แจก 5 เทคนิคง่ายๆ ช่วยสร้างโลกในนิยายให้ปังสมจริง

แจก 5 เทคนิคง่ายๆ ช่วยสร้างโลกในนิยายให้ปังสมจริง

 

การเขียนนิยายมีมากกว่าการเขียนให้ดีและจินตนาการที่ล้ำเลิศ แต่เราต้องสร้างโลกที่แข็งแกร่ง เพื่อสร้างภาพที่สมจริงให้แก่นักอ่านของเรา

การสร้างโลกเป็นสิ่งจำเป็นในนิยาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนววิทยาศาสตร์และแฟนตาซี ไม่เช่นนั้นนักอ่านจะไม่รู้สึกสมจริง ลองนึกถึงแฮร์รี่ พอตเตอร์สิ ถ้าโรว์ลิ่งไม่ใส่รายละเอียดยิบย่อยของโลกเวทมนตร์ นักอ่านก็คงไม่อิน 

สิ่งสำคัญของการสร้างโลกคือ ต้องสร้างฉากที่ชวนดื่มด่ำ น่าสนใจ และน่าเชื่อถือ

ไม่ว่าจะแนวไหน การสร้างโลกก็เป็นสิ่งที่นักเขียนไม่ควรมองข้าม และนี่คือ 5 เทคนิคสร้างโลกง่ายๆ ที่อยากให้ทุกคนได้ลอง

 

via: COURTESY OF WARNER BROS. THEMED ENTERTAINMENT & THINKWELL GROUP
via: COURTESY OF WARNER BROS. THEMED ENTERTAINMENT & THINKWELL GROUP

 

01 สร้างสรุปรายละเอียดการสร้างโลก

โลกแฟนตาซีของนักเขียนชื่อดังเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายคน เนื่องจากมีรายละเอียดที่ทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนอยู่ในโลกนั้นจริงๆ ผู้สร้างภาพยนตร์ทำให้สถานที่ต่างๆ เช่น มอร์ดอร์ของโทลคีน และโรงเรียนฮอกวอตส์ของโรว์ลิ่ง มีชีวิตชาขึ้นด้วยคำอธิบายและจินตนาการของผู้สร้าง

กลุ่มนักอ่านอายุน้อยและอายุมากต่างก็ตกหลุมรักฮอกวอตส์ของโรว์ลิ่ง เพราะพวกเขาจินตนาการถึงสถานที่ที่เธออยู่จนสุดขอบโลก จากห้องอาหารของปราสาทที่มีโต๊ะยาวและจุดเทียนลอย ไปจนถึงด้านนอกปราสาทที่อันตราย เช่น “ป่าต้องห้าม” หรือพืชพรรณและบริเวณที่เป็นอันตรายซึ่งตัวละครกลัว โรว์ลิ่งตั้งชื่อต้นไม้ป่าที่ร่วงโรยว่า “ต้นวิลโลว์จอมหวด”

โลกสมมติที่ยอดเยี่ยมเช่นนี้ มีความเปรียบต่าง รายละเอียด บรรยากาศ ตัวอย่างเช่น ห้องนิรภัยของธนาคารที่มีลักษณะเหมือนห้องใต้ดินของโรว์ลิ่งอย่าง “กริงกอตส์” มีโทนและอารมณ์ที่แตกต่างกันไปสำหรับผู้เข้าใช้บริการแต่ละคน

สร้างบทสรุปรายละเอียดที่เราต้องการ รวมไว้ในโลกนิยายของเรา ไม่ว่าจะเป็นฉากที่มหัศจรรย์อย่างฮอกวอตส์ หรือของจริงอย่างปารีสยุคใหม่ สิ่งนี้จะสโคปฉากของเรา

ลองคิดถึง

  • การดำเนินการหลักของเรื่องราวในนิยายจะเกิดขึ้นที่ไหน?
    เช่น บ้านของตัวละครหลัก หรือสำนักงานใหญ่ของ CIA
     
  • เรื่องราวของเราครอบคลุมที่ไหน?
    เมือง ประเทศ หรือแม้แต่ทวีป หรือดาวเคราะห์ดวงใดที่เรื่องราวของเราอาจครอบคลุม
     
  • อะไรทำให้แยกแยะสถานที่ในโลกของเราจากที่อื่นได้?
    ชื่อและลักษณะของเมืองคือประเด็นสำคัญ ในแฮร์รี่ พอตเตอร์ บ้านของป้าและลุงใจร้ายของแฮร์รี่เป็นบ้านชานเมืองที่น่าเบื่อหน่ายและมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด โรงเรียนฮอกวอตส์มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเช่นกัน แต่ตรงกันข้าม มันมีเวทมนตร์ น่าตื่นเต้น และเต็มไปด้วยอันตรายมากกว่า
     
  • ผู้คนและข้อมูลประชากรที่อาศัยอยู่ในโลกของเรา
    ทุกคนเป็นมนุษย์หรือไม่? มีความตึงเครียดระหว่างกลุ่มหรือไม่? ถ้าใช่ เพราะอะไร?
     
  • ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของโลกของเรา
    เช่น โรว์ลิ่งให้ชุมชนพ่อมดของเธอมีกิจกรรมการแข่งขันกีฬาควิชดิช รวมถึงสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมและสังคมอื่นๆ ที่ใช้ร่วมกัน

 

Shire  via: kkday.com
Shire  via: kkday.com

 

02 ให้โลกสมมุติมีความคมชัด

เคล็ดลับการสร้างโลกที่สำคัญคือทำให้โลกของเราน่าเชื่อถือ 

ทุกๆ โลก (รวมถึงโลกของเราด้วย) มีความแตกต่างกันจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง มีหลายเมืองที่คนรวยและคนจนอาศัยอยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น แยกจากกันด้วยทางหลวงเท่านั้น

ลองนึกถึงความแตกต่างที่เราอาจสร้างขึ้นในโลกนิยาย

ความแตกต่างอะไรที่จะอยู่ในเรื่องราวของเรานะ? 

นึกภาพนิยายเกี่ยวกับเด็กสาวที่ต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการ ด้านข้างของทางหลวงที่เธอจากมาจะเป็นตัวกำหนดเครื่องมือที่เธอมี เพื่อต่อต้านในสิ่งที่เธอกำลังต่อต้าน  (เช่น รัฐประหาร/รัฐบาล/เผด็จการ) ฉากจะเป็นตัวกำหนดเรื่องราวเบื้องหลังที่เกิดขึ้น

มัชฌิมโลก (Middle-earth) ของโทลคีน เป็นตัวอย่างที่แสดงชัดเจนถึงความเปรียบต่างที่มีประสิทธิภาพในการสร้างโลก ไชร์ (Shire) บ้านเกิดของฮอบบิทเป็นโลกแห่งความเป็นบ้านที่แสนเรียบง่าย เปรียบเทียบสิ่งนี้กับมอร์ดอร์ (Mordor) ที่ไม่อบอุ่น ซึ่งโทลคีนให้เป็นฐานลับของวายร้าย ที่นี่มีหลุมกำมะถันและยอดเขาขรุขระพร้อมคุกคามเหล่าคณะเดินทาง

ความแตกต่างในโลกของโทลคีนทำให้ตัวละครพบกับอุปสรรคเพิ่มมากขึ้น ยิ่งพวกเขาเข้าใกล้ดินแดนมอร์ดอร์มากขึ้นเท่าไร ยิ่งทำให้คณะเดินทางของโฟรโดและแกนดัล์ฟพบกับความเลวร้ายมากเท่านั้น ส่งผลให้พวกเขาเกิดการทรยศ 

เห็นได้ชัดว่าฉากจะกำหนดพฤติกรรมของตัวละครพร้อมกับโทนและอารมณ์

การสร้างโซนให้แตกต่างในโลกนิยายนั้นมีประโยชน์ ใช้ได้กับนิยายทุกๆ แนว เช่น ในนิยายรักโรแมนติก ในวันหยุด...คู่รักได้ค้นพบสถานที่แปลกใหม่ที่ช่วยให้พวกเขาผูกพัน ห่างไกลจากความโกลาหลของเมือง อีกทางหนึ่ง พวกเขาอาจมีวันหยุดที่เหมือนมาจากนรก ชาวบ้านไม่พูดภาษาเดียวกับเขาและทุกอย่างผิดพลาด

ในขณะที่สร้างโลกของเรา ลองคิดดูว่าเราจะสร้างฉากอย่างไรให้สมจริง ทำให้ตัวละครของเราดูกระตือรือร้น มีเป้าหมาย มีทางเลือก และความกลัว

 

Discworld via:  theguardian.com
Discworld via:  theguardian.com

 

03 ระดมสมองสร้างชื่อโลกและสถานที่ให้น่าเชื่อถือ

ชื่อที่ดีสื่อถึงอารมณ์ของสถานที่ โลกของโทลคีนเต็มไปด้วยชื่อที่สื่อถึงโทนและอารมณ์ของสถานที่ที่บรรยาย “ไชร์ (Shire)”  มีความนุ่มนวลเหมาะกับโลกแห่งทุ่งหญ้าเขียวขจี มีเสียงสะท้อนของ ‘ไอร์แลนด์’ หรือเมืองชนบทของอังกฤษ 

ในทางตรงกันข้าม มอร์ดอร์เป็นเสียงที่ออกจากลำคอ ใช้รากศัพท์ดั้งเดิมจากภาษาเยอรมันหรือนอร์ส เหมาะกับบรรยากาศแบบโกธิกและอึมครึม

นิยายแฟนตาซีของเซอร์ เทอร์รี แพรทเชตต์ เองก็เป็นตัวอย่างที่ดีของชื่อสถานที่ที่น่าสนใจ ตัวอย่างเช่น “Discworld” ชื่อนี้อธิบายลักษณะทางกายภาพของโลกนี้อย่างแท้จริง มันคล้ายกับ ‘โลกแบน’ ที่คนเคยคิดว่าโลกเป็น

Discworld เป็นโลกแบนที่ตั้งอยู่บนหลังช้างสี่ตัว ซึ่งยืนบนหลังของ Great A'Tuin เต่ายักษ์ที่เดินผ่านอวกาศ ดังนั้นแพรทเชตต์จึงตั้งชื่อตามตัวอักษรให้กับฉาก มันจึงมีความแตกต่างระหว่างความเรียบง่ายของชื่อและความซับซ้อนของคุณลักษณะต่างๆ เป็นการผสมผสานของตัวอักษรเข้ากับจินตนาการอันดุเดือด ที่ทำให้นวนิยายของแพรทเชตต์หลายเล่มมีอารมณ์ขันเสียดสี

เมื่อระดมสมองตั้งชื่อสถานที่ต่างๆ ในโลกของเรา ให้นึกถึง

  • วัตถุประสงค์: จุดประสงค์ของสถานที่นี้คืออะไร?
    เช่น โรว์ลิ่งเรียกถนนในลอนดอนที่มีมนต์ขลังในหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ว่า “ตรอกไดแอกอน” สิ่งนี้สะท้อนกับ “แนวทแยงมุม” เป็นชื่อที่ดีสำหรับถนนมหัศจรรย์ที่มีอยู่ในโลกของเรา

 

  • โทน: โทนของสถานที่นี้คืออะไร?
    ลองนึกถึงตัวอย่างของโทลคีนด้านบนและดูว่าเสียงของคำเหล่านี้เหมาะกับสถานที่นี้อย่างไร

 

via: unsplash
via: unsplash

 

04 หลีกเลี่ยงการเน้นเฉพาะรายละเอียดขนาดใหญ่

รายละเอียดเป็นองค์ประกอบสำคัญของฉาก บ้านของตัวละครมีลักษณะและกลิ่นอย่างไร? ถนนสายนี้ในตอนเช้าเป็นอย่างไร? แล้วในเวลากลางคืนล่ะ?

สร้างความรู้สึกของพลังทางสังคมและประวัติศาสตร์ที่กว้างขึ้นในเรื่องราวของเรา แต่อย่าละเลยรายละเอียดที่ให้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 แก่เรา

อย่าลืมใส่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับโลกของเราและวิถีของโลกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราว 

ลองนึกถึงตัวละครในสถานที่ต่างๆ ในเนื้อเรื่อง ทั้งเสื้อผ้าที่สวมใส่หรืออาหารการกิน รูปแบบการพูด คำแสลง หรือขนบธรรมเนียมทางวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้แตกต่างกันอย่างไร

ตัวอย่างเช่น เมืองท่าเรือ น่าจะมีอาหารทะเลสดเป็นส่วนประกอบในเมนู รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้จะเปิดเผยให้เห็นโลกของเรา ทำให้นักอ่านรู้สึกว่านั่นสมเหตุสมผล หรือพวกเขาอาจจะพูดว่า “ว้าว น่าแปลกใจจัง!”

 

Tokyo  via: unsplash
Tokyo  via: unsplash

 

05 ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการนำเสนอโลกผ่านสายตาของตัวละคร

วิธีหนึ่งในการทำให้โลกสมมติของเรามีชีวิตขึ้นมา คือการใช้คำอธิบายความรู้สึก เพียงแค่อธิบายสิ่งที่ตัวละครเห็นในการ ก็สามารถทำให้ฉากนั้นๆ กลายเป็นจริงได้

ยกตัวอย่างเช่น เอจิ มิยาเกะ ตัวเอกจาก Number9dream นิยายของเดวิด มิตเชลล์ ตัวละครนี้เป็นเด็กชายที่เดินทางมาโตเกียวเพื่อตามหาพ่อของเขา ที่นี่ ตัวเอกของมิตเชลอธิบายมุมมองร้านกาแฟและภูมิทัศน์ของเมืองโตเกียวที่กว้างขึ้น

'โตเกียวอยู่ใกล้มากจนคุณไม่สามารถมองเห็นได้ ไม่มีระยะทาง ทุกอย่างอยู่เหนือหัวของคุณ – ทันตแพทย์ โรงเรียนอนุบาล สตูดิโอเต้นรำ แม้แต่ถนนและทางเดินก็ยังอยู่บนไม้ค้ำถ่อที่มืดครึ้ม แม่น้ำเวนิสกับน้ำที่ระบายออกไป'

คำอธิบายนี้แสดงให้เราเห็นถึงการกำหนดคุณลักษณะของเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ ความใกล้ชิด ความหวาดกลัว และความสูง ความรู้สึกหลากหลายนี้มีความสำคัญต่อการสร้างโลกของมิตเชลล์ด้วย 

หลังจากนั้นเราจะเห็นตัวเอกของเขาค้นพบกับโลกต่างๆ ในเมือง ตั้งแต่โลกแห่งความรักและพ่อที่หายตัวไปจาก “เหนือพื้นดิน” ไปจนถึงโลกใต้พิภพที่อันตรายของโตเกียว ซึ่งเออิจิถูกดึงดูดเข้าสู่ภารกิจของเขาในที่สุด

ต่อมามิตเชลล์ใช้ประสาทสัมผัสอื่น เช่น เสียง กลิ่น เพื่อทำให้โลกของเขาลึกซึ้งขึ้น ตัวอย่างเช่น ที่นี่ เขาอธิบายฉากเดียวกันหลังจากพายุไต้ฝุ่น

'หนึ่งชั่วโมงต่อมา ถนนคิตะและสี่แยกโอเมะ ไคโด เป็นการบรรจบกันของแม่น้ำที่ไร้ระเบียบ ฝนตกอย่างไม่น่าเชื่อ แม้แต่ที่ยะคุชิมะ เราก็ไม่เคยเห็นตกหนักขนาดนี้มาก่อน บรรยากาศวันหยุดได้ตายลง และลูกค้าต้องพบกับหายนะ… ภายนอก ครอบครัวหกคนเบียดเสียดกันบนรถแท็กซี่ เด็กทารกคร่ำครวญไม่หยุด’

ขณะที่มิตเชลล์ดำเนินเรื่องราวไปเรื่อยๆ เขาได้วาดภาพโลกของตัวละครของเขาอย่างชัดเจน โดยอธิบายอารมณ์ บรรยากาศ และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

 

…………..

 

การสร้างโลกสามารถทำได้ง่ายหรือซับซ้อนตามที่นักเขียนเลือก โปรดจำไว้ว่า แม้เราจะกำลังพัฒนาโลกของเราตั้งแต่เริ่มต้น แต่ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยทุกองค์ประกอบในโลกต่อนักอ่าน เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะไม่ยัดเยียดข้อมูลให้นักอ่านมากเกินไปในคราวเดียว

องค์ประกอบของโลกควรจะค่อยๆ เผยออกอย่างช้าๆ ผ่านรายละเอียดที่ถักทอในเนื้อเรื่อง และถ่ายทอดออกมาอย่างสนุกสนาน แทนที่จะทิ้งทั้งหมดในครั้งเดียวราวกับนิทรรศการ

โลกสมมติในจินตนาการของเราจะเติบโตและพัฒนาอย่างเป็นธรรมชาติในขณะที่เราเขียน เมื่อทำอย่างถูกต้อง การสร้างโลกอาจเป็นวิธียอดเยี่ยมในการยกระดับเรื่องราวของเรา มาสร้างโลกให้สมบูรณ์แบบกันเถอะค่ะ

 

พี่น้ำผึ้ง :)

 

พี่น้ำผึ้ง
พี่น้ำผึ้ง - Columnist นักเขียนที่ชอบส่งต่อพลังบวกให้ทุกคน

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น