เดี๋ยวนี้ไม่ว่าต้องการอะไรแค่เข้าไปในโลกออนไลน์เราก็สามารถหาทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างเกือบจะไม่มีข้อจำกัด ...

     อย่างล่าสุดสำนักข่าว เอเอฟพี เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาทั่วสหรัฐฯ เสนอหลักสูตรฟรีออนไลน์ในทุกวิชาเท่าที่สามารถจินตนาการได้ แม้ไม่แจกปริญญา แต่ก็ไม่คิดค่าเทอม ในจำนวนนี้รวมถึงวิดีโอเทปการบรรยายของศาสตราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่สุดบางคน

ยูทูบได้สร้างฮับที่ชื่อ YouTube EDU ที่ youtube.com/edu เพื่อให้มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษากว่า 100 แห่งเสนอการเรียนการสอนออนไลน์ฟรี

     โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ยูทูบได้สร้างฮับที่ชื่อ YouTube EDU ที่ youtube.com/edu เพื่อให้มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษากว่า 100 แห่งเสนอการเรียนการสอนออนไลน์ฟรี

     ในบรรดาวิดีโอนับพันบนไซต์นี้คือห้องเรียนเสมือนของวอลเตอร์ เลวิน ศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) ที่มีคนเข้าดูเป็นล้านครั้ง

     มหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งอื่นๆ ที่โพสต์วิดีโอการสอนไว้ในยูทูบยังมีอาทิ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กเลย์, โคลัมเบีย, คอร์เนลล์, ดาร์ทมัธ, ดุ๊ก, ฮาร์วาร์ด, ปรินซ์ตัน, สแตนฟอร์ด, และเยล

     สำหรับหลักสูตรที่นำเสนอบน YouTube EDU ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ก็ไม่ได้ให้เครดิตแก่คนเรียนเช่นกัน และขณะนี้เริ่มมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งเปิดการเรียนการสอนออนไลน์โดยมีปลายทางที่ปริญญาบัตรกันมากขึ้น

     จากการศึกษาในเดือนพฤศจิกายน 2008 ที่จัดทำให้แก่สโลน คอนซอร์เตียม พบว่านักศึกษากว่า 3.9 ล้านคนในสหรัฐฯ เข้าร่วมหลักสูตรออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งหลักสูตรในปี 2007 ซึ่งเป็นปีล่าสุดที่สามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วนสมบูรณ์

     ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 12% ทั้งนี้ จากการเปิดเผยของสโลน องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรที่มีภารกิจในการ ‘ผนึกการศึกษาออนไลน์เข้าสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษากระแสหลัก’

     ภาวะเศรษฐกิจถดถอย อัตราว่างงานพุ่งทะยาน และน้ำมันแพง เป็นปัจจัยที่การศึกษาชิ้นนี้ชี้ว่าน่าจะทำให้ความต้องการห้องเรียนออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

     อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีแต่วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่เผยแพร่ความรู้ออนไลน์ฟรี เมื่อเร็วๆ นี้ เนเจอร์ เอดูเคชันได้เปิดตัว Scitable.com เว็บไซต์ที่อธิบายสรรพคุณตัวเองว่าเป็น ‘ช่องทางการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ร่วมกันผ่านระบบออนไลน์’

     “สิ่งที่เราต้องการจากไซเทเบิลคือ การนำการศึกษาเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 การใช้ประโยชน์จากเครื่องมือและเทคโนโลยีทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน” วิกรัม ซาฟการ์ ผู้อำนวยการฝ่ายเผยแพร่ของเนเจอร์ เอดูเคชัน ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของเนเจอร์ พับลิชชิ่ง กรุ๊ปของอังกฤษ กล่าว

ห้องสมุดไฟร์สโตนของมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน

     “หนึ่งในเป้าหมายของเราคือยกระดับการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมองว่าการพัฒนาแรงงานที่ได้รับการฝึกอบรมและศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศ

     “วิทยาศาสตร์ส่งผลต่อเกือบทุกสิ่ง ตั้งแต่การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม แต่การเข้าถึงข้อมูลและการศึกษาวิทยาศาสตร์คุณภาพสูงกลับไม่มีความเท่าเทียมกันในทั่วโลกในหลายๆ กรณีมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และในอีกหลายกรณีไม่สามรถเข้าถึงได้ หนึ่งในเป้าหมายหลักของเราสำหรับไซเทเบิลคือ การนำเสนอเนื้อหาคุณภาพสูงและชุมชนผู้เชี่ยวชาญที่นักศึกษาจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้” ซาฟการ์เสริม

     เขายังบอกอีกว่า ไซเทเบิล ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมกราคม มีผู้ใช้ในกว่า 85 ประเทศเข้าสู่ห้องสมุดเนื้อหา เข้าร่วมชุมชนคณะวิทยาศาสตร์และนักศึกษา หรือใช้เครื่องมือการเรียนการสอนในไซต์

     “นี่ไม่ใช่เครือข่ายสังคมเพื่อวัตถุประสงค์ทางสังคมล้วนๆ แต่เป็นการร่วมมือร่วมใจกันเพื่อการสอนและการเรียนรู้”

     สำหรับปัจจุบัน ไซเทเบิลทุ่มเทให้กับความรู้ด้านพันธุกรรมอย่างเต็มที่ แต่ในอนาคต ไซต์แห่งนี้มีแผนเข้าสู่เนื้อหาเกี่ยวกับชีววิทยาระดับโมเลกุลและเซลล์ รวมถึงประสาทวิทยาศาสตร์

     “หลังจากนั้นเราจะเข้าสู่เรื่องของเคมีและฟิสิกส์ เราจะพัฒนาโมดูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและนิเวศน์วิทยา”

     เนเจอร์หวังว่า ในที่สุดแล้วไซเทเบิลจะสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในทางการเงินจากค่าโฆษณา ผู้สนับสนุน และการนำเสนอพิเศษ เช่น การเปิดสอนและบริการจัดหางาน

     “เราให้เวลาตัวเองแบบไม่กดดัน คาดว่าน่าจะสัก 4-5 ปี เราจะไปถึงจุดนั้นได้” ซาฟการ์ทิ้งท้าย

     สำหรับหลักสูตรฟรีออนไลน์ดังกล่าวนี้ ดูเหมือนจะสามารถตอบสนองความของบรรดาผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนทั้งหลายได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าระบบจะพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบ 100% แต่เชื่อว่ารออีกไม่นานหรอกค่ะ เราคงได้ใช้กันแบบเต็มรูปแบบแน่นอนค่ะ

พี่เหมี่ยวขอขอบคุณ : ข่าวและภาพประกอบจากผู้จัดการออนไลน์ค่ะ

 
 
พี่เหมี่ยว
พี่เหมี่ยว - Columnist คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ผู้หญิง

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

20 ความคิดเห็น

ping_dolls Member 14 ส.ค. 52 09:20 น. 1

ดีจังเลย อยากให้ทางมหาวิทยาลัยในประเทศทำแบบนี้มั่งจัง จะได้เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับทุกคน (ที่มีอุปกรณ์ในการออนไลน์) แหะ แหะ^^

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ส้ม 16 ส.ค. 52 16:14 น. 8
เยี่ยม พัฒนามาไวๆๆนะค่ะ แล้วนำเสนอวิธีการใช้บ้าง
เป็นการศึกษาที่น่าสนใจมาก
จะได้เอาเวลาเรียนไปทำอย่างอื่นได้ด้วย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
+_+ PaNg Member 22 ส.ค. 52 16:21 น. 15
http://www.spybt.org/proinvite-86303335.html เว็บโหลดบิทดีๆจ้า --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เมื่อไรเมืองไทยจะมีบ้าง
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
MeayLiiZZKM Member 23 ส.ค. 52 00:34 น. 19
ว้าว ดีจังเลย ต่างประเทศเค้าจริงจังเรื่องการศึกษามากๆเลยเนอะ
เมืองไทยก็ โอเคอยู่อะ
แต่น่าจะให้ความสำคัญมากกว่านี้
เพราะเด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า
0
กำลังโหลด
(*{_;,.lolipk.,;_}*) Member 1 ก.ย. 52 19:34 น. 20
หนูเคยเรียนของฟิสิกส์ ม.ห้าค่ะสอนเข้าใจดีแต่ หนู่ไม่ค่อยถนัดเรื่องภาษาก็เลยเดามั่วๆไป ดูภาพเอาค่ะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด