ทำความรู้จัก “คณะอุตสาหกรรมบริการ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน” 8 หลักสูตรสู่การเป็นมืออาชีพด้านการบริการ พร้อมสรุปการรับ TCAS68 ทุกรอบ รวม 1,080 ที่นั่ง

ทำความรู้จัก “คณะอุตสาหกรรมบริการ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน” 
8 หลักสูตรสู่การเป็นมืออาชีพด้านการบริการ พร้อมสรุปการรับ TCAS68 ทุกรอบ

หากใครยังไม่มีไอเดียว่าอนาคตอยากทำงานอะไร? งานด้านธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะอย่างที่รู้กันดีว่า ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจทั่วโลก อุตสาหกรรมบริการจึงเป็นเสมือนเสาหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยเลยทีเดียว!

และหากใครอยากเข้ามาทำงานสายนี้ก็ไม่ยากอย่างที่คิด ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เปิดสอนคณะอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งมีถึง 8 หลักสูตรที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวและบริการ รอให้น้อง ๆ ค้นพบและสร้างอาชีพที่มั่นคงไปพร้อมกัน และที่สำคัญการเรียนในคณะนี้สนุกมาก เพราะได้ลงมือปฏิบัติจริงกันทุกชั้นปี เตรียมตัวให้พร้อม และไปค้นหาตนเองและสำรวจ 8 เส้นทางสู่การเป็นมืออาชีพในอุตสาหกรรมนี้กันเลย^^

รายชื่อหลักสูตรและจำนวนรับเข้า คณะอุตสาหกรรมบริการ

สาขาวิชาประเภทจำนวนรับรอบที่ 1รอบที่ 2รอบที่ 3รอบที่ 4
สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการปกติ80403010






จะมีการเปิดรับ
หากได้ที่นั่งไม่ครบ
จากรอบต่าง ๆ 
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินปกติ50251510
สาขาวิชาการสร้างสรรค์การบริการเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว 
(ใหม่ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและนันทนาการ)
ปกติ80403010
สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการปกติ80303020
สาขาวิชาการโรงแรมและภัตตาคาร 
(ใหม่ สาขาวิชาการโรงแรม ภัตตาคาร และเรือสำราญ) 
ปกติ50251510
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการและอุตสาหกรรมไมซ์ปกติ80303020
สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์ปกติ80303020
สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการพิเศษ90404010
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินพิเศษ70352510
สาขาวิชาการโรงแรมและภัตตาคาร 
(ใหม่ สาขาวิชาการโรงแรม ภัตตาคาร และเรือสำราญ) 
พิเศษ70352510
สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์พิเศษ35018013040
รวม 1080510400170

Portfolio 1/1 กำลังเปิดรับสมัคร 1-20 ตุลาคมนี้ และ Portfolio 1/2 เปิดรับสมัคร 11 พฤศจิกายน 67 – 6 มกราคม 68 
ดูรายละเอียดการรับสมัครได้ที่  https://admission.kps.ku.ac.th/

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์  (THEM)

หากใครต้องการเรียนหลักสูตรที่ครอบคลุมทุกมิติของการอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว ขอแนะนำหลักสูตรการจัดการท่องเที่ยว โรงแรมและอีเวนต์ ล่าสุด เพิ่งได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ปี 2567 นี้เอง หลักสูตรนี้จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะครบทั้งด้านการจัดการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์ 

จุดเด่นของหลักสูตรปัจจุบัน คือ มีการปรับรายวิชาที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมถึงผู้เรียน ซึ่งเป็นวิชาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น วิชาการบัญชีเฉพาะงานบริการ สถิติสำหรับธุรกิจบริการ พฤติกรรมนักท่องเที่ยวในอุตสาหกรรมบริการ หลักการวางแผนจัดการอีเวนต์ การใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์เพื่อการปฏิบัติงานธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์ งานมัคคุเทศก์และผู้นำกลุ่มท่องเที่ยว ธุรกิจฟิตเนส สปา ความสวยความงามและการนวด การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการสำหรับธุรกิจอีเวนต์ การเขียนแผนธุรกิจและการขายงานอีเวนต์ การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมและอีเวนต์ การจัดการแสดงสินค้าและเทศกาล เป็นต้น

อาชีพหลังเรียนจบ: สามารถทำงานในสายงานด้านการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์ ผู้ประกอบการบริษัทจัดนำเที่ยว มัคคุเทศก์ ตัวแทนท่องเที่ยว ผู้ให้บริการห้องพัก อาหาร เครื่องดื่ม และกิจกรรมบันเทิง ตลอดจนผู้ให้บริการในธุรกิจอีเวนต์ งานแสดงนิทรรศการในระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน

เส้นทางสอบเข้า: รับ 430 ที่นั่ง/ปี

หลักสูตรรอบ 1 Portfolioรอบ 2 Quotaรอบ 3 Admissionรอบ 4 Direct Admission
การจัดการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์ภาคปกติ 30 ที่นั่ง
ภาคพิเศษ 180 ที่นั่ง

Portfolio 70%
GPAX 30%
ภาคปกติ 30 ที่นั่งภาคพิเศษ 130 ที่นั่งภาคปกติ 20 ที่นั่ง
GPAX 20%
TGAT2 80%

ภาคพิเศษ 40 ที่นั่ง
GPAX 80%
TGAT2 20%
GPAX 50%
Portfolio 50%
รับตรงพื้นที่
GPAX 40%
TGAT2 60%
GPAX 100%
โครงการเด็กไทยสู่สากล
GPAX 40%
TGAT2 60%
GPAX 100%
โครงการส่งเสริมนักเรียน  ปวช.
GPAX 70%
TGAT2 30%
GPAX 100%

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน (ABM)

            หลักสูตรนี้ไม่ได้เรียนเพื่อไปเป็นนักบิน แต่จะเรียนเพื่อเป็นผู้ให้บริการทางการบินอย่างมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งผู้โดยสาร (Air Passenger Services) หรือการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Freight Services) ตั้งแต่การให้บริการภาคพื้นจนถึงบนเครื่องบิน เพราะการบินไม่ได้อยู่แค่บนฟ้า จึงต้องเรียนรู้การจัดการธุรกิจการบินอย่างมีระบบ

            จุดเด่นของหลักสูตร คือ เรียนกับคณาจารย์และวิทยากรพิเศษในอุตสาหกรรมการบินตัวจริงเสียงจริง ทั้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์การการบินต่าง ๆ นิสิตได้ฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการจำลองทั้งการให้บริการภาคพื้น (Ground services) และการให้บริการบนเครื่องบิน (In-flight services) ศึกษาดูงานนอกสถานที่ เช่น ท่าอากาศยาน ครัวการบิน ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ห้องฝึกบินจำลอง รวมถึงฝึกงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบิน 1 ภาคการศึกษา ซึ่งทุกกิจกรรมจะช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจระบบและวิธีการทำงานเสมือนของจริงมากที่สุด

นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในธุรกิจการบิน เพื่อให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในแวดวงอุตสาหกรรมการบิน เช่น การฝึกปฏิบัติระบบลงทะเบียนผู้โดยสาร (Check-in) การตรวจบัตรผ่านขึ้นเครื่อง (Boarding Pass) และระบบสำรองที่นั่งและบัตรโดยสาร (Reservation and Ticketing) เป็นต้น

อาชีพหลังเรียนจบ: สามารถเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินต่าง ๆ พนักงานบริการภาคพื้น ผู้ปฏิบัติงานบริการ ณ ท่าอากาศยาน ผู้ปฏิบัติงานบริการขนส่งสินค้าทางอากาศของสายการบินและโลจิสติกส์ต่าง ๆ

เส้นทางสอบเข้า: 120 ที่นั่ง/ปี

หลักสูตรรอบ 1 Portfolioรอบ 2 Quotaรอบ 3 Admissionรอบ 4 Direct Admission
การจัดการธุรกิจการบินภาคปกติ 25 ที่นั่ง
Portfolio 70%
GPAX 30%

ภาคพิเศษ 35 ที่นั่ง
Portfolio 70%
GPAX 30%
ภาคปกติ 15 ที่นั่ง
GPAX 30%
TGAT2  70%

ภาคพิเศษ 25 ที่นั่ง
GPAX 100%
ภาคปกติ 10 ที่นั่ง
GPAX 30%
TGAT2 70%

ภาคพิเศษ 10 ที่นั่ง
GPAX 80%
TGAT2 20%
ภาคพิเศษ
Portfolio 70% 
GPAX 30%

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการและอุตสาหกรรมไมซ์ (HBM)

            MICE เป็นตัวย่อที่มาจาก M = Meeting, I = Incentives, C = Conventions และ E = Exhibitions พูดรวม ๆ คือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การประชุมนานาชาติ และการจัดนิทรรศการ ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยสูงมาก เพราะถือเป็นการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและนักท่องเที่ยวหรือนักธุรกิจมีการใช้จ่ายมากกว่าการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น ๆ

ดังนั้น หลักสูตรนี้จะได้เรียนเกี่ยวกับการจัดการงานด้านการประชุม งานจัดแสดงสินค้า และงานอีเวนต์ หรืองานกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ รวมถึงการจัดการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล ใครที่ได้เรียนหลักสูตรนี้ ก็จะได้พัฒนาทักษะของตนเองให้มีความรู้และเข้าใจในธุรกิจไมซ์และงานอีเวนต์และทำงานได้อย่างมืออาชีพ

            จุดเด่นของหลักสูตร คือ มีวิชาเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจไมซ์แบบจัดเต็ม ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงระดับสูง เช่น การจัดการประชุมองค์กรและการจัดการประชุมวิชาชีพ การจัดการนิทรรศการ อีเวนต์ และงานเทศกาล การบริหารจัดการสถานที่จัดงาน การจัดการอาหารและงานจัดเลี้ยง และวิชาใหม่ล่าสุด คือ การออกแบบนวัตกรรมโลกเสมือนจริงและความคิดสร้างสรรค์ ในธุรกิจบริการและไมซ์ ทั้งในธุรกิจบริการ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว และน้อง ๆ ยังมีโอกาสไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ ได้ฝึกงานจริงในธุรกิจบริการและอุตสาหกรรมไมซ์ในบริษัทที่มีชื่อเสียง รับประกันได้ว่า จะได้รับประสบการณ์อย่างเต็มที่แน่นอน

            อาชีพหลังเรียนจบ: ทำงานในกลุ่มธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจโรงแรม สปา สายการบิน และในกลุ่มอุตสาหกรรมไมซ์ เช่น ผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจจัดประชุมระดับชาติและนานาชาติ ฝ่ายขายด้านการจัดเลี้ยงของโรงแรม รีสอร์ท และบริษัททั่วไป ผู้ให้บริการรับจัดนำเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล นักวิชาการด้านการบริหารและนักวางแผนบริการทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น

เส้นทางสอบเข้า: รับ 80 ที่นั่ง/ปี

หลักสูตรรอบ 1 Portfolioรอบ 2 Quotaรอบ 3 Admissionรอบ 4 Direct Admission
การจัดการธุรกิจบริการและอุตสาหกรรมไมซ์Portfolio 70%
GPAX 30%
มีโครงการเปิดรับ ดังนี้

รับตรงพื้นที่
โครงการเด็กไทยสู่สากล
โครงการส่งเสริมนักเรียนระดับ ปวช.
โครงการนักเรียนผู้มีชื่อเสียง
GPAX 60%
TGAT2 40%
GPAX 50%
Portfolio 50%

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการท่องเที่ยวและนันทนาการ (TR)

            หลักสูตรนี้ปรับปรุงมาจากหลักสูตรการสร้างสรรค์การบริการเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว ถึงแม้จะปรับปรุงหลักสูตรใหม่ แต่คุณภาพยังแน่นเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือความสนุก เพราะการท่องเที่ยวไม่ใช่แค่เรื่องเที่ยวอย่างเดียว แต่ต้องมีความทันสมัย ดังนั้นการส่งเสริมกิจกรรมนันทาการทางการท่องเที่ยวเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับนักท่องเที่ยวจึงเป็นเรื่องสำคัญ และสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวได้

 

            หลักสูตรนี้จึงรวมรวบเอาแนวคิดด้านการท่องเที่ยว นันทนาการ ผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และภาษาต่างประเทศเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะช่วยยกระดับให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ในปัจจุบันเป็นซอฟต์พาวเวอร์สำคัญของประเทศไทย และรักษาไว้ซึ่งศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกด้วย น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ทั้งวิชาการและทักษะวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมนันทนาการ ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้พร้อมกับความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวและนันทนาการอย่างเหมาะสม

            อาชีพหลังเรียนจบ: สามารถทำในด้านธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์ หัวหน้าทัวร์ ฝ่ายวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว รวมถึงธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และยังสามารถทำงานในนภาครัฐ ในบทบาทผู้กำหนดนโยบาย วางแผน และพัฒนาการท่องเที่ยวในกระทรวงหรือหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือสมาคมการท่องเที่ยวทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ

           เส้นทางสอบเข้า: 80 ที่นั่ง/ปี

สาขาวิชารอบ 1 Portfolioรอบ 2 Quotaรอบ 3 Admission
การท่องเที่ยวและนันทนาการรับ 40 ที่นั่ง

Portfolio 70%
GPAX 30%
 
รับ 30 ที่นั่ง 

มีโครงการที่เปิดรับ  ดังนี้
รับตรงพื้นที่
โครงการเด็กไทยสู่สากล
โครงการส่งเสริมนักเรียน ปวช.

เกณฑ์คัดเลือก
GPAX 50%
TGAT2 50%
รับ 10 ที่นั่ง

GPAX 60%
TGAT2 40%
 

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการ (ESI)

            แต่ถ้าใครอยากได้สกิลภาษาอังกฤษติดตัวไปใช้กับงานได้ทุกแขนง ขอแนะนำหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการ เพราะที่นี่จะสร้างทักษะภาษาอังกฤษที่ใช้เพื่องานบริการโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมโรงแรม อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการ อุตสาหกรรมภัตตาคาร รวมไปถึงอุตสาหกรรมบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทักษะภาษาอังกฤษนี้จะช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            จุดเด่นของหลักสูตร คือ นอกจากจะได้เรียนทักษะภาษาอังกฤษพื้นฐานสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และไวยากรณ์แล้ว ยังมีทักษะภาษาอังกฤษในระดับที่สูงขึ้น และเฉพาะทางมากขึ้น เช่น ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ ของธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม และการบิน รวมถึงในชั้นปีสุดท้าย จะได้ทำวิจัย และฝึกงานในสถานประกอบการด้านธุรกิจบริการตามความสนใจ 1 ภาคการศึกษา เป็นการเสริมทักษะการทำงานจริงและได้นำทักษะภาษาอังกฤษไปใช้ในสถานการณ์จริงอีกด้วย

            อาชีพหลังเรียนจบ: สามารถทำงานได้หลากหลาย เพราะภาษาอังกฤษเป็นทักษะสำคัญในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม โดยสามารถทำงานในสายงานอุตสาหกรรมบริการ เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจการบิน ธุรกิจการจัดประชุม ธุรกิจการจัดงานนิทรรศการ ธุรกิจการจัดงานอีเวนต์ ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจสปา ธุรกิจต้อนรับต่าง ๆ รวมไปถึงอาชีพอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เช่น ผู้ประสานงานต่างประเทศ อินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงเป็นผู้ให้ความรู้ในสถานศึกษา  

            เส้นทางสอบเข้า: 170 ที่นั่ง/ปี

สาขาวิชารอบ 1 Portfolioรอบ 2 Quotaรอบ 3 Admissionรอบ 4 Direct Admission
ภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการภาคปกติ 40 ที่นั่ง
Portfolio 70%
GPAX 30%

ภาคพิเศษ 40 ที่นั่ง
Portfolio 70%
GPAX 30%
ภาคปกติ 30 ที่นั่ง
GPAX 10%
TGAT1 90%

ภาคพิเศษ 40 ที่นั่ง
GPAX 100%

มีโครงการดังนี้
รับตรงพื้นที่
โครงการเด็กไทยสู่สากล
โครงการส่งเสริมนักเรียน ปวช.
โครงการนักเรียนผู้มีชื่อเสียง
ภาคปกติ 10 ที่นั่ง
GPAX 20%
TGAT1 40%
A-Level อังกฤษ 40%

ภาคพิเศษ 10 ที่นั่ง
GPAX 80%
TGAT1 20%
ภาคพิเศษ
Portfolio 70%
GPAX 30%

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโรงแรม ภัตตาคารและเรือสำราญ (HRCL)

            อีกหนึ่งหลักสูตรที่น่าจับตามอง เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่ชอบการจัดการด้านอาหาร ทั้งส่วนของโรงแรม ภัตตาคาร และเรือสำราญ ซึ่งสาขานี้จะสร้างทักษะทางวิชาชีพที่เทียบเท่ามาตรฐานสมรรถนะทางวิชาชีพทั้งประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยครอบคลุมทั้งการให้บริการอาหาร เครื่องดื่ม การผสมเครื่องดื่ม การให้บริการไวน์ การต้อนรับและดูแลลูกค้า ตลอดจนมารยาทและการสร้างความประทับใจในการให้บริการลูกค้า

            จุดเด่นของหลักสูตร คือ น้อง ๆ จะได้เรียนจริง ฝึกจริง จากห้องเรียนปฏิบัติการด้านบริการอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายประเภท ซึ่งจะนำเอานวัตกรรมมาใช้อย่างรอบด้าน เช่น ห้องเรียนปฏิบัติการธุรกิจร้านกาแฟ จะได้เรียนรู้กระบวนการบริหารจัดการธุรกิจร้านกาแฟแบบครบวงจรตั้งแต่กระบวนการวางแผนธุรกิจ จนถึงการพัฒนาเมนูเครื่องดื่ม, ห้องปฏิบัติการงานส่วนหน้า จะได้เรียนกระบวนการ และวิธีการต้อนรับลูกค้า การใช้เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการห้องพัก ระบบการจัดการห้องอาหารและงานครัว เป็นต้น นอกจากสาระสำคัญด้านการบริการแล้ว ยังมีหลักสูตรด้านความปลอดภัยอีกด้วย เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรการป้องกันและการดับไฟ หลักสูตรการดำรงชีพในทะเล หลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หลักสูตรความปลอดภัยของบุคคลและความรับผิดชอบต่อสังคม

อาชีพหลังเรียนจบ: สามารถทำงานได้หลากหลายในกลุ่มของงานโรงแรม ภัตตาคาร และเรือสำราญ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานต้อนรับส่วนหน้า พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม พนักงานบริการไวน์ ผู้ช่วยหัวหน้าพ่อครัว เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด เจ้าหน้าที่ประสานงานและจัดงานในธุรกิจการประชุม นิทรรศการ ภัตตาคารและเรือสำราญ เป็นต้น

เส้นทางสอบเข้า: 120 ที่นั่ง/ปี

สาขาวิชารอบ 1 Portfolioรอบ 2 Quotaรอบ 3 Admissionรอบ 4 
Direct Admission
การโรงแรม ภัตตาคารและเรือสำราญภาคปกติ 25 ที่นั่ง
Portfolio 70%
GPAX 30%

ภาคพิเศษ 35 ที่นั่ง
Portfolio 70%
GPAX 30%
รับตรงพื้นที่ภาคปกติ 10 ที่นั่ง
GPAX 30%
TGAT2 70%

ภาคพิเศษ 10 ที่นั่ง
GPAX 80%
TGAT2 20%
ภาคพิเศษ
Portfolio 70%
GPAX 30%
ภาคปกติ 10 ที่นั่ง
GPAX 20%
TGAT2  80%
ภาคพิเศษ 20 ที่นั่ง
GPAX 100%
โครงการส่งเสริมนักเรียน ปวช.
ภาคปกติ 5 ที่นั่ง
GPAX 70%
TGAT2 30%
ภาคพิเศษ 5 ที่นั่ง
GPAX 100%

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ (TSI)

ใครว่าเรียนการท่องเที่ยวแล้วจะต้องเป็นไกด์อย่างเดียว น้อง ๆ รู้ไหมว่า เรียนสาขานี้นอกจากเป็นไกด์แล้ว ยังสามารถทำงานด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้อีก ไม่ว่าจะเป็นการประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว หรือผู้ประกอบการโรงแรมและรีสอร์ทต่าง ๆ

จุดเด่นของหลักสูตรนี้ คือ คณะฯ ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีการสร้างกระบวนการเรียนการสอนใหม่ ๆ ที่ทันสถานการณ์ เพื่อสร้างบัณฑิตยุคใหม่ที่มีความรู้ที่ทันสมัย และมีความสร้างสรรค์ ตามสโลแกนของหลักสูตร คือ หลักสูตรศศ.บ. สาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ที่ทันสมัยตอบโจทย์ทุกสถานการณ์โลกในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ตัวอย่างวิชาเรียนที่น่าสนใจ เช่น พฤติกรรมนักท่องเที่ยว ระบบการขนส่งในการท่องเที่ยว การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับการบริการในธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว การจัดการอาหารท้องถิ่นและนานาชาติ จริยศาสตร์ในธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นต้น

อาชีพหลังเรียนจบ: สามารถทำงานในธุรกิจด้านโรงแรมและรีสอร์ท ภัตตาคาร ร้านอาหาร และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการบริการ เช่น พนักงานโรงแรมฝ่ายต้อนรับ ฝ่ายรับจองที่พัก ฝ่ายขาย ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม พนักงานตอนรับสายการบิน รวมถึงบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 

เส้นทางสอบเข้า: 80 ที่นั่ง/ปี

สาขาวิชารอบ 1 Portfolioรอบ 2 Quotaรอบ 3 Admission
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการPortfolio 70%
GPAX 30%
มีโครงการที่เปิดรับ  ดังนี้

รับตรงพื้นที่
โครงการเด็กไทยสู่สากล
โครงการส่งเสริมนักเรียน ปวช.
โครงการนักเรียนผู้มีชื่อเสียง
GPAX 60%
TGAT2 40%


 

ใหม่! หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและผู้ประกอบการ (EIEC)

            สำหรับหลักสูตรใหม่ล่าสุดในคณะอุตสาหกรรมบริการ ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน คือ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและผู้ประกอบการ จะเปิดรับสมัครใน TCAS68 เป็นรุ่นแรก

            หลักสูตรนี้จะเน้นการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงลึก ทั้งทักษะด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน เพื่อประยุกต์ใช้ทำงานร่วมกับคนที่มาจากหลากหลายวัฒนธรรม นอกจากจะมีความน่าสนใจเรื่องของการเน้นภาษาอังกฤษที่เข้มข้นแล้ว ยังได้เรียนรู้เทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากในการทำงานร่วมกับต่างชาติ หรืองานในระดับสากล รวมถึงการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประเทศต่าง ๆ ทั้งทักษะภาษาอังกฤษและทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ก็ถือว่าเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย และปรับแผนธุรกิจให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโต

            อาชีพหลังเรียนจบ: เมื่อมีพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดี น้อง ๆ สามารถต่อยอดไปทำงานได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น งานสื่อที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น พิธีกรภาษาอังกฤษ นักแปล ล่าม ฝ่ายสื่อสารระหว่างประเทศ นักสื่อสารองค์กร ในกลุ่มของอุตสาหกรรมบริการ สามารถทำได้ทั้งในส่วนของสายการบิน ธุรกิจการท่องเที่ยว MICE โรงแรม ภัตตาคาร หรือเป็นผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมบริการ

           เส้นทางสอบเข้า: มีกำหนดเปิดรอบใน TCAS68 สำหรับรอบที่เปิดรับ รอติดตามรายละเอียด เร็ว ๆ นี้

 

สามารถพูดได้เต็มปากว่า คณะอุตสาหกรรมบริการ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มีหลักสูตรที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการแบบครบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นสายงานด้านการท่องเที่ยวและนันทนาการ การโรงแรม ภัตตาคาร และเรือสำราญ ธุรกิจการบิน การจัดประชุมและอุตสาหกรรมไมซ์ ไปจนถึงภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมโดยเฉพาะ ที่นี่ไม่เพียงแต่เปิดโอกาสให้คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมบริการที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ยังเป็นการสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้กับน้อง ๆ เพื่อเข้าสู่โลกการทำงานที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ด้วยวิชาเรียนที่หลากหลาย ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการต่าง ๆ และยังได้ศึกษาดูงาน ฝึกงานในบริษัทจริงในอุตสาหกรรมการบริการอีกด้วย

 

น้อง ๆ ที่สนใจ สามารถสมัครได้ใน TCAS68 ทั้ง 4 รอบ (สำหรับรอบ 4 จะมีการเปิดรับหากได้ที่นั่งไม่ครบจากรอบต่าง ๆ) โดยรอบ Portfolio 1/1 กำลังเปิดรับสมัคร 1 - 20 ตุลาคมนี้ และ Portfolio 1/2 เปิดรับสมัคร 11 พฤศจิกายน 67 – 6 มกราคม 68 ดูรายละเอียดการรับสมัครได้ที่  https://admission.kps.ku.ac.th/

 

พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น