ช่วงนี้น้องๆหลายคนคงกดดัน และตื่นเต้น นับวันรอการประกาศผลแอดมิชชั่น ซึ่งระหว่างนี้ พี่ลาเต้ ก็ได้หาข่าวสารสำคัญเกี่ยวกับแวดวงแอดมิชชั่นมาอัพเดทให้ได้อ่านกัน เพื่อป้องกันการตกข่าวครับ อย่างวันนี้ พี่ลาเต้ ได้นำยอดของ “เด็กซิ่ล” ในปีที่แล้ว มาสรุปให้น้องๆได้ทราบกันครับ...

 

ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจข้อมูลนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลาออกระหว่างปีการศึกษา 2549 -2550 ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน จำนวน 124 แห่ง พบว่าในปีการศึกษา 2549 มีผู้เข้าศึกษาจำนวน 445,894 คน แต่ปี 2550 เหลือ 431,062 คน รวมลาออก 15,276 คน คิดเป็น 3% และเมื่อจำแนกเป็น 9 กลุ่มสาขาวิชา พบว่า

 

กลุ่มการศึกษามีจำนวนผู้เข้าเรียนในปี 2549 จำนวน 16,392 คน แต่ในปี 2550 มีผู้ลาออก 347 คน คิดเป็น 2%

 

กลุ่มมนุษยศาสตร์และศิลปะ จำนวน 41,239 คน ลาออก 2,443 คน คิดเป็น 6%

 

กลุ่มสังคมศาสตร์บริหารธุรกิจและกฎหมาย 249,921 คน ลาออก 5,253 คน คิดเป็น 2%

 

กลุ่มวิทยาศาสตร์ 48,391 คน ลาออก 2,582 คน คิดเป็น 5%

 

กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ 45,652 คน ลาออก 2,551 คน คิดเป็น 6%

 

กลุ่มเกษตรศาสตร์ 12,236 คน ลาออก 1,050 คน คิดเป็น 9%

 

กลุ่มสุขภาพและสวัสดิการ 18,342 คน เพิ่มเป็น 18,550 คน

 

กลุ่มบริการ 16,324 คน ลาออก 1,050 คน คิดเป็น 6% และไม่ระบุกลุ่ม 3,397 คน เพิ่มเป็น 3,633 คน

 
 

ดร.สุเมธ กล่าวต่อไปว่า สำหรับสาขาแพทยศาสตร์ใน 12 สถาบัน เมื่อปี 2549 มีผู้เข้าเรียนรวม 2,159 คน ลาออก 47 คน คิดเป็น 2% แบ่งเป็น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าเรียน 247 คน เพิ่มเป็น 276 คน

 

ม.ขอนแก่น 296 คน ลาออก 11 คน คิดเป็น 4%

 

ม.เชียงใหม่  อยู่ครบ 188 คน

 

ม.เทคโนโลยีสุรนารี อยู่ครบ 48 คน

 

ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 156 คน ลาออก 25 คน คิดเป็น 16% โดยนักศึกษาย้ายไปเรียนสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

 

ม.นเรศวร 130 คน ออก 1 คน

 

ม.มหาสารคาม อยู่ครบ 48 คน

 

ม.มหิดล 540 คน ออก 1 คน

 

ม.ศรีนครินทรวิโรฒ อยู่ครบ 126 คน

 

ม.สงขลานครินทร์ 224 คน ออก 9 คน คิดเป็น 4%

 

ม.อุบลราชธานี อยู่ครบ 50 คน

 

ม.รังสิต 106 คน แต่ยังไม่ได้ส่งข้อมูลนักศึกษาที่ลาออก

 

“จากข้อมูลแสดงชี้ให้เห็นว่าจำนวนนักศึกษาที่ลาออกมีไม่มาก โดยเฉพาะกลุ่มแพทย์มีเพียง 2% อีกทั้งยังไม่ใช่การลาออกอย่างเดียว แต่อาจเป็นการย้ายไปเรียนสาขาอื่นที่ชอบมากกว่า” ดร.สุเมธ กล่าว

 

          การที่น้องๆคนไหนคิดจะ “ซิ่ล” ไม่ได้แปลว่าตัวน้องคนนั้นไม่อดทนนะครับ...อาจเป็นเพราะเรามีทางอื่นๆที่เหมาะสมกับเรามากกว่า โดยให้คิดไว้เสมอว่า “คนเราทุกคนย่อมมีเหตุผล คนที่จะ“ซิ่ล” ก็มีเหตุผล ซึ่งหากไม่ใช่เจ้าตัว ก็จะไม่รู้ถึงความรู้สึก และเหตุผลที่แท้จริง” พี่ลาเต้ เชื่ออย่างนี้นะครับ..ดังนั้นก็ขอเป็นกำลังใจให้ครับ..
 

พี่ลาเต้ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์

 
พี่ลาเต้
พี่ลาเต้ - Columnist นักข่าวสายการศึกษา เกาะติดทุกข่าวแทนน้องๆ ตัวถีบ ตัวดันให้ ม.6 สอบติด

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

49 ความคิดเห็น

chocolate_heart Member 28 เม.ย. 51 13:11 น. 1
อยากรู้จำนวนพี่ๆเด็กซิ่ลที่มาร่วมสอบกับพวกหนูปีที่ผ่านมานี่น่ะค่ะ ว่ามีจำนวนมากขนาดไหน

ขอบคุณพี่ลาเต้มากค่ะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
nsw 28 เม.ย. 51 21:40 น. 7
555+ เห็นด้วยกะความเห็นที่หกมากๆ น่ารำคาญพวกนี้จิงๆ ว่างมากรึไง โพสท์อยู่ได้ น่ารำคาญ เรียกร้องความสนใจหรอ
0
กำลังโหลด
Tan_noiZ Member 28 เม.ย. 51 21:42 น. 8
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าเรียน 247 คน เพิ่มเป็น 276 คน หมายความว่าไง ไม่เข้าใจ งง ทำไมเพิ่มเยอะ แล้วเพิ่มตรงไหน อิอิ
0
กำลังโหลด
abc 29 เม.ย. 51 00:30 น. 20
ตามความคิดเรานะ น่าจะกำหนดกฎเกณฑ์เด็กซิ่วอ่ะ เช่น คุณซิ่วได้ มีสิทธิ์ยื่นคะแนนตามเกณฑ์ทุกประการแต่น่าจะย้ายเด็กพวกนี้ไปเรียนภาคสมทบแทน ไม่ควรให้มาแย่งที่เรียนกับเด็กภาคปกติอ่ะ เพราะแทนที่เด็กจบมอหกจะมีสิทธิ์เต็มที่ กลับกลายเป็นว่าสิทธิ์นั้นลดลงเพราะมีเด็กซิ่วมาแย่งที่ไปอ่ะ กระทรวงที่เกี่ยวข้องน่าจะให้ความสนใจตรงนี้มากๆหน่อย ทำไมจะต้องให้มีเด็กซิ่วทุกปี และก็เยอะเกินจำนวนของแต่ละมหาลัยด้วย ตอนเลือกที่จะสอบเข้าไป ทำไมไม่คิดให้ดี และแน่จัยซะก่อนว่าจะเอายังไง พอเรียนไปแล้ว ไม่ชอบ เรียนไม่ไหว ซิ่วเรียนใหม่ ไม่รู้สึกว่าเสียเวลากันบ้างหรอไง?
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด