5 อาชีพมาแรงสายอุตสาหกรรมอาหาร! ที่เด็กไทยห้ามพลาด ตอกย้ำจุดเด่น "ครัวไทย ครัวโลก"

สวัสดีน้องๆ ชาว Dek-D ทุกคนค่ะ ว่ากันว่าในอนาคตเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทในอาชีพต่างๆ เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมนั้นทันสมัยและมีมาตรฐานขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ "อุตสาหกรรมอาหาร" ซึ่งประเทศไทยก็มีชื่อเสียงด้านอาหารเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเลยทีเดียวค่ะ

น้องๆ รู้หรือไม่คะ ประเทศไทยสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมอาหาร เป็นมูลค่ามากกว่า 950,000 ล้านบาทและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังเป็น 1 ใน 10 ดาวเด่นที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (S-curve) ที่จะต่อยอดมุ่งสู่การเป็น "ครัวไทย ครัวโลก (The Kitchen of the world)" ด้วย อีกทั้งภาครัฐก็มีนโยบายต่าง ๆ สนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ อาทิเช่น การจัดตั้งเมืองนวัตกรรมอาหารรวมถึงการส่งเสริมด้านการศึกษาเพื่อสร้างเด็กรุ่นใหม่ที่มีความสามารถด้านอาหารเข้ามาสู่อุตสาหกรรมอาหารให้มากขึ้นนั่นเองค่ะ และวันนี้พี่มิ้นท์จะพาน้องๆ มาดูว่า "อุตสาหกรรมอาหาร" ที่มีการผลิตในอาหารปริมาณมากเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคนั้น มีอาชีพอีกมากมายรอน้องๆ อยู่ ไปดูกันเลยค่ะ

5 อาชีพมาแรงสายอุตสาหกรรมอาหารที่เด็กรุ่นใหม่ห้ามพลาด

ฝ่ายควบคุมการผลิต (Production)

นอกจากจะทำหน้าที่ดูแลการผลิตอาหารแล้ว สายงานนี้ยังทำหน้าที่วางแผนการผลิต ควบคุมให้กระบวนการแปรรูปอาหารเป็นไปตามขั้นตอน เพื่อส่งมอบสินค้าได้อย่างมีมาตรฐาน รวมถึงสามารถควบคุมต้นทุนและปริมาณการผลิต และใช้งานเครื่องจักรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตได้

น้องๆ ที่จะมาสายอาชีพนี้ ต้องจบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร, ด้านวิศวกรรมแปรรูปอาหาร ที่เน้นการทำงานร่วมกันกับอุปกรณ์เครื่องจักรแปรรูปอาหาร หรือด้านเทคโนโลยีการหมักฯ ในอุตสาหกรรมอาหารที่ใช้จุลินทรีย์ในการแปรรูปอาหาร เช่น โรงงานโยเกิร์ต นมเปรี้ยว อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกฮออล์ ซีอิ๊ว น้ำปลา แหนม เป็นต้น  

ฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ (QA/QC)

เมื่อผลิตอาหารออกมาแล้ว จะส่งไปวางขายกันง่ายๆ ไม่ได้นะคะ จะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพแทบจะทุกขั้นตอน สายงานนี้จึงสำคัญกับระบบอุตสาหกรรมอาหารมากๆ โดยจะครอบคลุมตั้งแต่การจัดเตรียมวัตถุดิบการผลิต ควบคุมคุณภาพการผลิต ไปจนถึงป้องกันการสูญเสียของอาหารภายหลังการผลิต เรียกว่าต้องควบคุมคุณภาพอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐานทุกขั้นตอน ทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงตรวจสอบคุณภาพบรรจุภัณฑ์และการขนส่งด้วย

น้องๆ ที่จะมาสายอาชีพนี้ ต้องจบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เน้นการควบคุมคุณภาพด้านกายภาพและเคมี, ด้านวิศวกรรมแปรรูปอาหาร เน้นการควบคุมคุณภาพร่วมกับอุปกรณ์เครื่องจักรการผลิต และด้านเทคโนโลยีการหมักฯ ที่เน้นการควบคุมคุณภาพด้านจุลินทรีย์ในอาหาร

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D)

ใครที่มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบคิดค้นสูตร มีสูตรเด็ด สูตรลับ ชอบการทดลองเมนูใหม่ๆ เหมาะกับอาชีพนี้เลยค่ะ สายงานนี้จะมีหน้าที่ค้นคว้าเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคบนโลกใบนี้ ไม่ใช่แค่กินได้อย่างเดียว ต้องทำเพื่อให้อาหารมีคุณภาพและมูลค่ามากขึ้น สามารถแข่งขันในตลาดได้ โดยทำงานร่วมกับฝ่ายการตลาดและฝ่ายการผลิตในการพัฒนาคุณภาพสินค้า

สำหรับน้องๆ ที่สนใจสายนี้ ต้องจบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร, ด้านวิศวกรรมแปรรูปอาหาร เน้นการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องจักรในการผลิต และด้านเทคโนโลยีการหมักฯ ที่เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้จุลินทรีย์ในการแปรรูปอาหาร

ฝ่ายความปลอดภัยด้านอาหาร

เน้นเรื่องผลิต คุณภาพ ความแปลกใหม่ไปแล้ว จะขาดไม่ได้เลยคือ เรื่องความสะอาดและความปลอดภัยในอาหาร เพราะอาหารเป็นสิ่งที่มนุษย์นั้นบริโภคเข้าไป จึงต้องปราศจากอันตรายในทุกๆ ด้าน งานด้านนี้จึงเป็นการดูระบบมาตรฐานความปลอดภัยในการผลิตอาหาร เช่น ระบบคุณภาพตามหลักเกณฑ์และวิธีผลิตอาหารที่ดีในโรงงานผลิตอาหาร (GMP) ระบบหลักการวิเคราะห์อันตรายและควบคุมจุดวิกฤติ (HACCP) เป็นต้น  รวมถึงกฏหมายอาหารทั้งในและระหว่างประเทศ  

สำหรับน้องๆ ที่สนใจสายนี้ต้องจบการศึกษาด้านด้านเทคโนโลยีการหมักฯ ที่มีการเรียนการสอนเน้นด้านความปลอดภัยทางอาหาร หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 

เชฟนักวิทยาศาสตร์

อาชีพใหม่มาแรงที่ไม่ได้มีแค่ทำอาหารหน้าครัว แต่ต้องบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหารและศิลปะในการประกอบอาหารเข้าด้วยกันเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค อีกทั้งยังต้องมีความสามารถด้านการบริหารจัดการ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งอุตสาหกรรมอาหารและธุรกิจบริการอาหาร เรียกได้ว่านอกจากจะปรุงอาหารอร่อยและทันสมัยแล้ว ยังมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหารมาเสริมความรู้และแก้ไขโจทย์ทางด้านอาหารได้อีกด้วย  

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสายนี้ต้องจบการศึกษาในหลักสูตร “วิทยาศาสตร์การประกอบอาหารและการจัดการการบริการอาหาร (นานาชาติ)” ที่ได้ถึง 3 ปริญญาหรือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาเอกเทคโนโลยีการบริการอาหารและการจัดการ

เส้นทางสู่ 5 อาชีพมาแรงด้านอาหาร

มาถึงตรงนี้ น้องๆ คงมีคำถามว่า ต้องเรียนอะไรถึงจะต่อยอดไปทำงานทั้ง 5 อาชีพข้างต้นได้ ในปัจจุบัน คณะด้านอาหารไม่ได้มีแค่วิทยาศาสตร์อาหารหรือที่เรียกว่า Food Science เท่านั้น เพราะในบางมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนหลักสูตรที่เจาะลึกไปถึงระบบอุตสาหกรรมอาหาร นั่นหมายความว่า จะมีการเรียนการสอนที่เฉพาะทางเพื่อให้ต่อยอดในสายอุตสาหกรรมโดยตรงได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

และในวันนี้จะมาแนะนำ 4 หลักสูตรด้านอาหาร จากคณะอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติ ที่เน้น "อาหาร" เป็นหลัก และจะพัฒนาน้องๆ ที่มีความสนใจด้านอาหาร ให้เชี่ยวชาญและค้นพบความถนัดของตนเอง  

สาขา “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร” เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอาหาร กระบวนการผลิตอาหาร การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพอาหาร เป็นต้น

สาขา “วิศวกรรมแปรรูปอาหาร”  ประยุกต์ใช้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกันในการปรับปรุง พัฒนา และควบคุมกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์และเครื่องจักรในการผลิตอาหาร  
 

สาขา “เทคโนโลยีการหมักในอุตสาหกรรมอาหาร” ผนวกความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหารและความปลอดภัยทางอาหาร เน้นการใช้ประโยชน์ในการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์และการควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคและก่อให้เกิดการเสื่อมเสียในอาหาร

สาขา “วิทยาศาสตร์การประกอบอาหารและการจัดการการบริการอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ)” ได้ถึง  3 ปริญญาจาก 3 ประเทศ คือ สจล. สวิตเซอร์แลนด์และประเทศอังกฤษ บูรณาการศาสตร์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร ศิลปะการประกอบอาหารและการบริหารจัดการไว้ด้วยกัน  

ทั้ง 4 สาขาข้างต้น สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานด้านอุตสาหกรรมอาหาร น้องๆ ที่ได้เรียนไปแล้วจะสามารถนำความรู้ไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งสถิติของผู้เรียนนั้น ก็มีงานทำมากกว่า 85% เลยทีเดียวค่ะ และยังเป็นอาชีพมาแรงตามที่ได้แนะนำไปข้างต้นแล้วด้วย น่าสนใจมากๆ เลย

“ให้ความสำเร็จของคุณเริ่มต้นจากเรา มาเป็นครอบครัวเดียวกัน ที่นี่ที่คณะอุตสาหกรรมอาหาร พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง”  

ผู้สนใจเข้าศึกษาคณะอุตสาหกรรมอาหาร สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

อย่างไรก็ตาม นอกจาก 5 อาชีพดังกล่าว ยังมีอาชีพอื่นๆ ที่มีส่วนขับเคลื่อนในอุตสาหกรรมอาหารทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงธุรกิจบริการอาหาร  เช่น  นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัยทางอาหาร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ที่ปรึกษาทางด้านอาหาร เจ้าของธุรกิจอาหาร เป็นต้น นั่นเป็นเพราะว่า อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ ถ้าเรายังต้องรับประทานอาหาร ดังนั้นขึ้นชื่อว่า “อาหาร” ย่อมมีงานรองรับอย่างแน่นอน    

พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

3 ความคิดเห็น

Mel 10 พ.ค. 64 16:05 น. 1

อ่อ แปรรูปอาหารก็น่าใจแฮะ แต่เราสนใจการทำอาหารมากกว่า...แบบนี้เราควรไปวิทยาลัยดุสิตมันจะตรงใจกว่าใช่มั้ย?

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด