เช็กตารางสอบรอบปลายปี! ข้อสอบตระกูล CU + ข้อสอบใหม่ TBAT ใช้ยื่นแพทย์ จุฬาฯ

สวัสดีค่ะ การสอบเข้ามหาวิทยาลัยจำเป็นต้องใช้ "คะแนนสอบ" โดยมีเงื่อนไขว่า ทุกคนจะต้องดูรายละเอียดว่าคณะหรือมหาวิทยาลัยนั้นๆ ใช้คะแนนอะไรในการคัดเลือก เพราะข้อสอบนั้นมีตั้งแต่ข้อสอบกลางโดย ทปอ. ข้อสอบมหาวิทยาลัย ไปจนถึงข้อสอบอื่นๆ ที่ออกโดยหน่วยงานอื่นทั้งในและต่างประเทศ

สำหรับใครอยากเข้าจุฬาฯ จำเป็นต้องรู้จักข้อสอบตระกูล CU ไว้บ้าง เพราะมีหลายวิชา และใช้ยื่นได้ทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติ จะมีวิชาอะไร และตารางสอบในช่วงครึ่งปีหลังเป็นยังไง ตามไปดูกันเลยค่ะ

เช็กเลย! ปฏิทินครึ่งปีหลัง วิชา CU ต่างๆ ใช้เข้าหลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ
เช็กเลย! ปฏิทินครึ่งปีหลัง วิชา CU ต่างๆ ใช้เข้าหลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ

เช็กตารางสอบรอบปลายปี! ข้อสอบตระกูล CU + ข้อสอบใหม่ TBAT ใช้ยื่นแพทย์ จุฬาฯ

เงื่อนไขการใช้คะแนน

  1. ตรวจสอบระเบียบการ ว่าโครงการนั้นใช้วิชาสอบใดและเป็นลักษณะของ "วิชาบังคับใช้" หรือ "วิชาเลือกใช้" หากเลือกใช้ หมายความว่าสามารถเลือกใช้คะแนนใดก็ได้ที่อยู่ในตัวเลือกนั้น
  2. คะแนนมีอายุ 2 ปี
  3. การนำคะแนนไปใช้ หากระเบียบการไม่ได้ระบุรอบสอบ หมายความว่าสามารถนำคะแนนที่ยังไม่หมดอายุไปใช้ได้  แต่หากมีกำหนดปีหรือรอบที่สอบแบบเจาะจง เช่น ต้องใช้คะแนนรอบเดือน ต.ค.67 เท่านั้น แบบนี้จะไม่สามารถใช้คะแนนจากรอบสอบอื่นได้

วิชาที่เปิดสอบจากศูนย์ทดสอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำหรับเข้า ป.ตรี)

1. CU-TEP & CU-TEP Speaking

วิชานี้ เป็นการวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษ และมีแยกการฟังเป็นอีกหนึ่งวิชา (เลือกสมัครแยกหรือสมัครรวมการฟังก็ได้) สามารถใช้สมัครได้ทั้งคณะในจุฬาฯ และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ใช้คะแนนวิชาภาษาอังกฤษมาตรฐานสากล (ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยนั้นๆ กำหนด) 

ข้อมูลจาก https://atc.chula.ac.th/Main/tep_th/
ข้อมูลจาก https://atc.chula.ac.th/Main/tep_th/
ข้อมูลจาก https://atc.chula.ac.th/Main/tep_speaking_th/
ข้อมูลจาก https://atc.chula.ac.th/Main/tep_speaking_th/

ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนน CU-TEP ในปี 2567

  • รอบ Portfolio คณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาอักษรศาสตร์ กำหนดใช้คะแนนภาษาอังกฤษ โดยเลือกได้ระหว่าง TOEFL, IELTS, CU-TEP, DET หากเลือก CU-TEP จะต้องได้ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน
  • รอบ Portfolio คณะสัตวแพทยศาสตร์ โครงการคัดเลือกนักเรียนที่มีความสนใจในวิชาชีพสัตวแพทย์  กำหนดใช้คะแนนภาษาอังกฤษ โดยเลือกได้ระหว่าง TOEFL, IELTS, CU-TEP หากเลือก CU-TEP จะต้องได้ไม่ต่ำกว่า 67 คะแนน
  • รอบ Portfolio คณะเภสัชศาสตร์ โครงการคัดเลือกนักเรียนที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ  กำหนดใช้คะแนนภาษาอังกฤษ โดยเลือกได้ระหว่าง TOEFL, IELTS, CU-TEP หากเลือก CU-TEP จะต้องได้ไม่ต่ำกว่า 90 คะแนน
  • รอบ Early Admission คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบสถาปัตยกรรม (นานาชาติ)  กำหนดใช้คะแนนภาษาอังกฤษ โดยเลือกได้ระหว่าง TOEFL, IELTS, SAT,  CU-AAT, CU-TEP หากเลือก CU-TEP จะต้องได้ไม่ต่ำกว่า 80 คะแนน

2. CU-TAD

เป็นวิชาสอบด้านการออกแบบ ใช้สำหรับยื่นเข้าหลักสูตรนานาชาติ สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม  ใช้เวลาสอบทั้งหมด 2 ชั่วโมง 30 นาที

ข้อมูลจาก https://atc.chula.ac.th/Main/tad_th/
ข้อมูลจาก https://atc.chula.ac.th/Main/tad_th/

ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนน CU-TAD ในปี 2567

  • รอบ Early Admission คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบสถาปัตยกรรม (นานาชาติ) ใช้คะแนนสอบ CU-TAD โดยต้องได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50

3. CU-AAT

เป็นวิชาสอบที่ประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ Math คณิตศาสตร์  และ Verbal ซึ่งเป็นข้อสอบวัดการสื่อสารภาษาอังกฤษ  ใช้สำหรับเข้าหลักสูตรภาษาอังกฤษหรือนานาชาติ จุฬาฯ แต่อาจมีหลักสูตรปกติในรอบ Portfolio สามารถเลือกใช้ CU-AAT ได้เช่นกัน สำหรับการนำคะแนนไปใช้ อาจแยกใช้พาร์ทใดพาร์ทหนึ่งหรือใช้ทั้งสองพาร์ทก็ได้

ข้อมูลจาก https://atc.chula.ac.th/Main/aat_th/
ข้อมูลจาก https://atc.chula.ac.th/Main/aat_th/

ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนน CU-AAT ในปี 2567

  • รอบ Portfolio คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี  สามารถเลือกยื่นระหว่าง SAT หรือ CU-AAT ได้  หากเป็น CU-AAT จะต้องได้ส่วนการสื่อสารภาษาอังกฤษ (Verbal Section) ไม่ต่ำกว่า 600 คะแนน และเมื่อรวมกับคณิตศาสตร์ (Math Section) จะต้องได้รวมกันไม่ต่ำกว่า 1,290 คะแนน
  • รอบ Early Admission คณะวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)  ในพาร์ทของคะแนนสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์ สามารถเลือกคะแนนสอบ CU-AAT,  SAT, Advance Level, IB ฯลฯ หากเลือก CU-AAT จะต้องได้คะแนนใน Math Section ไม่ต่ำกว่า 480  คะแนน
  • รอบ Quota คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ)  โครงการผู้มีความสามารถดีเด่นระดับชาติทางกีฬา  ในพาร์ทของคะแนนสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์ สามารถเลือกคะแนนสอบ CU-AAT หรือ SAT หากเลือก CU-AAT จะต้องได้คะแนนใน Math Section ไม่ต่ำกว่า 450 คะแนน

4. CU-ATS

CU-ATS เป็นข้อสอบความถนัดทางวิทยาศาสตร์ โดยจะสอบวิชาฟิสิกส์และเคมี ใช้เวลาสอบ 2 ชั่วโมง ใช้สำหรับเข้าหลักสูตรนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ สามารถเลือกยื่นวิชา CU-ATS หรือวิชาอื่นๆ ที่อยู่ในตัวเลือกได้

ข้อมูลจาก https://atc.chula.ac.th/Main/ats_th/
ข้อมูลจาก https://atc.chula.ac.th/Main/ats_th/

ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนน CU-ATS ในปี 2567

  • รอบ Early Admission คณะวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)  ในพาร์ทของคะแนนสอบวัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์ สามารถเลือกคะแนนสอบ CU-ATS,  Advance Level, IB, ACT ฯลฯ หากเลือก CU-ATS จะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 800 คะแนน
  • รอบ Quota คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ)  โครงการผู้มีความสามารถดีเด่นระดับชาติทางกีฬา  ในพาร์ทของคะแนนสอบวัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์ สามารถเลือกคะแนนสอบ CU-ATS,  AP, IB, GED ฯลฯ หากเลือก CU-ATS จะต้องได้คะแนนเฉพาะวิชา Chemistry ไม่ต่ำกว่า 380 คะแนน

5. TBAT

เป็นวิชาใหม่ ยังไม่มีการนำไปใช้ แต่ใน TCAS68 จะนำมาใช้แทนวิชา BMAT (Biomedical Admission Test)  ในการสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ รอบ Portfolio 

นอกจากนี้ จากที่ดูเกณฑ์ปีที่แล้ว พบว่าคณะเภสัชศาสตร์รอบ Portfolio ก็สามารถใช้คะแนน BMAT ยื่นได้ด้วย ปีนี้อาจต้องรอติดตามว่า จุฬาฯ จะนำคะแนน TBAT มาใช้แทนคะแนน BMAT ได้หรือไม่

ข้อมูลจาก https://atc.chula.ac.th/Main/tbat_th/
ข้อมูลจาก https://atc.chula.ac.th/Main/tbat_th/

 

ตารางสอบปี 2024

สำหรับน้องๆ ที่จะใช้วิชา CU-AAT และ TBAT  เพื่อสมัครคณะแพทยศาสตร์ในรอบ Portfolio คะแนนที่ใช้ได้จะเป็นคะแนนรอบ "ตุลาคม" เท่านั้น ส่วนรอบอื่นๆ สามารถสมัครเพื่อทดลองข้อสอบได้ แต่ใช้คัดเลือกไม่ได้ค่ะ

กลุ่มวิชาของศูนย์ทดสอบ จุฬาฯ นี้ ไม่ได้บังคับสอบ เป็นเพียงกลุ่มวิชาเลือกที่น้องๆ สามารถเลือกได้ว่าจะใช้คะแนนจากจุฬาฯ หรือสนามสอบอื่นๆ ซึ่งแต่ละโครงการจะมีบอกไว้อย่างละเอียดว่าเปิดรับวิชาไหนบ้างและต้องได้ขั้นต่ำเท่าไหร่ สำหรับใครที่ตั้งใจจะสมัครอยู่แล้ว พี่ๆ เด็กดีขอเป็นกำลังใจให้ทำคะแนนออกมาได้เยอะๆ นะคะ :)

พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น