6 องค์ประกอบสำคัญที่ต้องรู้ ก่อนเริ่มเขียนนิยาย


6 องค์ประกอบสำคัญที่ต้องรู้ ก่อนเริ่มเขียนนิยาย
 



สวัสดีค่า น้องๆ ชาวนักเขียนเด็กดีทุกคน^^ พบกับคอลัมน์ "กลเม็ดเคล็ดลับ" อีกครั้ง  จากที่สังเกตมานะคะ พี่หวานพบว่านักเขียนมักจะใช้สัญชาตญาณส่วนตัวในการเขียนนำเสนอเรื่องราว และที่สำคัญคือทุกคนจะต้องหมั่นฝึกฝนและพัฒนางานของตนเองอยู่เสมอเลยใช่มั้ยคะ (เข้าทำนองยิ่งอยากเขียนเก่ง ยิ่งต้องเขียนบ่อยๆ นะคะ)  อย่างไรก็ตามก็ยังมีเคล็ดลับบางอย่างที่นักเขียนต้องนำมาใช้เพื่อทำให้งานเขียนของพวกเขาดูมีประสิทธิภาพมากขึ้น วันนี้พี่หวานก็เลยจะมาพูดถึง 6 องค์ประกอบสำคัญที่ต้องรู้ ก่อนเริ่มเขียนนิยาย ค่ะ แน่นอนว่าองค์ประกอบเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับนักเขียนทุกคนเลยล่ะค่ะ

 



 


ตัวละคร


ในการสร้างงานเขียนสักชิ้นนั้น ‘ตัวละคร’ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเขียนทั้งหมด นอกจากจะต้องใส่ใจในการสร้างอารมณ์และคำนึงถึงสภาพจิตใจของตัวละครแต่ละตัวแล้ว การสร้างตัวละครให้สมจริงก็มีเทคนิคบางอย่างที่สามารถทำได้อยู่เช่นกันค่ะ

ก่อนอื่นเลยเราจะต้องมองให้ลึกไปถึงเบื้องหลังเรื่องราวของตัวละครเหล่านั้นคนอ่านอาจจะไม่จำเป็นต้องรู้ทั้งหมดของตัวละคร แต่ในฐานะนักเขียน การทำความเข้าใจกับประวัติตัวละครที่กำลังเขียนอยู่ถือเป็นเรื่องสำคัญ หรืออย่างน้อยๆ ก็จะต้องทำความเข้าใจในพื้นฐานจิตใจของตัวละครแต่ละตัวที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยลองจินตนาการดูนะคะว่า เมื่อเราต้องอ่านหนังสือที่มีตัวละครไม่สมจริงอยู่ในนั้น คงจะเกิดความรำคาญใจไม่น้อยเลย เพราะว่านักเขียนเหล่านั้นอาจจะไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียดของตัวละครมากเท่าที่ควร จึงทำให้พฤติกรรมบางอย่างออกมาอย่างไม่สมจริง

ที่สำคัญกว่าความสมจริงก็คือตัวละครในเรื่องไม่ควรจะเป็นแบบเดิมตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง ถ้าลองเทียบตัวละครกับตัวคนในชีวิตจริง คนเราต้องมีการพัฒนาและเติบโตซึ่งการเปลี่ยนแปลงตรงนี้เปรียบเหมือนกุญแจสำคัญของเรื่องก็ว่าได้ค่ะ (คงจะไม่มีใครชอบตัวละครที่มีลักษณะเดียวไร้ซึ่งอารมณ์และความรู้สึกหรอกใช่มั้ยล่า…) เพราะฉะนั้นแล้วการให้ความสำคัญในการสร้างตัวละครจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยทำให้งานเขียนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น


 

พล็อต


หลายคนบอกว่า การจะเขียนนิยายให้ดีได้ต้องเริ่มจากการวางพล็อต ไม่ใช่ตัวละคร... แต่โดยความคิดของตัวพี่หวานแล้วคิดว่าการมีทั้งสองอย่างถือเป็นสิ่งที่ดีในการเริ่มต้นทั้งนั้นค่ะ  เพราะว่าตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาก็จะต้องไปปรากฏอยู่ในพล็อตเรื่องที่น้องๆ เขียนยังไงละค่ะ แต่พล็อตเรื่องนั้นจะเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวละครอีกที สาเหตุที่จัดให้พล็อตเป็นองค์ประกอบส่วนที่สองเพราะเมื่อเริ่มเขียน ผู้คนต่างให้ความสนใจในตัวละครในการเดินเรื่องมากกว่าการมองภาพรวมของเรื่อง(แต่ถึงแม้น้องๆ จะมีมุมมองต่างจากที่พี่หวานนำเสนอไปก็ไม่ใช่เรื่องผิดน้าาา)
 
ในส่วนของพล็อตเรื่องจะเป็นเหมือนพิมพ์เขียวของนิยาย เพราะว่าก่อนจะเริ่มต้นทำอะไรให้เป็นรูปเป็นร่างนั้น การมีแบบร่างที่ดีก็จะช่วยให้ผลงานสุดท้ายออกมาสมบูรณ์แบบได้นั่นเอง และการจะเริ่มเขียนพล็อตนั้นมีส่วนสำคัญอยู่ 5 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ 
 
1.บทนำ คือส่วนที่จะเปิดเผยตัวละครและแนวของเรื่อง 

2.ความขัดแย้งของตัวละครหรือปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อจะเชื่อมโยงไปสู่การเปลี่ยนแปลงของเรื่อง
 
3.จุดไคลแมกซ์ หรือที่เข้าใจกันว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของเรื่อง ถือเป็นช่วงเวลายิ่งใหญ่ที่อาจจะเต็มไปด้วยความกดดันมากที่สุดในงานเขียนของก็ว่าได้ค่ะ  เพราะมันจะเป็นจุดที่เต็มไปด้วยความรู้สึกและความน่าสนใจ และนี่จะเป็นสิ่งที่บอกได้ว่ามันจะช่วยเสริมหรือทำลายเรื่องราวที่ถูกเขียนมาทั้งหมดนั่นเอง

4.จุดพัก เมื่อผ่านจุดไคลแมกซ์เนื้อเรื่องก็จะค่อยๆ คลี่คลายลง เพราะคนอ่านเป็นคนที่ต้องการบทสรุป เพราะฉะนั้นต้องแน่ใจว่าน้องๆ ได้จัดการปัญหาในเรื่องอย่างละเอียดรอบคอบทั้งหมดแล้วด้วยนะคะ

5.บทสรุป ไม่ว่าตอนสุดท้ายเรื่องราวจะจบอย่างมีความสุขหรือเศร้าเคล้าน้ำตาก็ตาม นั่นหมายความว่าปัญหาทุกอย่างได้ถูกแก้ไขแล้ว และข้อสรุปของเรื่องได้เดินทางมาถึงจุดที่เหตุการณ์ทั้งหมดต้องนำความรู้สึกของคนอ่านไปสู่ตอนจบได้จริงๆ 


 

การจัดฉาก


ในส่วนของ การจัดฉากต่างๆ เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่น่าสนใจมากที่สุดไม่แพ้ส่วนอื่น ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ทั้งมีอยู่จริงหรือสร้างขึ้นก็ตาม ยังรวมไปถึงสภาพแวดล้อมทางสังคมของเรื่อง เหตุการณ์และวัฒนธรรมต่างๆ เป็นต้น

สาเหตุที่การจัดฉากถูกนำมาพูดถึงในข้อต้นๆ เพราะว่าในหลายๆ ทางมันมีความคล้ายคลึงกับการสร้างตัวละครแต่ว่าการจัดฉากไม่มีส่วนของอารมณ์และความรู้สึก แต่การจัดฉากจะเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับตัวละครที่คุณสร้าง เป็นทุกที่ๆ ตัวละครจะไป เป็นทุกอย่างที่ตัวละครจะทำ ซึ่งการจัดฉากนี้จะทำให้ตัวละครของคุณเกิดการพัฒนาไปเรื่อยๆ ตามแต่ละฉากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


 

มุมมองของเรื่อง


มันเป็นอะไรที่สนุกและลึกลับน่าดูเลยนะคะถ้าจะเล่นกับการสร้างมุมมองของเรื่อง> < ซึ่งนี่ก็ถือเป็นเป็นอีกหนึ่งอย่างที่มีส่วนในการเป็นตัวกำหนดทิศทางของเรื่องว่าจะสร้างความรู้สึกและบรรยากาศแบบไหนให้กับงานเขียน ก่อนอื่นเลย! น้องๆ จะต้องคิดก่อนว่า อยากจะนำเสนออะไร และจะนำเสนอออกมาอย่างไร? พี่หวานคิดว่าการเลือกใช้มุมมองของบุคคลที่สามในการเล่าเรื่องก็ถือเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่น่าสนใจนะคะ เพราะบางครั้งตัวหลักๆ อาจจะนำเสนอได้แต่ความคิดของตนเอง ถ้ามีมุมมองของตัวละครที่สามเข้ามาร่วมด้วย อาจจะเป็นการเพิ่มมุมมองที่กว้างขึ้นและสร้างสีสันให้แก่เรื่องได้มากขึ้นก็เป็นได้นะคะ


 

ธีมเรื่อง


ธีมของเรื่องเป็นองค์ประกอบที่ซ่อนอยู่ที่อาจจะไม่โดดเด่นเท่าองค์ประกอบอื่น แต่ก็สำคัญไม่แพ้กัน ดังคำที่ว่า “ธีมเรื่องคือสิ่งที่เป็นความจริงเกี่ยวกับเรื่องที่คุณเขียน ถ้าพล็อตคือรายละเอียดภายนอก ธีมเรื่องก็คือสิ่งสำคัญที่อยู่ภายใน งานเขียนทุกเรื่องจะมีธีมของตัวเอง ไม่ว่าผู้เขียนจะตั้งใจกำหนดหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม”  ถึงแม้นักเขียนบางคนอาจจะไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของธีมภาพรวมของเรื่องมากเท่าไหร่ก็ตาม  สิ่งที่ยุ่งยากเกี่ยวกับธีมเรื่องก็คือความไม่ชัดเจนในงาน ไม่รู้ว่าจะเขียนแนวไหนดี หรือบางทีเขียนๆ ไปอาจจะเปลี่ยนแนวไปได้เรื่อยๆ

เพราะฉะนั้นก่อนเริ่มเขียนควรจะมีธีมหลักที่ห้ามเปลี่ยนเด็ดขาด! เพื่อคงความสม่ำเสมอของเรื่อง ส่วนธีมรองที่อาจจะส่งผลเล็กน้อยในเรื่องนั้น พี่หวานคิดว่าเราสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามแต่สถานการณ์ เพียงแต่ว่าไม่ควรให้ธีมหลักของเรื่องผิดเพี้ยนจนเกินไปก็พอค่ะ


 

สไตล์การเขียนของตัวเอง


และองค์ประกอบสุดท้ายที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนเริ่มเขียนนิยายซักเรื่องก็คือ สไตล์ของตัวเอง นั่นเองค่ะ แน่นอนว่าก่อนจะมาเป็นนักเขียนเราอาจจะเคยผ่านการเป็นนักอ่านมาอย่างโชกโชน จนบางครั้งความชื่นชอบของเราที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเป็นพิเศษ อาจจะส่งผลให้เราจำลักษณะงานเขียนของนักเขียนคนนั้นมา และนี่ไม่ใช่ผลดีต่องานเขียนของเราเลยค่ะ เพราะฉะนั้นก่อนที่น้องๆ จะเริ่มเขียนนิยาย พี่หวานอยากแนะนำให้ลองถามตัวเองดูให้ดีว่า จริงๆ แล้ว เราชอบการเขียนแบบไหน ภาษาแบบไหนที่บ่งบอกความเป็นตัวเราได้มากที่สุด เพราะสไตล์การเขียนนี้เองจะเป็นเหมือนลายเซ็นต์ประจำตัวเราไปโดยปริยายเลยล่ะค่ะ


 
เป็นยังไงกันบ้างคะกับ 6 องค์ประกอบสำคัญที่ต้องรู้ ก่อนเริ่มเขียนนิยาย ที่พี่หวานนำมาเสนอในวันนี้ หวังว่าน้องๆ ที่อยากเริ่มเขียนนิยายจะได้เทคนิคดีๆ ไปลองปรับใช้กันนะคะ ถ้าใครมีวิธีเริ่มต้นการเขียนยังไงบ้าง อย่าลืมมาเล่าให้พี่ๆ และเพื่อนๆ ชาวเด็กดีฟังกันด้วยล่ะ หรือถ้าใครอยากได้คำแนะนำเกี่ยวกับงานเขียนด้านไหนเป็นพิเศษก็คอมเมนท์ไว้ได้เลย แล้วพี่หวานจะรีบไปหาคำตอบมาให้เลยล่ะค่ะ แล้วเจอกันบทความหน้านะคะเหล่านัก (อยาก) เขียนทั้งหลาย ^___^



 
พี่หวาน

 



 
พี่หวาน

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด

11 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
นายSirSa Member 27 ส.ค. 59 22:19 น. 7

ช่วยได้เยอะเลยครับ เดี๋ยวจะลองนำไปปรับใช้   เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว เนียนโฆษณาเลยละกัน

http://writer.dek-d.com/dsateA/writer/view.php?id=1485573

พึ่งแต่งคับ อยากให้มาแนะนำติชมหน่อยคับว่ามันเป็นยังไง

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Masa.thorn 31 มี.ค. 67 21:43 น. 11

เป็นการแนะนำที่ดีมากๆเลยค่ะ ทั้งเข้าใจง่าย และนำไปประยุกต์ในการใช้เขียนนิยายได้ง่ายขึ้นมากๆ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด