จะไม่ตายง่ายๆ! วิธีเอาตัวรอดจาก 5 สถานการณ์ฉุกเฉิน ในแบบวิทยาศาสตร์

         สวัสดีค่ะ ดูข่าวทีวีตอนนี้ แทบจะไม่ค่อยมีข่าวอะไร นอกจากข่าวฆาตกรรมและข่าวอุบัติเหตุ ซึ่งอย่างหลังเนี่ย มีให้เห็นแทบทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุทางถนน ทางน้ำ หรือแม้แต่อุบัติเหตุจากการทำงานก็มีค่ะ ดูแล้วไม่ค่อยสบายใจเท่าไหร่ แม้จะมีการรณรงค์กันอยู่เรื่อยๆ ชีวิตเรา ยังไงก็ต้องปลอดภัยไว้ก่อนนะคะ
 

 

        ยิ่งช่วงนี้ เป็นช่วงหน้าร้อน เทศกาลพักยาว และน้องๆ ก็ปิดเทอม จึงพากันไปเที่ยวขึ้นเขาลงเรือ เที่ยวกันเต็มที่ ซึ่งนอกจากสติที่ควรพกไปด้วยทุกที่แล้ว เรายังต้องมีความรู้ในด้านการเอาตัวรอดไว้บ้างนะคะ เพราะมีหลายเคสเลย ที่ประสบเหตุแล้วมีโอกาสที่จะรอดชีวิต แต่เพราะความ "ไม่รู้" ชีวิตของคนคนนึงจึงจบลง พี่มิ้นท์ก็เลยหาเกร็ดการเอาตัวรอดจากภัยรูปแบบต่างๆ มาฝากค่ะ
 
   
เอาตัวรอดจากเหตุการณ์ "รถตกน้ำ"
 

credit : http://mumcentral.com.au/how-to-escape-a-sinking-car/

      น่าแปลก.. ที่เวลาเราดูข่าวรถตกน้ำ เราได้แต่คิดแทนไปว่า ก็เปิดประตูสิ เปิดกระจกสิ ก็ออกมาได้แล้ว! แต่เรื่องจริงมันไม่ใช่แบบนั้นค่ะ เพราะในน้ำนั้นมีแรงดันมาก และดันจนเราไม่สามารถเปิดประตูหรือเปิดกระจกได้เลย จนกว่าน้ำจะไหลเข้าห้องโดยสารจนเต็ม จึงจะเปิดได้ แต่โดยถ้าปล่อยเข้ารถจนเต็มมักจะแก้ไขสถานการณ์ไม่ทันแล้ว

     วิธีแก้สถานการณ์เบื้องต้นคือ ถ้ามีสติพอก่อนที่รถจะจม ให้รีบเปิดกระจก รีบถอดเข็มขัดและดันตัวออกมาทางกระจกให้ไวที่สุด ตรงนี้อาจจะมีเวลาไม่ถึงนาที แต่ถ้าออกมาไม่ทัน รถเริ่มจมไประดับนึงแล้ว ให้หาของแข็ง ย้ำว่าต้องเป็นอุปกรณ์ที่แข็งจริงๆ เพราะแรงดันน้ำจะเพิ่มมากขึ้น ดันให้เราเปิดประตูไม่ออกค่ะ อาจจะใช้ที่ล็อคพวงมาลัยหรือขาเหล็กหมอนรองศีรษะตรงที่นั่งคนขับก็ได้ มากระแทกตรงมุมด้านล่างของกระจก  ทุบไปแรงๆ จนกระจกแตกและดันตัวออกมา และทางที่ดีที่สุด คือ เลือกบานที่ยังไม่จมน้ำ (กรณีที่รถจมน้ำแบบเฉียงๆ)

     และในกรณีสุดท้าย ที่เปิดประตูไม่ออก อุปกรณ์ไม่มี ให้รอน้ำเข้ามาจนเต็ม เพื่อให้แรงดันภายนอกและภายในเท่ากัน แล้วค่อยออกแรงเปิดประตูตามปกติ แต่วิธีนี้ต้องสตรองและอึดจริงๆ นะคะ ช่วงเวลากว่าน้ำจะเต็มห้องโดยสารใช้เวลาเกือบๆ นาที ต้องกลั้นหายใจไว้ให้นานที่สุด

  เอาตัวรอดจาก "ฮีทสโตรก"
       เหมาะกับหน้าร้อนตอนนี้มากๆ หลายคนไม่รู้ว่า อากาศร้อนทำให้มนุษย์เกิดโรคฮีทสโตรกหรือโรคลมแดดขึ้นมาได้ ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยนะคะ ในต่างประเทศก็เคยเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โรคนี้เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป ทำให้ความร้อนในร่างกายขึ้นสูงถึง 40 องศาเซลเซียส จนอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้รูขุมขนปิดจนระบายเหงื่อออกไม่ได้ มีโอกาสช็อก หมดสติได้เลยทีเดียว และหากช่วยไม่ทันเวลาก็ตายได้เหมือนกันนะคะ

       ดังนั้น วิธีการเอาตัวรอดในขั้นแรกคือ "อย่า" เสี่ยงกับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เช่น อย่าอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน เพราะร่างกายจะสะสมความร้อน ถ้าจำเป็นจริงๆ ต้องหาจังหวะพักในที่ร่ม จิบน้ำบ่อยๆ ใช้ผ้าเย็นๆ เช็ดหน้าเช็ดตาเพื่อลดความร้อนในร่างกายลงค่ะ แต่ถ้าเริ่มรู้ตัวว่าไม่ไหว เช่น ปวดหัว ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีเหงื่อออกแต่ร้อนอึดอัดมาก รวมถึงหิวน้ำมากๆ ให้รีบแจ้งคนใกล้ตัวให้เร็วที่สุด ว่าเราเกิดอาการแบบนี้ๆ เพื่อให้ช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น และพาส่งโรงพยาบาล

      ในกรณีที่เราไม่ใช่ผู้ป่วย แต่เจอผู้ป่วยฮีทสโตรก สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการพาผู้ป่วยเข้าที่ร่ม นอนราบยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดถุงเท้า รองเท้า ปลดกระดุมหรือจัดแต่งเสื้อผ้าให้หลวมๆ นำผ้าเย็นมาเช็ดตัว และให้ดื่มน้ำเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย และถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ให้นำส่งโรงพยาบาลเช่นกันค่ะ
 

    เอาตัวรอดจากเหตุการณ์ "ไฟไหม้"
 

       อีกหนึ่งภัยที่มักเกิดในช่วงหน้าร้อนก็คือ ไฟไหม้ นั่นเองค่ะ ภัยที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่เมื่อภัยมาถึงตัวจริงๆ ต้องมีสติและรักษาตัวเองให้รอดปลอดภัย หลายคนนึกภาพว่าเมื่อเกิดเหตุต้องรีบวิ่งหนีตายออกมา ไม่ได้บอกว่าเป็นวิธีที่ผิด แต่มีคำแนะนำที่ดีกว่าจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์ติดตัวหรือถังดับเพลิง

       ขั้นแรกถ้าเริ่มรู้สึกว่าเกิดไฟไหม้ขึ้นในบริเวณที่อยู่ไม่ว่าจะบ้านหรือตึกสาธารณะอื่นๆ ให้ตะโกนเพื่อแจ้งเตือนคนอื่นว่าไฟไหม้ และวิ่งหนีไปทางหนีไฟให้เร็วที่สุด (ตรงนี้เวลาไปที่ไหนก็ตามให้มองหาสัญลักษณ์หนีไฟเผื่อด้วยเสมอ) แต่ถ้าไฟเริ่มลุกลามจวนตัวแล้ว ให้หาทางออกให้เร็วที่สุด ระหว่างวิ่งให้มีสติเข้าไว้ และถ้าเป็นไปได้ ให้ปิดประตูห้องที่วิ่งหนีไฟมาด้วย เพราะการปิดประตูสามารถชะลอไฟให้ช้าลงได้ค่ะ และในทางตรงกันข้าม จะวิ่งเข้าห้องไหน ให้ตรวจเช็กในห้องว่ามีไฟหรือเปล่าด้วยการเอาหลังมือแตะประตูหรือลูกบิดก่อนเสมอ เพราะถ้าวิ่งสุ่มสี่สุ่มห้าเข้าไปเจอห้องที่ไฟกำลังไหม้ นอกจากจะหนีไม่ทัน อาจสำลักควันไฟได้ด้วยค่ะ

       สำหรับการหนีไฟ ถ้ามีควันคละคลุ้งไปหมด ให้หมอบลงและคลานไปตามทาง เพราะควันจะไม่ไม่ต่ำติดดินค่ะ ที่สำคัญถ้าไฟติดเสื้อผ้า ให้ล้มตัวลงนอน กลิ้งๆ เพื่อดับไฟที่เสื้อ อย่าวิ่งเด็ดขาด ไฟจะยิ่งติดลุกลามได้ง่ายขึ้น สุดท้ายถ้าติดไม่สามารถออกมาได้ ให้เปิดหน้าต่างนอกอาคาร ใช้ผ้าโบก เพื่อให้คนรู้ตำแหน่งที่แน่นอนของเราค่ะ

    เอาตัวรอดจากเหตุการณ์ "จมน้ำ"
 

    ทุกหน้าร้อนจะมีข่าวเด็กจมน้ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น แต่บอกเลยว่า ต่อให้ว่ายน้ำไม่เป็นก็มีโอกาสรอดนะคะ ซึ่งขั้นแรกต้องมีสติ อย่าตกใจกลัวจนสติกระเจิงไปหมด เพราะยิ่งกลัว จะยิ่งจมค่ะ

    น้องๆ รู้ไหมว่า จริงๆ ร่างกายของเราลอยน้ำได้ค่ะ เพราะความหนาแน่นของร่างกายมีน้อยกว่าน้ำ ถ้าเราปล่อยร่างกายให้เป็นไปตามธรรมชาติ ลอยอยู่นิ่งๆ บนผิวน้ำ ร่างกายเราจะไม่จม แต่สาเหตุที่คนจมเพราะกลัว กลัวแล้วยิ่งจะเกียกตะกาย ยิ่งทำให้จมเร็วขึ้นนั่นเอง วิธีการลอยตัวที่ง่ายที่สุดคือ นอนหงาย ให้ใบหน้าพ้นน้ำเพื่อให้หายใจได้ และรอคอยการช่วยเหลือ แล้วอย่าเกร็งลำตัว โดยอาจใช้มือค่อยๆ วักน้ำเบาๆ เพื่อช่วยในการลอยตัวและเคลื่อนที่ได้เล็กน้อย

    เอาตัวรอดจากเหตุการณ์ "กระแสน้ำพัด"
        อีกสถานการณ์หนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุจมน้ำ นั่นก็คือ กระแสน้ำพัดพาออกจากชายฝั่ง ทำให้ตกใจและพยายามฝืนแรงว่ายทวนกลับมา ซึ่งนอกจากจะว่ายกลับมาไม่ได้แล้ว อาจเหนื่อยหมดแรงจนจมน้ำ เสียชีวิตได้ ซึ่งในเคสแบบนี้ วิธีเอาตัวรอดที่ดีที่สุด ไม่ใช่การฝืนว่ายน้ำกลับมาค่ะ และไม่ควรฝืนแรงน้ำ ควรปล่อยให้มันพัดไปก่อน ซึ่งมันไม่ได้พัดพาเราไปไกลถึงกลางทะเลแน่นอน จนกระทั่งมันเริ่มนิ่ง อย่าเพิ่งว่ายกลับไปทางเดิม ให้ว่ายฉีกออกด้านข้าง และค่อยๆ ว่ายน้ำเข้าฝั่งค่ะ
 
         ทั้งหมดนี้เป็น 5 สถานการณ์เสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต และคำแนะนำเหล่านี้ก็สามารถใช้ได้จริงนะคะ แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่าภัยก็คือ การขาดสติของเราค่ะ บางคนเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์แล้วตกใจเกินกว่าเหตุ จนควบคุมสติไม่ได้ และไม่สามารถเอาความรู้และเทคนิคการเอาตัวรอดออกมาใช้ได้ในยามฉุกเฉิน
        ดังนั้นถ้ายังรักชีวิต จงป้องกันระวังไม่ให้ภัยเหล่านั้นเกิดขึ้น และถ้าเกิดขึ้นแล้ว มีสติทุกครั้งและปฏิบัติตามคำแนะนำ ก็จะพ้นจากอันตรายค่ะ สงกรานต์นี้ก็ขอให้น้องๆ เดินทางปลอดภัยและเล่นน้ำด้วยความระมัดระวังนะคะ^^
   

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.),
กรมป้องกันและบรรทาสาธารณภัย,
www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9540000048393,
www.youtube.com/watch?v=WLvL_AsjzmY
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

l3uttercakes Member 17 เม.ย. 60 16:11 น. 1

ก็เคยสงสัยว่าจะทำที่พิงศรีษะให้ถอดได้ทำไม อ๋ออ มันใช้แบบนี้ได้ด้วยนี่เอง เรื่องรอน้ำให้ไหลเข้าในรถจนความดันใกล้เคียงกัน น่ากลัวเว่อร์ ตอนนั้นคงวิตก หายใจรุนแรง กลัวออกซิเจนหมดไปเสียก่อน

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

6 ความคิดเห็น

l3uttercakes Member 17 เม.ย. 60 16:11 น. 1

ก็เคยสงสัยว่าจะทำที่พิงศรีษะให้ถอดได้ทำไม อ๋ออ มันใช้แบบนี้ได้ด้วยนี่เอง เรื่องรอน้ำให้ไหลเข้าในรถจนความดันใกล้เคียงกัน น่ากลัวเว่อร์ ตอนนั้นคงวิตก หายใจรุนแรง กลัวออกซิเจนหมดไปเสียก่อน

0
กำลังโหลด
lonely 18 เม.ย. 60 15:57 น. 2

คือสงสัยอ่ะค่ะว่าเวลารถมันจมน้ำไปแล้ว ไม่ว่าเต็มคันหรือแบบเฉียงๆ ระบบการทำงานทุกอย่างในรถมันไม่ได้หยุดการทำงานไปแล้วเหรอคะ อารมแบบว่าช็อตไรงี้

1
กำลังโหลด
กูไงจะใครล่ะครึๆ 25 เม.ย. 60 19:45 น. 3-1

เราคิดว่าถ้าทุบกระจกบานที่ไม่จมน้ำมันไม่บาดตาหรอกค่ะ แต่ถ้าทุบกระจกที่จมน้ำไปแล้วพอทุบเสร็จน้ำก็จะเข้ามามีสิทธิ์บาดตาเราได้เนื่องจากเศษกระจกมันจะไหลเข้ามาตามน้ำ อิๆ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด