สวัสดีค่ะน้องๆ ก่อนหน้านี้ Dream Campus รวบรวมคณะ สาขาวิชา และหลักสูตรที่เปิดสอนในแต่ละมหาวิทยาลัยของประเทศไทยไว้หลายมหาวิทยาลัย ให้น้องๆ ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยที่จะเข้าเรียน ซึ่งวันนี้พี่แนนนี่ก็จะพาน้องๆ ไปทำความรู้จักคณะและสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือที่เราเรียกกันว่า "บางมด" กันบ้าง  โดยที่นี่เปิดสอนทั้งหมด 50 สาขาวิชา จาก 5 คณะ 1 โครงการ 1 สถาบัน 1 วิทยาลัย ดังนี้
 
ขอบคุณรูปภาพจาก https://pr.kmutt.ac.th/pr2/photo-library/
 
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์
1.1 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) มีหลักสูตรไทย 16 สาขาวิชา และหลักสูตรนานาชาติ 6 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ)
- สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
- สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (นานาชาติ)
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและพลังงาน
- สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือ
- สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (นานาชาติ)
- สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด
- สาขาวิชาวิศวกรรมอัตโนมัติ (นานาชาติ)
- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (นานาชาติ)
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์
- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
- สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
- สาขาวิศวกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลังและพลังงาน)
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ (นานาชาติ)
1.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ
แนวทางการประกอบอาชีพ : วิศวกร ในหน่วยงานต่างๆ ตามสาขาวิชาที่จบมา เช่น วิศวกรคอมพิวเตอร์, นักพัฒนาซอฟต์แวร์, นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล, วิศวกรกระบวนการผลิต, วิศวกรเครื่องกล, วิศวกรยานยนต์ เป็นต้น หรือเป็นนักวิชาการ นักวิจัย ครู-อาจารย์
 
2. คณะวิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มีหลักสูตรไทย 6 สาขาวิชา และหลักสูตรสองภาษา 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์
- สาขาวิชาสถิติ
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาจุลชีววิทยา
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
- สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ (สองภาษา)
แนวทางการประกอบอาชีพ : นักวิทยาศาสตร์,  นักวิชาการ, นักวิจัย, ครู-อาจารย์,  หน่วยงานที่เกียวกับเครื่องมือวิทยาศาสตร์ หรือ อาชีพตามสาขาวิชาที่เรียนมา
 
3. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
3.1 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) มี  2 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน
แนวทางการประกอบอาชีพ : นักปฏิบัติงานด้านเทคนิค, นักวิจัย, ผู้ช่วยวิศวกร, นักออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์, นักสื่อสารมวลชน, นักโฆษณา, นักฝึกอบรม เป็นต้น
3.2 หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) มี 4 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตร 5 ปี)
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (หลักสูตร 5 ปี)
- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตร 5 ปี)
- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตร 5 ปี)
แนวทางการประกอบอาชีพ : ครู-อาจารย์, วิทยากรฝึกอบรม, วิศวกรในสถานประกอบการ หรืองานตามสาขาวิชาที่เรียนมา เช่น ผู้ควบคุมงาน, พนักงานให้คำปรึกษา, นักพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เป็นต้น
3.3 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) มี 2 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-มัลติมีเดีย
แนวทางการประกอบอาชีพ : นักออกแบบ, นักวิชาการ, นักวิจัย, งานที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์
 
4. โครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาตส์และเทคโนโลยีมีเดีย
4.1 หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) มี 1 สาขาวิชา  คือ
- สาขาวิชามีเดียอาตส์
4.2 หลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต (วท.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย
4.3 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์
แนวทางการประกอบอาชีพ : นักออกแบบ, ช่างภาพ, นักเขียนภาพ, แอนิเมเตอร์, ผู้กำกับ, นักตัดต่อ, นักประชาสัมพันธ์, นักเวชนิทัศน์, นักโสตทางการแพทย์, นักวิชาการ, นักวิจัย เป็นต้น
 
5. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) มีหลักสูตรไทย 1 สาขาวิชา และหลักสูตรภาษาอังกฤษ 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
5.2 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) มี 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิตัล
แนวทางการประกอบอาชีพ :  นักเทคโนโลยีสารสนเทศ, นักพัฒนาเว็บไซต์, ผู้ดูแลระบบเครือข่าย,  ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์,  นักออกแบบ, นักวิเคราะห์ธุรกิจ, นักวางแผนการตลาด, เจ้าของธุรกิจ, นักวิชาชีพ-นักวิชาการ เป็นค้น
 
6. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
6.1 สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) มีหลักสูตรนานาชาติ 2 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
- สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน (หลักสูตรนานาชาติ)
6.2 ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) มีหลักสูตรนานาชาติ 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
6.3 ศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) มีหลักสูตรนานาชาติ 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรนานาชาติ)
แนวทางการประกอบอาชีพ : สถาปกนิก ตามสาขาวิชาทีี่เรียนมา, นักออกแบบ, อาจารย์, นักวิชาการ, นักวิจัย
 
7.  สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)) มี 1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
แนวทางการประกอบอาชีพ : วิศวกร, นักพัฒนาซอฟต์แวร์, นักวิจัย, นักวิชาการ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
 
8. วิทยาลัยสหวิทยาการ (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มี  1 สาขาวิชา คือ
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แนวทางการประกอบอาชีพ : นักวิทยาศาสตร์, นักเทคโนโลยี, นักวิชาการ, นักวิจัย, ครู-อาจารย์ หรืออาชีพอิสระในหน่วยงานที่มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ
 
อ้างอิงข้อมูลจาก https://admission.kmutt.ac.th/bachelor
 
              เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี   เป็นอีกมหาวิทยาลัยที่มีสาขาวิชาทางวิศวกรรมศาสตร์ค่อนข้างเยอะ เรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในขวัญใจของเด็กสายวิทย์-คณิตเลย ถ้าน้องๆ คนไหนที่สนใจสมัครเข้ามหาวิทยาลัยนี้ สามารถติดตามรายละเอียดระบบ TCAS ได้เร็วๆ นี้ และสามารถรอติดตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ต่อไปได้
อ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ tcas เพิ่มเติม   https://tcas.in.th/ 
พี่แนนนี่
พี่แนนนี่ - Columnist เด็กเอกไทย คลั่งไคล้มิกกี้(เม้าส์) หลงใหลอิตาลี คอยเฝ้าลงพื้นที่ ตามข่าว TCAS

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

1 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด