ไขปริศนา! ทำไมหอเอนปิซา ถึงเอียงอยู่ได้โดยไม่ล้มลง


 
          "อิตาลี" เป็นเมืองในฝันของใครหลายคนที่หมายมั่นว่าถ้าทำงานเก็บเงินได้เมื่อไหร่ จะไปเที่ยวให้หายอยาก ที่ประเทศอิตาลี นอกจากจะมีบรรยากาศเมืองที่น่าเที่ยวแล้ว ยังมีสิ่งมหัศจรรย์ของโลก อย่างหอเอนเมืองปิซา หรือ หอเอนปิซา ที่เป็นจุดดึงดูดให้ไปดูความพิศวงของตัวหอว่าทำไมนะมันถึงเอียงอยู่อย่างนั้นโดยที่ไม่ล้มถล่มลงมาเหมือนเกมต่อไม้ที่เราเคยเล่น มาหาคำตอบกันค่ะ
 

credit : https://pixabay.com

         หอเอนเมืองปิซา (Leaning Tower of Pisa) ตั้งอยู่ที่เมืองปิซา หนึ่งในสามสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ในจตุรัสดูโอโม เป็นหอระฆังรูปทรงกระบอก 8 ชั้น สูงถึง 56 เมตร สร้างด้วยหินอ่อนสีขาวน้ำหนักรวมถึง 14,500 ตัน แต่เดิมที หอเอนเมืองปิซ่าก็จะสร้างขึ้นมาให้เป็นหอตรงตั้งฉากค่ะ โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ.1173 แต่สร้างไปสักพักได้แค่เพียง 1 ใน 3 หอก็เริ่มเอียง เพราะดินใต้พื้นไม่มีชั้นหิน เป็นโคลนดินนิ่มๆ อ่อนยวบ ก็เลยทรุดตัวจนหอเอนไปด้านทิศเหนือเล็กน้อย พอเป็นแบบนี้แล้วก็ต้องหยุดก่อสร้างไป เพราะกลัวจะถล่มลงมา

          ต่อมา ในปี ค.ศ.1272 Giovanni di Simone ก็ได้มาสร้างต่อจากของเดิม โดยพยายามสร้างชั้นบนให้ถ่วงไปด้านตรงข้ามก็คือด้านทิศใต้ (เป็นด้านที่เอียงอยู่ตอนนี้) เพื่อลดความลาดเอียงที่เกิดขึ้น สร้างยังไม่ทันเสร็จดี ก็ต้องหยุดสร้างอีกแล้ว เพราะเกิดสงคราม กว่าที่หอเอนนี้จะสร้างเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์เวลาก็ล่วงเลยมาถึงปี ค.ศ.1372 โดย Tommaso di Andrea Pisano เรียกว่ากว่าจะมีให้เห็นอย่างทุกวันนี้ใช้เวลาสร้างร่วม 200 ปีเลยทีเดียว

 

credit : https://en.wikipedia.org/wiki/Leaning_Tower_of_Pisa

         ความกังวลว่ามันจะเอนขึ้นเรื่อยๆ ยังมีอยู่ ในปี ค.ศ.1935 วิศวกรก็เลยปรับปรุงฐานให้หอเอนนี้หนาแน่นด้วยการเทคอนกรีตลงไปที่ฐานราก เพื่อยึดฐานของหอให้มั่นคงขึ้น หวังในใจว่าจะไม่หยุดการโน้มเอียงได้ แต่ไม่ใช่เลยค่ะ หอนี้ยังคงเอียงไปทางทิศใต้เรื่อยๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ.1990-2001 ได้มีการปรับปรุงอีกครั้งเพื่อสร้างความแข็งแรงไม่ให้หอล้มครืนลงมา เรียกว่าเริ่มต้นจากการที่พื้นใต้ดินเป็นดิน อ่อนที่ไม่เหมาะกับการก่อสร้างจึงทำให้หอเริ่มเอน แต่ต่อมาก็ค่อยปรับปรุง เลือกใช้วัสดุที่ดีขึ้นมีความยืดหยุ่นจึงทนต่อแรงต่างๆ ได้ดี หอเอนนี้จึงไม่ถล่มลงมาทันทีทันใด แต่อาจค่อยๆ เอนลงเรื่อยๆ

         ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาช่วงการก่อสร้างและปรับปรุงกว่า 500 ปี หอเอนปิซ่าค่อยๆ โน้มตัวเอนลงเรื่อยๆ จาก 1.6 องศาจนมาถึงประมาณ 5 องศาจากมุมฉาก อย่างไรก็ตามก็มีการคาดการณ์จากเหล่าวิศวกรไว้ว่า หอเอนปิซ่านี้จะอยู่ได้อีกอย่างน้อย 200 ปี แต่ถ้ามีเทคโนโลยีดีๆ ก็อาจยืดระยะเวลาได้ถึง 800 ปีเลยทีเดียว

         นอกจากความมหัศจรรย์ในการตั้งอยู่ (แบบเอียงๆ) ของหอเอนปิซ่าโดยที่ไม่ล้มลงมาแล้ว สถานที่แห่งนี้ยังมีความสำคัญกับวงการวิทยาศาสตร์ด้วย เพราะเป็นเป็นสถานที่ที่กาลิเลโอ กาลิเลอิ ได้มาทดลองโยนลูกบอล 2 ลูกที่น้ำหนักไม่เท่ากันลงมาจากด้านบนของหอเอนปิซ่า เพื่อพิสูจน์ว่าลูกบอลน้ำหนักไม่เท่ากันจะตกถึงพื้นในพร้อมกัน จึงกลายเป็นการค้นพบกฎแรงโน้มถ่วงนั่นเอง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Leaning_Tower_of_Pisa,
http://science.howstuffworks.com/engineering/structural/will-leaning-tower-of-pisa-fall.htm
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

5 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
นางสาวโหด กระโดดเชือดคอ Member 8 ม.ค. 59 21:37 น. 3

อะไรที่อลังๆ ใช้เวลาไม่ต่ำกว่าร้อยปีทั้งนั้น

มีที่นึงกะลังสร้างอยู่ตอนนี้ เสร็จในสิบปีหน้า (นานอ่ะ)

ซากราด้า ฟามีเลีย มีภาพจำลองด้วยนะ สวยมากกก

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด