แด่วันป้องกันฆ่าตัวตายโลก! เพราะอาชีพนักเขียนมันโหดร้าย และหน่วงง่าย มาดู 4 เทคนิคประคองอารมณ์ของเรากัน!

แด่วันป้องกันฆ่าตัวตายโลก!
เพราะอาชีพนักเขียนนั้น

โหดร้ายและหน่วงง่าย
มาดู 4 วิธี ประคองอารมณ์ของเรากัน! 


"คุณไม่ได้อยู่คนเดียว คุณเป็นที่รัก
เชื่อเถอะ ทุกคนต่างรู้สึกอายและเลวร้ายเวลาต้องการคนช่วยเหลือ
แต่อย่ากังวลไปเลยนะ ทุกปัญหามีทางแก้ไข"

 
สวัสดีน้องๆ นักเขียนชาวเด็กดีทุกคนค่ะ ประโยคข้างบนเป็นการบอกให้คนที่กำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้า และกำลังรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย ให้พวกเขาเหล่านั้นได้รู้ว่าไม่จำเป็นต้องอายที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น แม้ทุกอย่างอาจเลวร้าย แต่ก็ยังมีคนพร้อมเข้าใจและช่วยเหลือเราอยู่นะคะ
 
พี่แนนนี่เพนเริ่มต้นด้วยเรื่องราวเหล่านี้เพราะเมื่อวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมาเป็น วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก! และที่น่าสนใจคือ มีเหล่านักเขียนหลายคนในทวิตเตอร์ได้ร่วมให้กำลังใจคนที่กำลังต่อสู้กับการอยากฆ่าตัวตาย ผ่านแฮชแท็กในทวิตเตอร์ที่ชื่อ #WorldSuicidePreventionDay การแสดงออกของนักเขียนในแท็กดังกล่าว เป็นการแสดงตัวว่าเหล่านักเขียนเข้าใจความรู้สึกหดหู่ใจนี้ดี และต้องการให้ทุกคนที่เป็นโรคนี้ ผ่อนคลายและมีกำลังใจมากขึ้น



 
จากนักเขียนทั้งหมดที่ได้โพสต์สร้างแรงบันดาลใจและข้อคิดดีๆ ในแฮชแท็ก พี่แนนนี่เพนคิดว่าทวิตจากนักเขียนที่ชื่อ Lorna Eifflaender ทำให้เราเข้าใจและปฏิบัติตัวต่อคนที่มีภาวะอยากตายได้ดีที่สุด ภาพนี้เป็นการบอกให้ทุกคนที่มีเพื่อน หรือใครสักคนที่มีภาวะหดหู่แบบนี้อยู่ ให้เราทุกคนคอยอยู่ข้างๆ โดยไม่ต้องพยายามไปแก้ไขหรือเปลี่ยนเขาให้ดีขึ้น "แค่อยู่ข้างๆ คอยรับฟังก็พอ" เพราะบางทีคนที่อยู่ในอาการแบบนี้ เขาอาจต้องการเพียงใครสักคนอยู่เคียงข้างเขาหรือต้องการระบายความรู้สึกออกมาเท่านั้น (เพื่อป้องกันไม่ให้เขาอยากฆ่าตัวตายนั่นเอง) 
 
น้องๆ รู้ไหมคะว่าทำไมเหล่านักเขียนถึงได้พร้อมใจกันให้กำลังใจคนที่อยากตาย ก็เพราะว่า หนึ่งในอาชีพที่มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้ามากที่สุด ก็คืออาชีพ "นักเขียน" นั่นเอง ใครเลยจะรู้ว่าเบื้องหลังเนื้อหาที่สนุกสนาน เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ แปลกใหม่ เรื่องราวจากตัวละครที่เราอ่านแล้วอินๆ กันนั้น บางส่วนมาจากความรู้สึกของนักเขียนที่ใส่เรื่องราวลงไปในตัวละคร แทนการบอกเล่าเรื่องราวความทุกข์ใจให้คนอื่นฟัง และเลือกให้นักอ่านได้เรียนรู้เรื่องราวของนักเขียนผ่านตัวละครนั่นเอง  
 
เมื่อตอนต้น พี่แนนนี่เพนได้เกริ่นไปว่า อาชีพนักเขียนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้ามากที่สุด เหตุผลก็คงเป็นเพราะอาชีพนักเขียนค่อนข้างโดดเเดี่ยว หลายคนคัดค้านบอกไม่จริง แต่ฟังสักนิดค่ะ อาชีพนี้ เวลาทำงาน เราต้องเขียนอยู่คนเดียว เราสร้างโลกและตัวละครขึ้นมาใหม่ ขณะเดียวกันเราก็ต้องใช้ชีวิตในโลกความจริงไปด้วย เพราะฉะนั้นเวลาเขียน คือช่วงเวลาที่เราต้องสละโลกความเป็นจริง แล้วเข้าไปในโลกของตัวละคร ณ ช่วงเวลานั้นเอง เราไม่ค่อยมีเวลาเจอกับคนจริงๆ สักเท่าไหร่ นักเขียนใช้ทั้งชีวิตและจิตใจเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา ด้วยการเปลี่ยนความคิดในหัวให้กลายเป็นหนังสือ และบ่อยครั้งที่เราจินตนาการมากเกินไป เครียดเกินไป จนสุดท้าย ก็กลายเป็นภาวะโรคซึมเศร้า ติดอยู่ในโลกที่เราสร้างขึ้น หาทางออกไม่ได้...
 
พี่แนนนี่เพนขอยกตัวอย่างนักเขียนชื่อดังอย่าง เจ.เค. โรว์ลิง ( J.K Rowling) เจ้าของผลงานวรรณกรรมชื่อดังเรื่อง “แฮร์รี่ พอตเตอร์” เธอเองก็เคยมีช่วงชีวิตที่ย่ำแย่จนต้องเข้ารักษาปัญหาโรคซึมเศร้านานกว่า 9 เดือน เจ.เค. ก้าวผ่านความทุกข์และความโศกเศร้านั้นมาได้ และถ่ายทอดความรู้สึกของเธอออกมาในตัวละครหนึ่งที่ชื่อว่า "ผู้คุมวิญญาณ" ซึ่งเป็นตัวละครที่ดูดกลืนความสุขของมนุษย์ให้หายไป เช่นเดียวกับความรู้สึกของเธอในตอนที่มีภาวะซึมเศร้านั่นเอง หากน้องๆ อยากรู้ว่ามีนักเขียนคนไหนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอีกบ้าง พี่แนนนี่เพนแนะนำให้ไปอ่านบทความของพี่น้ำผึ้งดูว่าปัญหาโรคซึมเศร้าเกิดขึ้นกับนักเขียนคนไหนและเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง (สามารถอ่านได้เลยค่ะ กับบทความ "4 นักเขียนดังที่เป็นโรคซึมเศร้า จะเป็นใครบ้าง มาดูกัน!")    
 
ผู้คุมวิญญาณ 
 
เช็กกันหน่อยว่าเรามี ภาวะที่นำไปสู่โรคซึมเศร้า บ้างไหม

ถ้าหากจะยึดอาชีพนักเขียน แน่นอนว่าเราต้องทำใจรับคำวิจารณ์จากคนอ่าน หลายครั้งคำวิจารณ์แง่ลบทำให้เราเครียดและไม่สบายใจ พี่แนนนี่เพนแนะนำว่าอย่านำคำติชมนี้มาทำให้รู้สึกแย่เลยนะคะ ลองมองว่าเป็นพลังที่จะทำให้เราพัฒนางานของเราให้ดีขึ้นให้ได้น่าจะดีกว่า หากยังยึดติดกับคำวิจารณ์และหมกมุ่นกับมันซ้ำแล้วซ้ำเล่า อาจส่งผลให้เราเป็น Impostor Syndrome หรือ ภาวะที่คิดว่าตัวเองไม่เก่ง ได้นะคะ อาการนี้ส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จแล้ว แต่ไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเอง เกิดขึ้นจากการมองตัวเองในแง่ลบและรู้สึกด้อยค่า จนส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน อาการของภาวะนี้ก็เช่น 
 
- รู้สึกเครียด เวลาว่างๆ ก็รู้สึกไร้ประโยชน์
- ทุ่มเททำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจดจ่อ จนลืมงานอดิเรกของตัวเอง 
- เมื่อล้มเหลวก็รู้สึกเสียความมั่นใจ และรู้สึกอับอาย
- กลัวความท้าทายใหม่ๆ และคิดว่าไม่สามารถทำสิ่งนั้นได้ 
- ไม่ชอบขอความช่วยเหลือจากใคร รู้สึกว่าการขอความช่วยเหลือเป็นการรบกวนเวลาของคนอื่น 
 
ลองเช็กดูอาการเหล่านี้ เรามีข้อไหนบ้างไหมคะ พี่แนนนี่เพนคิดว่าภาวะนี้ ส่งผลให้เสียความมั่นใจได้ง่ายมาก ยิ่งเราเป็นนักเขียน พอเห็นความเห็นแง่ลบ ก็อาจทำให้เราเกิดความรู้สึกเครียด ไม่สบายใจ ไม่มั่นใจ ท้อแท้ มองว่าผลงานของตัวเองแย่  ภาวะนี้อาจร้ายแรงจนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้นะคะ (ในความเป็นจริงแล้ว มีอีกหลายปัจจัยมากที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า อย่าเพิ่งคิดว่าเราเป็นภาวะนี้แล้วจะกลายเป็นซึมเศร้าแน่ๆ นะคะ) หากน้องๆ อยากรู้จักอาการที่ "คิดว่าตัวเองไม่เก่ง" เพิ่มเติม ในเว็บเด็กดีเองก็มีบทความเกี่ยวกับอาการนี้อยู่เหมือนกันนะคะ (เข้าไปอ่านดูได้ค่ะ "มารู้จัก ‘โรคคิดว่าตัวเองไร้ค่า’ พร้อมเช็กตัวเองว่ากำลังตกอยู่ในอาการนี้หรือเปล่า?"
 
พี่แนนนี่เพนไม่อยากให้น้องๆ ที่อยากจะเป็นนักเขียนต้องประสบกับภาวะซึมเศร้าหรือภาวะเคร่งเครียดแบบนี้ เพราะมันมีแต่บั่นทอนกำลังใจ ไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพราะฉะนั้น บทความกลเม็ดเคล็ดลับในครั้งนี้ พี่ขอมาแนะนำเทคนิคดีๆ จากนักเขียนที่เคยผ่านพ้นภาวะแย่ๆ แบบนี้... มาแนะนำบอกต่อให้น้องๆ ได้ลองทำตามดู จะมีวิธีไหนบ้าง มาดูกัน! 

 

 
4 วิธีง่ายๆ ช่วยนักเขียนได้เมื่อรู้สึกหดหู่!
 
วิธีที่ 1 ทำกิจวัตรประจำวันให้เป็นปกติ 
สำหรับข้อแรกนั้น พี่แนนนี่เพนคิดว่าเป็นข้อที่ทำได้ง่ายมากๆ และเป็นผลดีสำหรับน้องๆ อย่างแน่นอน จะเศร้าหรือไม่เศร้าก็ทำได้หมดค่ะ พยายามใช้ชีวิตประจำวันให้เป็นปกติ ตื่นนอน ลุกจากเตียง อาบน้ำ แปรงฟัน หวีผม  สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่เป็นการทำให้เรารู้สึกตัวว่าเราทำอะไรอยู่ตลอด ไม่ปล่อยให้ตัวเองใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ วิธีนี้เป็นการทบทวนตัวเราในแต่ละวันว่าทำอะไรบ้าง แล้วเราจะรู้สึกดีที่ได้ทำอะไรเพื่อตัวเองค่ะ
 
จากนั้นต้องทำให้การเขียนของเราเป็นเรื่องปกติ เคยชิน ไม่ใช่การบังคับว่าต้องทำให้ได้ ความคิดนี้เป็นการกดดันตัวเรามากเกินไปค่ะ เพราะหากทำไม่ได้จะทำให้เราเครียด หดหู่ และไม่มีความสุขในการเขียนค่ะ เช่นเดียวกับการที่เราเริ่มลงมือเขียนวันละนิดวันละหน่อย หากเราทำเป็นประจำจะทำให้เราเกิดนิสัยที่ดีในการเขียนได้ ถ้าเราทำได้สำเร็จเราจะรู้สึกภูมิใจในตัวเอง และห่างไกลภาะซึมเศร้ามากขึ้นค่ะ 
 
ทริค : "ห้ามบังคับตัวเอง" ถือเป็นกฏเหล็กของการทำข้อนี้เลยค่ะ แม้ว่าบทเรียนนี้จะเป็นข้อที่ทำได้ง่ายที่สุด แต่หากได้ลองทำแล้วพี่จะบอกว่ายากมากในช่วงแรกๆ เพราะนักเขียนทุกคนไม่ได้เปิดสมุด หรือเปิดหน้าเวิร์ดแล้วเขียนได้เลยทุกคน พี่แนะนำให้น้องๆ เริ่มจากการเขียนไดอารี่จะง่ายที่สุดค่ะ เขียนเล่าในสิ่งที่อยากเล่า ไม่ควรบังคับตัวเองว่าต้องเขียนให้ได้มากหรือน้อย เพราะนี่เป็นเพียงเคล็ดลับเล็กๆ ที่จะช่วยให้น้องๆ รู้สึกว่าการเขียนคือการที่เรา "รู้สึกอยากเขียน" ด้วยตัวเอง และหากเราสามารถเขียนเป็นประจำทุกวันได้(โดยไม่รู้สึกเหมือนถูกบังคับ)จะทำให้เราต่อสู้กับภาวะซึมเศร้าที่คืบคลานเข้ามาได้แน่นอนค่ะ
 

 
วิธีที่ 2 สร้างอารมณ์ขัน
พี่คิดว่าวิธีนี้ง่ายกว่าข้อแรกอีก (ยิ้มกว้าง) แค่อ่านหนังสือการ์ตูนสักเล่ม ดูหนังตลกสักเรื่อง หรือรายการวาไรตี้ทีวีสักช่อง เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายได้ง่ายๆ แล้วค่ะ การหัวเราะเพียง 1 นาทีคล้ายกับการออกกำลังกาย 1 ชั่วโมงเลยนะคะ อย่ามองว่าสิ่งที่ทำอยู่มันไร้สาระหรือเสียเวลาเลยค่ะ สละเวลาสักนิดเพื่อสร้างความสุขให้ตัวเราเองก่อน แล้วค่อยกลับไปสร้างความสุขให้นักอ่านของเราต่อนะคะ 
 
ทริค : "หัดยิ้มกับตัวเอง" วิธีนี้น้องๆ น่าจะเคยได้ยินกันมาบ้างนะคะ ตื่นนอนก็ยิ้มกว้างๆ ให้ตัวเองสักหน่อย ต้อนรับเช้าวันใหม่ที่สดใส และหวังให้ตลอดทั้งวันมีแต่เรื่องดีๆ เกิดขึ้น พี่คิดว่าวิธีนี้ช่วยเราในเรื่องของความคิดได้ค่ะ ไม่ว่าเราจะหดหู่เพราะอะไรก็ตาม พี่ขอแค่เรายิ้มให้กำลังใจตัวเองในทุกวัน เพียงเท่านี้ก็ถือเป็นหนึ่งเรื่องดีๆ ในชีวิตแล้วค่ะ :)    
 
วิธีที่ 3 ภูมิใจในความคิดของตัวเอง 
สำหรับคนที่รู้สึกหดหู่ในการเขียน ผลที่ตามมาคือ "ไม่มีแรงจูงใจ" ในการเขียน ขาดแรงบันดาลใจที่จะสร้างผลงานใหม่ๆ แต่มีนักเขียนคนหนึ่งบอกว่าวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับปัญหานี้คือ เราต้องรู้สึกภูมิใจกับความคิดของเราก่อน ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ ความรู้สึก "ไม่อยากทำ" เป็นการบั่นทอนตัวเราเองมากๆ หากจะต้องเขียนนิยายต่อ พี่แนนนี่เพนคิดว่าเราควรหยุด และทบทวนตัวเราเองก่อนตั้งแต่ข้อแรกเลย ว่าได้ทำทุกอย่างในชีวิตอย่างมีความสุขแล้วหรือยัง? ลองกลับไปดูแรงบันดาลใจเก่าๆ ของตัวเอง นิยายเรื่องที่แต่งค้างไว้ แล้วลองชื่นชมตัวเองดูว่า "เราเคยทำได้" "เรามีความคิดที่ดีเหมือนกันนะเนี่ย" เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นมาได้ เพราะเราได้ขอบคุณและยินดีกับตัวเราเองแล้ว แต่วิธีนี้อาจจะยากหากน้องๆ มองงานของตัวเองว่าไม่ดี หรือไม่ชอบในความคิดเราเลย และที่น่ากลัวกว่านั้นคือน้องๆ อาจจะเอางานเขียนของเราไปเปรียบเทียบกับคนอื่น พี่แนะนำว่าให้โฟกัสที่งานของเราก่อนเนอะ
 
ดังนั้น ทริคสำหรับข้อนี้คือ เมื่อเราบังเอิญได้แรงบันดาลใจจากการทำอะไรสักอย่าง ให้จดบันทึกไว้ แล้วยิ้มกว้างๆ ให้กับความคิดของตัวเองซะ ทำแบบนี้เรื่อยๆ เราจะเห็นผลลัพธ์เองว่า จริงๆ แล้วเราเป็นคนมีความคิดที่ดีนะแต่เราแค่ยังไม่มั่นใจจะลงมือทำต่อเท่านั้นเอง!
 
วิธีที่ 4 ใช้การเขียนเป็นทางออกช่วยระบายความรู้สึกภายใน 
พี่แนนนี่เพนได้เล่าถึงเจ.เค. ที่สร้าง "ผู้คุมวิญญาณ" ขึ้นจากความเศร้าของตัวเองไปแล้ว ต่อไปก็อยากจะเห็นผลงานของน้องๆ ที่พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสแบบนี้ได้บ้าง บทเรียนข้อนี้หากพูดในส่วนของการเขียนนิยาย คงจะเป็นประสบการณ์จริงของนักเขียนที่อยากเล่าผ่านตัวละครในโลกจินตนาการ ถ้าน้องๆ อยากให้ตัวละครที่สร้างมีความสมจริง ลองใช้ความรู้สึกที่เราไม่ชอบ หรือระบายให้ใครฟังไม่ได้ ลองนำความรู้สึกเหล่านั้นเล่าผ่านตัวละครหรือเหตุการณ์ในโลกจินตนาการดู ไม่แน่ว่าน้องๆ อาจจะหายจากความรู้สึกหดหู่ และรู้สึกสงสารตัวละครตัวนั้นที่เปรียบเสมือนตัวเราก็ได้ แต่ต้องอย่าลืมนะคะ ว่านี่เป็นงานเขียนของเรา เรากำลังให้อะไรกับคนอ่าน จำไว้เสมอว่าเราต้องไม่เขียนเพื่อทำร้ายใครนะคะ แต่จงเขียนเพื่อสร้างบทเรียนให้กับตัวละคร และให้อภัยในสิ่งที่ตัวละครทำ ถ้าทำได้ น้องๆ ก็จะรู้ว่าจริงๆ แล้ว ที่เราหดหู่อยู่นั้น เป็นเพราะสาเหตุอะไร การได้ระบายก็จะทำให้เราผ่อนคลายและรู้สึกดีขึ้นได้ค่ะ  
 

 
สุดท้าย พี่แนนนี่เพนขอสรุปว่า รักจะเป็นนักเขียน เราไม่จำเป็นต้องอยู่แค่ในโลกจินตนาการนะคะ ต้องใช้ชีวิตจริงของเราให้มีความสุขเหมือนกับที่เราสร้างความสุขให้นักอ่านด้วย สำหรับใครที่กำลังรู้สึกว่าตัวเองหดหู่อยู่ ไม่สดใสเหมือนเคย ลองทำตามที่แนะนำดูนะคะ ทั้งการมีคนคอยอยู่ข้างๆ เหมือนดังที่นักเขียนในทวิตบอกไว้ และการลองทำตามเคล็ดลับที่แนะนำไป แต่น้องๆ ต้องอย่าลืมนะคะว่าเคล็ดลับเหล่านี้ไม่ใช่เวทย์มนต์ที่จะดลบันดาลให้เราสำเร็จได้ทันที บทเรียนต่างๆ เหล่านี้ น้องๆ ต้องลงมือทำด้วยตัวเอง พี่แนนนี่เพนบอกไม่ได้หรอกค่ะว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนกว่าเราจะรู้สึกหายหดหู่ได้ พี่อยากให้น้องๆ ลองคิดถึงเป้าหมาย หรือความฝันของตัวเองไว้ ถ้าอยากเป็นนักเขียนนิยายจริงๆ พี่ว่าไม่มีอะไรให้น่าหดหู่ใจหรอกค่ะ เพียงแค่น้องๆ ต้องทำในสิ่งที่รักทุกวัน แล้วความสุขก็จะมาหาน้องได้ง่ายๆ แน่นอนค่ะ

 
พี่แนนนี่เพน 
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
 
 
Deep Sound แสดงความรู้สึก
พี่แนนนี่เพน
พี่แนนนี่เพน - Columnist สาวเหนือที่มีความสุขกับการเขียนนิยาย และเชื่อว่านิยายให้อะไรดีๆ กับสังคมเสมอ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Bloody-mania Member 24 ก.ย. 61 00:10 น. 5

น่าจะจริงค่ะ ตอนเราแต่งนิยายนี่เราเหมือนต้องจมดิ่งลงไปในความคิดของตัวละครจริงๆ เรื่องที่เราเขียนมีเรื่องนึงพระเอกฆ่าตัวตายไปแล้ว เราต้องฟังเพลงหดหู่มากๆเพื่อจะเข้าใจอารมณ์ของพระเอกเลยค่ะ ช่วงนั้น down ไปเลย


นี่ก็ยังไม่เข็ดนะคะ ... ชอบแต่งเรื่องอะไรที่มันปวดจิตค่ะ

0
กำลังโหลด
เกย์อักษรฯเอกปรัชญา 24 ก.ย. 61 09:38 น. 6

ไม่รู้จะเห็นด้วยหรือเห็นแย้งกับบทความนี้ดี...


คือในมุมหนึ่ง บทความนี้อาจจะช่วยให้ผู้คนรู้สึกเห็นใจนักเขียนมากขึ้นและช่วยเตือนสติให้นักเขียนรู้เท่าทันอารมณ์ซึมเศร้าของตัวเอง


แต่ ในอีกมุมหนึ่ง ผู้คนจะใช้บทความนี้ทำร้ายนักเขียนมากขึ้น คือใช้โจมตีอาชีพนักเขียนว่าเป็นอาชีพที่ไม่ดีเพราะทำให้เป็นโรคซึมเศร้า ยิ่งช่วงนี้ประจวบเหมาะกับธุรกิจสิ่งพิมพ์ปิดตัวลง พ่อแม่กดดันให้ลูกทำอาชีพที่อยู่ในความต้องการตลาด พ่อแม่อาจจะชี้ให้ลูกอ่านบทความนี้แล้วสรุปว่าอย่าได้เลือกเป็นนักเขียนเลยเพราะมันน่าสมเพชมาก

บทความนี้จึงอาจจะทำให้ภาพลักษณ์วงการอาชีพนักเขียนแย่ลง

อย่าลืมว่าการที่นักเขียนบางคนมีอาการซึมเศร้าอาจมีสาเหตุมาจากกระแสทุนนิยมตัดสินว่าเป็นอาชีพที่ไร้ค่าเพราะไม่ค่อยทำเงิน ไม่ใช่เพราะเกิดจากอาการอินกับตัวละครของตัวเอง


1
หน้ากากมรณะ Member 29 ก.ย. 61 13:41 น. 6-1

ผมเห็นด้วยกับ ความเห็นของคุณครับ


เพราะบทความนี้มันเหมือนกับการโจมตีว่านักเขียนไม่เป็นอาชีพที่ไม่ได้ตามที่คุณบอก และเหตุผลของคุณนั้นมีความสมเหตุสมผลมากๆครับ

0
กำลังโหลด
p.k.a Member 24 ก.ย. 61 16:01 น. 7

ไม่ต้องรอเช็คล่ะพี่เป็นคนป่วย


และattempted suicide ล่าสุด 9/9/2018


งานเขียนต้องห่างไปเพราะเราเศร้าและmoodyเกินกว่าจะเอาตัวละครที่แสนดีพวกนั้นมามีเอี่ยว


ทั้งนี้ทั้งนั้นยังพยายามเขียนอยู่แต่เป็นความคิด ของตัวเอง ณ ขณะเศร้า แทน

#เสพย์โศก

0
กำลังโหลด

9 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กุยแกตามหาโจโฉ V2 Member 21 ก.ย. 61 19:54 น. 3
เราว่าควรเริ่มจากการแบนหรืออย่างน้อยปิดตอนที่นักเขียนไล่คนอ่านไปตายพลางแนะนำวิธีการฆ่าตัวตายอย่างละเอียดก่อนดีไหม
0
กำลังโหลด
ริญวารินทร์ Member 23 ก.ย. 61 10:01 น. 4

เคยเป็นค่ะ...คาดหวังในหลายเรื่อง แล้วไม่เป็นอย่างที่หวัง เครียด เสียใจ หดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง คิดว่าตัวเองไม่มีค่า ใช้เวลานานกว่าจะดีขึ้นมา ส่วนหนึ่งได้กำลังใจจากครอบครัวและคนรอบข้างด้วย ตอนนี้ดีขึ้นมากแล้วค่ะ ขอบคุณบทความดีๆที่นำมาเผยแพร่นะคะ ^^

0
กำลังโหลด
Bloody-mania Member 24 ก.ย. 61 00:10 น. 5

น่าจะจริงค่ะ ตอนเราแต่งนิยายนี่เราเหมือนต้องจมดิ่งลงไปในความคิดของตัวละครจริงๆ เรื่องที่เราเขียนมีเรื่องนึงพระเอกฆ่าตัวตายไปแล้ว เราต้องฟังเพลงหดหู่มากๆเพื่อจะเข้าใจอารมณ์ของพระเอกเลยค่ะ ช่วงนั้น down ไปเลย


นี่ก็ยังไม่เข็ดนะคะ ... ชอบแต่งเรื่องอะไรที่มันปวดจิตค่ะ

0
กำลังโหลด
เกย์อักษรฯเอกปรัชญา 24 ก.ย. 61 09:38 น. 6

ไม่รู้จะเห็นด้วยหรือเห็นแย้งกับบทความนี้ดี...


คือในมุมหนึ่ง บทความนี้อาจจะช่วยให้ผู้คนรู้สึกเห็นใจนักเขียนมากขึ้นและช่วยเตือนสติให้นักเขียนรู้เท่าทันอารมณ์ซึมเศร้าของตัวเอง


แต่ ในอีกมุมหนึ่ง ผู้คนจะใช้บทความนี้ทำร้ายนักเขียนมากขึ้น คือใช้โจมตีอาชีพนักเขียนว่าเป็นอาชีพที่ไม่ดีเพราะทำให้เป็นโรคซึมเศร้า ยิ่งช่วงนี้ประจวบเหมาะกับธุรกิจสิ่งพิมพ์ปิดตัวลง พ่อแม่กดดันให้ลูกทำอาชีพที่อยู่ในความต้องการตลาด พ่อแม่อาจจะชี้ให้ลูกอ่านบทความนี้แล้วสรุปว่าอย่าได้เลือกเป็นนักเขียนเลยเพราะมันน่าสมเพชมาก

บทความนี้จึงอาจจะทำให้ภาพลักษณ์วงการอาชีพนักเขียนแย่ลง

อย่าลืมว่าการที่นักเขียนบางคนมีอาการซึมเศร้าอาจมีสาเหตุมาจากกระแสทุนนิยมตัดสินว่าเป็นอาชีพที่ไร้ค่าเพราะไม่ค่อยทำเงิน ไม่ใช่เพราะเกิดจากอาการอินกับตัวละครของตัวเอง


1
หน้ากากมรณะ Member 29 ก.ย. 61 13:41 น. 6-1

ผมเห็นด้วยกับ ความเห็นของคุณครับ


เพราะบทความนี้มันเหมือนกับการโจมตีว่านักเขียนไม่เป็นอาชีพที่ไม่ได้ตามที่คุณบอก และเหตุผลของคุณนั้นมีความสมเหตุสมผลมากๆครับ

0
กำลังโหลด
p.k.a Member 24 ก.ย. 61 16:01 น. 7

ไม่ต้องรอเช็คล่ะพี่เป็นคนป่วย


และattempted suicide ล่าสุด 9/9/2018


งานเขียนต้องห่างไปเพราะเราเศร้าและmoodyเกินกว่าจะเอาตัวละครที่แสนดีพวกนั้นมามีเอี่ยว


ทั้งนี้ทั้งนั้นยังพยายามเขียนอยู่แต่เป็นความคิด ของตัวเอง ณ ขณะเศร้า แทน

#เสพย์โศก

0
กำลังโหลด
หมื่นเมฆา Member 10 ต.ค. 61 18:34 น. 8

สำหรับเรา เราไม่น่าจะเป็นโรคซึมเศร้า แต่น่าจะเป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตกตายซะมากกว่า เพราะบางฉาก ยากแสนยาก คิดจนเส้นเลือดเส้นเอ็นที่ขมับเต้นตุบๆ

อีกอย่างเราไม่ได้เขียนนิยายออกทะเลอย่างเดียว แต่ยังต้องทำงานหาเงินใช้ ขืนเป็นโรคซึมเศร้าคงไม่มีตังค์ข้าวพอดี


...ทำไมต้องเอาความจริงมาล้อเล่นด้วย ศรีไม่เข้าจายยยยย

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด