7 เทคนิคลับสร้างวายร้ายให้สมจริงเหมือนมนุษย์!

7 เทคนิคลับสร้างวายร้ายให้สมจริงเหมือนมนุษย์!

 

สวัสดีค่ะชาวนักเขียนเด็กดีทุกคน พูดถึงนิยายสนุกๆ นอกจากพล็อตเรื่องจะดี มีตัวละครเอกปังๆ แล้ว สิ่งสำคัญที่พลาดไม่ได้คือ “วายร้าย” เพราะวายร้ายนี่แหละทำให้เรื่องของเราน่าติดตามมากขึ้น! ลองคิดดูสิว่ามันจะดีแค่ไหน ถ้าเกิดว่านิยายของเรามีวายร้ายที่นักอ่านยากที่จะเกลียด และบางครั้งก็เกลียดที่จะรัก คงกลายเป็นไอคอนิกน่าดู

แม้ว่าการสร้างวายร้ายจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่การสร้างวายร้ายให้สมจริงเหมือนคนก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนะ วันนี้พี่น้ำผึ้งเลยชวนทุกคนมาดู 7 เทคนิคลับที่ช่วยให้เราเขียนวายร้ายให้คล้ายกับมนุษย์จริงๆ เพื่อเพิ่มความลึกให้แก่นิยายของเราค่ะ

 

 

วายร้าย VS ศัตรู : ต่างกันยังไง?

antagonist (n.) ศัตรู

'บุคคลที่ต่อต้านอย่างแข็งขันหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อใครบางคนหรือบางสิ่งบางอย่าง / ปฏิปักษ์' (Oxford Dictionary)

คำนี้เป็นศัพท์ทางวรรณกรรมที่อธิบายถึงตัวละครที่ขวางเป้าหมายของผู้อื่น มักใช้ตรงข้ามกับคำว่า “ตัวเอก” ซึ่งอธิบายฮีโร่หรือตัวละครหลักของเรื่อง

แต่วายร้ายของเรานั้นตรงข้ามกับศัตรูอยู่มากโข วายร้ายแสดงเจตนามุ่งร้ายอย่างจงใจ

 

villain (n.) วายร้าย

'คนเลวที่ทำร้ายคนอื่นหรือทำผิดกฎหมาย' (Cambridge Dictionary) 

ในแง่วรรณกรรม วายร้ายคือ ‘ตัวละครในละคร นวนิยาย หรือสิ่งที่คล้ายกัน ซึ่งถือเป็นสิ่งชั่วร้ายที่สำคัญในโครงเรื่อง' (dictionary.com)

ดังนั้น ศัตรูอาจเป็นเพียงฝั่งตรงข้ามที่ไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับวายร้าย

ตัวอย่างเช่น ตัวละครที่เป็นศัตรูอาจจะแค่ขัดขวางไม่ให้ตัวเอกทำเป้าหมายสำเร็จ แต่วายร้ายคือผู้ที่ก่อให้เกิดอันตรายโดยเจตนา ไม่ว่าจะเพื่อความพึงพอใจหรือแสวงหาเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง โดยไม่คำนึงถึงความทุกข์ที่แผนนี้อาจทำร้ายผู้อื่น

แล้วเราจะเขียนตัวละครวายร้ายที่รู้สึกสมจริงได้อย่างไร? มาดูกัน

 

 

01 ให้วายร้ายได้สัมผัสกับบาดแผลและความบอบช้ำอย่างแท้จริง

ปัญหาของวายร้ายที่ดูเหมือนการ์ตูนคือ แรงจูงใจของพวกเขามักเป็นอะไรที่ไม่มีน้ำหนัก เราไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมพวกเขาถึงต้องเป็น 'วายร้าย' ดูเหมือนพวกเขาก็แค่ถูกลิขิตให้เป็นแค่วายร้าย!

การมอบประวัติที่น่าเชื่อถือให้วายร้าย เรื่องราวเบื้องหลังแสดงให้เห็นว่าพวกเขากลายเป็นคน “เลว” ได้อย่างไร ช่วยทำให้พวกเขาซับซ้อน และยังสามารถทำให้วายร้ายของเราเป็นตัวอย่างเตือนใจต่อมุมมองและทางเลือกทางอุดมการณ์ที่ทำลายล้าง

การให้วายร้ายบอบช้ำและเจ็บปวดจากในอดีตอย่างชัดเจน (ประสบการณ์เชิงลบที่บรรยายไว้อย่างครบถ้วนในเรื่องราวของเรา) เป็นวิธีหนึ่งในการอธิบายสิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกขมขื่น กระหายอำนาจ หรือโหดร้าย ภูมิหลังความเจ็บปวดที่เราพูดเป็นนัยแต่ไม่เปิดเผยในเรื่อง

เช่น ผู้บัญชาการซาดิสต์อาจเดินกะโผลกกะเผลก ซึ่งสัญญาณของการบาดเจ็บทางร่างกายในอดีตนี้อาจบ่งบอกถึงประสบการณ์ที่ยากลำบาก เช่น ถูกทรมานโดยผู้จับกุม ที่ทำให้เขาปฏิบัติตัวโหดร้ายต่อทหารของเขา

วิธีหนึ่งที่คนเราตอบสนองต่อความเจ็บปวดเรียกว่า “การเก็บกด (Repression)” ในทางจิตวิทยา นี่คือเวลาที่บุคคลจะฝังเหตุการณ์ในอดีตอันเจ็บปวดลงในจิตใต้สำนึก ลืมมัน (แต่ไม่ลบความบอบช้ำทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด) และเกิดบาดแผล

วายร้ายที่มีความเป็นมนุษย์อาจล้มเหลวในอดีต หน้าที่ของนักเขียนคือเปิดเผยอดีต แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่ผลักพวกเขาไปสู่เส้นทางแห่งความโหดร้าย และก่อเหตุอันตรายต่อผู้อื่น

 

02 ให้วายร้ายสร้างความผิดพลาดที่น่าเชื่อถือ

วายร้ายที่อยู่ยงคงกระพัน ไม่มีอะไรทำลายได้ มักเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดและภาพยนตร์แอ็คชั่นที่เน้นดูเพื่อความบันเทิง เมื่อมีการระเบิดเสียงดังลั่นหรือการยิงปืนเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ชม พวกเขาอาจไม่สังเกตเห็นว่าวายร้ายแข็งแกร่งอย่างผิดธรรมชาติเพียงใด อย่างไรก็ตามวายร้ายที่เป็นมนุษย์อาจทำผิดพลาดได้ 

  • ความผิดพลาดทางยุทธวิธีหรือเชิงกลยุทธ์: เช่น คนร้ายปฏิบัติต่อผู้หญิงหรือผู้ชายที่เป็นมือขวาอย่างน่ากลัว ทำให้เกิดความไม่พอใจที่อาจส่งผลให้เกิดการทรยศในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง
     
  • ความผิดพลาดทางอารมณ์: เช่น แม้ว่าคนร้ายจะเป็นโรคจิตและไม่ได้มีความเห็นอกเห็นใจเท่าตัวละครเอก แต่พวกเขาก็อาจแสดงอารมณ์ออกมากในลักษณะที่ทำให้คู่ต่อสู้ได้เปรียบ

ความผิดพลาดอย่างหนึ่งของวายร้ายที่เจอบ่อย คือการพูดคุยหรือคุยโวกับคู่ต่อสู้อย่างไม่รู้จบในภาพยนตร์แอคชั่น การทำแบบนี้เปรียบเหมือนการซื้อเวลาอันมีค่าของตัวเอกในการหลบหนีหรือสร้างชัยชนะ

การให้คนร้ายเกิดข้อผิดพลาดบ้างเป็นสิ่งที่ดี และความผิดพลาดของคนร้ายเกิดจากข้อบกพร่องในด้านความเข้าใจ อุปนิสัย หรือความตระหนักรู้ของตนเอง เป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือที่สุด

 

สเนป
สเนป
via: ภาพยนตร์

 

03 ค่อยๆ เซอร์ไพรส์นักอ่าน

บ่อยครั้งที่ตัวเอกในหนังสือทำให้เราประหลาดใจ พวกเขามีความสามารถในการเติบโต เปลี่ยนแปลง เรียนรู้และพัฒนา ในทางกลับกันตัวละครที่เป็นวายร้ายบางตัวรู้สึกว่างเปล่า เพราะมีการพัฒนาตัวละครน้อยกว่ามาก

ลองนึกถึงตัวละครเซเวอร์รัส สเนป ในแฮร์รี่ พอตเตอร์ เขาดูชั่วร้ายเวลาปฏิบัติต่อนักเรียนอย่างไร้ความปราณีตลอดทั้งเรื่อง อย่างไรก็ตามการเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับศาสตราจารย์สเนปในช่วงหลัง ทำให้นักอ่านเข้าใจพฤติกรรมของสเนปในแง่ที่น่าเห็นอกเห็นใจมากขึ้น โดยให้พฤติกรรมของสเนปเป็นสาเหตุ (มากพอๆ กับตัวละครอื่นๆ ของเธอ) ซึ่งเจ.เค. โรว์ลิ่งได้สร้างวายร้ายให้มีบุคลิกลักษณะซับซ้อนเหมือนมนุษย์

เพื่อช่วยให้นักอ่านเข้าใจวายร้าย เราอาจเปิดเผยสิ่งต่างๆ เหล่านี้

  • คำโกหกที่พวกเขาเชื่อ
  • คำสอนที่น่าสงสัย/เป็นอันตรายที่พวกเขาได้รับ
  • ทางเลือกที่แย่มากที่พวกเขาทำเมื่อตัวเลือกของพวกเขามีแค่นิดเดียว
  • ประสบการณ์ในอดีตที่ลำบากใจ (เช่น การล่วงละเมิด) ที่ทำให้พวกเขาต้องรับผิดชอบตัวเอง 
    เพื่อก้าวข้ามผ่านไปให้ได้ แม้จะน่าเจ็บปวดมากเท่าไหร่ก็ตาม

หัวใจสำคัญของ “วายร้าย” ในชีวิตจริงเป็นเรื่องราวเตือนใจให้ระวังวิธีที่เราตอบสนองต่อประสบการณ์ที่เป็นอันตรายหรือเจ็บปวด เช่น ความละอาย การหักหลัง การสูญเสีย และการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม 

วายร้ายที่มีความเป็นมนุษย์มักจะเป็นคนที่สามารถทำลายวงจรการทำลายล้างได้ หากพวกเขามีโอกาส วุฒิภาวะ หรือสติปัญญา

 

04 ลองคิดในมุมวายร้ายดู

เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ทุกคนเป็นฮีโร่ในเรื่องราวของตัวเอง” ตัวละครที่เติมเต็มบทบาทของ “วายร้าย” ในเรื่องของเราอาจมีความเชื่อกับตัวเองว่า พวกเขากำลังทำสิ่งที่ดีอยู่ ดังนั้นลองคิดจากมุมมองของพวกเขาดู

วิธีหนึ่งในการทำเช่นนี้คือ การสร้างแบบสอบถามสำหรับตัวละครวายร้าย! ถามคำถามเกี่ยวกับความปรารถนา ความกลัว และ “สาเหตุ” ที่อยู่เบื้องหลังพวกเขา ตัวอย่างเช่น

  • คุณต้องการออะไรมากที่สุดในโลก (และทำไม?)
  • คุณกลัวอะไรมากที่สุด (และทำไม?)

ถามต่อไปว่า “ทำไม” และจินตนาการถึงคำตอบทุกคำตอบที่วายร้ายของเราให้มา 

จงอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับกระบวนการคิด ความปรารถนา และความกลัวของวายร้าย พอๆ กับที่เราสนใจเกี่ยวกับตัวละครเอกที่เป็นฮีโร่

 

 

05 วายร้ายต้องมีแรงจูงใจ

วายร้ายควรมีเป้าหมาย แรงจูงใจ และความปรารถนาในปัจจุบัน เหมือนกับตัวละครอื่นๆ ของเรา หากทุกสิ่งที่วายร้ายปรารถนาและทำนั้นมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน นักอ่านอาจสงสัยว่าทำไมพวกเขาถึงไม่ทำมันตั้งแต่แรกๆ เพราะงั้นเราควรถามตัวเองว่า 

เหตุการณ์ปัจจุบันมีผลต่อสิ่งที่วายร้ายของเราต้องการในตอนนี้อย่างไร

ทางเลือกหนึ่งคือปิดบังความปรารถนาและแรงจูงใจของวายร้ายไว้อย่างสมบูรณ์

แรงจูงใจของวายร้ายอาจเป็นสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ความรัก, ความแค้น, ความอยุติธรรม, ความกลัว, ซึมเศร้า, การทรยศ, ความเกลียด, พลังอำนาจ เป็นต้น ลองหาแรงจูงใจที่ใช่ที่สอดคล้องกับภูมิหลังดู

 

06 แสดงให้นักอ่านเห็นว่าวายร้ายของเราเองก็มีความธรรมดา

อีกวิธีหนึ่งในการทำให้ตัวละครวายร้ายของเรามีความเป็นมนุษย์มากขึ้น คือการให้พวกเขาทำสิ่งธรรมดาๆ

ส่วนหนึ่งของสิ่งที่ทำให้วายร้ายดูชิลๆ และคาดเดาไม่ได้ คือการให้พวกเขาสามารถสลับบทบาทไปมาระหว่างความรุนแรงและความธรรมดา เช่น นักฆ่าที่ได้รับการว่าจ้างอาจยิงหัวหน้าอาชญากรคู่ต่อสู้เข้าที่หัว แล้วกินมันฝรั่งแผ่นหนึ่งห่อทันทีหลังจากนั้น

วายร้ายที่ชอบฟังเพลงแจ๊สเพื่อผ่อนคลายนั้นน่าสนใจและซับซ้อนกว่าคนที่นั่งทรมานแมลงเพื่อความสนุกสนานในช่วงพัก เราเห็นส่วนธรรมดาของชีวิตเขา 

ในการทำเช่นนั้นทำให้เราครุ่นคิดว่า ใครบางคนที่โหดร้ายเองก็สามารถเป็นมนุษย์ได้บ้างบางเวลา

 

สเนปกับความรักของเขา
สเนปกับความรักของเขา
via: ภาพยนตร์

 

07 ให้วายร้ายอ่อนแอบ้างก็ได้

วายร้ายที่ไม่ยอมให้กระสุนหรือใบมีดทำอะไรพวกเขาได้ อาจดูมีพลังและอันตรายสำหรับตัวเอกในนิยายของเรา แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการให้วายร้ายมีจุดอ่อนหรืออ่อนแอบ้างอาจมีประโยชน์ต่อเรื่องของเราในลักษณะต่อไปนี้

  • จุดอ่อนทำให้ตัวเอกมีโอกาสที่จะได้รับชัยชนะ เช่น สภาพแวดล้อมเฉพาะอาจทำให้เราสามารถเล่นเพื่อประโยชน์ของตัวเอกมากขึ้น
  • จุดอ่อนสามารถแยกแยะตัวละครที่ชั่วร้ายได้

จุดอ่อนเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างวายร้ายให้สมจริง และยังทำให้พวกเขาแตกต่างจากคนอื่นๆ ด้วย นี่คือตัวอย่างการสร้างจุดอ่อนด้านต่างๆ ที่เราควรทำ (จะใช้เพื่อสร้างจุดแข็งด้วยก็ได้)

  • พฤติกรรม (จ้องข่มขู่ สะดุ้งง่าย)
  • ทางกายภาพ (ความแข็งแกร่งที่ผิดธรรมชาติ, การมองเห็นไม่ดี)
  • จิตใจ (เจ๋งเสมอ, อัจฉริยะ, กลัวงู)
  • การเมือง (มีจักรพรรดิเป็นพันธมิตร, มีพ่อค้าเป็นศัตรูอย่างเปิดเผย)
  • เศรษฐกิจ (มีเงินในบัญชีเยอะ, เครดิตไม่ดี)
  • สังคม (คนไม่เคยสงสัยเขา, ประหม่าเวลาอยู่ใกล้ผู้หญิง)
  • ทหาร (มีกองทัพยิ่งใหญ่, ฝึกมาอย่างดี, แม่ทัพยากจน)
  • ครอบครัว (แม่คือราชินี, ต้องปกป้องลูกชายของเขา)
  • ความสามารถพิเศษ (คาถา, พลัง, สัญชาตญาณ)

 

.....................

 

เป็นอย่างไรบ้างคะกับ 7 เทคนิคการสร้างวายร้ายให้สมจริงที่พี่นำมาฝากในวันนี้ พี่ว่าการสร้างวายร้ายให้สมจริงเป็นสิ่งที่ทำให้นิยายของเราน่าเชื่อถือมากขึ้นนะ เพราะงั้นลองหยิบมาปรับใช้กับนิยายของเรากันค่ะ เชื่อว่านักอ่านจะรู้สึกว้าวซ่ากับวายร้ายของเรามากแน่ๆ  เพียงแค่นี้เราก็จะได้วายร้ายปังๆ จนคนอ่านต้องรักมากๆ (หรือเกลียดสุดขั้ว) แล้ว ใครใช้แล้วเป็นยังไง ลองมาเล่าให้ฟังด้วยนะคะ

 

พี่น้ำผึ้ง :)

 

ขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
พี่น้ำผึ้ง
พี่น้ำผึ้ง - Columnist นักเขียนที่ชอบส่งต่อพลังบวกให้ทุกคน

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น