วัสดีค่ะน้องๆ ...ใครที่ได้ตามข่าวมาตลอด จะรู้ว่าช่วงนี้ประเทศไทยตื่นตัวกับคำว่าประชาคมอาเซียนมากพอสมควร ซึ่งส่งผลต่อระบบการศึกษาไทยในระดับอุดมศึกษาด้วย พูดง่ายๆ ก็คือ จะเริ่มเปลี่ยนแปลงโดยเลื่อนเปิดเทอมให้ตรงกับสากล อีกโครงการนึง คือ สนับสนุนให้เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษอาทิตย์ละวัน


           อย่างไรก็ตามประชาคมอาเซียนไม่ได้มีแค่นี้ น้องๆ ที่กำลังเตรียมแอดมิชชั่นในรุ่นหลังๆ ยิ่งต้องฟังไว้ให้ดีเลยค่ะ ดูไว้เป็นแนวทางว่าเราควรประกอบอาชีพไหนดี เพราะว่าหลังจากเปิดประชาคมอาเซียนแล้ว ทุกอย่างจะเสรีขึ้น แม้กระทั่งการทำงาน หมายความว่าในบางสาขาอาชีพเราสามารถไปทำงานที่ประเทศไหนก็ได้ในอาเซียน ซึ่งการแข่งขันจะสูงขึ้น ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดเราอาจจะจำเป็นต้องมีทักษะหลายแขนงกันเลยทีเดียว

            ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ในการประชุมวิชาการทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 10 หัวข้อ ประชาคมในมิติวัฒนธรรม ความขัดแย้งและความหวัง กล่าวว่า ขณะนี้สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ กำลังเตรียมความพร้อมทุกด้านเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งเป็นโลกของอาเซียนผสมผสานกับโลกโลกาภิวัตน์ที่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา สำหรับการเตรียมตัวด้านประชากรของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ เด็กและเยาวชนคนหนึ่งจะต้องมีทักษะในวิชาชีพอย่างน้อย 3-4 วิชาชีพ เพราะฉะนั้นเด็กและเยาวชนจะต้องมีความรู้ความสามารถที่หลากหลายสามารถแข่งขันกับตลาดอาชีพในอาเซียนได้

        อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทักษะเด็กไทยให้เป็นเลิศทุกด้านยังเป็นการรองรับการเปิดเสรีด้านวิชาชีพ และการศึกษา 8 สาขาของประชาคมอาเซียน สามารถทำงานแลกเปลี่ยนกันใน 10 ประเทศ ได้แก่ วิชาชีพ หมอ พยาบาล ทันตแพทย์ วิศวกร สถาปนิก การโรงแรม และอาหาร ธุรกิจสปา นักสำรวจสร้างถนน การแลกเปลี่ยนเชิงวิชาชีพจะทำให้ประชาคมของเราใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น

 

 

        หากนักศึกษาเรียนจบแพทย์ ไม่ใช่จะต้องแข่งขันเพื่อมีอาชีพแค่ 65 ล้านคน แต่ต้องแข่งขันกับประชากรอาเซียน 10 ประเทศ ประมาณ 600 ล้านคน สิ่งที่เราต้องพัฒนาทักษะด้านภาษาให้เด็กไทย โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ อยากให้สื่อสารภาษาอังกฤษสำเนียงคนไทย และเลิกคิดว่าพูดภาษาอังกฤษไม่เก่ง เพราะเราไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของใคร หรือเก่งภาษาอื่นถือว่าไม่รักภาษาไทย


      
         “อัตลักษณ์ของเด็กไทยในประชาคมอาเซียนจะต้องมีทักษะการคิด การวิเคราะห์อย่างเป็นเลิศ และกล้าออกไปทำงานแลกเปลี่ยนนอกประเทศ โดยไม่ทิ้งอัตลักษณ์ของตัวเองที่มีความนอบน้อม ยิ้มสยาม เพราะวัฒนธรรมเหล่านี้ คือ ความหลากหลายที่สวยงาม ครึ่งหนึ่งของประเทศสมาชิกอาเซียนพูดภาษามาเลย์ ครึ่งหนึ่งพูดมลายู เพราะฉะนั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับไทยจะมองภาคใต้ที่พูดภาษามลายูหลายจังหวัด ว่า เป็นพื้นที่ขัดแย้ง หรือจะมองว่าเป็นผู้ผูกโยงเชื่อมโยงถึงอาเซียน ประเทศไทยมีคนพูดภาษามลายู 2-3 ล้านคน สมควรจะให้ยกเลิกพูดกัน เป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือไม่ 

             นอกจากนี้ ไทยควรร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในอาเซียนมากยิ่งขึ้น อีกเรื่อง อยากให้ทุกคนสนใจกฎหมาย หรือสนธิสัญญาของอาเซียน เพื่อใช้อ้างอิงสิทธิ์ในความเป็นประชาคมอาเซียนที่รับรองโดยสหประชาชาติด้วย” ดร.สุรินทร์ กล่าวทิ้งท้าย
        

             นั่นแสดงว่าทันทีที่เปิดเสรีอาเซียนแล้ว ใครที่ทักษะน้อย ความสามารถน้อย อาจจะเสียเปรียบอย่างรุนแรง เพราะจริงๆ แล้วในประเทศไทยก็เป็นที่หมายปองของประเทศเพื่อนบ้านอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเค้าเก่งกว่า เราก็ต้องเตรียมร้อนๆ หนาวๆ กันได้เลย ถ้าน้องๆ ที่อยากอยู่รอด
ในยุคอาเซียนก็เล็งๆ วิชาชีพเหล่านี้เอาไว้ให้ดี และอาจจะต้องหาความรู้เพิ่มเติมให้เก่งในหลายๆ ทักษะ... แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว แต่ต้องสู้ค่ะ

            ดังนั้น คณะยอดฮิตของเด็กแอดรุ่นหลังจากนี้ อาจไม่ใช่นิเทศฯ ครุฯ แล้ว แต่คงกลายเป็น 8 สาขานี้แทน!!

แจ้งน้องๆ ที่สมัครรับข่าวแอดฯผ่าน SMS ในเดือน มี.ค.-เม.ย.นี้ รอพบ SMS เด็ดๆ ดังนี้
         
       - เกาะติดทุกเหตุการณ์ GAT PAT 2/55 (ตั้งแต่เข้าสอบ จนถึงวันประกาศผล) เด็กดีดอทคอม :: มีจริงเหรอ ?? ม.6 ได้ PAT 5 (200+) แต่ไม่ยื่นครู
       - รู้ก่อนใครจากวงใน!! ค่า Mean Max Min ม.6 รุ่นนี้ (ท่าทีคะแนนปีนี้ สูงจริงหรือ ?)
       - เปิดโผคณะมาแรง คณะอันตราย ประกอบตัดสินใจแอดมิชชั่นให้ติดชัวร์
       - อัพเดทถี่ ข่าวสมัครรับตรง+โควตา 6 มหาลัย (รอบสุดท้าย ม.6 รุ่นนี้)
       - เกาะติดข่าว 7 วันอันตรายยืนยันสิทธิ์ "เคลียริ่งเฮ้าส์" (ไม่ให้ถูกตัดสิทธิ์)
เด็กดีดอทคอม :: มีจริงเหรอ ?? ม.6 ได้ PAT 5 (200+) แต่ไม่ยื่นครู

           (อยากรับข่าว SMS บ้าง มาอ่านวิธีสมัคร คลิกที่นี่ เลย)
           
       ข่าวดี !! น้องที่ใช้เครือข่าย truemove H ก็สมัคร Dek-D'S SMS ได้แล้วจ้า

 

ขอขอบคุณข่าวจาก

www.manager.co.th

พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

89 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด