"หมอม้ง" หมอชาวเขาคนแรกของไทย จบคณะแพทย์ด้วยวัย 40 ปี

10 แรงบันดาลใจ จุดไฟแห่งฝัน
ตอนที่ 3 ตามรอยชีวิต หมอม้ง หมอชาวเขาคนแรกของไทย จบคณะแพทย์ด้วยอายุ 40 ปี

ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปี “หมอ” ก็ยังเป็นอาชีพที่เด็กรุ่นใหม่จำนวนมากใฝ่ฝันอยากจะเป็น ไม่ใช่แค่เป็นอาชีพที่มั่นคง มีเกียรติ แต่เพราะเป็นอาชีพที่ได้ช่วยเหลือคนอย่างไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งอุดมการณ์อย่างหลังนี้พิสูจน์ให้เห็นได้ชัดเจนจาก นายแพทย์กันตพงศ์ เล่าลือพงศ์ศิริ คุณหมอเชื้อสายชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ที่มีความฝันอยากเป็นแพทย์ แต่เริ่มนับหนึ่งก้าวเข้ามาเป็นนักศึกษาแพทย์เมื่ออายุ 34 ปี จบแพทย์ด้วยวัย 40 ปี... แม้จะเริ่มต้นความฝันช้ากว่าคนอื่น แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความมุ่งมั่นในวิชาชีพแพทย์ของนายแพทย์กันตพงศ์ เล่าลือพงศ์ศิริ ลดลงแม้แต่นิดเดียว เพราะเขาได้กลับมารักษาผู้คนในพื้นที่อย่างที่ตั้งใจไว้โดยไม่คิดย้ายไปที่ใด พร้อมให้การรักษาคนหลากหลายชาติพันธุ์อย่างเท่าเทียม

วันนี้ พี่มิ้นท์ มีโอกาสได้พูดคุยกับ นายแพทย์กันตพงศ์ เล่าลือพงศ์ศิริ เกี่ยวกับแนวคิดการทำงานของวิชาชีพแพทย์ รวมทั้งพูดคุยถึงเส้นทางกว่าจะมาเป็นแพทย์ได้อย่างปัจจุบัน พี่มิ้นท์บอกได้คำเดียวว่าได้ข้อคิดดีๆ และได้แรงบันดาลใจกลับไปเป็นกระบุง ใครอยากเป็นแพทย์ห้ามพลาดเด็ดขาดจ้า

  • Q : สวัสดีค่ะคุณหมอ อยากให้คุณหมอแนะนำตัวให้น้องๆ ชาว Dek-D.com รู้จักหน่อยค่ะ
  • A : สวัสดีครับ ผมนายแพทย์กันตพงศ์ เล่าลือพงศ์ศิริ หรือที่เรียกกันว่าหมอม้งครับ เรียนจบจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ตอนนี้เป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ครับ
  • Q : ก่อนอื่นต้องถามคุณหมอก่อนว่ามีแรงบันดาลใจอะไรทำให้ตัดสินใจเรียนแพทย์คะ
  • A : จริงๆ แล้ว หมอไม่ได้จบแพทย์ตั้งแต่แรกครับ แต่จบสาขาพยาบาลและผดุงครรภ์ มหาวิทยาลัยมหิดล แต่ที่อยากเรียนแพทย์อีกก็เพราะว่าเมื่อทำงานในโรงพยาบาล หมอเห็นว่าชาวเขาในประเทศไม่ว่าจะเป็นม้งหรือคนไทยทั่วไป ยังมีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำในเรื่องของการรับบริการด้านสุขภาพ อีกทั้งเรื่องของวัฒนธรรม การสื่อสาร การอยู่ในพื้นที่ห่างไกลของชาวเขา บางครั้งก็ทำให้ชาวเขาเสียชีวิตอย่างที่ไม่สมควรจะเสียชีวิต ความคิดเหล่านี้จุดประกายให้หมอตั้งใจเข้ามาสอบแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อที่จะกลับมารักษาคนในชุมชน ใช้เวลาอ่านหนังสือ 2 ปีหมอก็สอบเข้าวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตได้สำเร็จ และหมอก็ได้รับทุนจาก ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เมื่อปี 2544 เป็นทุนสนับสนุนการศึกษาเป็นกรณีพิเศษครับ
  • Q : พอได้เข้ามาเรียนแล้ว คุณหมอต้องปรับตัวเพิ่มไหมคะ
  • A : หมอเริ่มเป็นนักศึกษาแพทย์ปี 1 ตอนอายุ 34 ปี แต่การเป็นผู้ใหญ่ไม่ได้ทำให้มีปัญหาเรื่องการเรียนเลยครับ แต่ทำให้เรารู้สึกนิ่งมากขึ้น ส่วนปัญหาเรื่องความฉับไวของสมองก็ยังเหมือนเดิม เพราะสมองถ้าได้ใช้ก็ไม่มีทางเสื่อม หมอคิดว่าการศึกษาไม่มีคำว่าแก่เกินไป และหมอก็ภูมิใจที่ได้เป็นนักศึกษาแพทย์คนแรกของชาวเขาเผ่าม้ง เพราะอาชีพแพทย์เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละเพื่อคนอื่น จะเข้ามาทำงานตรงนี้ต้องมีความตั้งใจจริงครับ
  • Q : ขอกลับมาที่เรื่องการทำงานนะคะ พอได้มาเป็นแพทย์แล้ว งานหนักกว่าที่คิดไหมคะ
  • A : ก็ประมาณนึงครับ เพราะโรงพยาบาลสะเมิง ที่นี่จะมีแพทย์ประจำทั้งหมด 4 ท่านรวมท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลด้วย ซึ่งท่านผู้อำนวยการจะช่วยในเรื่องของการรักษาด้วย บางเวลาที่ท่านไม่อยู่อาจเพราะติดธุระทางราชการหรืองานบริหาร ที่นี่จะเหลือแพทย์ 3 ท่านรักษาคนไข้ ซึ่งใน 1 วันจะมีคนไข้เฉลี่ยประมาณ 80-130 คน แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าฝนหรือหน้าหนาว ที่เป็นฤดูกาลของโรคระบาดในเด็กและผู้ใหญ่ คนไข้จะเยอะมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งก็ต้องช่วยรักษากันไป ก็อาจจะหนักบ้าง มีทั้งสนุก เหนื่อย และทุกข์ไปกับงาน แต่ก็ได้สัมผัสกับความสุขใจในวิชาชีพที่ได้เลือกตั้งแต่แรกครับ

  • Q : นอกจากเรื่องการรักษาแล้ว มีจุดไหนอีกบ้างคะที่คุณหมอให้ความสำคัญเมื่อต้องทำงานกับชาวบ้าน
  • A : มีเยอะครับ เพราะการรักษาผู้ป่วยไม่ได้มีแค่การใช้ยาหรือการผ่าตัดเท่านั้นนะ แต่ยังมีเรื่องการสื่อสาร ศิลปะการพูดคุยกับคนไข้ การดูแลคนไข้ การดึงเอาประวัติเจ็บป่วยออกมา รวมถึงการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพื่อให้คนไข้ร่วมมือกับหมอได้เร็วที่สุด ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ในบริเวณที่ตั้งของโรงพยาบาลสะเมิงจะประกอบไปด้วยคนไทยและกลุ่มชาวเขาหลากหลายชาติพันธุ์ เช่น กะเหรี่ยง ม้ง ลีซอ พม่า ไทยใหญ่ มูเซอ รวมถึงเผ่าอื่นๆ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องท้าทายและต้องให้ความสำคัญในเรื่องการสื่อสารเป็นพิเศษ
  • Q : มีกลุ่มหลากหลายชาติพันธุ์แบบนี้ สื่อสารกันอย่างไรคะ
  • A : ครับ ด้วยความที่หมอเป็นม้ง จึงใช้ความเป็นม้งให้เกิดผลบวกมากที่สุดในการรักษาคนไข้ครับ และทุกวันนี้ยังต้องฝึกพูดภาษาปกากะญอและกะเหรี่ยงด้วย ถ้าเราพูดภาษาเขาได้ คนไข้จะรู้สึกอุ่นใจ วางใจเรา และให้ความร่วมมือในการรักษา ทำให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การที่เราจะโต้แย้งกับคนไข้ต้องอาศัยความระมัดระวัง ต้องเข้าใจวิถีชีวิต ความคิด ความเป็นมาของวัฒนธรรมแต่ละชนเผ่า รวมทั้งการยึดติดอยู่กับความเชื่อต่างๆ ที่บางอย่างเราแตะต้องได้ บางอย่างเราแตะต้องไม่ได้ ซึ่งตรงนี้เราก็ต้องศึกษาเรียนรู้ควบคู่กันไปด้วย
     
  • Q : คุณหมอเคยมีความคิดที่จะย้ายออกไปทำพื้นที่อื่นบ้างไหมคะ?
  • A : หมอว่าพื้นที่ไหนๆ ก็ย่อมมีผู้ป่วยเหมือนกันนะ แต่พื้นที่แห่งนี้รู้สึกว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะกับหมอแล้ว แต่สิ่งที่หมอคิดว่าสำคัญกว่าคือการตั้งคำถามว่าเราต้องการอะไรจากวิชาชีพแพทย์ต่างหาก

จริงๆ คิดว่าเรียนจบมาแล้ว เราก็เป็นแค่หมอที่คอยให้การรักษาคนไข้ แต่มันมีอะไรมากกว่านั้นครับคือ เราสามารถแสดงให้เห็นการลดช่องว่างระหว่างคนเมืองกับคนดอยได้ ด้วยการกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการส่งเสริมการศึกษาให้แก่ชาวเขา หมอรู้สึกว่าตัวเองสามารถเป็นแบบอย่างให้แก่คนอื่นได้ เช่น ในอำเภอใหญ่ๆ บางแห่งมีชาวเขาอยู่เยอะ หมออยากเข้าไปให้ความรู้จากประสบการณ์ตรงว่า การที่ส่งลูกหลานไปเรียนแพทย์ พยาบาลหรืออาชีพต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อพื้นที่นั้นๆ แล้วเวลาที่เรียนจบและกลับมายังบ้านเกิดจะสร้างความรู้สึกดีๆ ให้แก่สังคมรอบข้างยังไง หากมีการทำแบบนี้เกิดขึ้นจริง จะเกิดการเรียนรู้และส่งต่อ นี่คือการสร้างโมเดลที่ดีของชาวเขาเผ่าต่างๆ ในอนาคต

  • Q : ในความคิดของคุณหมอ คิดว่าหมอที่ดีควรเป็นอย่างไรคะ
  • A : หมอขอแบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ๆ แล้วกันนะครับ อย่างแรกคือ ความรู้ทางด้านการแพทย์ และอย่างที่สองคือ จิตใจของคนที่อยากจะช่วยเหลือคนจริงๆ คนที่จะเป็นแพทย์ต้องมีความรู้จริงและถูกต้อง เพราะถ้ารู้ผิดๆ หรือรู้ไม่จริง โอกาสที่คุณจะทำอันตรายให้ผู้ป่วยก็จะสูงมาก นอกจากนี้การจะเป็นหมอ ไม่ใช่ว่าจบมาแล้วก็ได้เป็นหมอแค่นั้น แต่เรายังต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา เพราะโรคใหม่ๆ ยาใหม่ๆ หรือวิธีการรักษาใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น ต้องพัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดยั้งจนกว่าจะได้เป็นแพทย์

  •         ส่วนข้อที่สองนั้นพ่วงมาจากข้อแรก ถ้าเป็นคนที่รู้ ฉลาด แต่ไม่ใช้ความรู้ไปบริการคนด้วยใจจริงๆ แต่กลับเอาไปหาผลประโยชน์ส่วนตัว กอบโกยหรือเอาเปรียบคนอื่น ก็อย่าเป็นแพทย์เลยดีกว่า คนเป็นแพทย์ต้องเป็นคนดีและเก่ง ไม่ใช่เก่งแต่เป็นคนดี จิตใจของการเป็นแพทย์ถือเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจะเป็นแพทย์ที่ดีต้องมีสองอย่างนี้ควบคู่กันเสมอ
  • Q : เท่าที่ได้พูดคุยกับคุณหมอมา รู้สึกได้เลยว่าคุณหมอมีความสุขกับการเป็น “แพทย์”
  • A : ครับ การทำให้คนอื่นพ้นทุกข์ สำหรับคนเป็นแพทย์ถือว่าเป็นความสุขที่สุดแล้ว ถ้าสมมติว่ามีใครคนหนึ่งกำลังจะเสียชีวิต ซึ่งคนๆ นั้นเป็นที่พึ่งของคนอีกสิบคน การที่เขามาอยู่ในมือของเราแล้วเราทำให้เขารอด และมีคนเดินมาบอกว่า “ถ้าไม่มีหมอนะ พวกฉันคงแย่” นี่คือความสุขของเรา เป็นความสุขที่สัมผัสได้ เพราะเราไม่ได้ช่วยแค่คนๆ เดียวนะ แต่เราช่วยอีกตั้งหลายคน คนที่มีจิตใจเป็นผู้ให้หรือช่วยเหลือผู้อื่น ความสุขจริงๆ คงไม่ใช่การสะสมเงินทองเยอะแยะหรอกครับ :)

  • Q : สุดท้ายนี้อยากให้คุณหมอฝากอะไรถึงน้องๆ ที่อยากเรียนแพทย์หน่อยค่ะ
  • A : วิชาชีพแพทย์เป็นวิชาชีพที่เหนื่อย ต้องอยู่กับความเจ็บป่วยของคนไข้ โรงพยาบาลเป็นที่ที่ทุกคนเดินเข้ามาฝากชีวิต เอาความทุกข์มาให้ช่วยเหลือ หมอจึงเป็นอาชีพที่ถ้าใจไม่รักจริงๆ แล้วจะหาความสุขแทบไม่เจอ มีคนไม่น้อยเลยที่เรียนแพทย์แต่ไม่ได้ทำงานเป็นแพทย์ เพราะเขาไม่ได้มีความสุขจริงๆ ดังนั้นการเป็นหมอจึงมีทั้งสนุก เหนื่อย และทุกข์กับงาน มีความภูมิใจมีท้อแท้สลับกันเป็นเรื่องปกติ แต่เราต้องรู้ว่าเราทำอะไรอยู่ อย่างหมอเองเวลาเหนื่อยก็จะคิดถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่วันที่จะเป็นแพทย์ นึกถึงวันที่ก่อฟืนอ่านหนังสือ วันที่สอบเข้าไปได้หลังจากสอบอยู่สี่ปี วันที่ได้ทุน จนถึงวันที่ฝ่าฟันจนได้ใบประกอบวิชาชีพฯ คิดว่าทั้งหมดที่ทำไป ในวันนี้ได้ใช้ทุกอย่างเต็มที่ เรียกว่าคุ้มเกินคุ้ม ดังนั้นถ้าใจรักและอยากจะเป็นแพทย์จริงๆ ขอให้น้องๆ ตั้งใจและตั้งเป้าหมายไว้ เผื่อวันที่เหนื่อยจะได้กลับมามองวันที่เราอดทนได้อย่างเต็มภาคภูมิ
คนที่มีความฝันและทำตามความฝันสำเร็จก็ถือว่าน่ายกย่องแล้ว แต่คนที่มีความฝันเพื่อสังคมและทำความฝันนั้นสำเร็จ อย่างเช่นคุณหมอม้ง
น่ายกย่องมากกว่าเดิมหลายเท่า เพราะกว่าจะมาเป็นแพทย์ไม่ใช่เรื่องง่าย และการทำตามอุดมการณ์เพื่อกลับมาเป็นแพทย์ในชุมชนห่างไกล
ยิ่งต้องพิสูจน์ใจตัวเองหลายเรื่อง ทั้งหนัก เหนื่อย ท้อใจ แต่สำหรับหมอม้งแล้วนี่คือความสุขทั้งชีวิตของท่าน... บอกตามตรงว่าเห็นความตั้งใจ
ในการกลับมาพัฒนาถิ่นกำเนืดและอุดมการณ์วิชาชีพแพทย์ที่มีอยู่เต็มตัวของคุณหมอม้งแล้วรู้สึกอุ่นใจแทนชาวเขาใน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
จริงๆ ค่ะ ที่มีทั้งแพทย์ที่เก่งและมุ่งมั่นให้การรักษาผู้คนในชุมชนอย่างเท่าเทียม นี่แหละค่ะ... คุณหมอตัวจริง!
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
Minnie 20 เม.ย. 57 16:34 น. 8
คุณหมอทำให้หนูมีพลังใจเลยค่ะ ตอนนี้หนูอายุ 15 ปีแล้ว หนูมีความฝันอยากเป็นหมอตั้งแต่เด็กๆเลยค่ะ จนถึงปัจจุบันหนูก็ไม่เคยคิดจะเปลี่ยน หนูพยายามตั้งใจเรียน พยายามประกวดแข่งตามโครงการอื่นๆมากมาย มาจนวันนี้หนูได้อ่านข้อความที่หมอม้งเขียนว่าให้นึกถึงภาพที่ประสบความสำเร็จในชีวิต มันทำให้หนูรู้ว่า ทุกสิ่งที่หนูเหนื่อยทำมันมาทั้งหมด ก็เพราะอนาคตของหนูทั้งนั้น สัญญานะคะ ว่าถ้าหนูทำความฝันหนูได้จริงๆ หนูจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด จะยึดถืออุดมการณ์ของคุณหมอไว้ ขอบคุณนะคะ :)
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Lumeair Member 17 เม.ย. 57 16:24 น. 2

อ่านเเล้วมีกำลังใจขึ้นมากเลยค่ะ 

ต้องพยายาม ไม่สิต้องทำให้ได้ สู้ๆ จะเป็นหมอให้ได้เลยค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

10 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
Lumeair Member 17 เม.ย. 57 16:24 น. 2

อ่านเเล้วมีกำลังใจขึ้นมากเลยค่ะ 

ต้องพยายาม ไม่สิต้องทำให้ได้ สู้ๆ จะเป็นหมอให้ได้เลยค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ลูกสาวจอร์ชจี้VRZO Member 17 เม.ย. 57 22:24 น. 6

หนูชอบความคิดที่เปรี่ยมไป้วยอุดมการณ์ 

การจะเรียนแพทย์แล้วจบมาเป็นแพทย์ที่มีความใจรัก ใช่ว่าจะมีความรู้ทางด้านการแพทย์อย่างเดียว ยังต้องเรียนรู้การใช้ศิลปะทางด้านการพูดและสื่อสารให้คนไข้เข้าใจ  :)

0
กำลังโหลด
พึมพำพรรณนา Member 18 เม.ย. 57 10:04 น. 7

เก่งแล้วดีมีอยู่จริงนะนี่  ชื่นชมมากๆ รู้สึกขอบคุณมากๆกับสิ่งต่างๆที่หมอคิดทำเพื่อสังคม Idolหนูเลยคะตั้งใจ

0
กำลังโหลด
Minnie 20 เม.ย. 57 16:34 น. 8
คุณหมอทำให้หนูมีพลังใจเลยค่ะ ตอนนี้หนูอายุ 15 ปีแล้ว หนูมีความฝันอยากเป็นหมอตั้งแต่เด็กๆเลยค่ะ จนถึงปัจจุบันหนูก็ไม่เคยคิดจะเปลี่ยน หนูพยายามตั้งใจเรียน พยายามประกวดแข่งตามโครงการอื่นๆมากมาย มาจนวันนี้หนูได้อ่านข้อความที่หมอม้งเขียนว่าให้นึกถึงภาพที่ประสบความสำเร็จในชีวิต มันทำให้หนูรู้ว่า ทุกสิ่งที่หนูเหนื่อยทำมันมาทั้งหมด ก็เพราะอนาคตของหนูทั้งนั้น สัญญานะคะ ว่าถ้าหนูทำความฝันหนูได้จริงๆ หนูจะทำหน้าที่แพทย์ให้ดีที่สุด จะยึดถืออุดมการณ์ของคุณหมอไว้ ขอบคุณนะคะ :)
0
กำลังโหลด
chid chis 28 ส.ค. 58 08:16 น. 9
คำพูดของคุณหมอทำให้คนชาวเขาอย่างหนูมีความหวัง ขนาดนี้หนูกำลังเรียนพยาบาลคะ หนูหวังว่าถ้าหนูเรียนจบแล้วจะได้เป็นผู้ช่วยหมอและจะทำงานด้วยใจจริงคะ
0
กำลังโหลด
์ผู้ค้ำประกันให้ 5 มี.ค. 64 16:40 น. 10

กลับมารับผิดชอบหนี้ที่ตัวเองก่อไว้ แล้วทิ้งภาระให้เพื่อนร่วมงานที่เขาคอยช่วยคำ้ประกันให้ก่อนดีไหม

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด