วัสดีค่า^^ ถ้าน้องๆ เคยไปเที่ยวแถว จ.จันทบุรี หรือตราด พี่มิ้นท์ เชื่อว่าน้องๆ น่าจะเคยเห็นร้านขายพลอย หรืออัญมณีอยู่จนชินตา นั่นก็เพราะว่าจังหวัดที่บอกมาเป็นแหล่งอัญมณีสำคัญของประเทศไทยที่ทำรายได้ส่งออกได้เป็นจำนวนมาก จนเรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางตลาดค้าอัญมณีมาอย่างยาวนาน ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะความชำนาญ และความสามารถของคนไทยนี่เอง และยิ่งตอนนี้เทคโนโลยีใหม่ๆ ยิ่งช่วยให้ธุรกิจนี้พัฒนาไปได้เยอะเลย

           ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกพลอยอยู่ 2 ประเภทค่ะ ก็คือ พลอยเนื้อแข็ง ได้แก่ ทับทิม ไพลิน เป็นต้น และพลอยเนื้ออ่อน ได้แก่ เพทาย โกเมน เป็นต้น ซึ่งอัญมณีเนื้ออ่อนค่อนข้างได้รับความนิยมสูง ก็เลยอาจเกิดปัญหาวัตถุดิบมีน้อยลง ผู้ผลิตก็เลยต้องหาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วย เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่รวดเร็วขึ้น วิธีนั้นก็คือ การปรับปรุงสีโดยใช้ความร้อน กรรมวิธีให้ความร้อนแก่พลอย เพื่อให้มีสีที่สดใส ถ้าเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า “การเผาพลอย” หรือ “การหุงพลอย” โดยไม่จำเป็นต้องใส่สีหรือตัวยาอะไรเพิ่มเลย เพราะการให้ความร้อน จะทำให้แร่ธาตุหลักที่มีอยู่ในเมล็ดพลอยเรียงทรงร่างของผลึกได้ด้วยตัวของมันเอง และแร่ธาตุจัดเรียงตัวเสียใหม่ พลอยก็เลยมีสีและใสขึ้น แต่การเผาพลอยก็มีข้อเสียเพราะอาจจะไม่สำเร็จทุกเม็ด การเพิ่มคุณค่าจึงพัฒนามาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่น การฟอกสี แต่งสี ย้อมสี และที่น่าสนใจอยู่ในขณะนี้ ก็คือ การฉายรังสี

 

 

       

     การเพิ่มคุณค่าด้วยการฉายรังสี ในต่างประเทศมีการทดลองมานานแล้วค่ะ และพบว่ารังสีหลายประเภททำให้คุณภาพสีของอัญมณีเปลี่ยนได้ เช่น รังสีแกมมา อิเล็กตรอนพลังงานสูงจากเครื่องเร่งอนุภาค หรือนิวตรอนจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ที่สำคัญยังทำให้สีเปลี่ยนได้อย่างสม่ำเสมอ แถมยังสีสันสวยงามขึ้นด้วย

         ประเทศไทยเริ่มมีการวิจัยและให้บริการฉายรังสีโทแพชด้วยรังสีนิวตรอนจากเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว แต่ว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ผลิต จนเมื่อปี 2550 สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) ก็เลยได้สร้างอุปกรณ์ในการฉายรังสีไ ว้อีก 2 รายการ คือ เครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนพลังงานสูง และเครื่องฉายรังสีโคบอลต์-60 ขึ้น ซึ่งถือเป็นเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปัจจุบันประเทศไทยก็มีศูนย์ฉายรังสีอัญมณี ที่ให้บริการฉายรังสีอัญมณีและให้บริการวัดกัมมันตภาพรังสีในอัญมณีด้วย

 


ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นประธานเปิดอาคารเครื่องเร่งอิเล็กตรอนฯ

           น้องๆ รู้มั้ยว่า การฉายรังสีแบบนี้มีประโยชน์ยังไงบ้าง นอกจากจะทำให้ได้สีที่สวยขึ้นแล้ว ยังมีประโยชน์ในการสร้างมูลค่าด้วย เพราะว่าพลอยดิบสีขาวใสก่อนรับการฉายรังสีมีราคากะรัตประมาณ 6 บาทเท่านั้น แต่พอได้ทำการฉายอิเล็กตรอนจนพลอยเปลี่ยนสี จะมีราคากะรัตละประมาณ 120 บาท เรียกได้ว่าราคาสูงเป็น 20 เท่าเลย ซึ่งเครื่องนี้สามารถให้บริการฉายรังสีพลอยได้ปีละ 24 ล้านกะรัต ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการฯได้พลอยที่มีมูลค่าเพิ่มเป็น 2,880 ล้านบาทต่อปี

           โดย ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า "เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีนิวเคลียร์ หลายคนยังมีความเข้าใจว่าเทคโนโลยีนิวเคลียร์นั้น เป็นเรื่องของการผลิตอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ได้รับการพัฒนาและมีประโยชน์ในการพัฒนาประเทศหลายๆ ด้าน ซึ่งโครงการเพิ่มศักยภาพในการผลิตอัญมณีฉายรังสีเพื่อการส่งออก จากการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับเอกชน ก็ถือเป็นก้าวสำคัญของเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของไทย"

 ตัวอย่างอัญมณีที่สามารถนำไปฉายรังสี (สวยๆ ทั้งนั้นเลย)

                 ภาพ 1 (ซ้าย) aquamarine ไม่ฉายรังสี      

                   ภาพ 2  (ขวา)  aquamarine ไม่ฉายรังสีaquamarine ฉายรังสีนิวตรอน

 

                ภาพ 1 (ซ้าย)   ไข่มุกไม่ฉายรังสี 

                  ภาพ 2  (ขวา)    ไข่มุกฉายรังสีแกมมา

 

               ภาพ 1 (ซ้าย)  โทแพซไม่ฉายรังสี 

                 ภาพ 2 (ขวา)  โทแพซฉายรังสีนิวตรอน


         ทั้งหมดนี้ ถือเป็นเทคโนโลยีที่ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมอัญมณีของไทยมีความเข้มแข็งขึ้น เพราะไม่ต้องไปฉายรังสีจากต่างประเทศเหมือนเคย การส่งออกก็จะมีคุณภาพมากขึ้นตามลำดับ เรียกได้ว่าช่วยให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยอยู่ได้อย่างยั่งยืน

           ปล.พูดถึงสีเพชรพลอยแล้ว ถ้าสมมติว่ามีคนจะซื้อให้ น้องๆ อยากได้สีอะไรกันคะ ส่วนพี่มิ้นท์ชอบสีฟ้าอ่อน เหมือนรูปด้านบนค่ะ



พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

25 ความคิดเห็น

~~inunaru~~ Member 17 มิ.ย. 54 09:42 น. 1
สุดยอด แล้วก็สวยมากๆ ได้สีสวยและก็สดด้วย

ชอบสร้อยภาพแรก เป็นโทแพชหรือเปล่าน่า อยากๆได้ๆๆๆ >_<

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 17 มิถุนายน 2554 / 09:47
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด