เคล็ดลับนิยายสืบสวนสอบสวน...ป่วนคนอ่าน!

 

 

 

          สวัสดีจ้าน้องๆ นักเขียนชาว Dek-d.com มาพบกับพี่นัทอีกตามเคย ไม่รู้เบื่อหน้ากันไปหรือยัง แต่ก็ยังจะมา ฮ่าๆ วันนี้มาพร้อมเคล็ดลับสำหรับน้องๆ ที่กำลังเขียนนิยายแนวสืบสวนสอบสวนอยู่ มีคำถามส่งมาถามพี่นัทว่า นักเขียนจำเป็นต้องรู้เรื่องราวทั้งหมดก่อนที่จะลงมือเขียนหรือไม่เวลาเราเขียน นิยายแนวนี้วันพี่นัทมีเคล็ดลับเรื่องนี้มาฝากจ้า สูตรสำหรับนักเขียนนิยายแนวสืบสวนสอบสวน

 

          นักเขียนแต่ละคนล้วนมีวิธีการเขียนของตนทั้งนั้น แต่ขอแนะนำว่าหากคุณรู้ว่าใครเป็นผู้ร้ายและทำไมเขาถึงทำผิด และเหตุผลดีๆที่ทำให้นักสืบ หรือพระเอกของเราต้องเข้าไปเกี่ยวข้องก็จะเป็นการดี ที่ใดสักที่ประมาณสองในสามของโครงเรื่อง คุณมักจะต้องโยนสิ่งต่างๆ เพื่อหันเหหนทางใหม่ๆ ในเรื่อง เช่นคนที่ต้องสงสัยเป็นคนแรกถูกฆ่าตาย เราเรียกสิ่งนี้ว่า การหักมุม หรือ หักหลังผู้อ่านที่เข้าใจว่าตัวละครนี้น่าจะเป็นตัวร้าย

           คราวนี้ผู้อ่านก็จะสงสัยและตั้งหน้าตั้งตาอ่านเพื่อค้นหาว่า ใครกันแน่ที่เป็นผู้ร้ายตัวจริง

          ไม่ต้องสงสัยว่าฉากสุดท้ายต้องเป็นการเผชิญหน้าและการจับตัวผู้ร้ายคุณต้องขมวดปม และรวบรวมสรุปหลักฐาน โครงเรื่องย่อย และเหตุการณ์ต่างๆทั้งหมด นักเขียนเก่งๆ มักทำให้ผู้อ่านสงสัยตัวละครหลายๆ ตัว เรื่องลึกลับที่ดีในขณะดำเนินเรื่องจะเผยรายละเอียดต่างๆ เหล่านั้นก็จะนำไปสู่การสงสัยผู้คนมากขึ้นๆ

           และนี่คือเคล็ดลับเล็กๆน้อยๆต่อไปเราจะพูดถึงการวางหลักฐานต่างๆ

          สิ่งสำคัญประการแรกสุดที่นักสืบจะต้องกระทำก็คือ การสืบว่าผู้เคราะห์ร้ายมีความเป็นอยู่อย่างไร เพื่อที่เราจะเข้าใจว่าทำไมผู้เคราะห์ร้ายจึงถูกฆ่า หรือถูกฆ่าอย่างไร พวกเขาเสพยาหรือไม่ มีความสัมพันธ์สวาทแบบลึกลับหรือไม่ มีหนี้สินหรือไม่ หรือเป็นขโมย หรือติดการพนัน เขาหรือเธอมีศัตรูหรือไม่ ปกปิดอะไรบางอย่างอยู่หรือเปล่า

 

 

เหล่านี้คือกุญแจสำคัญของโครงเรื่อง

เหยื่อจำเป็นต้องมีอดีตเพื่อมีอะไรบางอย่างที่โยงไปถึงตัวฆาตกร

หลักฐานต่างๆ ทั้งหมดนี้ คุณสามารถสื่อผ่านบทสนทนาและการซักถาม

หลักฐานที่ดีที่สุดดูเหมือนเป็นอุบัติเหตุ หรือเรื่องธรรมดาๆพวกมันจะปรากฏตัวราวกับว่าพวกมันอยู่ที่นั่นเพื่อเหตุผลอื่นๆ

เหยื่อและฆาตกรต่างเกี่ยวข้องกันเหมือนแรงจูงใจและวิธีการ หลังจากนั้นคุณนักเขียนต้องถามตัวเองว่าใครอีกบ้างที่ต้องการให้เหยื่อตาย กลเม็ดก็คือการสร้างผู้ต้องสงสัยให้มากกว่าหนึ่งคน

ต่อไปก็คือเรื่องอาวุธ บ่อยครั้งที่เรามิอาจหาอาวุธพบ เราจึงต้องหาหลักฐานบางอย่างตกในที่เกิดเหตุก็ได้"

โดยเฉพาะหากมีสิ่งของบางอย่างตกอยู่ แสดงถึงการดิ้นรนต่อสู้ก็อาจทำให้เราทราบได้ว่าเหยื่อรู้จักฆาตกร

แล้วที่เหลือก็ขึ้นกับการเรียบเรียงเนื้อเรื่อง ให้คนอ่านวางไม่ลงโดยเผยข้อมูลทีละน้อย อย่างชาญฉลาด

 

เพียงเท่านี้นักเขียนอย่างเราๆ ก็สามารถจัดการคนอ่านได้อย่างอยู่หมัดแล้วจริงไหมล่ะจ๊ะน้องๆ นักเขียนชาว Dek-d.com อย่าลืมติดตามเคล็ดลับนักเขียนเรื่องอื่นๆ พี่นัท สัญญาว่าจะรีบเอามาลงให้เลยจ้า หรือทนคิดถึง พี่นัทไม่ไหวล่ะก็แอบหลงตัวเองอีกและ ฮ่าๆ แวะเข้าไปเยี่ยมพี่นัทที่ MY ID หรือส่งเมลล์ มาหาพี่นัทได้ที่ judne@dek-d.com จ้า

 

พี่นัท

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

16 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
พระแสงดาบคาบค่าย Member 25 ก.พ. 52 12:57 น. 9

ต้องยอมรับว่า การแต่งนิยายแนวสืบสวนนี้ ใช้ประสบการณ์จากวิชาชีพตำรวจมาประกอบด้วยค่อนข้างลำบาก

เพราะความเป็นจริง กับโลกแห่งนิยายนั้นต่างกันสิ้นเชิง

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ThirteenPointSix Member 3 มี.ค. 52 05:59 น. 11
แนวนี้เรายังไม่เคยเห็นนักเขียนคนไทย คนไหนจะแต่งได้ดีซักคนเลย มันต้องทำการบ้านเยอะอะนะ
0
กำลังโหลด
smile_moon Member 3 มี.ค. 52 20:05 น. 12

มันก็ยากอยู่นะครับ เนี่ย  การคิดปมยังไม่เท่าไหร่ แต่วิธีเรียบเรียงเนื้อหาให้น่าสนใจนี่สิ ยากจิง ๆ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Bookter Member 11 มี.ค. 52 13:30 น. 14

ชอบอ่านนิยายสืบสวนสอบสวนมาก แต่พอลองมาแต่งเองแล้ว ต้องขอบอกเลยว่ายากมาก นักเขียนที่เขียนนิยายสืบสวนขึ้นมานั้นต้องเป็นคนที่เก่งมากแน่ๆ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด