เปิดตำนาน! เหตุผลที่เดือน “กุมภาพันธ์” มีทั้ง 28 และ 29 วัน (ตามหลักการวิทย์)

ในปี ค.ศ.2020 เวียนมาครบ 4 ปีที่ในเดือน "กุมภาพันธ์" จะมี 29 วัน ตอนสมัยเรียนคุณครูสอนไว้ว่า เหตุผลที่ในทุกๆ 4 ปี เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันก็เพราะว่าใน 1 ปีโลกใช้เวลาหมุนรอบดวงอาทิตย์ทั้งหมด 365.25 วัน เลยทำให้ทุก 4 ปี ต้องมีวันเพิ่มมาอีก 1 วัน

แล้วเคยสงสัยกันหรือเปล่าว่า ทำไมต้องเป็นเดือนกุมภาพันธ์ที่โดนตัดหรือเพิ่มวัน เป็นเดือนที่ 2 ของปีเองนะ นอกจากจะเป็นเดือนที่มีไม่ถึง 30 วันแบบเดือนอื่นๆ แล้ว ยังเป็นเดือนที่มีวัน 2 แบบอีกด้วย ทำไมถึงไม่ตัดวันจากเดือนอื่นที่มี 31 วันมาโปะเดือนกุมภาให้มี 30 วันเต็มล่ะ เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันค่ะ มีเรื่องตำนานมาเกี่ยวด้วย

 

เริ่มต้นปฏิทิน เดือนแรกคือมีนาคม
ย้อนไปยุคโบราณเชื่อกันว่า ชนชาติแรกที่คิดค้นการนับวันแบบปฏิทินขึ้นมาคือ ชาวบาบิโลเนียน เป็นการนับโดยอาศัยดวงจันทร์และดวงดาว มีอาณาจักรอื่นๆ ยอมรับปฏิทินนี้และนำไปใช้ต่อและมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มีหลายแหล่งข้อมูลที่เล่าเรื่องการพัฒนาปฏิทิน แต่ไม่เป็นที่แน่ชัดในช่วงนั้น ที่แน่ๆ แบบทุกแหล่งข้อมูลกล่าวตรงกันก็คือ เดือนแรกของปีในปฏิทินโบราณคือ เดือนมีนาคม ไม่ใช่เดือนมกราคม

พอถึงสมัย จูเลียส ซีซาร์ ปกครองโรมัน ประมาณ 46 ปีก่อนคริสตกาล เป็นยุคที่เริ่มให้ใช้
"ปฏิทินจูเลียน" (Julian calendar) โดยนับเดือนมีนาคมเป็นเดือนแรกเหมือนเดิม ทดลองใช้ปฏิทินเดือนมีนาคมเป็นเดือนที่ 1 ไล่ไปจนถึงเดือนธันวาคมเป็นเดือนที่ 10 แต่จำนวนวันและเดือนก็ยังไม่ลงตัวสักที จูเลียส ซีซาร์ ก็เลยปรับปฏิทินให้มี 365 วัน โดยเพิ่มไปอีก 2 เดือน คือเดือน มกราคม และ กุมภาพันธ์ และยังปรับวันให้แต่ละเดือนมี 30 และ 31 วัน สลับกันไป
 

ทำไมเดือนกุมภาพันธ์ถึงเหลือ 28/29 วัน
ตามตำนานเล่าว่า พอถึงยุคของ ออกัสตุส ซีซาร์ บุตรบุญธรรมของ จูเลียส ซีซาร์ ขึ้นปกครองต่อ ก็ได้ทำการปรับปฏิทินจูเลียนขึ้นอีกครั้ง ออกัสตุส ซีซาร์ อยากมีชื่อเดือนเป็นของตัวเองแบบบิดาบ้าง (ชื่อเดือนของ จูเลียส ซีซาร์ คือ July) เลยเปลี่ยนเดือนต่อจากบิดา เป็น August ตามชื่อตัวเอง ละเดือนนั้นเดิมทีมี 30 วัน ซึ่งเป็นเลขคู่ ถือว่าไม่มงคล(ในสมัยนั้น) ก็เลยไปดึงวันจากเดือนสุดท้ายอย่างกุมภาพันธ์มาแปะเดือนสิงหาคมให้เป็น 31 วันแทน

สรุปคือในช่วงการปกครองของ ออกัสตุส ซีซาร์ ก็ยังคงใช้ปฏิทินจูเลียน แต่มีปรับนิดหน่อย จากเดิมมี 6 เดือนที่มี 31 วัน และ 6 เดือนที่มี 30 วัน แต่ออกัสตุสไปดึง 1 วันจากเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายมา ทำให้จากเดิมมี 30 วันเหลือ 29 วัน ส่วนเดือนสิงหาคมก็มี 31 วัน กลายเป็นว่าใน 12 เดือน จะมีเดือนที่มี 31 วัน ทั้งหมด 7 เดือน มีเดือนที่มี 30 วัน ทั้งหมด 4 เดือน และเดือนที่มี 29 วัน 1 เดือน ก็คือเดือนกุมภาพันธ์

พอพัฒนาปฏิทินไปเรื่อยๆ ก็ค้นพบว่าเวลาที่โลกใช้หมุนรอบดวงอาทิตย์มันเป็นเศษชั่วโมง แบบไม่เต็มวัน สุดท้ายก็มีการปรับวันในเดือนกุมภาพันธ์ ด้วยความที่เป็นเดือนสุดท้ายจะปรับเปลี่ยนอะไรก็ง่ายกว่า เลยกลายเป็นเดือนที่มีทั้ง 28 และ 29 วัน และต่อมาได้มีการปรับเดือนแรก จากเดิมเป็นเดือนมีนาคม มาเป็นเดือนมกราคม ตั้งวันที่ 1 มกราคมเป็นวันเริ่มต้นใหม่ของปี เดือนกุมภาพันธ์เลยกลายเป็นเดือนที่ 2 แทน

 

หลักการนับว่าปีไหนเดือนกุมภาพันธ์มี 28 หรือ 29 วัน
จากการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์พบว่า โลกใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง คือ 1 วัน และใช้เวลาในการหมุนรอบดวงอาทิตย์คือ 365 วัน 5 ชั่วโมง 49 นาที 16 วินาที เพื่อความง่ายในการจัดการวัน ก็จะนับเป็น  365 วัน กับอีก 6 ชั่วโมง คิดเป็น 1 ใน 4 ของวัน เพราะฉะนั้นในทุกๆ 4 ปี เดือนกุมภาพันธ์เลยมี 29 วันค่ะ

ปฏิทินที่สากลที่เราใช้ปัจจุบัน จะแบ่งปีออกเป็น 2 แบบ คือ ปีปกติสุรทิน (Common Year) เป็นปีที่มี 365 วัน ก็คือปีที่มีเดือนกุมภาพันธ์ 28 วัน ส่วนอีกแบบคือ ปีอธิกสุรทิน (Leap Year) เป็นปีที่มี 366 วัน ก็คือปีที่มีเดือนกุมภาพันธ์ 29 วัน ถ้าอยากรู้ว่าปีไหนเกือนกุมภามี 29 วัน ก็นำคริสต์ศักราชมาหารด้วย 4 ได้เลยค่ะ เช่น ปีนี้ปี ค.ศ.2020 นำมาหาร 4 ได้ 505 เป็นเลขลงตัวพอดี แสดงว่าปีนี้เดือนกุมภามี 29 วัน

 

แต่ก็มีข้อยกเว้นค่ะ ด้วยความที่เศษของวันไม่เต็ม 6 ชั่วโมง จึงมีการกำหนดให้ปีที่หาร 100 ลงตัวเป็นปีปกติสุรทิน คือมี 365 วัน เพื่อความสมดุลของช่วงเวลาที่โลกใช้หมุนรอบด้วยอาทิตย์ แต่ถ้าเป็นปีที่หาร 400 ลงด้วย จะเป็นปีอธิกสุรทินที่มี 366 วัน ค่ะ สรุปเงื่อนไขก็คือ

    1.ปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ไม่ลงตัว เป็นปีปกติสุรทิน มี 365 วัน
    2.ปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ลงตัว เป็นปีอธิกสุรทิน มี 366 วัน
    3.ปี ค.ศ. ที่หารด้วย 100 ลงตัว (เช่น ค.ศ.1900) เป็นปีปกติสุรทิน มี 365 วัน
    4.ปี ค.ศ. ที่หารด้วย 400 ลงตัว (เช่น ค.ศ.2000) เป็นปีอธิกสุรทิน มี 366 วัน

กว่าจะมีการพัฒนาปฏิทินจนมาเป็นแบบที่เราใช้กันทุกวันนี้ มีการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ทั้งทางวิทยาศาสตร์และทางดาราศาสตร์อย่างละเอียดและยาวนานมาก นับถือมากจริงๆ ค่ะ พอมาลงตัวแบบนี้ก็ทำให้เรารู้ว่าทำไมวันที่ 29 กุมภาพันธ์ต้องรอถึง 4 ปีเลยกว่าจะเจอกัน ในปีนี้มี 29 วันด้วย ใครอยากทำให้เป็นวันพิเศษก็รีบเลยค่ะ ฉลองอีกทีก็ 4 ปีข้างหน้าเลย


 
พี่แป้ง
พี่แป้ง - Columnist นักข่าวสายรับตรง พร้อมเสิร์ฟข่าวสอบเข้าทุกมหา'ลัย เติมพลังได้จากชาเย็นหวานน้อย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

meowjaymeow Member 25 ก.พ. 63 09:23 น. 1

ปกติเป็นคนอ่านหนังสือไม่เกิน 3บรรทัด แต่เรื่องนี้สรุปได้เข้าใจและอ่านต่อได้เรื่อยๆเลยค่ะ

0
กำลังโหลด

3 ความคิดเห็น

meowjaymeow Member 25 ก.พ. 63 09:23 น. 1

ปกติเป็นคนอ่านหนังสือไม่เกิน 3บรรทัด แต่เรื่องนี้สรุปได้เข้าใจและอ่านต่อได้เรื่อยๆเลยค่ะ

0
กำลังโหลด
รู้จริง 8 เม.ย. 66 00:40 น. 2

วิธีคิดที่ง่ายที่สุดคือ

มีแค่ 2 เงือนไข

1. ปี ค.ศ.ที่หารด้วย 400 ลงตัว เป็นปีอธิกสุรทิน เช่น ค.ศ. 2000, ค.ศ. 2400

ถ้า ข้อ 1 ไม่เป็น ก็ทำข้อ 2 ต่อ

2. ปี ค.ศ.ที่หารด้วย 4 ลงตัว แต่หารด้วย 100 ไม่ลงตัว เป็นปีอธิกสุรทิน เช่น ค.ศ. 2004, ค.ศ. 2024

นอกจาก 2 เงือนไขนี้แล้ว เป็ฯ ปี ปรกติหมด


------

ข้อมูลของ พี่แป้ง - Columnist

การหมุนรอบดวงอาทิตย์คือ 365 วัน 5 ชั่วโมง 49 นาที 16 วินาที

ถูกต้อง แต่อ่านที่อื่นมา มั่วมาก

------

เพื่อความง่ายในการจัดการวัน ก็จะนับเป็น 365 วัน กับอีก 6 ชั่วโมง คิดเป็น 1 ใน 4 ของวัน เพราะฉะนั้นในทุกๆ 4 ปี เดือนกุมภาพันธ์เลยมี 29 วันค่ะ

อันนี้ไม่จริง นะ ในการคำนวน ต้อง ตรงแป๊ะ จะมามักง่ายไม่ได้

เพราะโลกหมุนรอบตัวเอง 365.2422 (31,556,926 ÷86,400) วัน ใน 1 ปี

เมื่อความจริง เป็น ข้อความข้างตน

มมุษย์ต้อง มาออกแบบ ว่า 1 ปี ควรมี เวลากี่่วัน จึงเข้าใกล้ความจริงมากที่สุด

ตั้งแต่ อ่านมาไม่มีใคร ให้ เหตุผล ตรงมากที่สุดเลย กระทู้ ส่วนใหญ๋ มั่ว ไปลอกใครมาไ่ม่รู้จริงสักกะบทความ

ข้อสังเกต คือ 1ปี = 365.2422

จะออกแบบยั่งไงให้ใกล้เคียง

นักดาราศา่สตร์ ก็ เอา

1ปี = 365.25 แล้วกัน

จึงเป็นที่มาของปี อธิสุกรธิน

ซึ่งปรัชญา วิธีคิด 2 หน้ากระดาษ เขียนไม่ไหว

เอาแค่นี้ก่อน ถ้าจ้างเขียน ติดต่อได้ครับ


0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด