมกับคือคณะอะไร

แล้ววิศวกรรมสิ่งแวดล้อมก็เข้ามาในสมองทันที ประกอบกับปัจจุบันสภาพสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศและหลายๆ อย่างกำลังแย่ และสังคมกำลังให้ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย ทำให้รู้สึกว่าเป็นสาขาที่น่าสนใจ พอมาเรียนยิ่งทำให้มีความรู้สึกชอบมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาของวิชาเรียนในเรื่อง อากาศ น้ำ กากของเสีย หรือแม้กระทั่งระบบน้ำประปา แล้วยังรวมไปถึงคณาจารย์ทุกท่าน พี่ๆ น้องๆ ในคณะที่มีความรักและความผูกพันกัน ควรช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  ไม่ว่าจะเป็นเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ตาม


งานที่ทำตอนนี้คืออะไร หน้าที่งานแต่ละวันมีอะไรบ้างคะ

งานที่พี่ทำอยู่คือ เป็นหัวหน้าส่วนงานสิ่งแวดล้อมและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย จะทำการดูแล ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานและคอยประสานงานกับทางนิคมอุตสาหกรรม 304 ในแต่ละวันจะตรวจสอบระบบบำบัด ดูปริมาณน้ำเสีย รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องจักรต่างๆ ในระบบบำบัดน้ำเสีย และอบรมพนักงานเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียและความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเวลาปฎิบัติงาน ควบคุมพนักงานในสายงานสิ่งแวดล้อมในการเก็บน้ำตัวอย่าง การส่งน้ำในทางนิคมอุตสาหกรรม 304 การควบคุมค่าต่างๆ ในระบบบำบัดน้ำเสียในเป็นไปตามมาตรฐานที่ทางโรงงานได้ทำข้อตกลงกับทางนิคมอุตสาหกรรม 304


ฟังอย่างนี้แล้ว ดูเหมือนงานด้านนี้ต้องอยู่กับของเสียตลอดเลยหรือเปล่าคะ

อันนี้ไม่จริงค่ะ ขึ้นอยู่กับสายงานที่เราทำมากกว่าค่ะ เพราะงานทางด้านสิ่งแวดล้อมก็มีหลายสายงานเหมือนกัน อาทิเช่น หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมชลประทาน กรมอนามัย กรมเจ้าท่า การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานครและเทศบาลทั่วประเทศ

• งานวางแผนและออกแบบระบบการผลิตและจ่ายน้ำประปา การจัดการบำบัดน้ำเสีย
• งานควบคุมการก่อสร้างติดตั้งระบบจ่ายน้ำประปา การจัดการบำบัดน้ำเสีย
• งานวางแผนการจัดการมูลฝอยและกากของเสีย
• งานวิจัยและพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
• งานควบคุม ตรวจวัดมลภาวะอากาศและเสียง
• งานบริหารจัดการระบบมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม


ภาคเอกชน ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่กฎหมายบังคับให้มีผู้ควบคุมระบบบำบัดของเสีย บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาให้บริการที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

• งานวางแผนและออกแบบระบบการผลิตและจ่ายน้ำประปา การจัดการบำบัดน้ำเสีย
• งานควบคุมการก่อสร้างติดตั้งระบบจ่ายน้ำประปา การจัดการบำบัดน้ำเสีย
• งานวางแผนการจัดการมูลฝอยและกากของเสีย
• งานวิจัยและพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
• งานควบคุม ตรวจวัดมลภาวะอากาศและเสียง
• งานบริหารจัดการระบบมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม
• งานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม


เห็นไหมคะ มีหลากหลายสายงาน ไม่ใช่ว่าจบวิศวะสิ่งแวดล้อมแล้วต้องอยู่กับของเสียเสมอไป อิอิ  ^^


พี่เกตุคิดว่าเสน่ห์หรือความท้าทายของงานวิศวกรสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนใครคืออะไรคะ

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นวิชาชีพที่ทำหน้าที่ออกแบบ วางแผนและควบคุมการดำเนินการในการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งทางน้ำ อากาศ เสียงและขยะมูลฝอย รวมทั้งกากของเสียมีพิษต่างๆ จากภาคอุตสาหกรรม เพื่อสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน  ซึ่งปัจจุบันสิ่งแวดล้อมเป็นกระแสสังคมที่ได้รับการกล่าวถึงทั้งในแง่ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมในวงกว้าง ความต้องการบุคลากรเพื่อควบคุม และบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของภาคอุตสาหกรรมจึงมีเพิ่มมากขึ้น


คนที่เหมาะจะทำงานด้านนี้ ควรมีนิสัยหรือบุคลิกยังไงบ้างคะ

ต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน และมีความตั้งใจที่จะนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว มีความชอบหรือความถนัดในวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานในภาคสนามหรือทำงานเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ นอกจากนี้ควรมีความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนสนใจที่จะติดตาม วิทยาการใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา


มีน้องๆ ถามว่าจบวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมจะตกงานมั้ย ทำงานอะไรได้บ้าง

ไม่หรอกค่ะ ถ้าไม่เลือกงานมากเกินไป ซึ่งทำงานในด้านวิศวะกรสิ่งแวดล้อม ถ้าแบ่งตามลักษณะงานก็จะมี

1. วิศวกรสิ่งแวดล้อม หน้าที่คือ
• ออกแบบและประมาณราคางานระบบ
• ทำรายงานสรุปผลการประหยัดของอุปกรณ์ต่าง ๆ
• Technical Presentation สินค้าต่าง ๆ
• ประสานงาน/ควบคุมผู้รับเหมางานติดตั้ง
• จัดหาผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อหาอุปกรณ์มาใช้ในงานติดตั้ง
• วางแผนและควบคุมการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
• ออกแบบงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ออกภาคสนามเพื่อสำรวจ ติดตามงานและการเดินระบบ
• ควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษ 

2. การวางแผน
• ประสานงานในการวางแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม
• ควบคุมดูแลการลดของเสีย
• ควบคุมดูแลการปฏิบัติตามระบบคุณภาพ
• วางแผนการใช้วัตถุดิบ
• วางแผนการผลิต

3. QC & QA  (Quality Assurance & Quality Control)
• ควบคุมปริมาณของเสียให้น้อยลงในสายการผลิต และเฝ้าติดตามปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมสรุปผลและหาวิธีการแก้ไข ไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นอีก
• ตรวจสอบและควบคุมระบบคุณภาพในการผลิต
 
4. Auditor (ผู้ตรวจสอบ)
• ทำหน้าที่ตรวจสอบ และสอบทานการปฎิบัติงาน รายงานและประเมินผล ให้ข้อเสนอแนะ คำแนะนำ-ปรึกษา และพัฒนาระบบการควบคุมภายในองค์กร
• ตรวจประเมิน (Audit) ระบบความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ควบคุมดูแลและจัดระบบอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ให้เป็นทิศทางเดียวกัน จัดทำระบบแนวทางแก้ไขปัญหา และส่งเสริมกิจกรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมโรงงาน

5. ISO14001
• ควบคุมเอกสารในระบบ ISO และหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจาก QMR
• มีความรู้ในการพัฒนาระบบ ในการทำงาน
• ทำงานด้าน ระบบคุณภาพ ISO14001
• จัดแผน Internal Audit
• ตรวจติดตามภายใน
• ติดตาม CAR / PAR
• ติดตามวัตถุประสงค์คุณภาพ



สุดท้าย อยากให้พี่เกตุฝากถึงน้องๆ ที่สนใจอยากเรียนด้านนี้ด้วยค่ะ

น้องๆ ที่สนใจที่อยากเรียนในด้านนี้ น้องต้องมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และน้องๆ ต้องรักในสิ่งที่น้องต้องการจะเรียน เพราะถ้าไม่ได้รักหรือชอบ มันเหมือนเป็นการบังคับตัวเองให้เรียน แล้วเมื่อน้องเรียน มันจะทำให้น้องรู้สึกอึดอัดเวลาที่น้องต้องเรียนในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเอง  เหมือนพี่เคยเป็นมาก่อน เพราะไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร มันจะทำให้ น้องๆ เสียเวลาไปโดยใช่เหตุ  อย่าคิดแต่ว่าสาขาที่บูมจะมีงานรองรับเยอะ พี่ว่าน้องคิดผิด สิ่งคำสัญที่สุดคือต้องรู้ว่าตัวเองชอบและอยากเป็นอะไร อย่าตามกระแสมากเกินไป  สุดท้ายฝากถึงน้องๆ ที่เรียนวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมทุกคน ให้เก็บเกี่ยวเอาความรู้ที่ได้รับจากคณาจารย์ให้มากสุดเท่าที่น้องทำได้ เพราะชีวิตการทำงานยังมีอะไรให้น้องได้เรียนรู้อีกมากมาย ความรู้ที่เรียนมันจะเป็นพื้นฐานให้ก้าวไปสู่โลกกว้างอย่างภาคภูมิใจค่ะ 


 
 
 
 
        เป็นยังไงบ้างคะ สุดยอดเลยใช่มั้ยล่ะกับงานสายนี้ จะเห็นได้ว่ามีงานรองรับเยอะมาก แถมแต่ละงานก็เป็นอะไรที่น่าสนใจสุดๆ แถมได้ช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วยล่ะ ^^ เจ๋งสุดๆ ไปเลย

           

เด็กดีดอทคอม :: 28 วันใน


 
พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

8 ความคิดเห็น

letezza Member 23 เม.ย. 55 11:54 น. 1
 ชักน่าสนใจเหมืินกันนะสำหรับวิศวะสิ่งแวดล้อม แต่เรายังไม่รู้ว่าจะเรียนของม.ไหนดีระหว่างบางมด,จุฬาและลาดกระบัง  
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
อนุวัฒน์ 3 ก.ค. 56 09:49 น. 8
ตอบ คห.ที่7

พอดีผมก็จบ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ที่ ม.เทคโนสุรนารี เหมือนกันครับ. ตอนนี้ทำงานอยู่ที่โรงงานน้ำตาลแห่งหนึ่ง

ขึ้นชื่อว่า "วิศวกรรม" ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการคำนวณได้อย่างแน่นอนครับ งานวิศวกรรมต้องใช้ความรอบคอบในการคำนวณเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ไม่เว้นแม้แต่งานด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

วิชาพื้นฐานหลัก ๆ ตอน ม.ปลาย ที่ใช้ในการเรียนสาขานี้คือมีทั้ง ฟิสิกส์, เคมี และชีวะ เลยครับ. เพราะระบบบำบัดน้ำเสียมีหลายแบบมาก ๆ เช่น แบบชีวภาพที่ต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำ หรือถ้าน้ำเสียจากสารเคมีก็บำบัดแบบทางกายภาพและเคมี ฯลฯ ยังไม่พูดถึงเรื่อง กาก และอากาศนะครับ.

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เป็นอะไรที่กว้างมาก ๆ อยู่ใกล้กับชีวิตประจำวันของมนุษย์มาก ๆ ในอนาคตงานด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมจะเป็นที่ต้องการมาก ๆ แน่นอนครับ.
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด