รู้จักยา PrEP และยา PEP ใน 5 นาที ป้องกัน HIV ได้ดีแน่


Spoil :
  • ยา PrEP ใช้สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HIV เช่น ผู้รักร่วมเพศ ผู้ขายบริการทางเพศ 
  • ยา PEP ใช้สำหรับผู้ได้รับเชื้อ HIV โดยต้องกินยาต้านให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสเชื้อ บางครั้งหมอและพยาบาลก็ต้องใช้ยานี้
  • การตรวจเชื้อและขอรับยา ทำได้ที่คลินิกนิรนาม โรงพยาบาลตามสิทธิการรักษา และโครงการต่างๆ
  • ผู้ติดเชื้อ HIV สามารถกินยาเพื่อควบคุมโรค และใช้ชีวิตได้ตามปกติ
    ____________________________

         
          สวัสดีครับน้องๆ ชาว Dek-D.com ก่อนหน้านี้พี่หมอเคยพูดถึงกลุ่มคนที่เสี่ยงติดเชื้อ HIV มาแล้วในบทความ “รู้หรือไม่? “ฝ่ายรับ” ทางประตูหลัง (ชายรักชาย) เสี่ยง HIV มากที่สุด” ซึ่งรสนิยมทางเพศสมัยนี้ก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมากันได้ซะด้วย เลยเริ่มไม่แน่ใจว่าใครเสี่ยงมากกว่ากัน เอาเป็นว่าสำรวจและป้องกันตนเองกันให้ดีนะครับ
          นอกจากนี้พี่หมอก็เคยพูดถึงยาคุมฉุกเฉินป้องกันการตั้งครรภ์สำหรับผู้หญิงไปแล้ว สำหรับวันนี้บทความเรามีเรื่องเท่ๆ กว่านั้นเยอะครับ เพราะเรามียาฉุกเฉินสำหรับต้านเชื้อ HIV กันด้วย


 

 
การใช้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV
          จำง่ายๆ ว่าแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ขึ้นกับความเสี่ยงครับ

          1. Pre-Exposure Prophylaxis (PrEP) สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HIV หรือจำง่ายๆ ว่า ยา PrEP นี้กินก่อนที่จะไปติดเชื้อนั่นเองครับ ซึ่งผู้ที่ควรจะได้รับก็คือ
  1. ป้องกันการติดเชื้อ HIV ทางเพศสัมพันธ์ ในผู้ที่มีผลตรวจเลือดเป็นลบ
  2. ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศชาย สาวประเภทสอง
  3. ชายหรือหญิงที่ทำงานบริการทางเพศ
 
         2. Post-Exposure Prophylaxis (PEP) สำหรับผู้ไม่ติดเชื้อที่บังเอิญหรือมีความจำเป็นหรือไม่ตั้งใจแต่ไปสัมผัสเชื้อ HIV มาแล้ว โดยต้องกินยาต้านให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสเชื้อ เพราะการติดเชื้อ HIV จะเกิดอยู่เฉพาะที่ในตอนแรก โดยการติดเชื้อทั่วร่างกายจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1-3 วันหลังการสัมผัส ซึ่งต้องกินยาเป็นเวลา 28 วัน ทำให้มีโอกาสที่เชื้อจะไม่กระจายสู่ร่างกายได้


 
 

รู้หรือไม่? แพทย์ พยาบาล ก็มีโอกาสใช้ยาต้าน PEP เช่นกัน
           พวกพี่เองที่เป็นหมอหรือพยาบาลบ่อยครั้งเราก็เป็นกลุ่มเสี่ยงครับ หลายๆ ครั้งที่ต้องกินยาต้านกัน 1 เดือน หลังจากที่ถูกเข็มทิ่มเวลาทำหัตถการครับ เพราะเราเองก็ไม่ทราบว่าคนไข้ที่เราตรวจรักษาคนไหนมีเชื้อบ้างหรือไม่ ซึ่งนอกจากแพทย์จะต้องกินยาต้านแล้ว ก็อาจจะต้องขออนุญาตผู้ป่วยเจาะเลือดตรวจเพิ่มเติมด้วยครับ
 
ชนิดของยา PrEP
          เนื่องจากใจความสำคัญของบทความนี้เน้นไปที่ผู้เสี่ยงติดเชื้อมากกว่าผู้ที่สัมผัสเชื้อมาแล้ว พี่หมอจึงขอพูดถึงยา PrEP มากเป็นพิเศษนะครับ
          ยาต้านไวรัส HIV มีหลายสูตรครับ โดยอาจจะมีส่วนผสมของยา 1 ตัว หรือมากกว่า ขึ้นกับสูตร และการดื้อยา แต่สำหรับสูตรของ PrEP นั้นคือส่วนผสมของยา 2 ตัว คือ Tenofovir (TDF) ขนาด 300 มก. และ Emtricitabine (FTC) ขนาด 200 มก. ซึ่งรวมอยู่ในยาเม็ดเดียวกัน (TDF/FTC) บริหารยาโดยการกินครั้งละ 1 เม็ดวันละครั้ง
          ปัจจุบันขายในประเทศไทยในชื่อ TENO-EM เป็นของประเทศไทย ผลิตเองโดย องค์การเภสัชกรรม ราคาประมาณ 660 บาทต่อขวด

 


สิ่งสำคัญในการรับประทานยาต้านไวรัส คือ
         1. รับประทานให้ตรงเวลา เนื่องจากเชื้อไวรัส HIV มีโอกาสดื้อยาสูงมาก โดยส่วนใหญ่แพทย์จะจัดให้ทาน 8.00 และ 20.00 น. ครับ ด้วยเหตุผลว่าปริมาณยาในร่างกายจะได้สม่ำเสมอ และพยายามอย่าลืมในแต่ละวัน เพราะจะก่อให้เกิดการดื้อยาเช่นกัน
         2. ได้รับการตรวจเลือด antiHIV แล้วได้ผลลบ (negative) เนื่องจากถ้ามีผลตรวจเป็นบวก (positive) เพราะยาสูตรนี้ไม่มีผลรักษา และอาจจะทำให้เกิดการดื้อยา (resistance) ที่ใช้รักษาได้
         3. ระมัดระวังเรื่องผลข้างเคียงของยา เช่น คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักลด การทำงานของตับและไตอักเสบ 
         4. 
อย่าลืมว่ายาต้านไวรัส HIV ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบีและซี (Hepatitis B, C virus) ที่มีโอกาสทำให้เกิดโรคมะเร็งตับ (Hepatocellular carcinoma) ได้ในอนาคต
         5. กินในเฉพาะช่วงที่มีความเสี่ยงได้ เช่น ช่วงที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ และหลังหยุดกินต้องตรวจหาเชื้อด้วยเสมอ


การตรวจเลือดและรับยา
         1. ทุกจังหวัดจะมีคลินิกนิรนามตามโรงพยาบาลจังหวัด และโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษาของน้องๆ
         2. ภายในกรุงเทพฯ จะมีคลินิกให้ตรวจเลือดได้ฟรีตามสิทธิปีละ 2 ครั้ง เช่น คลินิกนิรนาม / ศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทย เมื่อตรวจแล้วก็จะได้พบแพทย์เพื่อเข้ารับยา หรือได้รับการรักษาต่อไป
         3. ตามโครงการต่างๆ เช่น เข้าร่วมโครงการ Adam's Love PrEP Princess Study, Swing Thailand เป็นต้น
 


         เดี๋ยวนี้ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีมากมายครับ มีทั้งที่ช่วยเราได้ และทำร้ายเราได้เช่นกัน พี่หมอเป็นห่วงน้องๆ ทุกคนและหวังว่าบทความนี้จะทำให้น้อง ป้องกัน และดูแลรักษาตัวเองจากการมีเพศสัมพันธ์ได้ถูกต้องครับ หมั่นหาข้อมูลความรู้พร้อมๆ กับช่วงเวลาที่น้องออกหาคู่นั่นแหละครับ ฮ่าๆ เรื่องแบบนี้อย่าอาย เพราะมันคือชีวิตเราเอง เราเลือกเองได้นะครับ
 
         สุดท้าย จำเอาไว้ครับว่า ติดเชื้อ HIV แล้ว ไม่ได้แปลว่าชีวิตเราจบลงนะครับ การกินยาเพื่อควบคุมโรคก็ทำให้ใช้ชีวิตเป็นปกติได้ ถ้าใครกลัวหรือกังวล ลองปรึกษาครอบครัว คนใกล้ชิด หรือเข้าพบแพทย์ก่อนได้เลย ทุกคนยินดีช่วยเหลือน้องๆ ครับ



 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://th.trcarc.org/

http://www.adamslove.org
https://www.silompulse.com




 
พี่โด่ง

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

5 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
speck_beat Member 20 พ.ค. 62 20:55 น. 5

เมื่อสถิติวัยรุ่นจำนวนมากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกแบบไม่ป้องกันและมีการติดเชื้อเอชไอวีมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 พบว่าร้อยละ 70 ของการแพร่เชื้อเอชไอวีเกิดขึ้นในคนอายุประมาณ 15-24 ปี และพบสถิติว่าวัยรุ่นจำนวนมากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกแบบไม่ป้องกัน โดยไม่มีการทานยาเพร็พ หรือการใช้ถุงยางอนามัย

Speak Out ยิ่งพูด ยิ่งใกล้ เป็น แคมเปญภายใต้มูลนิธิเพื่อรัก หรือ Love Foundation ที่ต้องการส่ง message ไปยังกลุ่มชายรักชายในประเทศไทยให้กล้าที่จะพูดคุยถึงสถานะสุขภาพทางเพศของตนเอง เป้าหมายสำคัญก็เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการแบ่งปันความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ เข้าใจถึงความเสี่ยงและการป้องกัน การใช้ยา PrEP และเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ร่วมเชิญชวนให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการตรวจ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดอัตราการติดเชื้อในผู้ป่วยรายใหม่ และช่วยให้ผู้ติดเชื้อได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วที่สุด

โดยรูปแบบของแคมเปญได้คัดเลือกตัวแทนจากทั่วประเทศ ทุกภาคของไทย เพื่อมาเป็นตัวแทน เล่าถึงประสพการณ์และพูดคุยถึงสถานะสุขภาพทางเพศของตนเอง ทั้งเรื่องของการทานยาเพร็พ ผลข้างเคียงของการทานเพร็พ ประโยชน์ของการทานเพร็พ และยังมีตัวแทนที่มีผลเลือดเป็นบวก ที่ได้มากล่าวถึงการดูแลตัวเอง และการดำเนินชีวิต และเล่าถึงประสบการณ์เกียวการการรักษาตัวจากเอชไอวี เพื่อเป็นแนวทางและเป็นตัวเองการดำเนินชีวิต

นอกจากนี้ยังมีทีมแพทย์ ที่มีประสบการณ์จากการรักษาเอชไอวี และทำงานกับกลุ่มวัยรุ่นในเรื่องของเอชไอวี วันรุ่นที่ทานเพร็พ มาให้คำปรึกษาแนะนำการทานเพร็พ แนะนำการรักษาเอชไวอี และดูแลตัวเอง

เราคาดหวังว่าเสียงสะท้อนจาก Speak Out จะช่วยกระตุ้นคนในสังคมให้ตื่นตัวกับประเด็นนี้ ไม่ใช่แค่เฉพาะกลุ่มผู้ติดเชื้อ แต่ทุกคนที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เพื่อลดการตีตราจากสังคมที่อาจจะยังไม่เข้าใจว่า เราทุกคนต่างใช้ชีวิตร่วมกันได้ ถ้าเปิดใจและพร้อมที่จะดูแลตัวเองอย่างจริงจัง

โดยช่องทางการเผยแพร่ของแคมเปญนี้ จะปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ สื่อโซเชียลมีเดีย และการโปรโมทในรูปแบบต่าง ๆ

ข้อมูลจาก https://speakoutthailand.com

และ https://lovefoundation.or.th/

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด