Spoil
  • การทำเป็นเนียนๆ รับฟังก่อน แล้วค่อยอธิบายทีหลัง จะทำให้เขาเปิดใจรับฟังมากขึ้น
  • ยิ่งแอคติ้งว่ามีความมั่นใจ ยิ่งทำให้อีกฝ่ายเคลิ้มๆ เชื่อเรามากขึ้น
    • จัดข้อมูลต่างๆ ลงในตาราง ยิ่งเห็นยิ่งน่าเชื่อถือ!

______________


            ในยุคที่มีข้อมูลข่าวสารมากมาย    จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรถ้าผู้คนจะมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน    ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ   อย่าง ร้านอาหารไหนอร่อย     ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ    อย่างกฎระเบียบในโรงเรียน    ความเห็นทางการเมือง หรือข้อมูลความรู้ต่างๆ

            หลายครั้งเราต้องโต้เถียงกันเพื่อแสดงความคิดเห็น      แต่ไม่ใช่ทุกครั้งที่อีกฝ่ายจะยอมรับฟังความเห็นต่าง    สำหรับน้องๆ    ที่กำลังประสบปัญหานี้      พี่กวางมีคำแนะนำดีๆ จากผู้เชี่ยวชาญด้าน การถกเถียง มาบอกต่อกันค่ะ ว่าเคล็ดลับ  เถียงยังไงให้ชนะ   นั้นจริงๆ แล้วไม่ยากอะไรเลย เพียงแค่ทำตาม   7 ข้อง่ายๆ นี่เอง
 

ภาพจาก   unsplash.com


 
อย่าต้อนให้เขาจนมุม 
            การพยายามใช้คำพูดแรงๆ   โจมตีฝ่ายตรงข้าม    จะผลักดันให้สมองของคู่สนทนาเข้าสู่ โหมดการตอบสนองแบบสู้หรือหนี  (Fight-or-Flight Mode)   หมายความว่ายิ่งเราต้อนเขาจนมุมเท่าไหร่    อีกฝ่ายก็ยิ่งไม่ฟังสิ่งที่เราต้องการอธิบายเท่านั้น  ทางที่ดีจึงควรโน้มน้าวด้วยการพยายามทำความเข้าใจเหตุผลของเขาก่อน   แล้วจึงนำเสนอวิธีคิดอีกแบบกลับไป ทำอย่างนี้จะมีแนวโน้มทำให้อีกฝ่ายเปิดใจฟังเรามากขึ้นค่ะ

 
ยิ่งเห็นด้วย ยิ่งชนะใจ 
            อย่างที่บอกไปว่าการเถียงหัวชนฝาไม่ใช่วิธีที่ดีนัก    เพราะมีแต่จะกระตุ้นให้อีกฝ่ายเปิดโหมดต่อสู้    ตรงกันข้ามคือ   หากเรารับฟังและแสดงออกว่ายอมรับเหตุผลของเขา  (แม้ว่าจริงๆ   จะรู้สึกอิหยังวะแค่ไหน...)   จะสามารถทำให้อีกฝ่ายเปิดใจยอมรับฟังเราได้มากกว่า   เรื่องนี้  Peter Ditto   ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา แห่ง  University of California   เคยอธิบายไว้ใน    New York Magazine   ว่า   “เมื่อคนเรารู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า  (self-worth)   ก็จะเริ่มเปิดใจรับฟังข้อมูลใหม่ๆ    ที่ขัดกับความเชื่อเก่าของตัวเองมากยิ่งขึ้น” 
 

ภาพจาก   unsplash.com
 
ใช้คำถามปลายเปิด 
            John Gottman   นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์   ให้คำแนะนำเมื่อคู่รัก  เพื่อน    เพื่อนร่วมงาน หรือครอบครัวมีความเห็นไม่ตรงกันว่า  เมื่อถกเถียงกัน   ควรใช้คำถามที่เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็น  เช่น 
            -   มองชีวิตในอีก  3   ปีข้างหน้าไว้ยังไง
             -   ชอบงานที่ทำอยู่ตรงไหน
            -
หากตื่นขึ้นมาแล้วเงินของคนทั้งโลกมาอยู่ในบัญชีเรา จะทำยังไง
            คำถามปลายเปิดเหล่านี้จะช่วยเปลี่ยนบรรยากาศจากการต่อสู้กัน    ให้เป็นการรวมใจกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแทน 

 
แสดงความมั่นใจออกมา 
            รู้ไหมว่า ที่จริงแล้วผู้คนไม่ได้เชื่อคนฉลาดที่สุดเสมอไป   เพราะเคยมีผลการวิจัย ชี้ให้เห็นว่า  ผู้คนเลือกเชื่อถือคนที่ดูมีความมั่นอกมั่นใจมากกว่า 

            เรื่องนี้  Bryan Bonner   อาจารย์จากคณะบริหารแห่ง  University of Utah   อธิบายกับ  The Wall Street Journal   ว่า ผู้คนมักจะยอมรับนับถือใครสักคนที่หน่วยก้านดี   โดยประเมิณจากมนุษยสัมพันธ์   เพศ    เชื้อชาติ    และความมั่นใจ   มากกว่าการฟังสิ่งที่เขาพูด   แม้ว่าในหลายๆ    ครั้ง จะเป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้น   ดังนั้นเมื่ออยากให้ใครฟังความเห็นของเรา ควรเริ่มจากการแสดงความมั่นใจในสิ่งที่พูดก่อนเลยค่ะ
 

ภาพจาก   unsplash.com
 
อ้างอิงคนส่วนใหญ่ 
            เคยไหมคะ   เดินผ่านร้านอาหารที่มีคนต่อคิวเยอะๆ   ก็คิดว่าร้านนี้น่าจะอร่อย   เห็นคนดังใช้สินค้าตัวไหนเยอะๆ    ก็คิดว่าน่าจะคุณภาพดี    สิ่งเหล่านี้เรียกว่า  Social Proof   หรือ    การการันตีทางสังคม   ที่หนังสือ    Influence: The Psychology of Persuasion ของ Robert Cialdini   กล่าวว่าเป็นหนึ่งในวิธีการโน้มน้าวใจคนชั้นเยี่ยม    แม้กระทั่งคนแปลกหน้าก็ยังคล้อยตามได้   เพราะคนเราส่วนใหญ่มักจะเชื่อว่า อะไรที่คนคล้อยตามเยอะๆ   แสดงว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดี   ที่ถูกต้อง   ดังนั้นเมื่อถกเถียงกับใคร    การหยิบ  Social Proof   มาใช้ให้อีกฝ่ายเห็นว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมเห็นด้วย   นต์
 
เขียนออกมาเป็นตาราง 
            การศึกษาวิจัยจาก  Cornell University   พบว่า    คนส่วนใหญ่มักจะเชื่อนักวิทยาศาสตร์   หรือเชื่อในสิ่งที่ดูแล้วคล้ายๆ   วิทยาศาสตร์    เช่น    การใช้ตารางต่างๆ    จะสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือในสายตาคนอื่นได้    เรื่องนี้    Aner Tal   และ    Brian   Wansink   เจ้าของงานวิจัยสรุปเอาไว้ว่า    “อะไรก็ตาม เมื่อเรานำมาจัดรูปแบบให้ดูเหมือนงานวิจัยวิทยาศาสตร์    จะสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ข้อมูลได้    ต่อให้เป็นแค่ข้อมูลธรรมดาๆ   ไม่มีอะไรแปลกใหม่เลยก็ตาม 
 

ภาพจาก   unsplash.com
 
หาหลักฐานสนับสนุนคำพูด 
            การที่เราพูดจนปากเปียกปากแฉะถึงแนวคิดและเหตุผลของเรา   อาจจะไม่สามารถโน้มน้าวจิตใจฝ่ายตรงข้ามได้ดีพอ   ดังนั้นสิ่งที่ต้องการมากกว่าคำพูดก็คือ ข้อมูลต่างๆ   โดยเฉพาะข้อมูลที่มีการสำรวจ หรือวิจัยมาแล้ว    รวมถึงข้อมูลที่คนส่วนใหญ่ให้การยอมรับ 

            Jacquelyn Gill   ได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ    Contemplative Mammoth   ว่า    “ในงานวิจัยต่างๆ    ต่อให้มีนักวิทยาศาสตร์   1-2  คน ไม่เห็นด้วยอย่างไร    แต่สุดท้ายเขาก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับเสียงส่วนใหญ่    และยิ่งมีหลักฐานเป็นข้อมูลมาสนับสนุนด้วยแล้ว ก็แทบจะไม่สามารถโต้เถียงได้เลย”  จึงสรุปได้ว่า จะถกเถียงอะไรกับใคร งัดข้อมูลและหลักฐานออกมาเลยค่ะ เปอร์เซ็นต์ชนะลอยมาใสๆ
 

ภาพจาก   unsplash.com
 
            เรียกว่าถ้าต้องเถียงกับใคร ลองเอา 7 วิธีนี้มาใช้ น่าจะช่วยให้อีกฝ่ายรับฟังน้องๆ ได้มากขึ้นนะคะ แต่ว่าถ้า ใช้ครบ   7    นี้แล้วเขาก็ยังไม่ฟังเราอยู่ดี    พี่กวางว่าเราก็ควรตัดใจ ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง  และหาวิธีอยู่ร่วมกันอย่างสันติแทนค่ะ  เพราะต่อให้คิดต่างกันอย่างไร สุดท้ายก็ยังคือเพื่อน พี่ น้อง และครอบครัวของเราอยู่ดีนะคะ

            น้องๆ   ชาว    Dek-D   คนไหนเคยถกเถียงกับเพื่อนเรื่องอะไรบ้าง    และใช้วิธีอะไรในการโน้มน้าวเพื่อนให้มาอยู่ทีมเดียวกับเรา    ลองคอมเมนต์มาเพิ่มเติมได้ค่ะ    เผื่อจะได้วิธีที่    8-9-10    เจ๋งๆ   เอาไปทำตามกัน 

 

ที่มา 
พี่กวาง
พี่กวาง - Columnist พลเมืองบางบัวทอง ผู้ตามทันทุกเทรนด์ฮิต เพราะไถทวิตเตอร์ระหว่างรถติดแยกแคราย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น