can, could, be able to บอกความสามารถเป็นภาษาอังกฤษด้วย 3 คำนี้!

        สวัสดีค่ะน้องๆ ชาวเด็กดีทุกคน วันนี้พี่น้องจะขอพูดถึง can, could และ be able to กริยา 3 ตัวที่บอกความสามารถของเราได้เหมือนกัน แต่กลับใช้ต่างกัน พวกมันต่างกันยังไง รีบไปดูกันเลย...
 

CAN

        can ถือเป็นกริยาสามัญประจำบ้านที่น้องๆ น่าจะคุ้นหน้าคุ้นตากันดี เพราะมันเป็นกริยาพื้นฐานที่ใช้บอก "ความสามารถ"
        แต่กริยาตัวนี้มันไม่เหมือนกริยาทั่วไปค่ะ เรียกง่ายๆ ว่ามันมี "แก๊งค์" ของมันอยู่ ชื่อว่า "แก๊ง modal verb"
        พวกนี้ไม่ใช่กริยาแท้ๆ ค่ะ เป็นแค่ option เสริมที่เข้ามาช่วยเพิ่มความหมายให้กริยาแท้อีกที ถ้าใช้เดี่ยวๆ ในประโยคจะไม่รู้เลยว่าเกิดอะไรขึ้น
He can.
        เห็นมั้ยคะว่าใช้เดี่ยวๆ ไม่มีทางรู้เรื่องเด็ดขาดว่าผู้ชายคนนี้เขาทำอะไร ต้องเพิ่มกริยาหลักเข้าไปค่ะ
He can swim.
        ทีนี้รู้แล้วว่าเขาว่ายน้ำได้
        ความพิเศษอีกอย่างของกริยาในกลุ่มนี้คือมันไม่ผันตามจำนวนประธานค่ะ
        ปกติแล้วกริยาจะต้องผันตามจำนวนประธาน
        ถ้าประธานมีคนเดียวหรือสิ่งเดียว เราถือว่าประธานเป็นเอกพจน์ กริยาก็ต้องเป็นเอกพจน์ตาม
แต่ถ้าประธานมีหลายคนหรือหลายสิ่ง เราถือว่าประธานเป็นพหูพจน์ กริยาก็ต้องเป็นพหูพจน์
        แต่ modal verb เราไม่ต้องเติม s ให้มันค่ะ ไม่ว่าประธานจะมีกี่คน กี่สิ่ง เราก็ยังใช้รูปเดิมต่อไป
        และกริยาหลักที่เอามาตามหลัง modal verb ก็ต้องใช้ในรูป infinitive หรือรูปที่ยังไม่ผันใดๆ เลยด้วยค่ะ
        และทั้งหมดนี้ก็คือวิธีการใช้ can เพื่อบอกความสามารถของเราค่ะ แต่ can นั้นใช้กับความสามารถที่ติดตัวเราอยู่ในปัจจุบัน ถ้าเมื่อก่อนเราเคยทำได้ แต่ตอนนี้ทำไม่ได้แล้วจะพูดว่าไงดีล่ะ?
        ถ้าเป็นแบบนั้น เราก็ต้องใช้ตัวต่อไปค่ะ
 

COULD

        could คือรูปอดีตของ can เราเลยเอามาใช้พูดถึงความสามารถของเราที่เคยทำได้ แต่ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว
        สังเกตว่าถ้าใช้ could มักจะมีคำบอกเวลากำกับว่าที่เคยทำได้น่ะคือตอนไหน สมัยไหน
        แต่ could ยังใช้ได้ในอีกความหมายหนึ่ง ซึ่งใช้บ่อยกว่าการพูดถึงความสามารถในอดีตเสียอีก นั่นก็คือ การใช้มันในประโยคขอร้องหรือขออนุญาตแบบสุภาพค่ะ
        พี่น้องเชื่อว่าคุณครูต้องเคยสอนในห้องเรียนมาบ้างแล้วแน่ๆ วิธีการใช้ could เพื่อทำให้ประโยคขอร้องหรือประโยคขออนุญาตของเราสุภาพยิ่งขึ้น เช่น
        จะเห็นว่าส่วนใหญ่ could จะใช้กับรูปประโยคคำถาม แต่ก็ใช้ในรูปบอกเล่าได้เหมือนกัน เวลาที่เราอนุญาตให้ใครทำอะไร เราก็ใช้ could ได้ค่ะ
        สังเกตมั้ยคะว่า could ในที่นี้ไม่ได้มีความหมายเป็นอดีตเลยสักนิด แค่ใช้เพื่อให้เห็นว่าเรากำลังพูดอย่างสุภาพเฉยๆ
        ดังนั้นๆ น้องๆ อย่าสับสนระหว่าง could ที่บอกความสามารถในอดีต กับ could ที่ใช้เพื่อการขอร้องหรือขออนุญาตอย่างสุภาพนะคะ
 

BE ABLE TO

        มาถึงกริยาตัวสุดท้ายที่เราไม่ค่อยได้ใช้กันเท่าไร เพราะมันซับซ้อนกว่า
        be able to แปลว่า "สามารถ" เหมือนกับ can แต่มันไม่ได้เป็น modal verb ค่ะ มันเกิดจากการเอา verb to be มารวมกับคำคุณศัพท์ able ที่แปลว่า "สามารถ" ทำให้โครงสร้างของ 2 คำนี้ต่างกัน
        จะเห็นว่าเมื่อเป็น verb to be จะต้องทำตามกฎการผันกริยาให้เข้ากับประธาน จะใส่ be ไปทื่อๆ แบบ can ไม่ได้
        2 คำนี้แม้ความหมายจะเหมือนกัน แต่ก็แทนกันไม่ได้เสมอไปค่ะ
        can จะใช้ในการบอกทักษะที่ติดตัวเรา เช่น ทักษะการเล่นกีฬา การเล่นเครื่องดนตรี พูดภาษาต่างๆ อะไรที่ติดกับตัวเราไปนานๆ
        ส่วน be able to ใช้ในกรณีพูดถึงสิ่งที่เราทำได้ในเหตุการณ์หนึ่ง เช่น
        การซื้อตั๋วไม่ใช่ทักษะติดตัวเราแบบการพูดภาษาอังกฤษ แต่เป็นสิ่งที่เรา "ทำได้" ในสถานการณ์นั้น กรณีแบบนี้ใช้ can แล้วจะฟังดูแปลกค่ะ
        ถ้าอยากใช้ can จะใช้ในความหมายแบบนี้มากกว่า
        ประโยคนี้ ใช้ can เพราะการควานหาตั๋วคอนเสิร์ตเป็น "ทักษะ" ส่วนตัวของคนพูด (อาจมีเส้นสายหรืออะไรก็ตามแต่) จึงใช้ can ค่ะ
        ประโยคนี้ ต้องการสื่อว่า ตอนนั้นไม่มีผู้ชายอยู่ใกล้ๆ เธอเลยพยายามยกทีวีด้วยตัวเอง และทำได้สำเร็จ จึงใช้ be able to เพราะเป็นสิ่งที่ทำได้ในขณะนั้น ไม่ใช่ทักษะของเธอ
        ถ้าใช้ can จะมีความหมายว่า
        ประโยคนี้ใช้ can เพื่อสื่อว่าผู้หญิงคนนี้แข็งแกร่งมากจนมี "ทักษะ" ในการยกทีวีได้ด้วยตัวเอง ไม่ได้เจาะจงเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งค่ะ
        ความพิเศษอีกอย่างของ be able to ที่ can กับ could ทำไม่ได้คือการพูดถึงอนาคตค่ะ เพราะ can กับ could มีแค่รูปปัจจุบันกับอดีต
        แต่ be able to เราผัน be ให้เป็นรูปอดีต (was/were) ปัจจุบัน (is/am/are) หรือ อนาคต (will be) ก็ได้
        หากเราต้องการพูดถึงเหตุการณ์ที่เราจะทำได้ในอนาคต เราต้องใช้รูป will be able to รูปเดียวเท่านั้น

พอแยกออกระหว่างกริยา 3 ตัวนี้กันแล้วเนอะ
ใครมีคำถามโพสต์ถามได้ที่กล่องข้อความด้านล่างนะคะ ^^

พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

editor_nong Member 19 ก.ย. 59 22:43 น. 2-1
manage to ใช้บอกว่าทำอะไรจนสำเร็จ โดยที่สิ่งนั้นมีอุปสรรคขวางอยู่ เช่น I managed to bake a birthday cake for Mom. ฉันทำเค้กวันเกิดให้แม่ได้สำเร็จ ประโยคนี้แฝงนัยว่าการทำเค้กอาจเป็นเรื่องยากสำหรับคนพูด หรือระหว่างทำอาจมีอุปสรรคหลายอย่าง แต่แม้จะมีอุปสรรคเหล่านี้ คนพูดก็ยัง manage ให้มันสำเร็จได้ในที่สุด ดังนั้น manage to จะมีความหมายคล้ายกับ be able to กรณีที่พูดถึงสิ่งที่ทำได้สำเร็จ แต่ไม่ใช่ "ทักษะ" หรือ "ความสามารถ" ที่ติดตัวเรา ประโยคที่ว่า I was able to buy the EXO Concert ticket. จะใช้ manage to ก็ได้ I managed to buy the EXO Concert ticket. manage to จะให้ความรู้สึกว่าการซื้อตั๋วคอนเสิร์ต EXO มันยากลำบากมาก เราต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ตั้งแต่เว็บล่ม โดนกั๊กที่ ฯลฯ เพื่อให้ได้ตั๋วมา ส่วน be able to จะไม่ได้เน้นความยากลำบากในการทำให้สำเร็จมากขนาดนั้นค่ะ เยี่ยม
0
กำลังโหลด

4 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
editor_nong Member 19 ก.ย. 59 22:43 น. 2-1
manage to ใช้บอกว่าทำอะไรจนสำเร็จ โดยที่สิ่งนั้นมีอุปสรรคขวางอยู่ เช่น I managed to bake a birthday cake for Mom. ฉันทำเค้กวันเกิดให้แม่ได้สำเร็จ ประโยคนี้แฝงนัยว่าการทำเค้กอาจเป็นเรื่องยากสำหรับคนพูด หรือระหว่างทำอาจมีอุปสรรคหลายอย่าง แต่แม้จะมีอุปสรรคเหล่านี้ คนพูดก็ยัง manage ให้มันสำเร็จได้ในที่สุด ดังนั้น manage to จะมีความหมายคล้ายกับ be able to กรณีที่พูดถึงสิ่งที่ทำได้สำเร็จ แต่ไม่ใช่ "ทักษะ" หรือ "ความสามารถ" ที่ติดตัวเรา ประโยคที่ว่า I was able to buy the EXO Concert ticket. จะใช้ manage to ก็ได้ I managed to buy the EXO Concert ticket. manage to จะให้ความรู้สึกว่าการซื้อตั๋วคอนเสิร์ต EXO มันยากลำบากมาก เราต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ตั้งแต่เว็บล่ม โดนกั๊กที่ ฯลฯ เพื่อให้ได้ตั๋วมา ส่วน be able to จะไม่ได้เน้นความยากลำบากในการทำให้สำเร็จมากขนาดนั้นค่ะ เยี่ยม
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด