"ประกันชีวิต" สิ่งที่ต้องมีแต่มักถูกมองข้าม เมื่อไปเรียนต่อนอก

        จะไปเรียนต่อเมืองนอก นอกจากเตรียมตัวเรื่องตั๋วเดินทาง ที่พัก และเอกสารจำเป็นอื่นๆ ยังต้องระวังเรื่องการซื้อประกันชีวิตด้วย หลายประเทศ โดยเฉพาะสถาบันในสหรัฐอเมริกามักบังคับให้นักเรียน/นักศึกษาทำประกันไปเลยเพื่อจะได้ไม่ต้องมีปัญหาภายหลัง

        ว่าแต่ประกันพวกนี้ครอบคลุมแค่ไหน ค่าใช้จ่ายเป็นยังไง แล้วต้องซื้อเองไหม “พี่น้อง” มีคำตอบให้ค่ะ
 

ทำไมต้องทำประกัน?

        เพราะว่าค่ารักษาในต่างประเทศนั้นแพงมาก โดยเฉพาะที่อเมริกา ถือว่าเป็นประเทศที่มีค่ารักษาพยาบาลแพงที่สุดอันดับต้นๆ ของโลกเลยทีเดียว ดังนั้นไม่ว่าเราจะแค่เป็นหวัด ต้องการยาไม่กี่เม็ด หรือประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บต้องนอนโรงพยาบาลก็อาจต้องเสียค่าพยาบาลตั้งแต่หลักพันจนถึงหมื่นเหรียญ เพื่อรักษาขนหน้าแข้งของเราเอาไว้ เราจึงต้องซื้อประกันค่ะ

        ประกันเป็นการรวมเงินของคนที่ซื้อประกันทั้งหมดมาไว้เป็นก้อนเดียวกัน เวลาใครป่วยก็มาหยิบเงินก้อนนี้ไปใช้ ใครไม่ป่วยก็อาจจะเสียเงินฟรี แต่อย่างน้อยก็อุ่นใจได้ว่าถ้าป่วยที ฉันก็ไม่ต้องจ่ายค่ารักษาเลย
 

บังคับทำไหม?

        ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริการะบุเลยว่านักเรียนหรือนักศึกษาที่ถือวีซ่าประเภท J-1 (แบบที่แค่มาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไม่กี่ปี ไม่ได้มาเรียนระยะยาวเอาปริญญาจริงจัง) ต้องทำประกันชีวิตกับบริษัทที่ได้มาตรฐานและมีข้อตกลงผ่านเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนดไว้ (อ่านรายละเอียดได้ที่นี่)

        ส่วนผู้ที่ถือวีซ่าแบบ F-1 รัฐไม่ได้มีกฎหมายบังคับ แต่สถาบันส่วนใหญ่มักบังคับทำอยู่แล้ว
 

แล้วต้องไปซื้อที่ไหนล่ะ?

        ประกันของนักเรียนที่ไปเรียนต่อนอกมีทั้งแบบซื้อเองกับแบบสถาบันซื้อให้อัตโนมัติ โดยปกติแล้วเมื่อเราได้รับการตอบรับเข้าเป็นนักเรียนของสถาบันใด และมีการลงทะเบียนเรียนเป็นนักศึกษาของที่นั่น สถาบันก็จะทำการซื้อประกันให้เราทันที เรียกว่าเป็นประกันที่ทางสถาบันทำข้อตกลงร่วมกับบริษัทประกัน
        ประกันสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่อายุยังน้อยมักจะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าประกันทั่วไปหรือซื้อเองข้างนอกค่ะ
 

ไม่อยากซื้อประกันกับสถาบัน ต้องทำยังไง?

        คนที่อยากซื้อประกันเอง ทางสถาบันก็จะมีแบบฟอร์มการขอยกเลิกสิทธิ์ให้ แต่เดี๋ยวก่อน อย่าเพิ่งคิดเบี้ยว งั้นยกเลิกแล้วไม่ซื้อประกันจะได้ไม่เสียตังค์ เพราะหากเราจะยกเลิกไม่ใช้ประกันที่สถาบันหามาให้ เราก็ต้องยื่นหลักฐานที่ยืนยันว่าเราทำประกันกับบริษัทอื่นแล้วนะ

        แถมการทำประกันกับที่อื่นก็ต้องระวัง เพราะแต่ละสถาบันจะมีมาตรฐานว่าต้องทำประกันแบบไหนจึงจะถือว่าเท่าเทียมกับที่สถาบันทำให้เพื่อให้นักศึกษาเลือกซื้อประกันที่ครอบคลุมจริงๆ ไม่ใช่เกิดเหตุอะไรแล้วกลายเป็นว่าประกันจ่ายไม่ได้ ไม่อยู่ในข้อตกลง จบเลย
 

ประกันควรครอบคลุมอะไรบ้าง?

        ที่แน่ๆ คือประกันชีวิตของนักศึกษาต้องครอบคลุมทั้งอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น ทั้งการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ แต่ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันไป ที่สถาบันส่วนใหญ่มักให้มีคือ
 
  • ค่ายา (เช็คด้วยว่าให้เราออกก่อนแล้วค่อยขอเคลมทีหลัง หรือเซ็นอย่างเดียว แล้วโรงพยาบาลไปเก็บกับประกันเลย)
  • ค่าผ่าตัด (รวมทั้งค่าใช้จ่ายกรณีใช้ยาสลบด้วย) *อันนี้ควรมีมากๆ เพราะค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดอาจจะมากกว่าค่าเทอมของเราอีกนะคะ
  • ค่ารถพยาบาล
  • ค่าตรวจวินิจฉัยในแล็บ และค่าเอ็กซ์เรย์
  • ค่าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลครรภ์
     

ประกันที่อเมริกามีหลักการอะไรบ้าง?

        น้องๆ นักเรียนนักศึกษาหลายคนคงไม่คุ้นกับการทำประกัน พี่น้องจะขออธิบายให้ฟังเกี่ยวกับศัพท์เฉพาะทางต่างๆ ที่เราควรรู้นะคะ
 
  • “เบี้ยประกัน” หรือ Premium ซึ่งจะจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส ไม่จ่ายปุ๊บ ประกันเป็นโมฆะทันที
  • “ค่าเสียหายส่วนแรก” หรือ Deductible เป็นค่าใช้จ่ายส่วนแรกที่เราต้องออกเอง เราเลือกได้ว่าเป็นเท่าไร มีตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพัน เมื่อเราไปหาหมอด้วยอุบัติเหตุหรือต้องอาศัยการวินิจฉัยโรคจริงจัง (ไม่ใช่เพราะแค่ตรวจสุขภาพ) เราจะต้องจ่ายเงินส่วนนี้ออกไปก่อนจนกว่าจะถึงเพดานที่ตกลงกับประกันไว้ พอครบแล้วประกันถึงจะเริ่มออกค่ารักษาให้เรา
  • “ค่าใช้จ่ายสมทบ” หรือ Co-pay เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลแบบตรวจสุขภาพเบื้องต้นซึ่งมีราคาต่างกันไป เช่น พบหมอ อาจจะเสีย 20 เหรียญ เข้าห้องฉุกเฉินจ่าย 100 เหรียญ หรือซื้อยาทั่วไป 15 เหรียญ ซื้อยามีแบรนด์ 30 เหรียญ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เราออกเองทั้งหมด
  • “ส่วนร่วมประกัน” หรือ Co-insurance คล้ายๆ กับ co-pay แต่ครอบคลุมการรักษาอื่นๆ ที่ไม่ใช่การรักษาเบื้องต้น เช่น ประสบอุบัติเหตุต้องผ่าตัด หรือใช้บริการห้องแล็บ เอ็กซ์เรย์ ในแต่ละครั้งเราจะเสียค่าร่วมประกันตามเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดไว้ ส่วนที่เหลือประกันออก ซึ่งมีทั้ง 20/80 (เราออก 20 ประกันออก 80) หรือ 50/50
  • “เพดานค่าใช้จ่ายที่ออกเอง” หรือ Out-of-pocket maximum เป็นตัวกำหนดว่าในรอบปีนั้นเราต้องควักกระเป๋าจ่ายเองเท่าไร หากถึงเพดานแล้วหลังจากนี้ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม ประกันจ่ายเพียวๆ เลย เพดานก็มีตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักหมื่น
     
        ถึงตรงนี้เชื่อว่าหลายคนยังงงอยู่แน่ๆ เดี๋ยวพี่น้องจะกำหนดสถานการณ์มาให้ จะได้เข้าใจมากขึ้นนะคะ

        สมมติว่าพี่น้องทำประกันกับบริษัทหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขดังนี้

        ทั้งนี้ต้องดูด้วยว่าประกันของเรามีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ประกันบางที่ไม่นับรวม ค่าใช้จ่ายสมทบ (Co-pay) เข้ากับเพดานด้วย (นั่นหมายความว่าต่อให้เกินเพดานเราก็ยังต้องจ่ายค่าใช้จ่ายสมทบอยู่ดี)
 

แล้วจะดูยังไงว่าอันไหนถูกหรือแพง?

        ขอเตือนก่อนว่าอย่าดูแค่เบี้ยประกัน เอาต่ำๆ เข้าว่าจะได้จ่ายต่อเดือนน้อย พี่น้องแนะนำว่าให้ดูตามลำดับนี้ค่ะ
 
  • เบี้ยประกันอยู่ในขอบเขตที่เราจ่ายไหว เราอาจกำหนดว่าเราจ่ายได้ต่อเดือนแค่ 50-100 เหรียญ ก็เริ่มหาประกันที่อยู่ในขอบเขตนี้ได้เลย
  • เช็คผลประโยชน์และข้อยกเว้นต่างๆ ให้ดีว่าครอบคลุมที่สถาบันต้องการหรือเปล่า
  • เบี้ยยิ่งแพง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เราต้องออกเอง (ทั้งค่าเสียหายส่วนแรก ค่าใช้จ่ายสมทบ ฯลฯ) ก็จะน้อยลง เราต้องเลือกว่าจะให้ฝั่งไหนสูง ระหว่างเบี้ยกับเงินส่วนที่เราต้องควักเนื้อไปก่อน
           
        ถ้าใครคิดว่าตัวเองแข็งแรง และไม่ใช่คนซุ่มซ่าม อาจจะเลือกประกันที่เบี้ยถูกแต่เงินที่ต้องควักเนื้อสูงไปเลย ดูสถานการณ์สมมตินี้แล้วจะเข้าใจค่ะ
 
ประกัน A
ประกัน B
เบี้ยประกันตลอดปี
$600
$1,200
ค่าเสียหายส่วนแรก
$1,000
$500
เพดานควักเนื้อ
$3,000
$1,000

        สมมติเราเป็นคนแข็งแรงและระวังตัว ทั้งปี เข้าโรงพยาบาลไปแค่ครั้งเดียว ค่าใช้จ่าย 200 เหรียญ เนื่องจากยังไม่ถึงเพดานค่าเสียหายส่วนแรก เราจึงต้องออกเองทั้งหมด
 
  • หากซื้อประกัน A เท่ากับเราเสียเงินทั้งปีแค่ 600 + 200 = 800 เหรียญ
  • แต่ถ้าเป็นประกัน B เท่ากับเราเสียเงินทั้งปีถึง 1,200 + 200 = 1,400 เหรียญ ต่างกันเกือบเท่าตัวแหนะ
     
        ถ้าซุ่มซ่ามมาก เจออุบัติเหตุที่ต้องรักษาบ่อยๆ การซื้อประกันที่มีเบี้ยสูง แต่ค่าเสียหายส่วนแรกกับเพดานค่าใช้จ่ายที่ออกเองต่ำ จะช่วยเซฟเงินเรามากกว่า เพราะจ่ายเองแค่นิดเดียวก็ถึงเพดานแล้ว ที่เหลือก็ให้ประกันออกให้หมด เห็นไหมคะ แต่ละแผนมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตัวเราว่าเรามีแนวโน้มจะป่วยบ่อยไหม ชอบทำกิจกรรมผาดโผนหรือเปล่า

        ถ้าน้องๆ รู้สึกงง ไม่ค่อยชินกับการซื้อประกัน คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่สันทัด พี่น้องแนะนำว่าทำประกันตามที่สถาบันแนะนำมาดีที่สุดค่ะ ไม่ต้องมานั่งปวดหัวเอง และต้องทำนะคะ อย่าคิดว่าไม่เป็นไรหรอกไม่อยากเสียเงิน ไม่น่าเกิดอะไรขึ้นกับเรา สุภาษิตว่าไว้ "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" นะ!

        ติดตามเรื่องราวน่ารู้และการเตรียมตัวไปเรียนต่อนอกได้อีกเพียบที่ Dek-D.com  คอลัมน์ Study Abroad นะจ๊ะ
 
ขอบคุณข้อมูลจาก
intlstudent.org
studentaffairs.psu.edu
cie.utoronto.ca
internationalstudentinsurance.com
moneyunder30.com
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

5 ความคิดเห็น

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากเนื้อหาซ้ำ เคยโพสท์ไปแล้ว เพื่อความเป็นระเบียบกรุณาโพสท์กระทู้เพียงครั้งเดียว

กำลังโหลด
cashflowforfam Member 25 พ.ค. 60 01:12 น. 4

เพิ่มเติมความรู้ให้ครับ เสริมเพิ่มเติมให้นะครับ หลักๆต้องทำตัวประกันหลัก เป็นประกันชีวิตหลักก่อนครับ

แล้วก็ทำส่วนเสริมเรียกว่า สัญญาเพิ่มเติม ถ้าต้องการตามที่บอกไว้ก็จะประมาณนี้

1 สัญญาเพิ่มเติมอุบัตเหตุ ใช้กรณีเกิดอุบัติเหตุ จะได้ค่าชดเชยและค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ

2 สัญญาเพิ่มเติมค่ารักษาพยาบาลแบบแยกค่าใช้จ่าย ไว้ใช้ในกรณีที่ต้องนอนรักษาตัวใน รพ.ที่ บรัษิทประกันนั้นรับรอง

จะได้ชดเชยมากน้อยก็ตามแต่วงเงินที่เราเลือกไว้ว่าจะทำแผนไหน เช่น ชดเชยค่าห้องวันละ 1000 เป็นต้น

3 สัญญาเพิ่มเติมชดเชยรายได้ ใช้ในกรณีหากต้องนอน รพ. แล้วเราขาดรายได้จากการทำงานประจำ ประกันก็จะจ่ายตรงนี้ชดเชยให้

วงเงินก็ตามแผนที่เราทำไว้ เช่น ชดเชยวันละ 500, 1000, 1500 แล้วแต่เลือกครับ

เบี้ยประกันรวมที่เราจะต้องจ่ายจะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับ ตัวประกันหลัก+สัญญาเพิ่มเติม 1, 2, 3 หรือสัญญาเพิ่มเติมอื่นๆที่เราเลือก

แต่หลักการทำประกันที่ดี อย่าลืมว่า ผู้ชำระเบี้ยประกัน ต้องมีความสามารถในการชำระเบี้ยได้ตลอดช่วงคุ้มครองจึงจะเหมาะสม

ไม่ทำประกันที่มีทุนประกันในวงเงินมากเกินไป เพราะจะทำให้ส่งเบี้ยไม่ไหว และผู้ทำประกันจะเสียผลประโยชน์เองภายหลัง

ส่วนบริษัทประกัน เลือกตามความชอบ ความสะดวกหรือเลือกจากคนรู้จักใกล้ตัวที่เป็นตัวแทนก็จะสะดวกดีครับ

ตัวนี้ก็โอเคนะครับ ครอบคลุม finance.rabbit.co.th แนะนำว่าต้องเช็ครายละเอียดให้ดีๆครับ

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
กำลังโหลด