สวัสดีครับชาว Dek-D สำหรับน้องๆ คนไหนหรือใครที่วางแผนไปเรียนต่อต่างประเทศในปีหน้า และกำลังอยู่ในขั้นตอนการเลือกค้นหาคอร์สเรียนที่ใช่หรือมหาวิทยาลัยที่ชอบ แต่สุดท้ายแล้วก็ยังตัดสินใจไม่ได้ ต้องบอกว่าการพิจารณาจากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย (Rankings) ก็เป็นอีกปัจจัยที่หลายคนให้ความสำคัญ และช่วยทำให้เราค้นหาแหล่งเรียนได้อย่างมีคุณภาพ
วันนี้ พี่วุฒิ เลยขอพาทุกคนไปอัปเดตผลอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย “QS World University Rankings 2025” ที่เพิ่งประกาศกันออกมาสดๆ ร้อนๆ ว่าแล้วก็ตามมาส่องกันเลยว่าปีนี้มีสถาบันไหนมาแรง รวมถึงภาพรวมการศึกษาทั่วโลกและในประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง?
QS Quacquarelli Symonds (QS) ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นนำระดับโลก ประกาศเผยแพร่ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกประจำปี 2025 ซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยนานาชาติที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยเป็นกรอบการจัดอันดับเพียงแห่งเดียวที่ประเมินทั้งความสามารถในการจ้างงานและปัจจัยด้านความยั่งยืน
ส่องเกณฑ์ในการจัดอันดับ
การชี้วัด | สัดส่วนคะแนน |
ชื่อเสียงทางด้านวิชาการ (Academic Reputation) | 30% |
การยอมรับจากนายจ้าง (Employer Reputation) | 15% |
สัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา (Student to Faculty Ratio) | 10% |
การอ้างอิงผลงานทางวิชาการ (Citations Per Faculty) | 20% |
สัดส่วนอาจารย์ต่างชาติ (International Faculty Ratio) | 5% |
สัดส่วนนักศึกษาต่างชาติ (International Faculty Ratio) | 5% |
เครือข่ายการวิจัยระหว่างประเทศ (International Research Network) | 5% |
ผลลัพธ์การจ้างงาน (Employment Outcomes) | 5% |
ความยั่งยืน (Sustainability) | 5% |
รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการจัดอันดับสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
QS World University Rankings 2025 methodology
20 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกโดย QS ปี 2025
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS ประจำปี 2025 ครั้งนี้ ประเมินมหาวิทยาลัย 1,500 แห่ง จาก 106 ระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยสหรัฐอเมริกาส่งสถาบันเข้าร่วมการจัดอันดับมากที่สุด โดยมีสถาบันที่ติดอันดับ 197 แห่ง ตามมาด้วยสหราชอาณาจักร 90 แห่ง และจีน (แผ่นดินใหญ่) 71 แห่ง
ส่วนประเทศไทยมีสถาบันที่ติดอันดับ 13 แห่ง ในจำนวนนี้ 3 แห่ง มีอันดับดีขึ้น 5 แห่ง มีอันดับลดลง และอีก 5 แห่ง ยังคงอยู่ในอันดับเดิม ส่งผลให้ภาพรวมของประเทศไทยดีขึ้น 23%
ปี 2025 | ปี 2024 | สถาบัน | ประเทศ |
1 | 1 | Massachusetts Institute of Technology (MIT) | United States |
2 | 6 | Imperial College London | United Kingdom |
3 | 3 | University of Oxford | United Kingdom |
4 | 4 | Harvard University | United States |
5 | 2 | University of Cambridge | United Kingdom |
6 | 5 | Stanford University | United States |
7 | 7 | ETH Zurich - Swiss Federal Institute of Technology | Switzerland |
8 | 8 | National University of Singapore (NUS) | Singapore |
9 | 9 | UCL | United Kingdom |
10 | 15 | California Institute of Technology (Caltech) | United States |
11 | 12 | University of Pennsylvania | United States |
12 | 10 | University of California, Berkeley (UCB) | United States |
13 | 14 | The University of Melbourne | Australia |
14 | =17 | Peking University | China (Mainland) |
15 | =26 | Nanyang Technological University, Singapore (NTU) | Singapore |
16 | 13 | Cornell University | United States |
17 | =26 | The University of Hong Kong | Hong Kong SAR |
18 | =19 | The University of Sydney | Australia |
19 | =19 | The University of New South Wales (UNSW Sydney) | Australia |
20 | 25 | Tsinghua University | China (Mainland) |
สรุปภาพรวมทั่วโลก
- สหราชอาณาจักรมีมหาวิทยาลัยชั้นนำมากที่สุดในโลก ด้วย 3 ใน 5 อันดับแรก และโดดเด่นในอัตราส่วนนักศึกษานานาชาติ โดยได้คะแนนเฉลี่ยสูงเป็นอันดับสองรองจากซาอุดีอาระเบียเท่านั้น
- สหรัฐอเมริกายังคงรักษาชื่อเสียงระดับโลกตามการจัดอันดับของนายจ้างและนักวิชาการ
- ระบบการศึกษาระดับสูงของแคนาดาโดดเด่นด้านความยั่งยืน โดยมีมหาวิทยาลัย 2 แห่งติดอันดับ 5 ของโลก รวมถึงมหาวิทยาลัยโทรอนโต
- ออสเตรเลียเป็นผู้นำเครือข่ายวิจัยระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และมีสถาบัน 3 แห่งติดอันดับ 20 อันดับแรก
- ใน 5 มหาวิทยาลัยชั้นนำ 100 อันดับแรกของจีน มี 4 แห่งที่ขยับอันดับขึ้น มหาวิทยาลัยปักกิ่งอยู่อันดับที่ 14 ซึ่งสูงที่สุด เพิ่มขึ้น 3 อันดับ
- อินเดียประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่ง โดยมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 46 แห่งจากทั้งหมด 91% ขยับอันดับ คงที่ หรือเป็นสถาบันที่เพิ่งเข้าร่วมการจัดอันดับ
- อินโดนีเซีย ปากีสถาน และตุรกี เป็นประเทศที่พัฒนาขึ้นมากที่สุด
- ละตินอเมริกา มีมหาวิทยาลัย 4 แห่งติดอันดับ 100 อันดับแรก ได้แก่ Universidad de Buenos Aires, Pontificia Universidad Católica de Chile, Universidad Nacional Autónoma de México และ Universidade de São Paulo
- KFUPM (อันดับที่ 101) ในซาอุดีอาระเบีย เป็นสถาบันอาหรับที่ติดอันดับสูงสุด เกือจะติด 100 อันดับแรก ในขณะเดียวกัน University of Cape Town (อันดับที่ 171) เป็นผู้นำของแอฟริกา
ผลการจัดอันดับของประเทศไทย
QS World University Rankings 2025
อันดับปี 2025 | อันดับปี 2024 | สถาบัน |
229 | 211 | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
=368 | =382 | มหาวิทยาลัยมหิดล |
=567 | =571 | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
=596 | =600 | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
781-790 | 751-760 | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
951-1000 | 901-950 | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
951-1000 | 951-1000 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
951-1000 | 951-1000 | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
1201-1400 | 1201-1400 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
1201-1400 | 1201-1400 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
1201-1400 | 1201-1400 | สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
1401+ | 1201-1400 | มหาวิทยาลัยนเรศวร |
1401+ | 1201-1400 | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
สรุปภาพรวมประเทศไทย
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครองอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย โดยขึ้นแท่นอันดับหนึ่งในหกจากเก้าตัวชี้วัดของ QS มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้รับคะแนนสูงสุดในประเทศไทย สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งเน้นการสร้างงานที่มีคุณภาพและความสัมพันธ์ที่ดีกับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดอันดับ 60 ของโลกในด้านผลลัพธ์ด้านการจ้างงาน
- สถาบันการศึกษากว่า 69% ของไทย ได้ขยับขึ้นในตัวชี้วัด ด้านชื่อเสียงทางวิชาการ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงคุณภาพงานวิจัย แนวทางการเป็นพันธมิตรทางวิชาการ ผลกระทบเชิงกลยุทธ์ นวัตกรรมทางการศึกษา และผลกระทบที่สถาบันเหล่านั้นมีต่อการศึกษาและสังคมโดยรวม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำผลงานได้โดดเด่นที่สุดในตัวชี้วัดนี้ โดยติด 1 ใน 100 อันดับแรกของโลกที่อันดับที่ 97
- ถึงแม้ว่ามหาวิทยาลัยไทยกว่าสองในสามจาก 13 แห่งที่ติดอันดับจะร่วงลงในตัวชี้วัด ด้านความยั่งยืน แต่มีถึง 8 แห่งที่ติดอันดับ 500 อันดับแรกของโลก มหาวิทยาลัยมหิดล พุ่งขึ้นถึง 195 อันดับในตัวชี้วัดนี้ โดยอยู่อันดับที่ 276 ของโลก ตามหลังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่อยู่อันดับที่ 198 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงครองอันดับสองในด้านคะแนนเฉลี่ยความยั่งยืนที่สูงที่สุดในเอเชีย
- ประเทศไทยยังมีช่องว่างสำหรับการปรับปรุงผลลัพธ์ด้านการจ้างงานและการเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม โดยมหาวิทยาลัยทั้งหมด 100% ของประเทศไทยมีคะแนนลดลงในตัวชี้วัด ด้านการยอมรับจากนายจ้าง (Employer Reputation) และ 92% มีคะแนนลดลงใน ด้านผลลัพธ์การจ้างงาน (Employment Outcomes)
- ประเทศไทยมีโอกาสในการพัฒนากลยุทธ์ในการทำให้เป็นสากล ทั้งในด้านวิชาการ ทางด้านนักศึกษา และสถาบันการศึกษาของไทยทั้ง 13 แห่งที่ติดอันดับนั้น ไม่มีแห่งใดที่ติดอันดับ 500 อันดับแรกของโลกในตัวชี้วัดอัตราส่วนของอาจารย์ต่างชาติ (International Faculty Ratio) หรืออัตราส่วนนักศึกษาต่างชาติ (International Student Ratio) เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยระหว่างตัวชี้วัดทั้งสองนี้ ประเทศไทยติดอันดับหกประเทศล่างสุดในเอเชีย
- ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ทำคะแนนเฉลี่ยด้านความยั่งยืน (Sustainability) สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก สะท้อนให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยไทยมีการนำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้อย่างแข็งขัน นอกจากนี้ คะแนนเฉลี่ยสูงสุดของไทยยังอยู่ในประเภทเครือข่ายวิจัยระหว่างประเทศ (International Research Network) ซึ่งบ่งชี้ว่าความพยายามร่วมมือของมหาวิทยาลัยไทยกำลังส่งผลลัพธ์เชิงบวกและเริ่มสร้างผลกระทบที่สำคัญ
สำหรับใครที่อยากดูผลการจัดอันดับแบบเต็มๆ สามารถเข้าไปส่องกันได้ที่เว็บไซต์ https://www.topuniversities.com/world-university-rankings กันได้เลยนะครับ โดยในโปรแกรมสามารถฟิลเตอร์ได้ทั้งการจัดอันดับระดับภูมิภาค การจัดอันดับในประเทศ หรือจะดูผลย้อนหลังปีก่อนๆ ก็ได้เช่นกันครับ
สำหรับใครที่มองหาโอกาสโกอินเตอร์ ตอนนี้มีหลายทุนกำลังเปิดรับสมัคร
ตามไปเช็กกันต่อได้เลยที่ "โปรแกรมค้นหาทุนเรียนต่อนอก by Dek-D"
ติดตามทุนต่อนอกง่ายๆ กับ Dek-D
- Website: www.dek-d.com/studyabroad
- X: @tornokandcourse
- IG: @tornokandcourse
- Facebook: Study Abroad เรียนต่อนอก by Dek-D
- Facebook: Study Guide ไปเรียนต่อนอกกันเถอะ
- TikTok: @tornokandcourse
0 ความคิดเห็น