แนะแนวเตรียมความพร้อม TCAS65 สู่ "สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์"

สวัสดีค่ะ ในสถานการณ์ Covid-19 แบบนี้ หนึ่งในวิชาชีพที่มีบทบาทสำคัญมากๆ  เป็นบุคลากรด่านหน้าในการคัดกรองผู้ป่วย ก็คือ นักเทคนิคการแพทย์ นั่นเองค่ะ  เราจะรู้จักวิชาชีพนี้ในฐานะหมอแล็บ ผู้ที่ทำงานวุ่นอยู่ในห้องแล็บ  แต่มีความสำคัญต่อระบบการรักษา เพราะจะต้องวิเคราะห์ ตรวจสอบ เลือด สารคัดหลั่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัสสาวะ เสมหะ ฯลฯ  เพื่อส่งต่อให้คุณหมอวินิจฉัยและทำการรักษาผู้ป่วยต่อไปนั่นเอง ดังนั้นในระบบการรักษา จะขาดหน้าที่ของหมอแล็บไปไม่ได้เลย

สำหรับการเตรียมตัวสอบคณะหรือสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์นี้ ก็ไม่ค่อยแตกต่างจากสาขาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่นๆ สักเท่าไหร่ เพราะวิชาสำคัญก็ยังอยู่ในหมวดของวิทยาศาสตร์ ทั้ง ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา  และ PAT 2 ในบางแห่ง จำเป็นต้องใช้ PAT 1 ร่วมด้วย นอกจากนี้ภาษาอังกฤษก็เป็นวิชาที่สำคัญค่ะ  อย่ารอช้า ไปเตรียมตัวพร้อมๆ กันเลย!

เตรียมความพร้อม  TCAS65 สู่คณะ/สาขา เทคนิคการแพทย์
เตรียมความพร้อม  TCAS65 สู่คณะ/สาขา เทคนิคการแพทย์

คณะนี้เรียนอะไร

คณะ/สาขาเทคนิคการแพทย์ คือสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยโรค โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการวินิจฉัยและส่งผลให้กับคุณหมอเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 4 ปี มีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ครอบคลุมเนื้อหาในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ระบบภูมิคุ้มกัน  ธนาคารเลือด ซึ่งสาขานี้จะมีกล้องจุลทรรศน์เป็นของประจำกายเลยค่ะ  เพราะใช้สำหรับส่องสิ่งที่มองไม่เห็นต่างๆ

ในการเรียน 4 ปี นั้น  ในช่วงปีแรก  จะเรียนวิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และวิชาพื้นฐานของมหาวิทยาลัย เมื่อปีขึ้นปีสอง จะเริ่มมีวิชาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์มากขึ้น เช่น กายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน สรีระวิทยาพื้นฐาน  โลหิตวิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยาเบื้องต้น เป็นต้น

จากนั้นปี 3 จะเรียนวิชาของคณะในเชิงลึกมากขึ้น ซึ่งหลายวิชาจะเป็นวิชาที่ต่อยอดมาจากปี 2 นั่นเองค่ะ เช่น  โลหิตวิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก รวมถึงจะมีวิชาในเชิงด้านเทคนิคมากขึ้นในปีนี้  เช่น การตรวจปัสสาวะ วิทยาศาสตร์การบริการโลหิต  เคมีคลินิก และเมื่อขึ้นปี 4  ก็จะเป็นช่วงเวลาของการฝึกงาน และวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในทางเทคนิคการแพทย์ และยังมีงานวิจัย สัมมนาอีกค่ะ เรียกว่าเป็น 4 ปีของการเรียนที่เข้มข้นมากจริงๆ

คณะนี้เหมาะกับใคร

  1. เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เป็นสาขาที่ไม่เปิดรับแผนการเรียนอื่นๆ เลย
  2. มีความตั้งใจอยากช่วยเหลือผู้อื่นให้หายจากความเจ็บป่วย เพราะเป็นหนึ่งในบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น โดยใช้ผลทางห้องปฏิบัติการ และอาจจะเหมาะกับคนที่ไม่ชอบพูดกับคนไข้โดยตรง การทำงานแล็บจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะกว่าค่ะ
  3. ไม่กลัวหรือรังเกียจ เลือด หรือ สารคัดหลั่งต่างๆ ที่ถูกส่งมาตรวจสอบ เพราะมันเป็นหน้าที่ที่เราต้องทำ ไม่สามารถหลีกหนีได้ค่ะ

คณะ/สาขาเทคนิคการแพทย์ มีสาขาอะไรบ้าง

เทคนิคการแพทย์ มีหลายสถาบันที่ใช้ชื่อว่าคณะเทคนิคการแพทย์ ซึ่งเป็นการแยกสาขาวิชานี้ออกมา เช่น ม.มหิดล ม.เชียงใหม่  ม.สงขลานครินทร์ แต่อีกหลายที่ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ จะอยู่ในคณะสหเวชศาสตร์ ดังนั้นหากมองว่าหลักสูตรนี้เป็น "สาขาวิชา" ก็จะไม่มีสาขาหรือแขนงย่อยค่ะ แต่ถ้ามองเป็น "คณะ" จะมีสาขาวิชาที่จัดรวมกลุ่มอยู่ในคณะเดียวกันคือ

  • สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด
  • สาขาวิชารังสีเทคนิค
  • สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
  • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และการออกกำลังกาย
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
  • สาขาวิชากิจกรรมบำบัด
  • สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์
  • สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์
  • สาขาวิชาพยาธิวิทยากายวิภาคศาสตร์

อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้จะพูดถึงเฉพาะสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ค่ะ ส่วนสาขาอื่นๆ จะทำแยกออกมาเป็นบทความเตรียมตัวสอบเข้าในสาขาต่างๆ ต่อไปนะคะ^^

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะสหเวชศาสตร์/เทคนิคการแพทย์

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ม.ขอนแก่น
  • ม.เชียงใหม่
  • ม.ธรรมศาสตร์
  • ม.นเรศวร
  • ม.มหิดล
  • ม.บูรพา
  • ม.พะเยา
  • ม.สงขลานครินทร์
  • ม.วลัยลักษณ์
  • มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ม.รามคำแหง
  • กลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชน เช่น ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, ม.รังสิต,  ม.เวสเทิร์น

ตัวอย่างค่าธรรมเนียมการศึกษา

  • ม.ธรรมศาสตร์ 16,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • จุฬาฯ 21,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • ม.พะเยา 28,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • ม.นเรศวร 22,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • ม.เชียงใหม่ 20,000 บาท / ภาคการศึกษา

ตัวอย่างโครงการที่เปิดรับแต่ละรอบ (อ้างอิง TCAS64)

รอบมหาวิทยาลัยเกณฑ์คัดเลือกคะแนนต่ำสุดปี 64
รอบ 1 Portfolioม.พะเยา
โควตานักเรียนเรียนดี
GPAX 100%-
ม.นเรศวร
โครงการเด็กดีมีที่เรียน
พิจารณาคุณสมบัติ + GPAX + Portfolio + สัมภาษณ์-
ม.วลัยลักษณ์
โครงการรอบ Portfolio
GPAX 3.00 + Portfolio-
ม.สงขลานครินทร์
โครงการนักเรียนที่มีผลการเรียนดี
GPAX 3.50 + GPA + Portfolio-
    
รอบ 2 โควตาม.ขอนแก่น
โควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วิชาเฉพาะ (สมรรถนะหลัก) 100%-
ม.ธรรมศาสตร์
โครงการพลเมืองจิตอาสา
GPAX 3.00 + Portfolio + GAT + O-NET
(TCAS65 ยกเลิกการใช้ O-NET รอติดตามเกณฑ์ปีนี้)
-
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการจุฬาฯ - ชนบท
GAT + PAT 1 + PAT 2-
ม.มหิดล
โควตา
 GPAX 3.00 + วิชาสามัญ (เคมี, ชีววิทยา, ภาษาอังกฤษ)-
    
รอบ 3 Admissionจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยGPAX 2.75 + GAT + PAT 1 + PAT 2 55.5333
ม.ธรรมศาสตร์O-NET + GAT + PAT 262.29
มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยาGPAX + O-NET + GAT + PAT 2 + วิชาสามัญ (เคมี, ชีววิทยา, ภาษาอังกฤษ)
(TCAS65 ยกเลิกการใช้ O-NET รอติดตามเกณฑ์ปีนี้)
42.8940
ม.เชียงใหม่วิชาสามัญ 7 วิชา293

อาชีพหลังจบการศึกษา

หลังจบจากสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ไปแล้ว สามารถสอบใบขออนุญาตประกอบวิชาชีพจาภสภาเทคนิคการแพทย์เพื่อทำงานเป็นนักเทคนิคการแพทย์หรือนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทั้งในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน  

นอกจากนี้ยังสามารถเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์  นักวิชาการ อาจารย์ หรือสามารถเปิดธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ได้เช่นกัน

 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเทคนิคการแพทย์เป็นสาขาที่เป็นที่นิยมมากขึ้น อาจเป็นเพราะเป็นวิชาชีพในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพที่น่าสนใจ ได้มีโอกาสช่วยเหลือผู้อื่นในอีกรูปแบบหนึ่ง ในอนาคตกระแสด้านสุขภาพก็ยังมาแรง อาชีพนักเทคนิคการแพทย์ก็น่าจับตามองทีเดียวค่ะ และจากสถิติการสมัครรอบ Admission TCAS64   สาขาเทคนิคการแพทย์ ม.ธรรมศาสตร์ ก็มาแรงเป็นอันดับหนึ่งที่มีผู้สมัครมากที่สุดในกลุ่มคณะสายวิทยาศาสตร์  สาขานี้ไม่ปังยังไงไหม^^

ขอขอบคุณรูปภาพจากMedical vector created by stories - www.freepik.com
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น