สวัสดีค่ะน้อง ๆ หลังจากที่เราทราบไปแล้วว่าวิศวกรรมการบินเรียนอะไร ที่ไหนมีเรียนบ้าง จบแล้วทำอะไรได้ ก็คงทำให้น้อง ๆ พอรู้ข้อมูลคร่าว ๆ แล้วใช่ไหม? แต่ว่ายังไม่หมดแค่นี้ พี่แป้ง มีพี่ ๆ ที่เขาเรียนอยู่จะมาเปิดเผยว่าชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นแบบไหน ตื่นเต้น ๆ พร้อมแล้วหรือยัง ไปดูพร้อม ๆ กันเลย

เด็กการบินคนแรก
พี่เจ วิศวกรรมการบินและอวกาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

พี่แป้ง : ช่วยแนะนำตัวเองก่อนเลยค่ะ 
พี่เจ : ครับ ผมชื่อ เจครับ เจ วรกิจ บุญกังวาน ตอนนี้เป็นนิสิตปี 4  คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครับ

พี่แป้ง : เพราะอะไรถึงเลือกเรียนวิศวกรรมการบินฯ 
พี่เจ : ก็ในความรู้สึกมันดูฉีกแหวกดีครับ หมายถึงภาควิชานี้มันยังไม่ได้มีมากเหมือนภาควิชาอื่นๆ  มหาวิทยาลัยที่เปิดภาควิชานี้ก็มีไม่กว้างมากนัก ก็เลยมองว่ามันน่าสนใจดีครับ

พี่แป้ง : ตอนสอบเข้ามาเตรียมตัวอย่างไรบ้าง 
พี่เจ : แอดมิชชั่นครับ ถามว่าเตรียมตัวอย่างไร ในความคิดผมว่าการประเมินตัวเอง สำคัญที่สุด เราควรรู้ศักยภาพตัวเองก่อนจะตัดสินใจอะไร ตัวอย่างเช่น การได้ลองทำข้อสอบเก่าๆย้อนไปสักห้าปี เหมือนทำข้อสอบจริงๆเลย รวมกับ GPA ทั้งหลาย แล้วมาดูคะแนนเราว่า มันได้อย่างที่หวังรึยัง ถ้ายังไม่ถึงก็แปลว่าเราต้องพยายามขึ้นอีก แต่ถ้าถึงแล้วก็ไม่ควรประมาณแต่แนวโน้มเราก็จะไม่ต้องเหนื่อยมากนัก เพราะเรารู้ศักยภาพของตัวเราแล้วครับ

พี่แป้ง : เข้ามาเรียนจริง ๆ เหมือนที่คิดไว้หรือเปล่า? 
พี่เจ :  แตกต่างครับ คิดว่าอะไรๆจะง่ายแล้วก็ราบรื่นเหมือนดังที่เราคิดไว้แต่ความจริงที่เจอก็คือความแตกต่างสิ้นเชิง หลายๆอย่างก็ต้องปรับตัวเข้าหา ต้องพยายามหลายๆอย่างมากขึ้นครับ แต่ภาพรวมแล้วก็สนุกดีครับ สนุกมากกว่า

พี่แป้ง : การบิน ม.เกษตรฯ มีจุดเด่นอย่างไร 
พี่เจ :  คงเป็นทางด้านวิชาการ ที่แวดล้อมไปด้วยอาจารย์ระดับคุณภาพจริงๆ และสังคมรุ่นพี่มีกว่าแล้ว 20รุ่น (ผมรุ่น17)

พี่แป้ง : การบินมีศัพท์เฉพาะเยอะ อยากให้ยกตัวอย่างศัพท์ที่ใช้บ่อย ๆ  
พี่เจ :  ผมว่าแต่ละคณะก็จะมีศัพท์เฉพาะแตกต่างกันออกไปนะ ส่วนของการบินศัพท์ที่ใช้บ่อยๆก็น่าจะเป็นพวก Isentropic ,Compressible flow, turbulent flows, Laminar flows , Reynolds number เป็นต้นครับ 

พี่แป้ง : ตั้งแต่เรียนมาวิชาไหนที่ยากที่สุด 
พี่เจ :  วิชา Low-Speed Aerodynamic ครับ เป็นวิชาที่ส่วนมากจะพูดถึง การไหลของอากาศ ซึ่งเป็นการคำนวณที่ยากครับ ทฤษฎีก็ยากเช่นกัน

พี่แป้ง : วางแผนอนาคตไว้อย่างไรบ้าง
พี่เจ :  ก็คงทำงานให้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมากที่สุดครับ ส่วนแผนของอนาคตคือทำปัจจุบันให้ดีที่สุดก่อนครับ

พี่แป้ง : สุดท้ายฝากถึงน้อง ๆ ชาว Dek-D ที่อยากจะเรียนวิศวกรรมการบินและอวกาศ (AE) หน่อยค่ะ
พี่เจ :  ก็สำหรับน้องๆที่สนใจทางด้าน การบินนะครับ วิศวะการบินถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึงที่น่าสนใจ น้องจะได้รู้ว่าเครื่องบินมีการทำงานอย่างไร และเพราะเหตุใดมันถึงทำงานแบบนี้ได้ ถ้าน้องมาเรียนแล้วจะเข้าใจการทำงานของมันเองครับ ที่ภาควิชายินดีต้อนรับเสมอครับ

 

เด็กการบินคนที่สอง
พี่พี เทคโนโลยีการบิน การจัดการท่าอากาศยาน สถาบันการบินพลเรือน

พี่แป้ง : ช่วยแนะนำตัวเองก่อนเลยค่ะ
พี่พี : ครับ ชื่อ นายพีรพงษ์  สุขสำราญ หรือว่า "พี" ตอนนี้เรียนอยู่สถาบันการบินพลเรือน ปี 4 หลักสูตรเทคโนโลยีการบิน การจัดการท่าอากาศยาน (Airport Management Program) หรือ APM นั่นเองครับ

พี่แป้ง : เพราะอะไรถึงเลือกเรียนการจัดการท่าอากาศยานคะ?
พี่พี : ทีแรกเลยแม่อยากให้เรียนครับเพราะว่าพี่สาวของพีเองก็เรียนอยู่ และอีกอย่างหนึ่งคือในอุตสาหกรรมการบินค่อนข้างกว้างครับ คนเรามักจะมองแค่นักบิน แอร์ฯ สจ๊วต แต่การบินมันทำไม่ได้ถ้ามีแค่นี้ ทุกฝ่ายต้องทำงานประสานกัน แล้วยิ่งพอมาเรียนก็รู้สึกชอบครับ มันเป็นอะไรที่แปลกและท้าทายดี รู้อะไรมากกว่าที่เราคิดไว้เยอะเลย

พี่แป้ง : ตอนสอบเข้ามาเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
พี่พี : พีสอบตรงเข้ามา ความรู้สึกว่าข้อสอบยากพอตัวครับ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะยากเท่าข้อสอบแอดมิชชั่นหรือเปล่าเพราะว่าไม่ได้ไปสอบ ตอนเตรียมตัวก็อ่านหนังสือ ดูข่าวการบิน เรื่องทั่วไป พีเรียนสายศิลป์คำนวณเลยอ่านเน้นวิทย์เยอะเพราะกลัวเสียเปรียบสายวิทย์-คณิต ก็ทำข้อสอบเต็มความสามารถ แล้วผลที่ได้มาก็คุ้มค่าที่อ่านหนังสือมา 

พี่แป้ง : เข้ามาเรียนจริง ๆ เหมือนที่คิดไว้หรือเปล่า?
พี่พี : ไม่เหมือนเลย คิดว่าเรียนการบินตั้ง 4 ปีมันคงชิวมาก ฮ่า ๆ ๆ คือไม่ได้คิดว่าจะเยอะขนาดนี้ แล้วอีกอย่างคือเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด คือมันเกินความคาดหมายเพราะเข้าใจว่าเป็นภาษาไทย อาจารย์บางคนตอนสอนเขาก็แปลเป็นภาษาไทยให้นะ แต่เอกสารที่ใช้เรียนคือเป็นภาษาอังกฤษหมดเลย พีโชคดีตรงที่พี่เรียนที่โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษาซึ่งสอนเป็นสองภาษามาก่อนเลยสบายไปกับการเรียนที่นี่ (พอดีตอนเรียนกวนประสาทครูต่างชาติบ่อย: พี่แป้ง)

พี่แป้ง : การบินสถาบันการบินพลเรือนมีจุดเด่นอย่างไร?
พี่พี : สถาบันการบินพลเรือนเป็นที่แรกที่สอนเกี่ยวกับการบิน พีว่ามีความน่าเชื่อถือมากและบุคลากรก็มีคุณภาพด้วย เครื่องมืออุปกรณ์พร้อมมาก แล้วก็มีแบบจำลองหรือว่า Simulator ให้ลองฝึกก่อนลงไปปฏิบัติงานจริง พีว่ามาเรียนแล้วพร้อมจะทำให้สามารถเรียนรู้อย่างรวดเร็ว และเวลาทำงานจริงก็ไม่ต้องเทรนอะไรมากมาย  และพีก็ชอบเรียนที่นี่สังคมก็ดีอยู่กันแบบพี่น้อง รู้สึกดีครับ

พี่แป้ง : การบินมีศัพท์เฉพาะเยอะ อยากให้ยกตัวอย่างศัพท์ที่ใช้บ่อย ๆ 
พี่พี : ศัพท์การบินในส่วนที่พีเรียนก็จะไม่ยากเท่าของหลักสูตรนักบินหรือ ATC (เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศที่อยู่ที่หอสูง ๆ ค่ะ) แต่ที่ยากก็จะเป็น ICAO Phonetic Alphabet ที่จะต้องมานั่งจำใหม่ว่าตัวไหนเรียกอะไร เช่น B เราเรียกว่า B. Bird หรือบางคนจะเป็นชื่อประเทศ จังหวัด ก็จะเป็น B.Bangkok แต่ทางการบินจะเรียกต่างเป็น B. Bravo  H. Hotel แต่ที่พีชอบคือตัว R และ J เพราะว่า R.Romeo และ J.Juliet เป็นตำนานรักที่โรแมนติก อีกตัวที่ชอบก็ W.Whiskey รู้สึกจะอร่อยดีนอกจาก Alphabet แล้วก็คือ code ของสนามบินที่ต้องจำให้ ของ ICAO จะเป็น code 4 ตัว แต่ของ IATA จะเป็น code 3 ตัว เช่นที่สนามบินสุวรรณภูมิเรา ใช้ VTBS และ BKK ครับ สนามบินดอนเมืองเป็น VTBD และ DMK ต้องจำทั้ง 2 แบบ ครั้งทีแรกก็จำลำบากพอเรียนไปเรียนมาจำได้ก็ดีครับ เคยขึ้นแท็กซี่แล้วบอกเขาว่า "พี่ไปวีทีบีดี (VTBD สนามบินดอนเมือง)ครับ" พี่เขาตอบมาว่า "อะไรดี ๆ นะ ซีดีซี (CDC) หรอ" อายครับตอนนั้น ฮ่า ๆๆ

พี่แป้ง : ตั้งแต่เรียนมาวิชาไหนที่ยากที่สุด 
พี่พี : วิชาที่เป็นวิชาหลักของ Airport ครับ คือว่ามันไม่ยากเท่าไหร่ แต่มันจำเยอะมาก ทั้งระบบ ทั้งข้อบังคับ การวางแผน การบริหาร คือนอกจากว่าเราจะเข้าใจแล้วเราต้องจำได้ด้วย ข้อกำหนดข้อบังคับก็เยอะครับ แต่เรียนก็รู้อะไรมาพอสมควร อย่างเช่น บางสนามบินในบางประเทศเขาไม่ให้บินกลางคืนเพราะว่าจะรบกวนเวลานอนของประชากร ถ้าฝ่าฝืนสามารถโดนฟ้องและเรียกร้องค่าเสียหายได้เป็นจำนวนมหาศาลเลยครับ หรือบางประเทศเปิดปิดสนามบินเป็นเวลา เราก็ต้องดูด้วยว่าเราต้องออกจากประเทศเราตอนไหนเพื่อไปถึงที่นั่นตอนเขาเปิด โอ้ย!เยอะครับ แล้วการบินทำงานด้วยกันหมด ทั้งสายการบิน ATC หรือหน่วยงานอื่น ๆ เพราะฉะนั้นทุกส่วนจำเป็นหมดครับ ไม่ได้จำเป็นแค่นักบิน แอร์ฯ หรือสจ๊วต เพราะถ้าไม่ได้รับการอนุญาติจากทางสนามบินให้บิน สายการบินก็ไม่สามารถบินได้ หรือถ้ามีสนามบินเป็นร้อยแห่งแต่ไม่มีสายการบินก็ไม่ได้ ถ้าเทียบแล้ว สายการบินก็คือลูกค้าของสนามบินนั่นเองครับ และผู้โดยสารก็เป็นลูกค้าของสายการบินอีกที ส่วน ATC นี่สำคัญ ไม่มีเขาเราบินไม่ได้ ชนกันแย่แน่

พี่แป้ง : คิดว่าอนาคตจะทำงานอะไร
พี่พี : พีอยากทำงานกับ บริษัท การท่าอากาศยานไทยฯ แต่ว่าก่อนหน้านั้นก็อยากหาประสบการณ์ก่อน วางแผนไว้ว่าถ้าไม่ทำเป็น outsourse ของสนามบินก็จะทำงานกับสายการบินครับจะได้รู้กว้าง ๆ พีเคยไปฝึกงานที่สนามบินหาดใหญ่ซึ่งอยู่ในการดูแลของบริษัท การท่าอากาศยานไทยฯ รู้สึกว่าชอบครับ ไปฝึกอยู่ 2 ส่วนคือส่วนประชาสัมพันธ์คอยให้บริการผู้โดยสารเช่นถามทาง ขอ Wifi ถ้ามขั้นตอนการเข้าไปรอใน Gate ประมาณนี้ครับ ได้ฝึกภาษาด้วย และอีกส่วนหนึ่งที่ได้ทำคือส่วนของลานจอด ดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัย รู้สึกชอบกับการทำงานที่สนามบินหาดใหญ่ก็เลยอยากทำงานกับบริษัท การท่าอากาศยานไทยฯ ครับ

พี่แป้ง : สุดท้ายฝากถึงน้อง ๆ ชาว Dek-D ที่อยากจะเรียนสถาบันการบินพลเรือนหน่อยค่ะ
พี่พี : ครับ ก็แนะนำว่าให้อ่านข้อสอบไปครับ วิชาทั่วไปครับ คณิต วิทย์ อังกฤษ ประมาณนี้แต่ว่าเน้นภาษาอังกฤษมาก ๆ ครับเพราะจะได้เป็นผลดีกับตัวเองด้วย และถ้ามีความรู้เรื่องการบินบ้างก็ดีครับ คือต้องดูว่าอยากเข้าสาขาไหน แล้วก็หาข้อมูลเตรียมตัวสำหรับสาขานั้น ทุกคนทำได้ครับแค่เชื่อมั่นในตนเอง


อยากรู้จัง ใครอยากเรียนการบินบ้าง??
 


ภาพประกอบ  www.dreamstime.com
                     www.catc.or.th
                     www.ku.ac.th

พี่แป้ง
พี่แป้ง - Columnist นักข่าวสายรับตรง พร้อมเสิร์ฟข่าวสอบเข้าทุกมหา'ลัย เติมพลังได้จากชาเย็นหวานน้อย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Sirisobhakya Member 4 ก.ค. 55 22:35 น. 5
ต้องแยกกันก่อนนะครับว่ามันต่างกัน วิศวกรรมอากาศยาน การบิน หรือการจัดการ หลายคนเหมาว่าพวกนี้เรียนไปเป็นนักบินหมด

ของเกษตรและจุฬา (อย่างหลังเรียกชื่อสายว่า "วิศวกรรมอากาศยาน") เรียนเพื่อ ซ่อม สร้าง ออกแบบ เป็นวิศวกรขนานแท้
ไม่ได้เรียนบินนะครับ สังเกตคำศัพท์ที่คนแรกยกมา เป็นคำศัพท์ของวิชา Thermodynamics, Fluid Mechanics และ Aerodynamics คือเป็นวิชาคำนวณ วิศวกรรมล้วน ของเกษตรจะเน้นการซ่อมบำรุงหรือ Maintenance มากกว่าจุฬาซึ่งจะเน้นไปทางออกแบบหรือ Design

วิศวะการบินและอวกาศของเกษตรมีทั้งแบบภาคปกติและภาคสองปริญญา (IDDP) ที่เรียนที่นี่สามปีครึ่ง อีกปีครึ่งไปเรียนออสเตรเลีย ได้สองปริญญาคือวศ.บ. การบิน และอีกใบรู้สึกจะบริหาร ค่าเทอมทั้งสิ้นของ IDDP ถ้าจำไม่ผิด 4,200,000 บาททั้งหลักสูตร

ส่วนจุฬามีแต่ภาคอินเตอร์สี่ปี ได้ปริญญาวศ.บ. อากาศยาน ค่าเทอมทั้งหลักสูตร (สี่ปี) รวมค่าลงทะเบียนเริ่มต้นที่ 721,500 บาทถ้าไม่ลงซัมเมอร์เลยยกเว้นฝึกงานตอนปีสาม และ 840,000 บาทถ้าลงซัมเมอร์ทุกเทอม

ของเอแบค เท่าที่ทราบคือ
เรียนไปเป็นนักบิน แต่เรียนวิชาพื้นฐานของวิศวะด้วย ได้ วศ.บ. และได้ใบประกอบวิชาชีพนักบิน

ส่วนการจัดการการบิน วิทยาการการบิน เทคโนโลยีการบิน ธุรกิจการบิน หรือสายอื่นๆ ก็เรียนไปด้านอื่น เช่นการจัดการสนามบิน สายการบิน ฯลฯ แต่
ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนไปเพื่อเป็นนักบินครับ

ถ้าอยากเป็นนักบินจริงๆ จบปริญญาตรีสาขาไหนก็ได้ (ประมงยังได้เลย) แล้วไปสมัครเข้าสายการบินที่มี Student Pilot เช่นการบินไทยหรือแอร์เอเชียครับ ถ้าสอบนักบินผ่านเขาก็จะมีทุนให้ กับอีกทางคือจบตรีสาขาไหนก็ได้แล้วไปสอบโรงเรียนการบินพลเรือนครับ

เลือกให้ดีๆนะครับ ผมเห็นคนเข้ามาแล้วผิดหวังมาหลายคนแล้ว เข้าก็ไม่ใช่ง่าย ค่าเทอมก็ไม่ใช่ถูก จะซิ่วก็เสียเวลา



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 4 กรกฎาคม 2555 / 22:36
0
กำลังโหลด

20 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Sirisobhakya Member 4 ก.ค. 55 22:35 น. 5
ต้องแยกกันก่อนนะครับว่ามันต่างกัน วิศวกรรมอากาศยาน การบิน หรือการจัดการ หลายคนเหมาว่าพวกนี้เรียนไปเป็นนักบินหมด

ของเกษตรและจุฬา (อย่างหลังเรียกชื่อสายว่า "วิศวกรรมอากาศยาน") เรียนเพื่อ ซ่อม สร้าง ออกแบบ เป็นวิศวกรขนานแท้
ไม่ได้เรียนบินนะครับ สังเกตคำศัพท์ที่คนแรกยกมา เป็นคำศัพท์ของวิชา Thermodynamics, Fluid Mechanics และ Aerodynamics คือเป็นวิชาคำนวณ วิศวกรรมล้วน ของเกษตรจะเน้นการซ่อมบำรุงหรือ Maintenance มากกว่าจุฬาซึ่งจะเน้นไปทางออกแบบหรือ Design

วิศวะการบินและอวกาศของเกษตรมีทั้งแบบภาคปกติและภาคสองปริญญา (IDDP) ที่เรียนที่นี่สามปีครึ่ง อีกปีครึ่งไปเรียนออสเตรเลีย ได้สองปริญญาคือวศ.บ. การบิน และอีกใบรู้สึกจะบริหาร ค่าเทอมทั้งสิ้นของ IDDP ถ้าจำไม่ผิด 4,200,000 บาททั้งหลักสูตร

ส่วนจุฬามีแต่ภาคอินเตอร์สี่ปี ได้ปริญญาวศ.บ. อากาศยาน ค่าเทอมทั้งหลักสูตร (สี่ปี) รวมค่าลงทะเบียนเริ่มต้นที่ 721,500 บาทถ้าไม่ลงซัมเมอร์เลยยกเว้นฝึกงานตอนปีสาม และ 840,000 บาทถ้าลงซัมเมอร์ทุกเทอม

ของเอแบค เท่าที่ทราบคือ
เรียนไปเป็นนักบิน แต่เรียนวิชาพื้นฐานของวิศวะด้วย ได้ วศ.บ. และได้ใบประกอบวิชาชีพนักบิน

ส่วนการจัดการการบิน วิทยาการการบิน เทคโนโลยีการบิน ธุรกิจการบิน หรือสายอื่นๆ ก็เรียนไปด้านอื่น เช่นการจัดการสนามบิน สายการบิน ฯลฯ แต่
ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนไปเพื่อเป็นนักบินครับ

ถ้าอยากเป็นนักบินจริงๆ จบปริญญาตรีสาขาไหนก็ได้ (ประมงยังได้เลย) แล้วไปสมัครเข้าสายการบินที่มี Student Pilot เช่นการบินไทยหรือแอร์เอเชียครับ ถ้าสอบนักบินผ่านเขาก็จะมีทุนให้ กับอีกทางคือจบตรีสาขาไหนก็ได้แล้วไปสอบโรงเรียนการบินพลเรือนครับ

เลือกให้ดีๆนะครับ ผมเห็นคนเข้ามาแล้วผิดหวังมาหลายคนแล้ว เข้าก็ไม่ใช่ง่าย ค่าเทอมก็ไม่ใช่ถูก จะซิ่วก็เสียเวลา



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 4 กรกฎาคม 2555 / 22:36
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
xxxx 9 ก.ค. 55 00:51 น. 9
พอดีเห็นความคิดเห็นที่ 5 ผมเลยอยากจะเพิ่มเติมและแก้ไขให้ถูกต้องนิดหน่อยครับ
เท่าที่ผมสัมผัสมานะครับ วิศวกรรมการบิน ม.เกษตร ไม่ได้เน้นการซ่อมบำรุ่งหรือ Maintenance เลยครับ แต่จะเน้นไปทางการออกแบบหรือ Design มากกว่า (พอดีผมจบวิศวะการบิน ม.เกษตร ครับ)
ส่วนที่เหลือผมเห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ 5 ครับ
0
กำลังโหลด
Engineer-Tutor Member 26 ก.ย. 55 22:45 น. 10
ขอเพิ่มเติม อีกคณะ/สถาบันครับ พี่เป็นศิษย์เก่าของคณะนี้

คณะวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์การบิน (Aviation Electronics Engineer)

สถาบันการบินพลเรือน (CATC)

รุ่นปีนี้รุ่นที่ 7 ครับของสถาบันการบินพลเรือน

หลักสูตร 4 ปี เรียนซ่อมบำรุงระบบสื่อสาร (Navigation) และ ระบบไฟฟ้าของเครื่องบิน (Avionics)

ส่วนเรือ่งขอค่าเทอม พี่ไม่แน่ใจว่าปัจจุบันเท่าไร แต่น่าจะไม่ต่างจากตอนที่พี่เรียนมากนัก

เอาคร่าวๆนะครับ เฉลี่ย อย่างมากเทอมละ 20000 บาท ขึ้นอยู่กับว่ามีวิชาประฎิบัติเยอะไหม

เพราะวิชาที่ลงช็อป จะมีหน่วยกิจแพงกว่าพวกวิชาที่เรียน แลกเชอร์

เรียนปีละ 3 เทอม เป็นเวลา 4 ปี = 20000 X 3 X 4 = 240,000 อันนี้คร่าวๆนะครับ

คิดว่าไม่น่าจะต่างจากนี้มากครับ

www.engineer-tutor.com

0
กำลังโหลด
สุพรรษา 9 พ.ย. 55 12:00 น. 11
หนูสอบติดวิศวกรรม สาขาอากาศยาน จะไปสัมภาษณ์วันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ พี่ๆช่วยให้คำเนะนำหน่อยนะคะ
ปล.ไม่ค่อยได้เข้ามาช่วยติดต่อที่ FB.sarochka lapochka elric นะคะ ขอบคุณค่ะ
0
กำลังโหลด
เด็ก 2 ม.ค. 56 21:10 น. 12
เครืองกล กับการบินและอวกาศ อันไหนเรียนแล้วน่าจะดีต่ออนาคตการทำงานมากกว่ากันครับ ขอความรู้หน่อยครับ ขอบคุณครับ
0
กำลังโหลด
Amp 14 ก.พ. 56 09:02 น. 13
พอจะมีเว็บอ้างอิงเกี่ยวกับค่าเทอมไหมคับ คือ ต้องการทราบจริงๆที้งของ ม.เกษตร และจุฬา เลย ฝากด้วยนะคับ
0
กำลังโหลด
ป๊อป 27 ก.พ. 56 19:40 น. 14
พี่ คับ ตอนเข้าไปเรียนนี่ มีวิชาไร บ้างอะคับ จากแจงไห้ฟังด้วยคับจะได้ เรียนได้ถูกก่อนเข้าอะคับ อยากรู้วิชาที่ จะต้องเรียนจะได้เตรียมตัว ไปในตัว อะคับ หัวข้อเรื่องที่เรียนอะคับ ของวิชา เอกวิชาซ่อมบำรุงอากาศยาน
0
กำลังโหลด
myweerakarn 23 ก.ค. 56 14:49 น. 15
โทดคับ ผมอยากจะถามว่า ถ้าเรียนจบ ป.ว.ส เทคนิคยานยนต์มาจะเรียนต่อสาขานี้ได้มั้ยคับ แล้วจะต้องสอบเข้าแบบไหนต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง รบกวนช่วยแนะนำด้วยคับ ขอบคุณ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Vodka 26 พ.ค. 58 19:11 น. 18
Aviation Electronics Engineering ของสถาบันการบินพลเรือน ก็เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่น่าสนใจครับ สำหรับน้องน้องๆที่สนใจหลักสูตรวิศวกรรมอากาศยาน
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด