สังเกตคนอื่น ทางลัดพัฒนาฝีมือ

 

 

             เป็นไงกันบ้าง ได้อ่านหนังสือเจอเล่มถูกใจกันบ้างแล้วยัง แน่นนอนว่า แต่ละคนคงจะชอบไม่เหมือนกัน 

 

             ดังนั้นมาขั้นตอนต่อไปเลย ให้หยิบเล่มที่ชอบที่สุดมา แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้นะ พี่อิงกำลังจะฝึกให้น้องๆ ลองสัเกตนิยายเล่มอื่นๆ และลีลาของนักเขียนคนอื่น

             ให้สังเกตขณะอ่านดังต่อไปนี้นะ ถ้าใครมีสมุด หยิบมาจดเลยว่าเราควรสังเกตอะไรจากนิยายเรื่องหนึ่งๆ บ้าง

 

 

 

1. ภาษา

             เล่มนั้นๆ เขาใช้ภาษายังไง เน้นคำง่ายๆ หรือคำหรูหรา มีสัมผัสระหว่างวรรคไหม มีคำเด็ดๆ เด่นๆ ประสมเองบ้างไหม เน้นเขียนประโยคยาวๆ รวดเดียว เว้นวรรคแทบหาไม่เจอ หรือว่าเน้นเว้นวรรคเยอะๆ แต่ละประโยคใช้คำสั้นๆ สรุปคือ...เขาใช้ภาษาแบบไหน และสร้างรูปประโยคยังไงบ้าง

             และที่สำคัญอีกอย่างคือ อย่าลืมจดว่า นักเขียนใช้คำว่าอะไรเรียก พระเอก นางเอก นอกจากชื่อของพระนาง รวมถึงการเรียกอวัยวะต่างๆ ของตัวละคร น้องๆ จะได้เลิกใช้คำว่า มือบาง ร่างบาง คิ้วบาง ตัวบาง คอบาง กระดูกบาง กันซักที = =; (.. เขาเบื่อกันแล้ว แต่พี่อิงก็แอบใช้นะ แบบว่าอ่านจนติด ฮ่าๆๆ)

 

2. แนวคิด

             นิยายเรื่องนั้นๆ เน้นเรื่องใดเป็นสำคัญ ความแค้นกับการแก้แค้น หรือความรักและการฝ่าฟัน แล้วใครเป็นคนฝ่าฟัน ใครเป็นคนรักมั่นคง ง่ายๆ คือ เขามีใจความอะไรเป็นสำคัญ น้องจะได้รู้ว่า บางทีไอเดียง่ายๆ ไอเดียเดียว ก็แต่งออกมาได้เป็นเรื่องราวมากมาย

 

 

3. วิธีการเล่าเรื่อง

             นิยายที่น้องชอบ เขาใช้วิธีการเล่าเรื่องอย่างไร หลักๆ มี 3 ประเภทคือ

             - ใช้ "ฉัน" เล่า คนทั่วไปเรียกว่า บุรุษที่ 1 เล่า ก็คือแนวนิยายรุ่นใหม่ หรือนิยายแปล ที่มักเล่าว่า ฉันโง้น ฉันงี้ ฉันทำโน่นนี่ เรียกพระเอกเป็นนาย บรรยายเห็นแค่มุมมองจากคนเล่าเพียงคนเดียว

             - ใช้ "พระเจ้า" เล่า การเล่าแบบนี้สังเกตได้ว่า จะไม่มีฉันในการเล่าเรื่อง (ตอบกำปั้นทุบดินมาก แต่มันจริงนะเออ) สามารถบรรยายความรู้สึกตัวละครตัวใดก็ได้ในเรื่อง บอกสีหน้า บอกแววตา เสมือนหนึ่งพระเจ้าเป็นคนนั่งดูทีวีนิยายเรื่องนั้น แล้วเล่าต่อให้คนอ่านฟังนั่นแหละ แต่การใช้พระเจ้าเล่าก็มีแยกย่อยไปอีกหลายแบบได้แก่

 

         แบบแรก ใช้พระเจ้าเล่านี่แหละ แต่พระเจ้าจะเกาะหลังตัวละครหลักเพียงตัวเดียวในเรื่องไปตลอด จะเหมือนการใช้ "ฉัน" เล่า แต่ว่าอิสระกว่านิดนึง เพราะสามารถบรรยายความรู้สึก สีหน้าตัวละครหลักได้ และในขณะเดียวกัน สามารถกระโดดไปเล่าเกี่ยวกับความคิดเล็กๆ น้อยๆ ของตัวละครอื่นในเรื่องได้ แต่ยังไงก็จะยึดตัวละครหลักเป็นสำคัญ ถ้าในฉากนั้นๆ มีตัวละครหลักอยู่ จะไม่ไปเกาะหลังตัวละครอื่นแล้วเล่า (การเล่าวิธีนี้หาอ่านได้จากนิยายแปลแนวสดใส)

          แบบที่สอง พระเจ้าเล่า แต่พระเจ้าเป็นอิสระมาก จะกระโดดเกาะหลังใครก็ได้ เล่าเกี่ยวกับไอเดีย ความคิด พื้นหลังของตัวละครตัวไหนก็ได้ (น้องที่ชอบการเล่าแบบนี้ ให้สังเกตนิยายต้นแบบดีๆ เพราะการเล่าแบบนี้ถ้าน้องไม่เก่ง มันจะดูมั่วได้ง่ายมาก) สามารถหาอ่านต้นฉบับแบบนี้ได้จากนิยายรุ่นเก่า

                   - ใช้ "บุรุษที่ 3" เล่า อันนี้หายาก แต่ไม่ใช่ว่าไม่มี เป็นการเล่าที่ส่วนตัวแล้ว พี่อิงชอบที่สุด เป็นการเล่าที่พระเจ้ามีส่วนร่วมในเรื่อง แต่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ขณะนั้นด้วย เฮ้ย...แล้วมันจะเป็นไปได้ไง แนะนำให้ไปหาเรื่อง "อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย" อ่านกันนะ พี่อิงปลื้มเรื่องนี้มากๆ เขาใช้วิธีการเล่าแบบนี้ และเจ๋งมาก

 

 

4. การแนะนำตัวละคร

             เปิดฉากแต่ละตัวละคร เขาทำยังไง การแนะนำตัวละคร เขาทำกันยังไง มาถึงบรรยายลักษณะตัวละครเลยว่าสวยเลิศ หรือว่าถ้าใช้ "ฉัน" เล่า ตัวละครที่เป็นตัว "ฉัน" จะบรรยายยังไง ในเมื่อ "ฉัน" เนี่ย อยู่ๆ คงไม่บ้าพูดออกมาหรอกว่า ฉันสวย ผมยาว ขาวสูง

             อนึ่ง (อนึ่งทำไม = =; เหมือนจดหมายราชการอย่างไรไม่รู้) ให้สังเกตดีๆ การเปิดฉากตัวละครที่เจ๋ง คือการเปิดแค่เพียงย่อหน้าเดียว แต่คนอ่านรู้เลยว่า ยัยนางเอกคนนี้สวย หรือไม่สวย นิสัยยังไง เรียนอะไร ฐานะดีหรือไม่

 

5. การดำเนินเรื่อง

                   ให้ลองเขียนเป็นข้อความสั้นๆ ดูว่า เรื่องนั้นๆ เขาดำเนินเรื่องยังไง เช่น

                    - เกริ่นตำนาน

             - เล่าถึงพระเอก

             - เล่าถึงนางเอก

             - รับปริศนา

             - ออกผจญภัย

             และโน่นนี่อีกมากมายจนกระทั่ง - จบ

             ทำแบบนี้เพื่อให้รู้ว่า การเขียนนิยายแต่ละเรื่อง เขาประกอบด้วยอะไรบ้าง

 

6. ไคลแมกซ์

             จุดนี้ที่ให้สังเกตย้ำก็คือ ไคลแมกซ์ของเขานั้น คืออะไร เชื่อมโยงมาจากต้นเรื่องไหม หรือระหว่างการดำเนินเรื่องมีการพูดถึงอะไรที่มาสรุปที่ไคลแมกซ์ไหม แล้วตัวน้องเดาได้ไหมว่าไคลแมกซ์จะเป็นจุดนี้ และไคลแมกซ์นี้โผล่มาที่เปอร์เซ็นต์ที่เท่าไหร่ของเรื่อง เช่น เรื่อง 1 เรื่องเนี่ย เทียบเท่ากับ 100% ฉากจบจะอยู่ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ ฉากเริ่มต้นคือ 0% และไคลแมกซ์โผล่มาที่เปอร์เซ็นต์ที่เท่าไหร่ 70 หรือ 80 หรือ 90

 

7. ฉากจบ

             จบเป็นอย่างไร ราบเรียบ หักมุม หรือปรัชญา ใช่อย่างที่น้องคิดไหม แล้วตอบทุกปัญหาที่คนเขียนสร้างมาตั้งแต่ต้นเรื่องไหม

 

             นี่เป็นหลักในการดูที่ค่อนข้างละเอียด (แต่ก็ไม่มาก เดี๋ยวจะชักตาตั้งกันไปซะก่อน) พอจดทั้งหมดจบปุ๊บ ลองอ่านทวนที่ตัวเองเขียนดู แล้วน้องจะได้อะไรเยอะแยะ เอาไปประยุกต์ใช้กับงานเขียนตัวเอง และจะเห็นด้วยว่าจริงๆ มันมีทางเลือกเยอะมาก

             ลองทำแบบนี้กับหนังสือเล่มอื่นๆ ที่น้องชอบด้วยนะ ยิ่งทำเยอะเท่าไหร่ น้องก็จะยิ่งมีมุมมองในการเขียนนิยายกว้างขึ้นเท่านั้น

 

 

 

 

ภาพประกอบ: learners.in.th, ccedu.net

scientificamerican.com

journal.media-culture.org.au

fantasticfiction.co.uk, gotoknow.org

พี่อิง
พี่อิง - Columnist คอลัมนิสต์เว็บ Dek-D.com

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

39 ความคิดเห็น

KikiZaru Member 4 มี.ค. 54 09:50 น. 1
อ่านเเล้วรู้อะไรที่ไม่เคยรู้มาก่อนเยอะมากค่ะ

เวลาเราเขียนเเล้วต้องย้อนกลับไปอ่านบ่อยมากอ่ะ มันชอบวนไปวนมา

พอมาอ่านบทความนี้เเล้วกระจ่างเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ
0
กำลังโหลด
แป้งโกกิ Member 4 มี.ค. 54 10:16 น. 2
โอ้...สุดยอดเลยค่ะ!!
กว่าจะออกมาเป็นนิยายเรื่องนึงนี่ช่างยากเย็นแสนเข็ญ

ขอบคุณสำหรับเทคนิคดีๆ นะคะ ชูวับ ชูวับ~
0
กำลังโหลด
Sherlock Black Member 4 มี.ค. 54 10:46 น. 3
หนูชอบเรื่อง "อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย" แต่เล่มจบทางโรงเรียนไม่ซื้อมาซักที อดอ่านเลยอะ T-T
0
กำลังโหลด
jReFLeCtOr Member 4 มี.ค. 54 13:06 น. 4
ขอบคุณมากค่ะ
พยายามสังเกตเรื่องอื่นมาหลายทีแล้ว แต่จับจุดยังไม่ค่อยได้เลย
ส่วนมากพออ่านไปเรื่อย ๆ แล้วมักจะหลุด ประมาณว่า เฮ้ย สรุปเรื่องมันเป็นไงมาไงพระเอกมาลงท้ายที่นี่ได้ - -* คือรู้ว่าตอนนั้นเกิดอะไรขึ้น แต่เรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหน้าแล้ว งง  ๆ
จะลองทำตามที่พี่บอกค่ะ
0
กำลังโหลด
Kritcha Member 4 มี.ค. 54 17:48 น. 5
เคยอ่านอยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้ายเมื่อสักสองสามปีที่แล้ว ดีว่าห้องสมุดโรงเรียนมีครบ 13 เล่ม เราเลยโชคดีไปได้อ่านครบ ตอนนั้นเรียกได้ว่าเล่มนึงใช้เวลาอ่านประมาณวันนึง = = อาจารย์มองหน้าเลย ยืมไวไปไหม?

ส่วนเรื่องสังเกตคนอื่น ไม่รู้ว่าเพราะเป็นคนความจำดีหรือเปล่า ก็เลยมักจะจำเนื้อหาว่าไปมายังไงได้ เลยมักจะจับจุดประเด็นๆออกมาได้บ่อยๆ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอย่างคำที่ใช้คงต้องลองไปโฟกัสเอา =w= ไว้จะไปลองทำค่ะ
0
กำลังโหลด
ขนมขิง Member 4 มี.ค. 54 20:43 น. 6
อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย ขิงก็อ่าน นานมากแล้ว สนุกจริงๆ เป็นเรื่องที่ไม่ได้ตามใจอยากสักอย่าง มีแต่เรื่องร้ายๆ คนอ่านเลยมีภูมิคุ้มกันเลยทีเดียว 555
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
p-a-a-n*** Member 5 มี.ค. 54 01:53 น. 8
เรื่องคำว่าฉัน เมื่อก่อนก็ไม่ได้เขียนแบบนั้น ทำไมเดี๋ยวนี้ภาษาไปทางนั้นก็ไม่รู้ TT^TT[อ่านภาษาสมัยก่อน กับสมัยนี้...[แย่กว่าเมื่อก่อนอีก TT^TT]] ตอนนี้กำลังพยายามแก้ไขค่ะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เซบัสเตียน Member 8 มี.ค. 54 15:19 น. 13
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล และคำแนะนำดีๆ มือบาง ร่างบาง คิ้วบางนี่ แทงใจดำเลยครับ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
lovedek-dd Member 11 มี.ค. 54 16:45 น. 16
จาต้องเอาไปปรัปปรุงในนิยายตนเอง
พี่อิงค่ะอยากรุจังว่าเราจาหาแรงบันดาลใจได้จากที่ไหน
ก้อนานๆทีถึงจะมีแรงบันดาลจัยอ่ะค่ะช่วยบอกหน่อยนะค่ะถ้าพี่ได้อ่าน555+ แล้วก้อบอกด้วยค่ะเรา

ควรจาตั้งชื่อตัวละครอย่างไรให้ไม่ซำคนอื่น แล้วเนื้อเรื่องแบบไหนที่จามีคนติดตามมากๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
BreMen Member 13 มี.ค. 54 01:48 น. 18
คืออยากทราบว่า วิธีการเล่าเรื่อง 3 ประเภท ที่กล่าวมา
การเล่าแต่ละประเภทมันเหมาะกับนิยายแนวไหนบ้างเหรอครับ

อยากรู้จริงๆ ครับ เผื่อจะได้เป็นแนวทาง
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด