รู้เท่าทัน “ภาวะสมองติดเกมเหมือนติดยา” ภัยร้ายที่มากับปิดเทอม บางคนโหยหาจนลืมไม่ลง!

         สวัสดีค่ะ ปิดเทอมนี้ ไม่รู้ว่าน้องๆ ทำกิจกรรมอะไรแก้เหงากันบ้างนะคะ บางคนอาจจะบอกว่า “หนูไม่มีเวลาเหงาเลยค่ะพี่เมก้า อ่านหนังสือสอบจนสมองหายหมดแล้ว!” แต่เชื่อเถอะว่ายังมีน้องๆ อีกกลุ่มที่แทบจะฝังหน้าลงไปกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ - สมาร์ทโฟน พี่เมก้าขอเวลาให้น้องๆ กลุ่มนี้ ช่วยอ่านบทความนี้สักนิด


ขอบคุณภาพจาก https://unsplash.com
 
         ตอนนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดภาวะติดเกมให้เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์แล้วนะคะ และสถานการณ์เด็กติดเกมในไทยก็มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงปิดเทอมมีถึงร้อยละ 82.4 ส่วนใหญ่ติดเกมกันจนเล่น 5 - 7 วันต่อสัปดาห์ อย่างต่ำวันละ 5 ชม. กันไปเลย O_O! เรียกว่าสมองของเด็กติดเกมนั้นไม่ต่างจากคนติดยาเลยล่ะค่ะ เรามาเรียนรู้วิธีเล่นเกมให้ดีต่อใจและสุขภาพกันดีกว่า
 
เด็กไทยเข้าข่ายติดเกม 1.6 ล้านคน!
         อธิบดีกรมสุขภาพจิต นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ ได้เปิดเผยผลวิเคราะห์สถานการณ์ของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นในปี 2560 พบเด็กไทยป่วยเป็นโรคติดเกมเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ถึง 6 เท่าตัวเลยค่ะ พญ. วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รอง ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กฯ ยังให้ข้อมูลเพิ่มด้วย “คาดว่ายังมีเด็กไทยที่เข้าข่ายติดเกมแต่ไม่ถึงขั้นป่วยประมาณ 1.6 ล้านคน”

         ถ้าพูดถึงเด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยงติดเกม “รายงานการสำรวจสถานการณ์ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงและการติดเกมในนักเรียน” พบว่าน้องๆ มัธยมฯ ในช่วงวัย 13 -18 ปี มีปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงมากกว่าน้องๆ วัยประถมฯ ช่วง 7 - 12 ปี  

แบบไหนถึงเรียกว่าติดเกม?
         “เด็กติดเกม” มีหลักการสังเกตพฤติกรรมง่ายๆ ตามที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ให้คำนิยามไว้ ดังนี้

         1. มีทริคหาช่องทางเล่นเกมอย่างมาก! ต่อให้ว่างหรือไม่ว่างก็จะต้องได้เล่น บางรายถึงแม้จะทำงานอยู่ก็ขอให้ได้เปิดหน้าจอเล่นเกมคู่กันไป ยิ่งกับวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์เล่นเกมทั้งวัน
         2. เพิ่มชั่วโมงในการเล่น จากเดิมที่เคยเล่น 1 ชั่วโมงไม่พอ ขอเพิ่มเป็น 2 หรือ 3 หรือมากกว่านั้นจนถึงจุดพอใจ (เคยมีวิจัยสำรวจว่าเล่นเกมติดต่อกัน 9 ชม./วัน เกินระยะปลอดภัย)
         3. ไม่เล่นเกมไม่ได้! ใครขัดมีหงุดหงิด เหวี่ยงใส่คนรอบข้าง หรือตรงกันข้ามก็ซึม
         4. สูญเสียการเรียน การทำงาน การมีสัมพันธภาพกับคนรอบข้างเพราะเกม (บางทฤษฎีบอกว่าแม้ตื่นหรือนอนฝันก็จะคิดแต่เรื่องเล่นเกม)  

เล่นเกม 16 ชม./สัปดาห์ มีโอกาสติดเกมสูง 4 เท่า
         ทีมวิจัยของเกาหลีใต้ได้ตรวจสอบกลไกการทำงานของสมอง ที่เรียกว่า PET Scans และพบว่าสมองของคนที่ติดเกมออนไลน์เหมือนกันทุกประการกับสมองของคนที่ติดยาเสพติดด้วยค่ะ เรื่องนี้ไปสอดคล้องกับสิ่งที่ ดร.ประภาพรรณ จูเจริญ ได้อธิบายไว้ในรายการโทรทัศน์มูลนิธิเด็กที่ว่า ขณะที่เราเล่นเกม สารสื่อประสาท “โดปามีน” ซึ่งเป็นสารแห่งความสุขจะหลั่งออกมามากมาย ทำให้เราเกิดความรู้สึกต้องการมากขึ้นอยากจะเลิกแต่ก็ลืมไม่ลง เมื่อหมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมเยอะๆ วันไหนไม่ได้เล่น ก็จะยิ่งต้องการเพิ่มขึ้นทวีคูณจนเกิดเป็นอาการทางสมองเช่นเดียวกับคนที่ติดยาเสพติด คือมีความโหยหาลืมไม่ลงตลอดเวลานั่นเอง      


ขอบคุณภาพจาก https://unsplash.com
 
         รายงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาปัจจัยป้องกันการติดเกมในเด็กและวัยรุ่น ของ ม.มหิดล” ได้เผยช่วงเวลาที่ทำให้เด็กติดเกมทั้งในตอนปิดเทอมและเปิดเทอม คือ ช่วงปิดเทอม เล่นเกมนานกว่า 16 ชม. / สัปดาห์ มีโอกาสติดเกมสูง 4 เท่า ช่วงเปิดเทอม เล่นเกมนานกว่า 9 ชม./สัปดาห์ มีโอกาสติดเกมสูง 3 เท่า

MOBA คือเกมที่เด็กไทยติดหนึบที่สุด!
         สถาบันสุขภาพจิตเด็กฯ เก็บสถิติมาแล้วว่าเกมที่ทำให้ติดและมีผลกระทบต่อเด็กคือเกมยิงต่อสู้ การต่อสู้ออนไลน์ เกมประเภทสปอร์ต และเกม MOBA ชนิดที่เป็นสงคราม อย่างสุดท้ายนี้ตรงกับผลสำรวจวิเคราะห์เกมออนไลน์ที่พบว่า “รูปแบบเกมออนไลน์ที่นักเรียนชอบอันดับ 1 คือเกม HON” ซึ่งเป็นแนวเกมประเภท MOBA มีเนื้อหาการต่อสู้แบบทีมเสมือนจริง หรือผจญภัยในแผนที่กำหนดเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้อีกฝ่าย เกมโมบาที่รู้จักกันนอกจาก HON ยังมี DotA RoV LOL

         ผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตยังพบว่า เกม MOBA มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการฝังอยู่ในสมองเด็ก และยังมีการศึกษาเพิ่มเติมด้วยว่า เมื่อเสพติดจะเป็นอัตรายต่อสมองส่วนหน้า (Prefontal Contex) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ ความจำ ความเข้าใจ และการตัดสินใจด้วยเหตุผล เรียกว่าสมองส่วนนี้ของเด็กติดเกมจะทำงานลดลงนั่นเองค่ะ   

เล่นเกมให้สนุกแต่ไม่เสพติด!


ขอบคุณภาพจาก www.pexels.com
 
         ตามที่เกริ่นไว้ตั้งแต่แรกว่าทุกวันนี้ภาวะติดเกมถือเป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่ต้องได้รับการบำบัดทางการแพทย์นะคะ น้องๆ หลายคนเป็นโรคสมาธิสั้น ซึมเศร้า บกพร่องทางการเรียนรู้ ฯลฯ ก็เพราะโรคติดเกมนี่แหละ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดสำหรับปัญหานี้ก็คือ “กำหนดเวลาเล่นเกมให้เหมาะสม” เล่นเกมได้ไม่เกิน 1 ชม./วัน ในวันธรรมดา และ 2 ชม./วัน ในวันหยุด โดยไม่ควรเล่นอย่างต่อเนื่องนานเกิน 1 ชม. และฝึกควบคุมตนเองในเรื่องของระเบียบวินัย ตลอดจนการรักษาเวลาเรียน-เวลาเล่น เราต้องสร้างความสุขในการเล่นเกมอย่างพอเพียงค่ะ

         จริงๆ แล้วรูปแบบเกม MOBA ก็ผ่านการวิจัยมามาแล้วว่า ทำให้ผู้เล่นได้ฝึกใช้สกิลต่างๆ เยอะ โดยเฉพาะเรื่องคิดวางแผนและกลยุทธ์ต่างๆ แต่! อะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดี ดังนั้น เล่นเกมอย่างพอดีๆ ดีกว่านะคะ ถ้าน้องๆ คนไหนสงสัยว่าตัวเองกำลังจะกลายเป็นเด็กติดเกมรึเปล่า ก็ลองทำ “แบบทดสอบพฤติกรรมติดเกม (GAST)” ดูได้ค่ะ 

ขอบคุณข้อมูลจาก
ข่าวสุขภาพกรมสุขภาพจิต ยอดเด็กติดเกม
รายการโทรทัศน์มูลนิธิเด็ก ตอน สมองของเด็กติดเกม

วิทยานิพนธ์การวิเคราะห์รูปแบบเกมออนไลน์ฯ ของธีรภัค คมนา
ทความวิชาการพฤติกรรมการติดเกม:พฤติกรรมและการป้องกัน ของสภาวดี เจริญวานิช
รายงานการวิจัยสำรวจสถานการณ์ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงและติดเกมในนักเรียน ของสถาบันสุขภาพจิตเด็กฯ
พี่เมก้า
พี่เมก้า - Columnist นักข่าวสายการศึกษา ที่มีความสุขกับการแต่งฟิค อ่านฟิค เพ้อถึงยัมมี่ฟู้ดไปวันๆ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Nyx Member 12 พ.ค. 62 15:47 น. 4

คนเราหาอะไรทำเพื่อความบันเทิงแล้วจดจ่อกับสิ่งที่เพลิดเพลินเหมือน ๆ กันทั้งนั้นแหละ พอเด็กติดเกมทำตัวมีปัญหาขึ้นมาจะโทษเด็กหรือโทษเกม ? ก่อนตอบขอถามว่าอยากให้เด็กเล่นเกมน้อยลงอยู่กับโลกความเป็นจริงมากขึ้น มีวินัยรู้จักแบ่งเวลาอย่างเหมาะสมเนี่ย พ่อแม่ได้สอนได้ควบคุมดูแลลูกสักแค่ไหนล่ะ ? รู้จักนิสัยใจคอของลูกมีเวลาให้ลูกหรือเปล่าล่ะ ? รำไม่ดีอย่าโทษปี่โทษกลองครับ ลูกเด็กเล็กแดงมีปัญหาน่ะหลัก ๆ เพราะพ่อแม่ไม่ดูแลใกล้ชิด ไม่รู้จักอบรมสั่งสอนให้ดีต่างหากเล่า

https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/jj-big-06.png

0
กำลังโหลด
first 6 พ.ค. 62 20:57 น. 1

เอาอะไรมาวัดคุณภาพเด็ก เล่นเกม เล่นเฟสบุ๊ค เล่นเกมมอถือ เล่นเกมโทรทัศน์ ประเทศไทยคิดแบบนี้ไงเลยไม่เจริญ ดูสหรัฐครับเค้าทำเกมออกมาเป็นแบบ กีฬาชิงไหวพริบ รางวัลไม่ใช่น้อยๆด้วย 100ล้าน+ การศึกษาไทยเรียนเยอะได้ไรก็เท่าเดิม การศึกษามีแต่สอบๆๆ แดกตัง นักเรียน นักศึกษา แบบนี้ไงไม่ใช่ความคิดของคนรุ่นใหม่ ประไทยเลยไม่เจริญ คิดแบบ ลบๆ วิจัยคือสุ่มตัวอย่าง ลองไปดูเค้าแข่งกี่ฬาอีสปอร์ตดูสิจะรู้ แค่นี้พอเดี๋ยวยาว ประเทศไทย only

0
กำลังโหลด
มิสทิวส์เดย์ Member 12 พ.ค. 62 13:24 น. 3

น้องกับหลานเราติดเกมมากค่ะ เด็กประถม จนไม่อ่านหนังสือชวนไปปั่นจักรยานก็ไม่ไป ชวนไปวิ่งก็ไม่ไป ไม่เล่นกีฬา เล่นแต่เกม หนังสือไม่อ่าน ขอบตาดำ วัน ๆ พูดแต่เรื่องเกม พยายามให้เด็กไม่ติดเกมนะคะ แต่พอชวนไปทำอย่างอื่นก็จะไม่อยากไป อยากอยู่กับเกม พอยึดโทรศัพท์ชักดิ้นชักงอเหมือนจะตายhttps://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-03.png

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

7 ความคิดเห็น

first 6 พ.ค. 62 20:57 น. 1

เอาอะไรมาวัดคุณภาพเด็ก เล่นเกม เล่นเฟสบุ๊ค เล่นเกมมอถือ เล่นเกมโทรทัศน์ ประเทศไทยคิดแบบนี้ไงเลยไม่เจริญ ดูสหรัฐครับเค้าทำเกมออกมาเป็นแบบ กีฬาชิงไหวพริบ รางวัลไม่ใช่น้อยๆด้วย 100ล้าน+ การศึกษาไทยเรียนเยอะได้ไรก็เท่าเดิม การศึกษามีแต่สอบๆๆ แดกตัง นักเรียน นักศึกษา แบบนี้ไงไม่ใช่ความคิดของคนรุ่นใหม่ ประไทยเลยไม่เจริญ คิดแบบ ลบๆ วิจัยคือสุ่มตัวอย่าง ลองไปดูเค้าแข่งกี่ฬาอีสปอร์ตดูสิจะรู้ แค่นี้พอเดี๋ยวยาว ประเทศไทย only

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
มิสทิวส์เดย์ Member 12 พ.ค. 62 13:24 น. 3

น้องกับหลานเราติดเกมมากค่ะ เด็กประถม จนไม่อ่านหนังสือชวนไปปั่นจักรยานก็ไม่ไป ชวนไปวิ่งก็ไม่ไป ไม่เล่นกีฬา เล่นแต่เกม หนังสือไม่อ่าน ขอบตาดำ วัน ๆ พูดแต่เรื่องเกม พยายามให้เด็กไม่ติดเกมนะคะ แต่พอชวนไปทำอย่างอื่นก็จะไม่อยากไป อยากอยู่กับเกม พอยึดโทรศัพท์ชักดิ้นชักงอเหมือนจะตายhttps://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-03.png

0
กำลังโหลด
Nyx Member 12 พ.ค. 62 15:47 น. 4

คนเราหาอะไรทำเพื่อความบันเทิงแล้วจดจ่อกับสิ่งที่เพลิดเพลินเหมือน ๆ กันทั้งนั้นแหละ พอเด็กติดเกมทำตัวมีปัญหาขึ้นมาจะโทษเด็กหรือโทษเกม ? ก่อนตอบขอถามว่าอยากให้เด็กเล่นเกมน้อยลงอยู่กับโลกความเป็นจริงมากขึ้น มีวินัยรู้จักแบ่งเวลาอย่างเหมาะสมเนี่ย พ่อแม่ได้สอนได้ควบคุมดูแลลูกสักแค่ไหนล่ะ ? รู้จักนิสัยใจคอของลูกมีเวลาให้ลูกหรือเปล่าล่ะ ? รำไม่ดีอย่าโทษปี่โทษกลองครับ ลูกเด็กเล็กแดงมีปัญหาน่ะหลัก ๆ เพราะพ่อแม่ไม่ดูแลใกล้ชิด ไม่รู้จักอบรมสั่งสอนให้ดีต่างหากเล่า

https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/jj-big-06.png

0
กำลังโหลด
pattamonprepram Member 13 พ.ค. 62 22:53 น. 5

ที่เด็กติดเกมมันมีหลายสาเหตุนะคะ ไม่ใช่แค่เพราะว่าเกมน่าเล่นอย่างเดียว

มีอยู่ช่วงนึงที่เราเครียดมากจนเจอเกมที่ถูกใจก็ติดหนึบเลย ต้องเล่นอย่างน้อยวันละ2-3ชม. ไม่งั้นจะรู้สึกแย่เอามากๆ พออาการเครียดดีขึ้นนิดหน่อยบวกกับโทรศัพท์พัง(เพราะเล่นเกมจนหัวร้อน)(แฮ่ๆ รู้สึกผิดมากๆ)ก็เริ่มตระหนักได้ว่า 'เกมมันช่วยให้เราหายเครียดก็จริง แต่อะไรที่มันมากไปก็ไม่ดีเหมือนกัน' และเพราะคิดได้ว่า -แทนที่เราจะเครียดเรื่องอื่นเรากลับหันมาเครียดเรื่องเกมแทน- งั้นหรือนี่ื ตอนนี้ก็เลยเพลาๆลงแล้วก็ต่อไปนี้ก็จะเล่นอย่างมีสติมากขึ้นค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด