6 รูปแบบการสอบสุดโหด!! ที่อาจเจอได้เมื่อเรียนสูงขึ้น

           ปกติแล้วการเรียนการสอนไม่ว่าที่ไหนก็จะคล้ายๆ กัน คือ เรียนแล้วก็ต้องมาสอบเพื่อวัดผลในตอนปลายเทอม หรือ มีควิซย่อยๆ กันตลอดทั้งเทอม แต่ยิ่งเรียนสูงการสอบก็ยิ่งยากขึ้น ไม่ใช่แค่ความรู้ที่ยากขึ้น แต่รูปแบบการสอบก็ยากขึ้นด้วย เชื่อว่าน้องๆ หลายคนอาจจะเคยมีรุ่นพี่มาบอกว่า ประถม/มัธยม สอบง่ายที่สุดในโลกแล้ว จะสอบก็ตั้งใจสอบ ได้คะแนนเต็มง่ายๆ มันคือเรื่องจริงค่ะ!

           ถ้าเรานึกย้อนไปอดีต ข้อสอบสมัยอนุบาล ให้ระบายสี วงกลมรูปภาพ โตมาหน่อยก็เป็นข้อสอบโยงเส้น จับคู่ ตามมาด้วยข้อสอบช้อยส์ 3 - 4 ตัวเลือก แต่น้องๆ รู้หรือเปล่าว่าในระดับมหาวิทยาลัย จะมานั่งหาข้อสอบแบบกากบาทหรือฝนคำตอบนั้นแทบจะไม่มีแล้ว เพราะเราต้องรู้ทุกเรื่องที่เรียนอย่างถ่องแท้ จะเข้าไปฝนข้อสอบมั่วๆ ไม่ได้ ซึ่งในวันนี้พี่มิ้นท์ได้รวบรวมรูปแบบการสอบที่น่าสะพรึง ตะลึงตึงๆ มาฝากน้องๆ ค่ะ ลองนึกภาพตามว่า ถ้าน้องๆ ต้องเจอการสอบแบบนี้ จะทำหน้ากันยังไง
    
 
    
      1. ข้อสอบเขียน
           สอบข้อเขียนในระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้น เป็นข้อสอบ "เขียน" จริงๆ ไม่ใช่การเติมคำ ไม่ใช่จับคู่ ไม่ใช่เขียนเพื่อให้การสอบฟังดูสวยหรู แต่น้องๆ จะได้เขียนร่ายยาวกันเป็นหน้ากระดาษ A4 กับโจทย์ 1 ข้อ โดยเฉพาะคณะทางสายศิลป์ อย่างคณะอักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รัฐศาสตร์ โดนแน่นอนค่ะ อย่างเช่น โจทย์ถามว่าทำไมเราต้องแปรงฟัน โจทย์ก็จะมาแค่นี้ แต่พื้นที่ให้ตอบ มีตั้งแต่ระบุบรรทัด ไปจนถึงให้กระดาษมา 5 แผ่นแม็กติดมากับกระดาษคำถาม ส่วนคำตอบของเราจะเขียนอะไรก็เชิญเขียนตามอัธยาศัย (แต่ต้องเขียนให้ตอบโจทย์ที่ถามมาด้วยนะ)

          การเตรียมตัวสอบข้อเขียน คงขึ้นอยู่กับความรู้ที่น้องๆ มี เรียกว่าต้องประมวลทุกอย่างในหัวออกมาเขียน ซึ่งน้องๆ จะต้องปรับตัวจากตอนเรียนมัธยมมากๆ เลย อย่างแรกคือ ต้องเรียนด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่ท่องจำ หากใช้วิธีท่อง เกิดสะดุดตอไม้สติหลุดเขียนคำตอบไม่ได้แน่ๆ ค่ะ อีกอย่างถ้าคำถามมาไม่ตรงกับที่เราท่องจำก็ทำไม่ได้อีก แต่ถ้าเราเรียนแบบเข้าใจก็จะสามารถเรียบเรียงคำตอบได้อย่างเป็นระบบ :D

 
   2. ข้อสอบหลายช้อยส์
           ข้อสอบแบบหลายช้อยส์ที่น้องๆ เคยเจออาจจะสูงสุดแค่ 5 ตัวเลือกใช่มั้ยคะ แต่ระดับมหาวิทยาลัยแอดวานซ์กว่านั้นหลายขุมนัก โดยคำถามชุดนึงอาจจะมีช้อยส์ถึง 20 ตัวเลือก แต่ใช้ร่วมกับคำถามหลายๆ ข้อ คล้ายๆ กับข้อสอบเติมคำภาษาอังกฤษที่จะมีแผงคำตอบอยู่ด้านบน แล้วให้เลือกลงช่องว่างให้ถูกต้อง สำหรับข้อสอบแบบนี้ ต้องยกนิ้วเรื่องความยากเลยค่ะ เพราะผิดแล้วผิดเลย จะมานั่งแถน้ำท่วมทุ่มไม่ได้เหมือนข้อสอบเขียน
 
    3. Open Book
        ไม่แน่ใจว่ามีโรงเรียนไหนเคยสอบวิธีบ้างหรือเปล่า การสอบแบบ open book นี่เหมือนจะดีนะคะ เพราะเราสามารถเอาหนังสือหรือสมุด หรือสรุปชีทต่างๆ เข้าห้องสอบได้ด้วย ไม่ต้องกลัวว่าจะโดนจับทุจริต แต่มันโหดเหี้ยมกว่านั้น การันตีมาจากพี่ๆ หลายคนว่า ถึงเอาหนังสือหรือสมุดเข้าไปได้ก็จริง แต่ก็แทบไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพราะข้อสอบก็จะยากกว่าเดิม เปิดหนังสือเท่าไหร่ก็หาไม่เจอคำตอบ เผลอๆ เสียเวลาเปิดหนังสือไปฟรีๆ จนบางทีอาจารย์เสนอให้สอบแบบ Open book แต่คนสอบขอสอบแบบเดิมจะดีกว่า ฮ่าๆ
 
   4. สอบปากเปล่า
         เจอข้อสอบที่ระทึกที่สุดไปแล้ว แนะนำให้เจอการสอบที่กดดันอีกรูปแบบนึงแล้วกัน
         การสอบปากเปล่า หรือ Oral Exam คือ การตอบคำถามต่อหน้าอาจารย์ด้วยปากเปล่า เปิดหนังสือไม่ได้แน่นอนค่ะ โดยเราจะต้องเตรียมตัวมาให้พร้อมตั้งแต่ที่บ้าน อ่านหนังสือมาให้เยอะๆ ซ้อมถาม ซ้อมตอบเอาเอง ซึ่งการสอบแบบนี้จะไม่ได้วัดวิชาการเพียงอย่างเดียวนะคะ แต่จะวัดเรื่องความคิดเห็นด้วย อาจารย์จะยิงคำถาม "อะไร" "ทำไม" "เพราะอะไร" คล้ายๆ กับการสอบสัมภาษณ์ ให้เราแสดงความคิดเห็น พี่มิ้นท์เคยโดนสอบด้วยวิธีนี้ด้วยค่ะ ตื่นเต้นสุดๆ เลย เพราะอาจารย์จะมองหน้าเราตลอดการสอบปากเปล่า ส่วนตัวเราเองก็ต้องตื่นเต้นว่าอาจารย์จะถามอะไรต่อไป เราจะตอบได้มั้ย แค่ย้อนกลับไปคิดก็เหนื่อยแล้วค่ะ

 


 
    5. แล็บกริ๊ง
         การสอบสุดฮิตของเด็กสายวิทย์ในระดับมหาวิทยาลัยคือ แล็บกริ๊ง ฟังชื่อนี้แล้วจำให้แม่นๆ เลย
         "แล็บกริ๊ง" เป็นรูปแบบการสอบที่จะแบ่งข้อสอบออกเป็นโต๊ะๆ หรือเรียกว่า สถานี  สถานีละ 1 ข้อ มีเวลาทำข้อละประมาณ 1 นาที หลังจากนั้นจะมีสัญญาณดังกริ๊งขึ้นมา ทุกคนจะต้องขยับไปสถานีต่อไปทันที ดังนั้นเท่ากับว่า น้องๆ จะมีเวลาทำ คิด ขีด เขียนข้อสอบแค่ข้อละ 1 นาที จะทำอะไรต้องรีบๆ ทำค่ะไม่อย่างนั้นพอไปเจอโจทย์ข้อใหม่ก็ต้องคิดโจทย์ข้อใหม่ทันที พี่มิ้นท์จัดให้การสอบแล็บกริ๊งเป็นรูปแบบการสอบที่ระทึกที่สุดค่ะ


    6. ประยุกต์เอาความรู้มาใช้จริง
          เป็นรูปแบบการสอบที่ค่อนข้างพิสูจน์ความสามารถคนเรียนจริงๆ อย่างที่รู้ๆ กันว่าในมหาวิทยาลัยมีหลายวิชาที่เป็นวิชาเชิงปฏิบัติ จะสอบทีก็เลยต้องลงมือทำจริงๆ ซะเลย อย่างเช่น วิชาการตลาด พี่มิ้นท์ได้สืบเสาะถามจากปากคนที่เคยเรียนการตลาดได้ความมาว่า มีโปรเจคต้องทำสินค้าขึ้นมาจริงๆ (แต่ละที่อาจไม่เหมือนกันนะคะ) เช่น ต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งโลโก้ รูปแบบ ผลิตภัณฑ์ แล้วส่งสินค้าตัวนั้นๆ ให้อาจารย์ไปตรวจ หรือ มีโปรเจคที่ต้องจัดกิจกรรม ให้เราติดต่อสปอนเซอร์ให้ได้ ถ้าติดต่อได้ตามเกณฑ์ก็ถือว่าผ่าน เป็นต้น เรียกว่าอาจารย์ให้ความรู้กับคนเรียน แต่คนเรียนนี่แหละที่ต้องเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลขึ้นมาจริงๆ ทำได้ก็คือได้ ทำไม่ได้ก็คือ จบ! สอบตกไปตามระเบียบ T^T

         หูยยยย... การสอบแต่ละวิธีชวนให้คนเรียนหัวใจหล่นตุ๊บจริงๆ นะคะ ถ้าให้เรียงลำดับความยากแล้ว ข้อสอบช้อยส์ที่น้องๆ สอบทุกวันนี้ถือว่าง่ายที่สุด ส่วนที่ยากที่สุดน่าจะเป็นสอบปากเปล่าค่ะ ต้องใช้ไหวพริบมากๆๆๆๆๆๆ ความรู้ก็ต้องแน่นด้วย ห้ามตื่นเต้นอีกตะหาก ไม่งั้นสติกระเจิงแน่นอน 55555

         เป็นยังไงบ้างคะน้องๆ หวังว่าคงจะชอบกันเนอะ ไว้วันหลังถ้าพี่มิ้นท์เจอวิธีเรียนหรือวิธีสอบแบบแปลกๆ อีก จะเอามาฝากนะ :D
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Ang anG Member 19 ก.พ. 57 11:51 น. 5

การสอบเเล็ปกริ๊ง เราขอเรียกกว่า สอบกระชากสติ กริ๊งที่กระชากสติไปที กำลังจะนึกออก กริ๊งเดียวหาย ไปข้อใหม่ตะลึงกับคำถามข้อใหม่อีก ข้อเดิมยังนึกไม่ออกเลย--!!

แต่การสอบเเบบนี้คนที่ทำเเล็ปด้วยตัวเองจริงๆจะได้เปรียบมาก คือเเค่ดูก็ตอบได้เเล้ว เพราะส่วนใหญ่จะมีตัวอย่างมาให้ดูเป็นตัวอย่างจริงๆ  เเล้วตอบคำถาม

สอบปากเปล่า คือเป็นอะไรที่กดดันมา กลัวตอบไม่ได้ ตอบไม่ถูก เเถมอาจารย์ที่สอบบางท่าน จิตวิทยาสูงส่งนัก เล่นเราเป๋ตอนตอบบ่อยมาก บางครั้งตอบถูกอาจารย์บอกใช่เหรอ มั่นใจเเน่เหรอ คือถ้าเราไม่เเม่นจริงๆมักจะเป๋

1
กำลังโหลด
Lucia Member 19 ก.พ. 57 12:15 น. 8

มีอีกค่ะ เค้าเรียกกันว่า OSGE

(แล็บกริ้งเราเรียก OSPEค่ะ)

เจ้า OSGE คือการสอบข้อเขียนรูปแบบหนึ่ง แต่แบ่งทำทีละหน้า

หน้านึงให้เวลาซัก 4-10 นาทีแล้วแต่ว่าข้อย่อยอะไรบ้าง

พอกริ้งปุ๊บ

ทุกคนต้องเปลี่ยนหน้า และห้ามย้อนกลับมาแก้คำตอบอีก

เพราะคำตอบอยู่ในหน้าถัดไป

...มันเจ็บสุดๆก้ตรงคำตอบหน้าถัดไนี่ล่ะค่ะ 

แถมเสียเวลาเฟลได้อย่างมากสิบวิ ไม่งั้นเขียนตอบข้อต่อไปไม่ทัน แล้วเฟลต่อเนื่องแน่นอนจ้า

2
กำลังโหลด
axon 19 ก.พ. 57 12:35 น. 9
ถ้าอาจารย์บอกว่า นักศึกษาสามารถเอาหนังสือ เข้าไปได้ นี่ เตรียมใจไว้เลย ครับ ข้อสอบจะออกมาแบบชนิดที่ว่า ขนหนังสือไปสามคันรถบรรทุก ยังไม่พอ
0
กำลังโหลด
coffeeice Member 19 ก.พ. 57 23:09 น. 37

open book ที่ว่าโหด ยังแพ้ take home แบบชิดซ้ายกระเด็นตกท่อไปเลย

เอากลับไปทำที่บ้านได้ เปิดหนังสือ เสิร์ฟเน็ต ถามใคร ยังไงก็ได้

ข้อสอบจะแนวคิดขั้นแอดวานซ์แก้ปัญหาจริงๆ ภายใต้วิชาและทฤษฎีที่เราเรียน

เจอครั้งแรกบอกเลย ช็อค!! แล้วแบบเครียดข้ามวันอ่ะ ไม่ใช่ 2-3 ชม.

เสียใจเสียใจเสียใจเสียใจเสียใจ

1
กำลังโหลด
ammy 19 ก.พ. 57 12:37 น. 10
ขอนั่งยัน นอนยัน ว่าในมหาลัยโหดจริง เราเรียนพยาบาล โดนหมดทุกรูปแบบ โดยเฉพาะAnatomy น้ำตาจะไหล oral ที ถ้าพอมีความรู้อยู่บ้างก็แถๆไป จนสีข้างไม่เหลือ พออาจารย์รู้ว่าแถก็จะถามๆๆๆ จนเราจนมุม lab กริ๊งไม่ต้องพูดถึงกันเลยถ้าจำไม่ได้คือจบ จะกลับมานั่งคิดหาคำตอบใหม่ ก็ต้องรอ1นาทีสุดท้ายที่อาจารย์ให้ทวนคำตอบ ประเด็นคือจำโจทย์ไม่ได้ เพราะมันเยอะ และเป็นการสอบที่ตื่นเต้นมากกก ข้อไหนทำได้จะคิดว่าเวลาผ่านไปช้าจริงๆ 1นาที อยากจะตีลังกาเล่น แต่ข้อไหนทำไม่ได้(ส่วนใหญ่) ทำไมเวลาผ่านไปเร็วอย่างนี้ขอต่อเวลาเพิ่ม โดยเฉพาะปี1 แหม่ ตอนเรียนวิชาพื้นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ มีช้อยส์ A-Zโกรธ คณิตศาสตร์ Open book เครื่องคิดเลขได้หมด แต่ไล่เนื้อหาม.ปลายมาหมดเลยค่าา แคลคูลัส จำนวนจริง บลาๆๆๆ วิชาพื้นฐานพยาบาล เขียน ให้โจทย์มา 4ข้อ เลือกทำ1ข้อ แต่ให้กระดาษคำตอบมา4แผ่น 2ชั่วโมง และอื่นๆอีกมากมายยย ที่คนไม่เจอกับตัวไม่มีวันรู้ พูดไม่ออก
0
กำลังโหลด

79 ความคิดเห็น

Chanyanuch Member 18 ก.พ. 57 17:37 น. 1

ม.รามคำแหง

ส่วนใหญ่จะเป็นข้อสอบปรนัย  4  ตัวเลือก  บางวิชาเป็นข้อสอบปรนัย  5  ตัวเลือก

แต่บางข้ออาจจะมีคำตอบที่ถูกที่ต้องเพียง  2  คำตอบหรือบางข้อไม่มีข้อใดถูกต้องเลย 

เวลาฝนในกระดาษาคำตอบไม่ต้องฝนทั้งสองคำตอบนะ  (กรณีที่บางข้อมี  2  คำตอบ)

เครื่องจะไม่ตรวจข้อสอบในข้อนั้นๆเลย  จะปรับตกทันที

บางวิชามี  100  ข้อ  บางวิชามี  120  ข้อ  และ

บางวิชามี  50  ข้อ  คือ  วิชา  MTH1003  (MA103)  คณิตศาสตร์เบื้องต้น

บางวิชาเป็นข้อสอบปรนัย  50  ข้อและมีข้อสอบอัตนัยประมาณ  4-6  ข้อนี่แหละ

บางวิชาเป็นข้อสอบอัตนัย  6  ข้อ  แต่ให้เลือกทำมาแค่  3-4  ข้อ

บางวิชาเป็นข้อสอบอัตนัย  4  ข้อ  

บางวิชาเป็นข้อสอบอัตนัย  4  ข้อ  แต่ให้เลือกทำแค่  2  ข้อ  

-วิชา  POL2102  (PS202)  หลักรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

ข้อสอบอัตนัยต้องเขียนให้เหมือนกับเขียนเรียงความ  ตัวสะกดต้องเขียนให้ถูกต้อง  

ลายมือไม่จำเป็นต้องสวยมาก  (สอบนะคะ  ไม่ได้ประกวดเขียนเรียงความ)

แค่ขอให้เขียนภาษาไทยอ่านออก  เพราะ  อาจารย์บางท่านสายตาไม่ค่อยดี

3
fushsia 19 ก.พ. 57 20:55 น. 1-1
แล้วก็อัตนัยของม.ราม เราเรียนนิติศาสตร์พรีดีกรี คือ ยากอ่ะ ต้องจำเป็นหลักมาตราแต่ละมาตรามาแก้ปัญหากฎหมาย ต้องยกมาตรามากล่าวอ้าง คือเราไม่รู้ว่าที่จะสอบจะออกเรื่องอะไร เพราะเราไม่ได้ไปเอง ซื้อหนังสือมาอ่านเอง ก็ต้องสุ่มเดาเอาว่าจะเลือกจำมาตราไหน แต่ข้อสอบดันไม่ได้ออกมาตราที่เราท่องมา คือจบ นั่งแถเอาเลยยย และได้เอฟมาเป็นของตอบแทน//ซิก ซิก
0
กำลังโหลด
เด็ก มฟล. 19 ก.พ. 57 11:44 น. 2
มหาลัยเเม่ฟ้าหลวง มีข้อสอบข้อเขียนที่โหดมาก สมุดเล่มเล็กหนึ่งเล่ม กับคำถามสิบข้อ เขียนเป็นภาษาอังกฤษ เป็น Close-books Exam และเป็นโจทย์ที่ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
0
กำลังโหลด
Pass away 19 ก.พ. 57 11:46 น. 3
คณะวิศวกรรมศาสตร์แทบทุกที่คงเป็นแบบนี้ โจทย์เป็นสมการ 1 ข้อสั้นๆ ตอบที 2 หน้า A4 = =" กับอีกประเภทคือนำอุปกรณ์ที่มีใช้งานจริงๆ มาเป็นโจทย์และให้วิเคราะห์การทำงานของแต่ละองค์ประกอบของอุปกรณ์นั้นๆ
0
กำลังโหลด
Pleum 19 ก.พ. 57 11:47 น. 4
ข้อเขียนเราว่าดีกว่าช้อยส์เยอะ เพราะอย่างน้อยอาจารย์ก็เห็นเเก่ค่าน้ำหมึกที่เราอุตส่าห์เขียน T^T
0
กำลังโหลด
Ang anG Member 19 ก.พ. 57 11:51 น. 5

การสอบเเล็ปกริ๊ง เราขอเรียกกว่า สอบกระชากสติ กริ๊งที่กระชากสติไปที กำลังจะนึกออก กริ๊งเดียวหาย ไปข้อใหม่ตะลึงกับคำถามข้อใหม่อีก ข้อเดิมยังนึกไม่ออกเลย--!!

แต่การสอบเเบบนี้คนที่ทำเเล็ปด้วยตัวเองจริงๆจะได้เปรียบมาก คือเเค่ดูก็ตอบได้เเล้ว เพราะส่วนใหญ่จะมีตัวอย่างมาให้ดูเป็นตัวอย่างจริงๆ  เเล้วตอบคำถาม

สอบปากเปล่า คือเป็นอะไรที่กดดันมา กลัวตอบไม่ได้ ตอบไม่ถูก เเถมอาจารย์ที่สอบบางท่าน จิตวิทยาสูงส่งนัก เล่นเราเป๋ตอนตอบบ่อยมาก บางครั้งตอบถูกอาจารย์บอกใช่เหรอ มั่นใจเเน่เหรอ คือถ้าเราไม่เเม่นจริงๆมักจะเป๋

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Yeahhh 19 ก.พ. 57 12:13 น. 7
เราเรียนเศรษฐศาสตร์ มช ปี 1 ค่ะ สอบวิชาเมเจอร์ เรียนเวอร์ชั่นอังกฤษทุกรูปแบบ อาจารย์เป็นคนไทยทั้งหมด-จบด๊อกเตอร์ทั้งหมดจากเมืองนอกและ มช เอง มาสอนให้ คำถามภาษาอังกฤษ ต้องตอบภาษาอังกฤษ ต้องเขียนให้ใด้ป็นร้อยแก้วบ้าง เติมคำบ้าง แต่อาจารย์หลายท่านไม่ซีเรียสเรื่องแกรมม่า บางท่านซีเรียสบ้างเพราะเค้าเก่งอังกฤษมาก เก่งแบบอยากให้นักศึกษาทำได้เหมือนเค้า ส่วนวิชาเลือก เช่นรัฐศาสตร์ อาจารย์ให้คำถามใหญ่ 2-3 ข้อ และข้อเล็กประมาณ 10-20 ข้อ ข้อใหญ่คือร้อยแก้วเรียงความค่ะ แต่ข้อเล็กเป็นเขียน definition บ้าง เติมคำบ้าง อาจารย์เซ็คแต่ละเซ็ค ออกสอบไม่เหมือนกันด้วยที่เราเจอ ภาคเราอาจารย์ออกงี้นะ แต่อีกภาคอาจารย์คนอื่นออกอีกอย่าง ทำให้ถามไถ่กันไม่ได้เลย วิชาพืชและอาหารปลอดภัยของคณะเกษตร มช (วิชาเลือก) ครึ่งเทอมแรก เป็นหมอมาสอนค่ะ มีแล็ปกริ๊งครั้งเดียว ข้อละ 45 วินาทีในการดูคำถามแล้วตอบในกระดาษ คำถามไม่ยากหรอก แต่ว่าเนื้อหามันเยอะมากจนขุดในมันสมองไม่ออก :( ทำให้รู้สึกว่ายาก และทำให้รู้ว่าต้องอ่านหนังสือตลอดเวลาแม้จะเข้าใจแล้ว ข้อสอบกลางภาคมีเขียนและกากบาท เขียนคือเขียนสั้นๆไม่ต้องเรียงความ เขียนแบบ cross word game มีทุกปีเลยค่ะ ครอสเวิร์ดยากมากกกกก ยากที่สุด มีข้อสอบเขียน odd-one-out ด้วยค่ะ ปีหนูนี่เอา Bacteria มาถามเป็น 15 ข้อได้ แต่ดีที่หนูจบสายวิทย์มา ส่วนตัวสนใจเรื่องพวกนี้ก็เลยไม่เครียดค่ะ กลับชอบมากกว่า ส่วนกากบาทจะเอาเรื่องที่ดู VDO ในคลาสมาออก เหมือนทดสอบว่าเราสนใจกับวีดีโอที่อาจารย์ให้ดูมั้ย วิชาอื่นไม่ยากค่ะ ออกปกติรูปแบบเหมือน ม.ปลาย แต่ปีสูงเป็นยังไงต้องลองเรียนก่อนนะ :DD
0
กำลังโหลด
Lucia Member 19 ก.พ. 57 12:15 น. 8

มีอีกค่ะ เค้าเรียกกันว่า OSGE

(แล็บกริ้งเราเรียก OSPEค่ะ)

เจ้า OSGE คือการสอบข้อเขียนรูปแบบหนึ่ง แต่แบ่งทำทีละหน้า

หน้านึงให้เวลาซัก 4-10 นาทีแล้วแต่ว่าข้อย่อยอะไรบ้าง

พอกริ้งปุ๊บ

ทุกคนต้องเปลี่ยนหน้า และห้ามย้อนกลับมาแก้คำตอบอีก

เพราะคำตอบอยู่ในหน้าถัดไป

...มันเจ็บสุดๆก้ตรงคำตอบหน้าถัดไนี่ล่ะค่ะ 

แถมเสียเวลาเฟลได้อย่างมากสิบวิ ไม่งั้นเขียนตอบข้อต่อไปไม่ทัน แล้วเฟลต่อเนื่องแน่นอนจ้า

2
กำลังโหลด
axon 19 ก.พ. 57 12:35 น. 9
ถ้าอาจารย์บอกว่า นักศึกษาสามารถเอาหนังสือ เข้าไปได้ นี่ เตรียมใจไว้เลย ครับ ข้อสอบจะออกมาแบบชนิดที่ว่า ขนหนังสือไปสามคันรถบรรทุก ยังไม่พอ
0
กำลังโหลด
ammy 19 ก.พ. 57 12:37 น. 10
ขอนั่งยัน นอนยัน ว่าในมหาลัยโหดจริง เราเรียนพยาบาล โดนหมดทุกรูปแบบ โดยเฉพาะAnatomy น้ำตาจะไหล oral ที ถ้าพอมีความรู้อยู่บ้างก็แถๆไป จนสีข้างไม่เหลือ พออาจารย์รู้ว่าแถก็จะถามๆๆๆ จนเราจนมุม lab กริ๊งไม่ต้องพูดถึงกันเลยถ้าจำไม่ได้คือจบ จะกลับมานั่งคิดหาคำตอบใหม่ ก็ต้องรอ1นาทีสุดท้ายที่อาจารย์ให้ทวนคำตอบ ประเด็นคือจำโจทย์ไม่ได้ เพราะมันเยอะ และเป็นการสอบที่ตื่นเต้นมากกก ข้อไหนทำได้จะคิดว่าเวลาผ่านไปช้าจริงๆ 1นาที อยากจะตีลังกาเล่น แต่ข้อไหนทำไม่ได้(ส่วนใหญ่) ทำไมเวลาผ่านไปเร็วอย่างนี้ขอต่อเวลาเพิ่ม โดยเฉพาะปี1 แหม่ ตอนเรียนวิชาพื้นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ มีช้อยส์ A-Zโกรธ คณิตศาสตร์ Open book เครื่องคิดเลขได้หมด แต่ไล่เนื้อหาม.ปลายมาหมดเลยค่าา แคลคูลัส จำนวนจริง บลาๆๆๆ วิชาพื้นฐานพยาบาล เขียน ให้โจทย์มา 4ข้อ เลือกทำ1ข้อ แต่ให้กระดาษคำตอบมา4แผ่น 2ชั่วโมง และอื่นๆอีกมากมายยย ที่คนไม่เจอกับตัวไม่มีวันรู้ พูดไม่ออก
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
อืม 19 ก.พ. 57 13:36 น. 12
อักษร ศิลปากร โหดจริงค่ะ โดยเฉพาะข้อสอบoral test ข้อเขียนก็ใช่ย่อย เห็นทีจะเป็นลม openbook นี้พูดไม่ออก ไม่รู้อาจารย์จะให้เอาเข้าไปทำไม
0
กำลังโหลด
poohdim 19 ก.พ. 57 13:54 น. 13
ก็แหมน่ะ มหา'ลัยเป็นด่านสุดท้ายก่อนที่จะเริ่มทำงานจริงๆแล้วนี้ การทำข้อสอบก็ต้องยากเป็นธรรมดา วิชานอกอาจพอมีบ้างเล็กน้อยบางส่วนของข้อสอบที่เป็นช้อย(แต่ทั้งหมดเป็นข้อเขียนน่ะล่ะ) หนักจริงโหดจริงก็วิชาในนี้ล่ะ อย่างเราเรียนถาปัดอยู่ปี5 สำหรับวิชานอกเราไม่ค่อยซีเรียสเท่าไหร่ แม้สิ่งที่เจอจะเป็นทั้งสอบข้อเขียน/สอบช้อย/ปฏิบัติก็เถอะน่ะ อาศัยท่องจำผ่านมันมาได้ แต่เฮ้!หนักจริงโหดจริงต้องวิชาในนี้ ทั้งศาสตร์และศิลป์มาครบเลย ประวัติศาสตร์หรอ? เราก็เรียนจ๊ะ..... ทั้งไทยทั้งเทศ ต้องรู้ให้หมด รูปแบบสมัยนั้นสมัยนี้เป็นยังไงต้องแยกให้ได้ มีอาจารย์เก่งๆท่านไหนบ้าง ผลงานที่มีชื่อ บลา..... ไล่กันยาว รวมถึงต้องอัพเดตแฟชั่นใหม่ๆ รูปแบบการออกแบบใหม่ๆอีกด้วย คำนวณม่ะ? มันต้องมีอยู่แล้ว บ้านหลังหนึ่งอาคารหลังหนึ่งใช้วัสดุอะไร? ราคาเท่าไหร่? ใช้จำนวนเท่าไหร่? รวมแล้วใช้ทั้งหมดกี่อย่าง กี่บาท ต้องนั่งเชคราคากลางอีก กฏหมาย? ของตายตัวก่อนออกแบบแต่ล่ะอย่างต้องดูข้อจำกัดโน่นนี้นั้น พื้นที่นี้ห้ามสร้างอย่างงั้น พื้นที่นี้ห้ามสร้างอย่างงี้ สร้างได้แค่นี้น่ะ บริเวณนี้ต้องมีพื้นที่สีเขียว%นี้%นั้น แต่กฏหมายที่อาจารย์สอนก็จะเป็นแค่พื้นฐานให้พอรู้ แต่ถ้าไปเจอโครงการพิเศษๆหน่อยก็ต้องศึกษากันเอาเอง และต้องจำได้ด้วยน่ะ เพราะถ้ากรรมการถามมาตอบไม่ได้นี้ถึงขั้นเหวอแดกเลยทีเดียว คะแนนมีปลิวไปกัยลมแน่ๆ บางครั้งมีความสามารถเสริม ต้องรู้ลึกรู้จริงในบางเรื่องแบบสุดๆ รู้จริงยิ่งกว่าแฟนพันธุ์แท้ เพราะเมื่อทำโปรเจคๆหนึ่ง ก็จะเอาล่ะ ผลงานต้องมีคอนเซบ(แนวความคิด) คอนเซบนั้นใช้อะไรมาทำ อ่ะ อย่างเช่นโครงการอยู่ที่พัทยา ก็ต้องมาตีความความหมายของพัทยา พัทยาคืออะไร ให้ความรู้สึกแบบไหน อย่างเมื่อปีที่แล้วเพื่อเราทำโรงแรมที่พัทยาใช้คอนเซปผีเสื้อกลางคืน แล้วยังไง? ผีเสื้อกลางคืนเป็นแบบไหน เกี่ยวข้องกันยังไงก็มานั่งไล่.............ความหมาย ลักษณะ กันต่อไป วิชาที่กล่าวๆมามันแค่น้ำจิ้ม อย่างประวัติศาสตร์+คำนวณ ข้อสอบก็สอบเขียนน่ะล่ะ น้ำจิ้มๆ(แต่ประวัติศาสตร์ก็ทำเราFมาแล้ว T^T ก็แหม...คำถามไม่ถึง1บรรทัด แต่ให้กระดาษมาเป็นปึ้ง ไม่ต้องบอกก็รู้ ว่ามันต้องร่ายยาวขนาดไหน) หนักใจและจี๊ดใจสุดมันต้องนี้เลย วิชาหลักประจำคณะ "วิชาดีไซน์" โจทย์ข้อสอบพวกเราใช้เวลาในการอ่านและวิเคราะห์ รวบรวมกระบวนการทั้งหลายอย่างน้อยที่สุด 3สัปดาห์/1โปรเจค (ไม่รวมพวกออกแบบเบื้องต้นที่ใช้เวลาแค่1วันส่งน่ะ) เวลานี้แล้วแต่ขนาดของโครงการอ่ะน่ะ แต่พอถึงเวลาสอบจริงๆกรรมการจะให้เวลาในการสอบกับคุณเพียงแค่15นาทีเท่านั้น มีอะไรอยู่ในหัว จัดการมันซะ แล้วพูดมันออกมา ใช้แล้วการสอบของเราคือการพรีเซนต์ปากเปล่าพร้อมผลงานที่ทำ หลังจากเราพูดจบก็เตรียมตัวโดนชำแหละจากกรรมการได้เลย เค้าสงสัยต้องการรู้อะไรต้องตอบให้ได้ -ที่เรียนมาทั้งหมดทุกวิชามันจะมารวมกันอยู่ที่นี้เนี่ยล่ะ ตอบคำถามไม่ได้หรือโดนต้อนจนมุมเมื่อไหร่ เตรียมบ๊ายบายคะแนนได้เลย จะขึ้นสอบพรีเซนต์แต่ล่ะทีต้องเตรียมตัวเตรียมหัวใจให้พร้อม+สวมหน้ากากหน้าด้านเค้าไว้ เค้าดุด่าอะไรมาต้องยิ้มรับให้ได้ หลังจากผ่านมันมาได้ก็จะหายไปจากวงจรชีวิตชาวบ้านอย่างน้อย1วันเพราะสลบอยู่ที่ห้องหรืออาจจะกำลังเก็บกวาดห้องที่เพิ่งผ่านมรสุ่มโปรเจคลงอยู่ ก็เป็นได้ 5555+
0
กำลังโหลด
bump 19 ก.พ. 57 14:30 น. 14
แคลคูลัสของวิศวะลาดกระบังนี่ใช่ย่อยเลยค่ะ ข้อสอบแบ่งเป็น2พาร์ท ปรนัยกับอัตนัย -ปรนัย ข้อสอบมี2ช้อยส์ ตอบถูกได้ข้อละ 2คะแนน ตอบผิด -2คะแนน ถ้าผิดเท่ากับว่าเราเสียนั้นไปพร้อมกับข้อที่ทำถูกไป อีกหนึ่งข้อ แล้วช้อยส์นี่สุดแสนจะเลือกยากมาก ตัวอย่างเช่น a.)เท่ากับ0 b.)ไม่เท่ากับ0 หวาา ถ้าคำนวณผิดนิดเดียวคือพลาด!!! -อัตนัย ข้อสอบ1ข้อ แทบจะประยุกต์ใช้เนื้อหาทั้งหมดที่มีในtextbook นศ.ส่วนใหญ่ทำแทบทุกข้อแต่ไม่เสร็จ/ไม่ได้คำตอบสักข้อ นศ.บางคนแทบร้องไห้ตอนรู้ว่าจะต้องเจอข้อสอบอัตนัยเสียใจ
0
กำลังโหลด
Veerapong Pimon 19 ก.พ. 57 14:41 น. 15
อิ อิ เจอ แลบกริ๊งเคมีครับ โดยแต่ละข้อให้เวลาสามนาที(แต่ในแต่ละ ข้อจะมีข้อย่อยอีก เสียใจ) เหมือนจะโชคดี open book ไม่ต้องพูดถึง หนังสือช่วยอะไรไม่ได้เลยจิงๆคับ แบกไปหนักป่าวๆ สำหรับผม การสอบข้อเขียนถือว่าชิวสุดแล้ว อิ อิ รักเลย สู้ สู้
0
กำลังโหลด
SC_MU 19 ก.พ. 57 15:00 น. 16
ข้อสอบข้อเขียนที่ว่าแน่ ที่ประยุกต์ว่าแน่กว่าแล้ว ก็ยังแพ้ข้อสอบข้อเขียนแบบ Open Book บุ๊คนะเออ หนังสือที่เอาเข้ามันช่วยได้น้อยมากจริงๆ นอกจากจะเป็นเท็กซ์แล้ว ยังแทบจะไม่มีอะไรที่ตรงในหนังสือ นอกจากความรู้พื้นฐาน 555 แต่ที่แย่กว่าคือที่สามารถเอาหนังสือหรือชีทเข้าได้หมด แบบไม่จำกัดนี่สิ มันช่างล้ำลึกเหลือเกิน แต่ก็ผ่านมันมาได้ด้วยความรันทด และความพยายามมากๆ ข้อสอบแล็ปกริ๊งนี่ no comment นะคะทุกอย่างอยู่ที่สติ ความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าล้วนๆ 555 อีกรูปแบบนึงที่เอิ่มสำหรับพี่คือข้อสอบปากเปล่า ไม่ชอบที่สุด ส่วนใหญ่จะเจอในวิชาภาษาอังกฤษ เพราะเราก็ไม่รู้ว่าอาจารย์จะถามประมาณไหน แม้อาจารย์จะบอก Topic มาแล้วก็เถอะ คือถามมาแล้วโมเมนท์นั้นก็ต้องอึ้งก่อน เพราะบางคนก็ได้คำถามที่แบบแสดงความคิดเห็นยากมาก แต่ถ้าใครพูดฟังเยี่ยมนี่แบบสบายอ่ะ แต่ที่ทำให้กลัวคือ อาจารย์นางมาตรฐานสูงมากๆๆๆๆ ที่พี่เพิ่งสอบมาไม่มีคนเต็มเลย ต่ำสุดก็ 0 555 ไม่ขอพูดแล้วกันว่าที่ไหนยากกว่ากันยังไง มันยากทุกที่อ่ะแระแล้วแต่ความขยันและตัวของนักศึกษาและนิสิตของละมหาวิทยาลัยเอง ส่วนตัวพี่เองเรียนมหิดลคะ
0
กำลังโหลด
doraemon2 Member 19 ก.พ. 57 15:10 น. 17

แล็บกริ๊งแบบส่งกล้องจุลทรรศน์ คิดยังไม่ทันออกเลย หมดเวลาแล้ว ต้องวาดรูปเก็บไว้ในกระดาษคำตอบเสียใจ

0
กำลังโหลด
minna 19 ก.พ. 57 15:27 น. 18
- open book น้อยมากที่จะตรงกับข้อสอบ หอบหนังสือไปกี่เล่มก็ได้ แต่คำถามนี้อ้อมโลก - -* แบบนี้คือไม่ต้อง open book ดีกว่า คะแนนดีกว่าด้วย - สอบปากเปล่าเพิ่งสอบไป อาจารย์สอบสัมภาษณ์สามคน วินาทีแรกเข้าไปก็รั่วภาษาอังกฤษใส่ ให้แนะนำชื่อ ก่อนจะเริ่มถามประมาณว่า จบไปจะทำงานอะไร ,วิชา(เอก)ที่เรียนแล้วรู้สึกชอบมากที่สุด ,วิชา(แกน)ที่เรียนแล้วรู้สึกชอบมากที่สุด ,ได้เกรดเฉลี่ยเท่าไร (ในใจไม่อยากให้ถาม 555) ฯลฯ เพราะอาจารย์ถามเยอะมาก -ข้อเขียน บางทีอาจารย์บอกแนวข้อสอบมากับที่เจอข้อสอบจริงในห้องสอบไม่ตรงกันเลย อ่านมาทุกตรงยกเว้นตรงนี้แหละ ในกรณีนี้เราควรอ่านให้ครอบคลุมเนื้อหา แล้วสรุป...ฮา
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เอริสสึ Member 19 ก.พ. 57 17:28 น. 20

open book คือหายะข้อการสอบดีๆนี่เอง ขนหนังสือ ขนชีทรุ่นพี่ ขนแนว                        ข้อสอบ สุดท้ายสะอื้อกับข้อ แมร่ง กรูเคยเรียนแบบนี้ด้วยหร๋อ                      ไม่มีในหนังสือ ไม่มีในชีท        กระดาษคำตอบมีแค่ Sol แค่เริ่ม                  ยังทำไม่ได้ โจทย์ มีตัวแปร2ตัว ตัวเลขไม่มี     ไม่รู้จะใช้สูตรไหน

แลปกริ๊ง   แม่เจ้าพระคุณรุนช่องเอ๊ยยยยย 30s แค่อ่านโจทย์ยัง กริ๊ง ที ยังกะ               มีมือยมมบาลคอย              ดึงลง _ร_ ตลอด

มีสอบอีกอัน

สอบเทคนิค  ตัวต่อตัว โอ๊ยจะบ้าาาา อ.กดดันหนู มีแต่ถาม คุณทำผิดรึป่าว                   มันใช่หร๋อ ผมว่าผมไม่สอนแบบนี้นะ ถ้าทำไม่ได้ออกไปคุณ

               เสียเวลาผม เราออกมาสอบชีทดู เราก็ทำถูกนี่หว่า งืออออ                          อ.แกล้วหนู ตอนสอบเราอย่างสั่น แค่หยิบกระบอกปิเปตร มีเสียง                  เอฟเฟ็กตามมา (เเกร๊ยๆๆๆๆๆๆๆๆๆ) สั่นยังกันโดนเจ้าเข้า

ลืมบอกเราเรียน BIOTECH (เทคโนฯชีวภาพ)

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด